ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ภาษาฮินดี

ภาษาฮินดีเป็นภาษาที่พูด ส่วนใหญ่ในประเทศอินเดียเหนือและกลาง เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน อยู่ในกลุ่มย่อย อินโด-อิหร่าน มีวิวัฒนาการมาจากภาษาปรากฤต ในสาขาอินโด-อารยันกลาง ของยุคกลาง และมีวิวัฒนาการทางอ้อมจากภาษาสันสกฤต ภาษาฮินดีได้นำคำศัพท์ชั้นสูงส่วนใหญ่มาจากภาษาสันสกฤต นอกจากนี้ เนื่องจากอิทธิพลของชาวมุสลิมในอินเดียเหนือ ภาษาฮินดียังมีคำที่ยืมมาจากภาษาเปอร์เซีย ภาษาอาหรับ และ ภาษาตุรกี เป็นจำนวนมาก และในที่สุดได้ก่อให้เกิดภาษาอูรดูขึ้น สำหรับภาษา"ฮินดีมาตรฐาน" หรือ "ฮินดีแท้" นั้น มีใช้เฉพะการสื่อสารที่เป็นทางการ ขณะที่ภาษาซึ่งใช้ในชีวิตประจำวันในพื้นที่ส่วนใหญ่นั้น ถือว่าเป็นหนึ่งในภาษาถิ่นย่อย ของภาษาฮินดูสตานี

ในแง่ความสัมพันธ์ทางภาษาศาสตร์นั้น ภาษาฮินดีและภาษาอูรดู ถือว่าเป็นภาษาเดียวกัน แตกต่างตรงที่ ภาษาฮินดีนั้นเขียนด้วยอักษรเทวนาครี (Devan?gar?) ขณะที่ภาษาอูรดูนั้น เขียนด้วยอักษรเปอร์เซียและอาหรับ

รูปภาษาโบราณของภาษาตระกูลอินโด-ยุโรป ในอินเดียนั้น พบอยู่ในภาษาสันสกฤตพระเวท ต่อมาปาณินิได้ตั้งกฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์ และจัดให้อยู่ในลักษณะแบบแผน สมัยอารยะของภาษายุคกลาง (500 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 1000) เริ่มขึ้นหลังจากสมัยอารยะของภาษายุคโบราณ (1500-500 ปีก่อนคริสตกาล) ในระยะที่หนึ่งของยุคนี้ภาษาบาลีได้พัฒนาขึ้นมา ในระยะที่สองภาษาปรากฤตได้พัฒนาขึ้น ในระยะสุดท้ายนั้นเรียกว่าระยะของภาษาอัปภรัญศ์(เศารเสนี มาคธี มหาราษฏรี) ภาษาในอินเดียปัจจุบันพัฒนาขึ้นจากภาษาอัปภรัญศ์นี้เอง

เหตุที่มีต้นกำเนิดมาจากภาษาสันสกฤต ทำให้ในทางทฤษฎีของเสียง คำศัพท์ และไวยากรณ์ของภาษาในปัจจุบันเช่น ภาษาฮินดี ภาษามราฐี ภาษาคุชราต ภาษาเบงกาลี เป็นต้น มีความคล้ายคลึงกันมาก และภาษาสันสกฤตยังมีอิทธิพลต่อภาษากลุ่มดราวิเดียนด้วย อันมีสาเหตุจากความคล้ายคลึงทางวัฒนธรรมและการติดต่อสัมพันธ์กันมานับศตวรรษ และจะเห็นได้ว่าภาษาอาหรับ ภาษาเปอร์เซีย และภาษาอังกฤษที่มาในรูปภาษาของผู้ปกครองนั้นมีอิทธิพลโดยทั่วไปต่อทุกภาษาในอินเดีย

ภาษาฮินดีในรูปมาตรฐาน พัฒนาออกมาจากภาษาขาริโพลี ภาษาขาริโพลีนั้นยอมรับกันว่าคือภาษาท้องถิ่นภาษาหนึ่งของกลุ่มภาษาฮินดีตะวันตก ซึ่งพูดอยู่ในบริเวณเมืองนิวเดลฮี เมรัฐ บิชเนาร์ และสฮารันปุร รูปวรรณกรรมที่สละสลวยในภาษาขาริโพลีนั้นได้รับการยอมรับว่าเป็นภาษาฮินดียุคใหม่ การใช้ภาษาขาริโพลีในสมัยโบราณ พบในศตวรรษที่ 10 ใช้อย่างแพร่หลาย และมีระบบในงานวรรณกรรมของอมีร ขุสโร (ค.ศ. 1253-1325) รูปหนึ่งของภาษาขาริโพลีที่พัฒนาออกมาในศตวรรษที่ 16-17 ปรากฏในภาคใต้ เรียกว่า ภาษาทักขินี ในราชสำนักแห่งโมกุลนั้นใช้ภาษาอาหรับและภาษาเปอร์เซีย ในขณะที่การใช้ภาษาผสมผสานระหว่างภาษาขาริโพลี กับ ภาษาเปอร์เซีย ของเหล่าทหารและประชาชนทำให้เกิดภาษาอูรดู

ภาษาและวรรณกรรมฮินดีพัฒนาขึ้นอย่างสำคัญในสมัยศตวรรษที่ 19 ในขบวนการเรียกร้องอิสรภาพ เพื่อความเป็นหนึ่งเดียวกันของชนทั้งประเทศ จึงยอมรับภาษาฮินดีหรือฮินดุสตานีในรูปภาษาของการสื่อสารระหว่างประชาชน ผู้นำทั้งหลายได้ใช้ภาษาฮินดีเพื่อสร้างความเข้าใจแก่มวลชน

ก่อนหน้ายุคนี้ ในวรรณคดีภาษาฮินดีพบแต่วรรณกรรมประเภทร้อยกรองที่เขียนด้วย ภาษาพรัช และ ภาษาอวธี เท่านั้น แต่ในยุคนี้ ภารเตนดุ หริศจันดระ, อาจารยะ มหาวีร ประสาท ดวิเวดี, ดร.ศยามสุนดัร ดาส, เปรมจันด และประสาท เป็นต้น คือผู้จัดมาตรฐานให้แก่ภาษาฮินดีและแก่วรรณกรรมทั้งร้อยกรองและร้อยแก้ว

ภาษาฮินดีในรูปที่ได้รับการจัดมาตรฐานในปัจจุบัน นอกจากใช้ในงานวรรณกรรมแล้ว ยังใช้ในด้านการศึกษา วิทยาการ เทคโนโลยี และการปกครอง ภาษาฮินดีในรูปดังกล่าวจึงมีการออกเสียง การเขียนและโครงสร้างไวยากรณ์ที่เป็นแบบอย่างมาตรฐาน และในกรอบของรูปมาตรฐานนี้จึงมีความแตกต่างจากภาษาท้องถิ่นที่ใช้พูดกันในประเทศ

ในวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2492 ภาษาฮินดีได้รับการยอมรับเป็นภาษาประจำชาติ ตามรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐอินเดียส่วนที่ 17 หมวดที่ 1 มาตรา 343 บัญญัติให้ภาษาฮินดีเป็นภาษาประจำชาติและใช้อักษรเทวนาครี ในปัจจุบันภาษาฮินดีเป็นภาษาราชการของรัฐอุตตรประเทศ พิหาร มัธยประเทศ ราชสถาน หรยาณา หิมาจัลประเทศและกรุงเดลี สำหรับในรัฐปัญจาบ คุชราต มหาราษฏระ และหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ให้ภาษาฮินดีอยู่ในสถานะภาษาที่สอง

ในสถานการณ์ของภาษาในประเทศอินเดียนั้น หนึ่งปัจเจกบุคคลสามารถพูดได้อย่างน้อยสองภาษาหรือหลายภาษา ก่อนอื่นในภูมิภาคที่พูดภาษาฮินดีนั้นในระดับต่างๆ พบภาษาพูด 4 รูปแบบ ดังนี้

ผู้ที่ไม่ได้พูดภาษาฮินดีแต่อาศัยอยู่ในภูมิภาคของภาษาฮินดี นอกจากการพูดภาษาแม่ของตนแล้ว อาจใช้ภาษาในลักษณะข้อที่ 2 และ 4 ประการเดียวกันนี้ผู้ที่พูดภาษาฮินดีแต่อาศัยอยู่ในภูมิภาคที่ไม่พูดภาษาฮินดี โดยทั่วไปแล้วอาจใช้ภาษาในลักษณะข้อที่ 2, 3 และ 4

ในเขตภูมิภาคของภาษาฮินดีนั้น ภาษาฮินดีใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันมากที่สุด เขตภูมิภาคของภาษาฮินดีคือในรัฐอุตระประเทศ พิหาร หริยาณา มัธยะประเทศ ราชัสถาน นิวเดลฮี และแผ่ไปจนถึงหิมาจัลประเทศ ในรัฐต่างๆ ที่กล่าวถึงนี้ มีภาษาท้องถิ่นใช้สื่อสารในระดับไม่เป็นทางการอีกด้วย ภาษาท้องถิ่นของภาษาฮินดีที่กำลังกล่าวถึง แบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ ได้ดังนี้

ภาษาฮินดีไม่เพียงใช้พูดแต่ในรัฐที่เจ้าของภาษาฮินดีอาศัยอยู่เท่านั้น แต่ยังใช้พูดทั่วทั้งประเทศอินเดีย ภาษาหลักและภาษาท้องถิ่นของภูมิภาคที่ต่างๆ กันนั้นจึงปรากฏอิทธิพลในภาษาฮินดี ด้วยเหตุนี้สำเนียงการออกเสียง การเขียน โครงสร้างและการใช้ จึงทำให้ภาษาฮินดีเริ่มพัฒนารูปที่ต่างออกไปมากมาย และเกิดปัญหายุ่งยากทำความเข้าใจอย่างสมบูรณ์ในความหลากหลายนั้น หากพิจารณาลักษณะการใช้ จุดประสงค์ และภูมิภาคแล้ว ไม่ว่าภาษาใดๆจะปรากฏความหลากหลายของรูปแบบให้เห็น ในประเด็นทางภูมิภาคจะพบภาษาท้องถิ่นมากมาย ในประเด็นของจุดประสงค์พบรูปแบบภาษาที่หลากหลาย เช่นภาษาที่ใช้ในการติดต่อธนาคาร ในการกีฬา ในธุรกิจการค้าหรือในกิจการต่างๆ ลักษณะการใช้นั้นแบ่งออกได้เป็นแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ภาษาที่ประชาชนทั่วไปใช้ในการติดต่อสื่อสารกันเองคือตัวอย่างของภาษาที่ไม่เป็นทางการซึ่งมีเป็นร้อยๆ ชนิด และโดยทั่วไปในเมืองต่างๆ ก็มีการผสมกับอิทธิพลจากภาษาพูดหรือภาษาท้องถิ่นของเมืองนั้นๆ เช่น ภาษาฮินดีแบบเมืองนิวเดลฮี ภาษาฮินดีแบบเมืองมุมไบ(บัมบะอิยา) ภาษาฮินดีแบบเมืองกัลกัตตา(กัลกะติยา) ภาษาฮินดีแบบเมืองไฮดราบัด(ไฮดราบะดี) เป็นต้น รูปแบบภาษาที่นำไปใช้โดยทั่วไปแล้วจึงอยู่ในขอบเขตของลักษณะการใช้ จุดประสงค์และเขตภูมิภาคดังกล่าวมา ดังนั้นเมื่อเราจะกล่าวถึงภาษาในระดับชาติของอินเดียซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าเป็นรูปแบบที่แสดงความเป็นชาติแล้ว ภาษาในรูปที่เรากำลังกล่าวถึงนั้นเรียกว่าภาษามาตรฐานหรือภาษาที่เป็นทางการ ภาษาฮินดีมาตรฐานก็ได้รับความพยายามกระทำให้ถึงซึ่งเกียรติยศอันนั้นด้วยกระบวนการจัดมาตรฐาน ภาษาฮินดีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในรูปแบบเดียวกันตั้งแต่เหนือจดใต้ ตะวันออกจดตะวันตก ในประเทศที่เต็มไปด้วยความหลากหลายอย่างอินเดีย กระบวนการชำระและเปลี่ยนแปลงจึงยังคงดำเนินเรื่อยมาพร้อมๆ กับกาลเวลาที่ดำเนินไป เพื่อทำให้ภาษาฮินดีเป็นรูปแบบเดียวกันทั้งประเทศอินเดียอีกทั้งทรงพละกำลังยิ่งขึ้น ทรงสิทธิโดยสมบูรณ์ และเป็นวิทยาการ

ไวยากรณ์ของภาษาฮินดีมีความซับซ้อนมากกว่าภาษาอังกฤษมาก การเรียงประโยคเป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา ไม่มีคำบุพบทแต่ใช้คำปรบทแทน

คำนามในภาษาฮินดีแบ่งเป็น 2 เพศ คือ บุรุษลึงค์ และสตรีลึงค์ การกำหนดเพศนี้ใช้กับนามที่ไม่มีชีวิตด้วย เสียงสระท้ายคำจะช่วยบอกเพศของคำ คำยืมจากภาษาสันสกฤตจะกำหนดเพศเช่นเดียวกับภาษาสันสกฤต คำยืมจากภาษาอาหรับและภาษาเปอร์เซียจะถูกกำหนดเพศด้วย คำยืมจากภาษาอังกฤษมีการระบุเพศเหมือนกันแต่ไม่แน่นอน

คำสรรพนามแสดงคำถามโดยทั่วไปคือ ใคร (???) อะไร (????) ทำไม (?????) เมื่อใด (??) ที่ไหน (????) อย่างไร (????) มากเท่าใด (?????) ชนิดใด (????) คำว่า ???? ใช้เป็นตัวบ่งชี้คำถามในคำถามแบบใช่/ไม่ใช่ ได้ด้วย

คำสรรพนามทั้งสามบุรุษเป็นเพศเดียวกันหมด โดยระบุเพศจะแสดงที่คำกริยา มีการกสำหรับคำสรรพนามสองการกคือประธานและความเป็นเจ้าของ คำสรรพนามบุรุษที่สองในภาษาฮินดี แบ่งตามระดับความสุภาพได้สามระดับคือ

การเรียงคำในประโยคเป็น ประธาน-กริยาวิเศษณ์-กรรมรองและคำขยาย-กรรมตรงและคำขยาย-คำแสดงคำถามหรือปฏิเสธ-กริยาและกริยาช่วย รูปปฏิเสธแสดงโดยเติม ????(ไม่) ลงในประโยค หรือเติมคำนำหน้า ?? ในบางการก คำคุณศัพท์มาก่อนคำนาม กริยาช่วยตามหลังกริยาหลัก

กาลในภาษาฮินดีได้แก่ ปัจจุบันกาลไม่สมบูรณ์ ใช้กับเหตุการณ์ทั่วไปหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะที่พูด ปัจจุบันกำลังกระทำ อดีตกาลกำลังกระทำ อดีตกาลไม่สมบูรณ์ อดีตกาลสัมบูรณ์ นอกจากนี้มีประโยคในรูปคำสั่ง มีเงื่อนไข หรือเหตุการณ์สมมติ โดยปกติแล้วกาลและรูปแบบต่างๆแสดงในรูปกริยาช่วย ส่วนกริยาหลักแสดงจำนวนและเพศของคำนาม

ภาษาฮินดีมีการผันคำน้อย ความสัมพันธ์ระหว่างคำนามในประโยคแสดงด้วยปรบท คำนามมีสามการกคือการกตรง ไม่ใช้ปรบท มักเป็นประธานของประโยค การกรองใช้กับนามที่มีปรบทต่างๆกัน นามบางคำมีการกเรียกขานด้วย คำคุณศัพท์จะผันไปในทิศทางเดียวกับคำนาม


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406