ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ภาษาอินโดนีเซีย

ภาษาอินโดนีเซีย (อินโดนีเซีย: Bahasa Indonesia; อังกฤษ: Indonesian language) เป็นภาษาทางการของประเทศอินโดนีเซีย และเป็นภาษาที่น่าสังเกตในหลายด้าน เริ่มต้นด้วยการที่ชาวอินโดนีเซียส่วนใหญ่พูดภาษาอินโดนีเซียเป็นภาษาที่สอง และส่วนน้อยที่พูดเป็นภาษาแม่ในบางนัย ภาษานี้เป็นภาษาที่ค่อนข้างใหม่ เนื่องจากเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2488 และเป็นภาษาที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เนื่องจากเกิดคำที่ยืมมาจากภาษาอื่น ๆ อยู่ตลอด ชื่อท้องถิ่นของภาษาอินโดนีเซียคือ บาฮาซาอินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia) และชื่อนี้ก็นำมาใช้ในภาษาอังกฤษในบางโอกาส

ภาษาอินโดนีเซียเป็นทำเนียบภาษามาตรฐานของภาษามลายูรีเยา ซึ่งแม้จะมีชื่อเรียกเช่นนั้นแต่ก็ไม่ใช่ภาษามลายูที่เป็นสำเนียงท้องถิ่นของหมู่เกาะรีเยา แต่หมายถึงภาษามลายูคลาสสิกที่ใช้ในราชสำนักของรัฐสุลต่านมะละกา จากเดิมที่มีผู้ใช้กันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะสุมาตรา ภาษามลายูได้กลายเป็นภาษากลางในบริเวณหมู่เกาะที่เป็นประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบันมาหลายร้อยปี จารึกเกอดูกันบูกิตเป็นหลักฐานที่เก่าที่สุดที่ใช้ภาษามลายูโบราณซึ่งเป็นภาษาราชการในสมัยจักรวรรดิศรีวิชัย ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 12 เป็นต้นมา ภาษามลายูโบราณได้มีการใช้ในหมู่เกาะอินโดนีเซีย เห็นได้จากจารึกสมัยศรีวิชัย และจารึกอื่น ๆ ตามบริเวณชายฝั่ง เช่นที่เกาะชวา การติดต่อค้าขายโดยชาวพื้นเมืองในเวลานั้นเป็นสื่อกลางในการแพร่กระจายของภาษามลายูโบราณในฐานะภาษาทางการค้า และกลายเป็นภาษากลางที่มีผู้ใช้อย่างแพร่หลายในบริเวณหมู่เกาะ

ภาษาอินโดนีเซียได้พัฒนามาสู่สถานะของภาษาราชการเมื่ออินโดนีเซียประกาศเอกราชใน พ.ศ. 2488 โดยเริ่มต้นจากการปฏิญาณซุมปะฮ์เปอมูดาเมื่อ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2471 ภาษาอินโดนีเซียในรูปแบบมาตรฐานจัดเป็นภาษาเดียวกับภาษามาเลเซีย (ภาษามลายูมาตรฐานในมาเลเซียและบรูไน) แต่มีความแตกต่างจากภาษามาเลเซียหลายประการเช่นการออกเสียงและคำศัพท์ ความแตกต่างนี้มาจากอิทธิพลของภาษาชวาและภาษาดัตช์ในภาษาอินโดนีเซีย ภาษาอินโดนีเซียยังได้รับอิทธิพลจากภาษามลายูปาซาร์ (ภาษามลายูตลาด) ที่เป็นภาษากลางในบริเวณหมู่เกาะในสมัยอาณานิคม มีการอ้างว่าภาษามลายูในมาเลเซียใกล้เคียงกับภาษามลายูคลาสสิกมากกว่า แต่ภาษามาเลเซียสมัยใหม่ก็ได้รับอิทธิพลทางด้านรากศัพท์และประโยคจากภาษาอังกฤษด้วย ประเด็นที่ว่าภาษาอินโดนีเซียมีต้นกำเนิดที่แท้จริงจากภาษามลายูระดับสูง (ภาษามลายูราชสำนัก) หรือจากภาษามลายูระดับล่าง (ภาษามลายูตลาด) กันแน่ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ภาษามลายูระดับสูงเคยเป็นภาษาที่ใช้ในราชสำนักของรัฐสุลต่านยะโฮร์และในเขตบริหารของเนเธอร์แลนด์ในรัฐยะโฮร์ ส่วนภาษามลายูระดับล่างเป็นภาษาที่ใช้กันในสถานที่ซื้อขายและตามท่าเรือในกลุ่มเกาะอินโดนีเซีย นักภาษาศาสตร์บางกลุ่มกล่าวว่าภาษามาเลย์ระดับล่างนี้เป็นพื้นฐานของภาษาอินโดนีเซีย

ภาษาอินโดนีเซียมีผู้พูดเป็นภาษาแม่หรือภาษาที่หนึ่งเพียงส่วนน้อยของประชากรทั้งหมดของอินโดนีเซีย (ส่วนใหญ่อยู่ในเขตเมือง เช่น จาการ์ตา เมดาน บาลิก์ปาปัน) แต่มีคนถึง 200 ล้านคนที่ใช้ภาษานี้เป็นภาษาประจำชาติโดยมีระดับความชำนาญแตกต่างกันไป ในชาติที่มีภาษาพื้นเมืองมากกว่า 300 ภาษา และยังมีกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลายเช่นนี้ ภาษาประจำชาติมีบทบาทสำคัญมากในการสร้างความเป็นหนึ่งเดียวระหว่างผู้คนจากเกาะต่าง ๆ ทั่วประเทศ การใช้ภาษาอินโดนีเซียเป็นภาษาประจำชาติพบมากในสื่อ หน่วยงานราชการ โรงเรียน มหาวิทยาลัย ที่ทำงาน และในสถานการณ์ที่เป็นทางการ ภาษาอินโดนีเซียมาตรฐานและเป็นทางการมักใช้ในการเขียนหนังสือและหนังสือพิมพ์ รวมทั้งการประกาศข่าวทางโทรทัศน์และวิทยุ อย่างไรก็ตาม มีผู้พูดภาษาอินโดนีเซียเป็นภาษาแม่เพียงจำนวนน้อยที่ใช้ภาษาระดับทางการในการสนทนาในชีวิตประจำวัน

ภาษาอินโดนีเซียเป็นภาษาราชการในประเทศอินโดนีเซีย ใช้อย่างแพร่หลายทั้งในด้านการศึกษา เอกสารทางราชการเขียนด้วยภาษาอินโดนีเซีย และเป็นภาษาในสื่อในอินโดนีเซีย เช่น วารสาร วิทยุ โทรทัศน์ ภาษานี้ใช้อย่างแพร่หลายทั่วอินโดนีเซีย ในรัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐอินโดนีเซียมาตรา 15 ซึ่งได้กำหนดสัญลักษณ์ประจำชาติของอินโดนีเซียได้ระบุให้ภาษาอินโดนีเซียเป็นภาษาประจำชาติ ภาษานี้เป็นภาษาที่แสดงความเป็นหนึ่งเดียวของกลุ่มชาติพันธุ์ที่แตกต่างกันในอินโดนีเซียและเป็นสื่อกลางในการสื่อสาร

ภาษานี้ได้ประกาศให้เป็นภาษาเดียวของชาติในปฏิญาณซุมปะฮ์เปอมูดาเมื่อ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2471 โดยกำหนดให้ภาษามีพื้นฐานจากภาษามลายูสำเนียงรีเยา แม้ว่านักภาษาศาสตร์จะกล่าวว่านี่ไม่ใช่สำเนียงท้องถิ่นของรีเยาแต่เป็นสำเนียงมะละกาที่ใช้ในราชสำนักของยะโฮร์-รีเยา ตั้งแต่การประกาศใน พ.ศ. 2471 และการกำหนดในรัฐธรรมนูญเมื่อ พ.ศ. 2488 ภาษานี้ได้ใช้ในอินโดนีเซียตลอดมา ภาษานี้ได้รับอิทธิพลจากภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ในอินโดนีเซีย เช่น ภาษาชวา และภาษาดัตช์ในสมัยอาณานิคม ดังนั้น ภาษาอินโดนีเซียจึงมีคำยืมที่กว้างกว่าเมื่อเทียบกับภาษามลายู ในอีกมุมมองหนึ่ง ภาษาอินโดนีเซียจึงมีสถานะเหมือนเป็นภาษาประดิษฐ์ที่เป็นภาษาราชการใน พ.ศ. 2471 เนื่องจากเกิดขึ้นด้วยเหตุผลทางวิชาการมากกว่าเกิดขึ้นเองทางธรรมชาติ

การพัฒนาแยกกันระหว่างภาษามาเลเซียในมาเลเซียกับภาษาอินโดนีเซียทำให้มีมาตรฐานที่แตกต่างกัน ซึ่งมีเหตุผลมาจากความละเอียดอ่อนทางการเมืองและประวัติการวางมาตรฐานภาษามากกว่าจะเป็นเหตุผลทางวัฒนธรรม ในมาเลเซียจะถือว่าภาษาทั้งสองเป็นสำเนียงที่ต่างกันของภาษาเดียวกัน แต่ในอินโดนีเซียมองว่าเป็นภาษาต่างหากจากกัน (แต่ก็มีความเกี่ยวข้องกัน) ทัศนคติเช่นนี้มีผลให้ชาวอินโดนีเซียไม่ค่อยต้องการให้ภาษาของตนไปกลมกลืนกับภาษาของมาเลเซียและบรูไน ในขณะที่ชาวมาเลเซียต้องการแสดงให้เห็นว่าตนเองมีส่วนเกี่ยวข้องในวิวัฒนาการของภาษาร่วมกับชาวอินโดนีเซีย กระนั้นในปี พ.ศ. 2515 ก็ได้มีการปรับปรุงระบบการเขียนภาษาอินโดนีเซีย โดยเปลี่ยนการสะกดที่อิงแบบภาษาดัตช์มาเป็นแบบที่อิงภาษาอังกฤษอย่างภาษามาเลเซีย

ภาษาอินโดนีเซียเขียนด้วยอักษรละติน การออกเสียงพยัญชนะใกล้เคียงกับภาษาอิตาลี การสะกดอาจสร้างความสับสนบ้างเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงตัวสะกดเมื่ออินโดนีเซียได้รับเอกราช ได้แก่ การเปลี่ยนจาก oe เป็น u เมื่อ พ.ศ. 2490 และกรารเปลี่ยน tj เป็น c dj เป็น j nj เป็น ny sj เป็น sy ch เป็น kh เมื่อ พ.ศ. 2515 การสะกดแบบเก่าได้อิทธิพลจากภาษาดัตช์ และใช้กับชื่อเฉพาะที่สะกดมาก่อนหน้านั้น เช่นชื่อประธานาธิบดีซูฮาร์โต สะกดว่า Soeharto (oe ในภาษาดัตช์ออกเสียง อู) และยอกยาการ์ตา ปัจจุบันเขียน Yogyakarta แต่บางครั้งเขียนว่า Jogjakarta (j ในภาษาดัตช์ออกเสียง ย)

คำแต่ละคำอาจมีความหมายทางไวยากรณ์ต่างไปขึ้นกับปัจจัยที่ใช้ เช่นme + makan (memakan) หมายถึงกิน (ในความหมายของการย่อยสลาย) ในขณะที่ di + makan (dimakan) หมายถึงถูกกิน ter + makan (termakan) หมายถึงถูกกินโดยทันที ปัจจัยที่ต่างกัน 2 คำอาจใช้เปล่ยนความหมายของคำ เช่น duduk หมายถึงนั่งลง mendudukkan หมายถึงให้บางคนนั่งลงหรือวางของบางอย่างลง menduduki หมายถึง นั่งบนบางอย่าง didudukkan หมายถึง ถูกทำให้นั่งลง diduduki หมายถึง ถูกทำให้นั่งบน

ปัจจัยในภาษาอินโดนีเซียมีที่ยืมมาจากภาษาอื่น เช่น ภาษาสันสกฤต ภาษาอาหรับ ภาษาอังกฤษ เช่น maha-, juru-, pasca-, eka-, anti-, pro-

ภาษาอินโดนีเซียมีการแบ่งเพศของคำน้อย คำจำนวนมากที่อ้างถึงบุคคลไม่มีการจำแนกเพศ ตัวอย่างเช่น adik หมายถึงน้องโดยไม่ระบุเพศ ไม่มีการแยกคำที่หมายถึง"คนรัก" ออกเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง ถ้าต้องการระบุเพศจะเพิ่มคำคุณศัพท์เข้ามา เช่น adik laki-laki หมายถึงน้องชายที่สืบสายโลหิตเดียวกัน ไม่มีคำที่มีความหมายตรงกับภาษาอังกฤษ "man" ที่หมายถึงผู้ชายและความเป็นมนุษย์โดยทั่วไป

คำบางคำมีการแบ่งเพศบ้าง เช่น putri หมายถึงลูกสาว และ putra หมายถึงลูกชาย คำเหล่านี้มักเป็นคำยืมจากภาษาอื่น เช่นตัวอย่างข้างต้นเป็ยคำยืมจากภาษาสันสกฤตผ่านทางภาษาชวาโบราณ ในจาการ์ตาและบางพื้นที่ abang อาจใช้หมายถึงพี่ชาย kakak (พี่ที่สืบสายโลหิตเดียวกัน) หมายถึงพี่สาว

ภาษาอินโดนีเซียมีการสร้างคำใหม่ด้วยการเชื่อมรากศัพท์ตั้งแต่สองคำขึ้นไปเข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น rumah หมายถึงบ้าน makan หมายถึงกิน รวมกันเป็น rumah makan หมายถึงภัตตาคาร ส่วนอีกตัวอย่างคือ sepak แปลว่า แตะ bola แปลว่า บอล รวมกันเป็น sepak bola จะหมายถึง การแตะบอล หรือฟุตบอล นั่นเอง แต่ภาษามาเลยเซีย จะเปลี่ยนจาก sepak bola กลายเป็น bola sepak ส่วนความหมายก็ยังเปลี่ยนแปล เหมือนเดิม

ภาษาอินโดนีเซียมีการใช้ลักษณนามเช่นเดียวกับภาษาอื่น ๆ ในเอเชีย เช่น ภาษาเบงกาลี ภาษาไทย ตัวอย่างคำลักษณนาม เช่น ekor ใช้กับสัตว์ buah ใช้กับนามไม่มีชีวิต lembar ใช้กับกระดาษ biji ใช้กับสิ่งที่เป็นก้อนกลม ในการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการละคำลักษณนามได้

คำปฏิเสธอีกคำหนึ่งในภาษาอินโดนีเซียคือ jangan ซึ่งตรงกับคำปฏิเสธ do not ในภาษาอังกฤษ jangan ใช้ปฏิเสธคำสั่งหรือแสดงการต่อต้านการกระทำ เช่น Jangan tingalkan saya = อย่าทิ้งฉัน

การแสดงพหูพจน์ใช้การซ้ำคำ เช่น บุคคลใช้ว่า orang ประชาชนใช้ว่า orang-orang แต่ประชาชน 1,000 คนใช้ว่า seribu orang แต่คำโดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องแสดงความเป็นพหูพจน์ แต่บางครั้งการซ้ำคำไม่ได้แสดงความเป็นพหูพจน์เสมอไป เช่น hati หมายถึง หัวใจหรือตับขึ้นกับบริบท ในขณะที่ hati-hati หมายถึง ระมัดระวัง นอกจากนั้นบางคำเช่น biri-biri (แกะ) และ kupu-kupu (ผีเสื้อ) อาจเป็นทั้งรูปพหูพจน์และเอกพจน์ขึ้นกับบริบทหรือตัวเลขในประโยค

สรรพนามแทนบุรุษที่ 1 พหูพจน์ มีสองคำ คือ kami (ไม่รวมผู้ฟัง) และ Kita (รวมผู้ฟัง) สรรพนามบุรุษที่ 1 เอกพจน์ มีสองคำคือ saya และ aku มีความหมายเหมือนกันแต่ saya เป็นทางการมากกว่า aku ใช้กับคนสนิทในครอบครัว หรือกับเพื่อน สรรพนามบุรุษที่ 2 มีสามคำคือ kamu anda และ kalian anda เป็นคำที่สุภาพที่สุด kalian เป็นรูปพหูพจน์ และไม่เป็นทางการมากนัก นอกจากนี้ ภาษาอินโดนีเซียยังมีคำสรรพนามอื่นๆอีก ซึ่งขึ้นกับโครงสร้างทางสังคมและอิทธิพลของภาษาถิ่น คำบางคำถือว่าสุภาพมากและใช้ในบทกวีเท่านั้น เช่น saudara/sauderi

มีสองคำคือ ini (นี่) ใช้กับสิ่งที่อยู่ใกล้ผู้พูดกับ itu (โน่น) ใช้กับสิ่งที่อยู่ไกลผู้พูด ทั้งสองคำนี้ไม่มีรูปพหูพจน์

รูปแบบพื้นฐานของประโยคเป็น ประธาน-กริยา-กรรม แต่จะใช้ในรูปถูกกระทำ กรรม-กริยา- (ประธาน) ได้ ซึ่งถือเป็นประโยคแบบละประธาน คำขยายตามหลังคำที่ถูกขยาย

ไม่มีการผันตามจำนวนหรือบุคคล ไม่มีเครื่องหมายแสดงกาล แต่แสดงกาลด้วยการเติมคำในประโยค เช่น เมื่อวานนี้หรือคำบ่งกาลอื่นๆ เช่น sudah (พร้อมแล้ว) อย่างไรก็ตาม ภาษาอินโดนีเซียมีระบบปัจจัยของกริยาที่ซับซ้อน เพื่อแบ่งแยกรูปกระทำ-ถูกกระทำ การใช้ปัจจัยเหล่านี้อาจถูกละในการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการ

ในการพูด การเน้นที่ส่วนของประโยคต่างกันทำให้มีการเรียงลำดับคำต่างกันไปได้ รูปแบบเหล่านี้พบน้อยในการเขียน ตัวอย่าง เช่น

ภาษาอินโดนีเซียเป็นภาษามลายูสมัยใหม่ มีคำยืมจากภาษาต่าง ๆ มากมาย เช่น ภาษาสันสกฤต ภาษาอาหรับ (รวมภาษาเปอร์เซียและภาษาฮีบรู) ภาษาดัตช์ ภาษาโปรตุเกส ภาษาจีน และภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม คำส่วนใหญ่มาจากรากศัพท์ของภาษาตระกูลออสโตรนีเซียน

คำที่ยืมจากภาษาสันสกฤตได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธและศาสนาฮินดู มีทั้งที่ยืมจากภาษาสันสกฤตโดยตรงและยืมผ่านภาษาชวา คำจากภาษาสันสกฤตส่วนใหญ่เข้ามาเป็นพื้นฐานของศัพท์ภาษาอินโดนีเซียจนไม่รู้สึกว่เป็นศัพท์ภาษาต่างประเทศ ส่วนคำยืมจากภาษาอาหรับนั้น ได้รับอิทธิพลจากศาสนาอิสลาม การแปลคัมภีร์ไบเบิลยุคแรก ๆ จะใช้คำจากภาษาอาหรับแทนที่คำเฉพาะที่เป็นภาษาฮีบรู แต่ปัจจุบันเริ่มหันไปใช้คำจากภาษากรีกหรือคำจากภาษาฮีบรูมากขึ้น ตัวอย่างเช่น คำว่าพระเยซู เดิมใช้ว่า Isa แบบอาหรับ ปัจจุบันใช้ว่า Yesus

คำยืมจากภาษาโปรตุเกสเป็นคำทั่วไป ซึ่งเกี่ยวข้องกับการที่ชาวโปรตุเกสเป็นชาวยุโรปกลุ่มแรกที่เข้ามาถึงหมู่เกาะเครื่องเทศ คำยืมจากภาษาจีน มักเป็นศัพท์เกี่ยวกับการค้าหรือสิ่งของที่มาจากจีน คำยืมจากภาษาดัตช์เป็นผลจากการที่เคยเป็นอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์มาก่อน คำยืมกลุ่มนี้มักมีลำดับพยัญชนะที่ยากออกเสียง ซึ่งแก้ปัญหาโดยแทรกเสียงสระเข้าไป เช่น schroef (สครุฟ) จากภาษาดัตช์ เป็น sekrup (เซอกรุป) ในภาษาอินโดนีเซีย

เนื่งจากมีคำยืมจากหลายภาษาจึงมีคำที่มีความหมายเหมือนกันมาก เช่นคำว่า "หนังสือ" มีถึง 3 คำ คือ pustaka จากภาษาสันสกฤต kitab จากภาษาอาหรับ และ buku จากภาษาดัตช์ ความหมายของทั้ง 3 คำนี้ต่างกันเล็กน้อย pustaka ใช้กับหนังสือเกี่ยวกับเรื่องราวโบราณ หรือความรู้ในวงจำกัด ถ้าอยู่ในรูป perpustakaan หมายถึงห้องสมุด kitab ใช้กับหนังสือทางศาสนา เช่น alkitab หมายถึงคัมภีร์ไบเบิล buku ใช้เรียกหนังสือทั่วไป


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406