ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ภาษาอังกฤษใหม่

ภาษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ

ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค

ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรป ภาษาอังกฤษยังได้รับอิทธิพลเพิ่มจากภาษานอร์สเก่าเพราะการบุกครองของไวกิ้งในคริสต์ศตวรรษที่ 9 และ 10

การพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ทำให้ภาษาอังกฤษยืมคำมาจากภาษานอร์มันอย่างมาก และสัญนิยมคำศัพท์และการสะกดเริ่มให้ลักษณะความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกลุ่มภาษาโรมานซ์ แก่ภาษาที่ต่อมากลายเป็นภาษาอังกฤษกลาง การเลื่อนสระครั้งใหญ่ (Great Vowel Shift) ซึ่งเริ่มขึ้นทางตอนใต้ของอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นเครื่องหมายของการกำเนิดของภาษาอังกฤษใหม่จากภาษาอังกฤษกลาง

เนื่องจากการกลมกลืนคำจากภาษาอื่นมากมายตลอดประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษใหม่จึงมีคำศัพท์ใหญ่มาก โดยมีการสะกดที่ซับซ้อนและไม่สม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสระ ภาษาอังกฤษใหม่ไม่เพียงแต่กลมกลืนคำจากภาษาอื่นของยุโรปเท่านั้น แต่ยังรวมภาษาอื่นทั่วโลกด้วย พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ดแสดงรายการคำไว้กว่า 250,000 คำ ซึ่งยังไม่รวมศัพท์เทคนิค วิทยาศาสตร์และสแลง

ภาษาอังกฤษใหม่ ที่บางครั้งมีผู้อธิบายว่าเป็นภาษากลางภาษาแรกของโลก เป็นภาษาที่ใช้กันมากที่สุดหรือในบางกรณี เป็นภาษาระหว่างประเทศที่ใช้สื่อสาร วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ ธุรกิจ การเดินเรือ การบิน การบันเทิง วิทยุและการทูต ภาษาอังกฤษเริ่มแพร่ออกนอกหมู่เกาะอังกฤษจากการเติบโตของจักรวรรดิอังกฤษ และเมื่อถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ภาษาอังกฤษก็ไปทั่วโลกอย่างแท้จริง หลังการยึดอาณานิคมของอังกฤษตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 19 ภาษาอังกฤษได้กลายเป็นภาษาเด่นในสหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ อิทธิพลทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมที่เพิ่มขึ้นของสหรัฐอเมริกาและสถานภาพอภิมหาอำนาจตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองยิ่งเร่งการแพร่ของภาษาไปทั่วโลก ภาษาอังกฤษเป็นภาษาเด่นของผู้ได้รับรางวัลโนเบลทางวิทยาศาสตร์แทนภาษาเยอรมันในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษเป็นภาษาเด่นเทียบเท่าและอาจแซงหน้าภาษาฝรั่งเศสในทางการทูตตั้งแต่ครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19

ความรู้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงานกลายเป็นสิ่งจำเป็นในหลายสาขา อาชีพและวิชาชีพ เช่น แพทยศาสตร์และวิชาการคอมพิวเตอร์ ผลคือ กว่าหนึ่งพันล้านคนสามารถพูดภาษาอังกฤษได้อย่างน้อยในระดับพื้นฐาน เป็นหนึ่งในหกภาษาราชการของสหประชาชาติ

ผลกระทบหนึ่งของการเติบโตของภาษาอังกฤษ คือ การลดความหลากหลายทางภาษาพื้นเมืองในหลายส่วนของโลก อิทธิพลของภาษาอังกฤษยังมีบทบาทสำคัญในการลดจำนวนภาษา ในทางตรงข้าม ความหลากหลายภายในโดยธรรมชาติของภาษาอังกฤษ ร่วมกับภาษาผสม (creole) และภาษาแก้ขัด (pidgin) มีศักยะผลิตภาษาใหม่ที่แยกกันชัดเจนจากภาษาอังกฤษตามกาล

มีผู้พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่งราว 360 ล้านคน ปัจจุบัน ภาษาอังกฤษอาจเป็นภาษาที่มีผู้พูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดเป็นอันดับสาม รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน อย่างไรก็ดี เมื่อรวมผู้ที่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่และมิใช่ภาษาแม่แล้ว ภาษาอังกฤษก็อาจเป็นภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุดในโลก แม้อาจน้อยกว่าผู้พูดภาษาจีนรวมกัน (ขึ้นอยู่กับว่านับรวมเป็น "ภาษา" หรือนับแยกเป็น "ภาษาถิ่น")

การประมาณซึ่งรวมผู้พูดเป็นภาษาที่สองนั้นแปรผันอย่างมากตั้งแต่ 470 ล้านคน ถึงกว่าหนึ่งพันล้านคน ขึ้นอยู่กับว่านิยามและวัดการรู้หนังสือหรือความชำนาญอย่างไร เดวิด คริสทอล (David Crystal) ศาสตราจารย์ด้านภาษาศาสตร์ คำนวณว่าผู้ที่พูดมิใช่ภาษาแม่นั้นมีมากกว่าผู้พูดเป็นภาษาแม่เป็นสัดส่วน 3 ต่อ 1

ประเทศที่มีประชากรผู้พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่มากที่สุด ได้แก่ สหรัฐอเมริกา (226 ล้านคน) สหราชอาณาจักร (61 ล้านคน) แคนาดา (18.2 ล้านคน) ออสเตรเลีย (15.5 ล้านคน) ไนจีเรีย (3-5 ล้านคน) ไอร์แลนด์ (3.8 ล้านคน) แอฟริกาใต้ (3.7 ล้านคน) และนิวซีแลนด์ (3.6 ล้านคน) ตามลำดับ ข้อมูลมาจากสำมะโนปี 2549

หลายประเทศ อย่างฟิลิปปินส์ จาเมกาและไนจีเรียยังมีผู้พูดภาษาถิ่นต่อเนื่อง (dialect continuum) เป็นภาษาแม่อีกหลายล้านคน ซึ่งมีตั้งแต่ภาษาครีโอล (creole language) อิงภาษาอังกฤษไปจนถึงภาษาอังกฤษรุ่นที่เป็นมาตรฐานมากกว่า ประเทศอินเดียมีผู้พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองมากที่สุด คริสทอลอ้างว่า เมื่อรวมผู้พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่และไม่เป็นภาษาแม่รวมกัน ปัจจุบัน ประเทศอินเดียมีประชากรที่พูดหรือเข้าใจภาษาอังกฤษมากกว่าประเทศใดในโลก

ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในแองกวิลลา แอนติกาและบาร์บูดา ออสเตรเลีย บาฮามาส บาร์บาโดส เบลีซ เบอร์มิวดา บริติชอินเดียนโอเชียนเทร์ริทอรี หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน แคนาดา หมู่เกาะเคย์แมน ดอมินีกา หมู่เกาะฟอล์คแลนด์ ยิบรอลตาร์ เกรนาดา กวม เกิร์นซีย์ กายอานา ไอร์แลนด์ เกาะแมน จาไมกา เจอร์ซีย์ มอนต์เซอร์รัต นาอูรู นิวซีแลนด์ หมู่เกาะพิตแคร์น เซนต์เฮเลนา อัสเซนชัน และตริสตันดากูนยา เซนต์คิตส์และเนวิส เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ สิงคโปร์ เกาะเซาท์จอร์เจียและหมู่เกาะเซาท์แซนด์วิช ตรินิแดดและโตเบโก หมู่เกาะเติกส์และหมู่เกาะเคคอส สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา

ในบางประเทศซึ่งภาษาอังกฤษมิใช่ภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุด แต่เป็นภาษาราชการ ได้แก่ บอตสวานา แคเมอรูน สหพันธรัฐไมโครนีเซีย ฟิจิ แกมเบีย กานา อินเดีย เคนยา คิริบาส เลโซโท ไลบีเรีย มอลตา หมู่เกาะมาร์แชลล์ มอริเชียส นามิเบีย ไนจีเรีย ปากีสถาน ปาเลา ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์ รวันดา เซนต์ลูเซีย ซามัว เซเชลส์ เซียร์ราลีโอน หมู่เกาะโซโลมอน ศรีลังกา ซูดาน เซาท์ซูดาน สวาซิแลนด์ แทนซาเนีย ยูกันดา แซมเบียและซิมบับเว นอกจากนี้ยังมีบางประเทศที่ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการร่วมในบางดินแดน เช่น กลุ่มเกาะซันอันเดรส โปรบีเดนเซีย และซันตากาตาลีนาของโคลอมเบีย และมัสคีโทโคสท์ของนิการากัว ซึ่งเป็นผลจากการยึดเป็นอาณานิคมของอังกฤษในพื้นที่

ภาษาอังกฤษยังเป็นหนึ่งใน 11 ภาษาราชการที่ได้รับสถานภาพเท่ากันในแอฟริกาใต้ ภาษาอังกฤษยังเป็นภาษาราชการในดินแดนในภาวะพึ่งพิงปัจจุบันของออสเตรเลีย (เกาะนอร์ฟอล์ก เกาะคริสต์มาสและเกาะโคคอส) และสหรัฐอเมริกา (อเมริกันซามัว กวม หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา เปอร์โตริโก และหมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐอเมริกา และอดีตอาณานิคมอังกฤษ ฮ่องกง

แม้รัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกาจะไม่มีภาษาราชการ แต่ภาษาอังกฤษได้รับสถานะราชการโดยรัฐบาลของ 30 จาก 50 รัฐ แม้จะมิได้ระบุสถานะราชการ ภาษาอังกฤษยังเป็นภาษาสำคัญในอดีตอาณานิคมและรัฐในอารักขาของสหราชอาณาจักรหลายแห่ง เช่น บาห์เรน บังกลาเทศ บรูไน ไซปรัส มาเลเซียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

ภาษาอังกฤษมักถูกเรียกว่าเป็น "ภาษาสากล" เพราะมีการพูดอย่างกว้างขวาง และแม้จะมิใช่ภาษาราชการในประเทศส่วนใหญ่ แต่ปัจจุบัน มีการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศมากที่สุด ตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของการสื่อสารการบินและในทะเล ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหประชาชาติและองค์การระหว่างประเทศอีกหลายแห่ง ซึ่งรวมถึงคณะกรรมการโอลิมปิกสากล

ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่มีการศึกษาเป็นภาษาต่างประเทศมากที่สุดในสหภาพยุโรป ถึง 89% ในเด็กวัยเรียน นำหน้าภาษาฝรั่งเศสที่ 32% ขณะที่การรับรู้ประโยชน์ของภาษาต่างประเทศในบรรดาชาวยุโรป คือ 68% สนับสนุนภาษาอังกฤษ มากกว่าภาษาฝรั่งเศสที่ 25% ในบรรดาบางประเทศสหภาพยุโรปที่ไม่พูดภาษาอังกฤษ ประชากรผู้ใหญ่จำนวนมากอ้างว่าสามารถสนทนาภาษาอังกฤษได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สวีเดน 85%, เดนมาร์ก 83%, เนเธอร์แลนด์ 79%, ลักเซมเบิร์ก 66% และในฟินแลนด์ สโลวีเนีย ออสเตรเลีย เบลเยียมและเยอรมนี กว่า 50% ในปี 2555 หากไม่นับผู้พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ ชาวยุโรป 38% มองว่าตนสามารถพูดภาษาอังกฤษ แต่ชาวญี่ปุ่นเพียง 3% ที่มองเช่นนั้น

หนังสือ นิตยสารและหนังสือพิมพ์ที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษพบได้ในหลายประเทศทั่วโลก และภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้มากที่สุดในแวดวงวิทยาศาสตร์ โดยดัชนีการอ้างอิงวิทยาศาสตร์รายงานเมื่อปี 2540 ว่า บทความของดัชนีฯ 95% เขียนในภาษาอังกฤษ แม้เพียงครึ่งหนึ่งจะมาจากผู้ประพันธ์ในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษ

วรรณกรรมภาษาอังกฤษคิดเป็น 28% ของวรรณกรรมทั้งหมดที่ตีพิมพ์ทั่วโลก และคิดเป็น 30% ของเนื้อหาเว็บในปี 2554 (จาก 50% ในปี 2543)

การใช้ภาษาอังกฤษที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกนี้ได้มีผลกระทบใหญ่หลวงต่อภาษาอื่นจำนวนมาก จนนำไปสู่ภาษาเปลี่ยนหรือกระทั่งภาษาตาย และการอ้างจักรวรรดินิยมทางภาษา ภาษาอังกฤษเองก็เปิดรับการเปลี่ยนแปลงทางภาษามากขึ้น เพราะความหลากหลายในภูมิภาคป้อนกลับไปยังภาษาโดยรวมเช่นกัน

พยัญชนะอังกฤษสมัยใหม่ประกอบด้วยอักษร 26 ตัว ได้แก่ a, b, c, d, e, f, g, h, i, j, k, l, m, n, o, p, q, r, s, t, u, v, w, x, y, z (รูปอักษรใหญ่เป็น A, B, C, D, E, F, G, H, I, J, K, L, M, N, O, P, Q, R, S, T, U, V, W, X, Y, Z ตามลำดับ) สัญลักษณ์อื่นซึ่งใช้ในการเขียนภาษาอังกฤษมีการผูก ? และ ? ซึ่งพบได้น้อย นอกจากนี้ ยังมีการใช้เครื่องหมายเสริมสัทอักษรบ้าง ส่วนใหญ่ในคำยืมจากภาษาต่างประเทศ (เช่น เครื่องหมายลงน้ำหนักเด่นชัดในคำว่า caf? และ expos?) และในการใช้เครื่องหมายไดเอเรซิส (diaeresis) บางครั้งเพื่อชี้ว่าสระสองตัวนั้นออกเสียงแยกกัน (เช่น ในคำว่า na?ve และ Zo?)

ระบบการสะกด หรืออักขรวิธี ของภาษาอังกฤษนั้นมีหลายชั้น โดยมีส่วนการสะกดภาษาฝรั่งเศส ละตินและกรีกบนระบบเจอร์แมนิกพื้นเมือง นอกจากนี้ ภาษาอังกฤษยังซับซ้อนขึ้นจากการเปลี่ยนเสียงที่ไม่ไปด้วยกันกับอักขรวิธี จึงหมายความว่า การสะกดภาษาอังกฤษมิใช่ตัวชี้บอกการออกเสียงที่น่าเชื่อถือ หรือกลับกัน เมื่อเทียบกับภาษาอื่นจำนวนมาก (กล่าวโดยทั่วไป ภาษาอังกฤษมิใช่อักขรวิธีเชิงหน่วยเสียง)

แม้อักษรและเสียงอาจไม่สัมพันธ์กันเมื่อแยกกัน แต่กฎการสะกดซึ่งพิจารณาโครงสร้างพยางค์ สัทศาสตร์และการลงน้ำหนักนั้นน่าเชื่อถือไม่น้อยกว่า 75% การสะกดเสียงบางอย่างสนับสนุนข้ออ้างที่ว่าภาษาอังกฤษนั้นสอดคล้องกับการออกเสียงกว่า 80% อย่างไรก็ดี ภาษาอังกฤษมีความสัมพันธ์สอดคล้องระหว่างเสียงกับอักษรน้อยกว่าภาษาอื่นจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น ลำดับอักษร ough สามารถออกเสียงได้ถึง 10 วิธี ผลของประวัติอักขรวิธีซับซ้อนนี้ คือ การอ่านอาจเป็นสิ่งท้าทาย ผู้เรียนต้องใช้เวลานานกว่าภาษาอื่นจึงจะเป็นนักอ่านภาษาอังกฤษได้คล่องอย่างสมบูรณ์ ซึ่งรวมถึงภาษาฝรั่งเศส กรีกและสเปน พบว่า เด็กที่พูดภาษาอังกฤษใช้เวลาเรียนอ่านนานกว่าเด็กในประเทศยุโรปอื่น 12 ประเทศสองปี

สำหรับพยัญชนะ ความสอดคล้องระหว่างการสะกดกับการออกเสียงนั้นค่อนข้างสม่ำเสมอ อักษร b, d, f, h, j, k, l, m, n, p, r, s, t, v, w, z แทนหน่วยเสียง /b/, /d/, /f/, /h/, /d?/, /k/, /l/, /m/, /n/, /p/, /r/, /s/, /t/, /v/, /w/, /z/ ตามลำดับ อักษร c และ g ปกติจะแทน /k/ และ /g/ แต่ยังมีเสียง c อ่อนที่ออกเสียงเป็น /s/ และเสียง g อ่อนที่ออกเสียงเป็น /d?/ บางเสียงนั้นแทนด้วยทวิอักษร ได้แก่ ch แทน /t?/, sh แทน /?/, th แทน /?/ หรือ /?/, ng แทน /?/ (นอกจากนี้ ph ออกเสียงเป็น /f/ ในคำที่มาจากภาษากรีก) อักษรพยัญชนะซ้อน (และ ck) โดยทั่วไปออกเสียงเป็นพยัญชนะเดี่ยว และ qu และ x ออกเสียงเป็น /kw/ และ /ks/ อักษร y เมื่อใช้เป็นพยัญชนะ แทน /j/ อย่างไรก็ดี ชุดกฎนี้มีข้อยกเว้นเช่นกัน หลายคำมีพยัญชนะที่ไม่ออกเสียงหรือออกเสียงพิเศษ

ส่วนสระนั้น ความสอดคล้องระหว่างการสะกดและการออกเสียงยิ่งไม่สม่ำเสมอ ภาษาอังกฤษมีหน่วยเสียงสระมากกว่าอักษรสระ (a, e, i, o, u) มาก ซึ่งหมายความว่า การประสมอักษรมักจำเป็นต้องใช้ระบุสระประสมสองเสียงและสระยาวอื่น ๆ (เช่น oa ในคำว่า boat และ ay ในคำว่า stay) หรือการใช้ e ที่ไม่ออกเสียงหรืออุบายคล้ายกันแทน (เช่นในคำว่า note และ cake) ทว่า อุบายเหล่านี้ก็ยังไม่ใช้คงเส้นคงวา ฉะนั้น การออกเสียงสระจึงยังเป็นแหล่งความไม่สม่ำเสมอหลักในอักขรวิธีภาษาอังกฤษ

สัทวิทยา (ระบบเสียง) ของภาษาอังกฤษแตกต่างกันตามภาษาถิ่น คำอธิบายด้านล่างใช้ได้กับชนิดมาตรฐาน ที่เรียกว่า สำเนียงอังกฤษมาตรฐาน (RP) และสำเนียงอเมริกันมาตรฐาน

ตารางด้านล่างแสดงระบบหน่วยเสียงพยัญชนะซึ่งทำหน้าที่ในภาษาอังกฤษส่วนใหญ่ สัญลักษณ์ต่าง ๆ มาจากสัทอักษรสากล (IPA) และยังใช้ระบุการออกเสียงในพจนานุกรมหลายเล่ม

หากพยัญชนะมาเป็นคู่ (เช่น "p b") พยัญชนะตัวแรกจะไม่ก้อง ออกเสียงตัวที่สอง สัญลักษณ์ส่วนมากแสดงเสียงเดียวกับตามปกติเมื่อใช้เป็นอักษร แต่ /j/ แทนเสียงแรกของ yacht สัญลักษณ์ /?/ แทนเสียง sh, /?/ แทนเสียงกลางของ vision, /t?/ แทนเสียง ch, /d?/ แทนเสียง j ใน jump, /?/ และ /?/ แทนเสียง th ใน thing และ this ตามลำดับ, และ /?/ แทนเสียง ng ใน sing เสียงเสียดแทรก เพดานอ่อน ไม่ก้อง /x/ มิใช่หน่วยเสียงปกติในภาษาอังกฤษชนิดส่วนใหญ่ แม้ผู้พูดคำภาษาสกอต/เกลิคบางคนใช้ เช่น loch หรือในคำยืมอื่น เช่น chanukah

ระบบหน่วยเสียงและการออกเสียงสระนี้แปรผันได้มากตามภาษาถิ่น ตารางด้านล่างนี้แสดงรายการสระที่พบในสำเนียงอังกฤษมาตรฐานและสำเนียงอเมริกันมาตรฐาน (ซึ่งในที่นี้ย่อเป็น GAm) พร้อมตัวอย่างคำที่หน่วยเสียงปรากฏ สระนั้นแสดงด้วยสัญลักษณ์จากสัทอักษรสากล สัญลักษณ์ซึ่งให้แก่ RP นั้นพบใช้ค่อนข้างเป็นมาตรฐานในพจนานุกรมของอังกฤษและสิ่งพิมพ์เผยแพร่อื่น

ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่เน้นหนัก ซึ่งกล่าวกันว่าการเน้นพยางค์นั้นเป็นหน่วยเสียง คือ สามารถจำแนกความแตกต่างของคำได้ (เช่น นาม increase เน้นพยางค์แรก และกริยา increase เน้นพยางค์ที่สอง) แทบทุกคำที่มีมากกว่าหนึ่งพยางค์ จะมีพยางค์หนึ่งที่ระบุว่าเน้นมาก (primary stress) และอาจมีอีกพยางค์หนึ่งที่เน้นรองลงมา (secondary stress) เช่นในคำว่า civilization /?s?v?la??ze??n?/ ซึ่งพยางค์แรกเน้นรอง และพยางค์ที่สี่เน้นมาก ส่วนพยางค์อื่นไม่เน้น

กระบวนการที่สัมพันธ์ใกล้ชิดกับการเน้นพยางค์ในภาษาอังกฤษ คือ การลดการออกเสียงสระ ตัวอย่างเช่น นาม contract เน้นพยางค์แรก และมีสระ /?/ ใน RP ขณะที่กริยา contract ไม่เน้นพยางค์แรก และสระลดเหลือ /?/ (ชวา) กระบวนการเดียวกันนี้ใช้กับคำที่ทำหน้าที่ทางไวยากรณ์สามัญบางคำ เช่น of ซึ่งออกเสียงด้วยสระคนละตัวขึ้นอยู่กับว่าเน้นคำเหล่านี้ในประโยคหรือไม่

ภาษาอังกฤษยังมีการเน้นฉันทลักษณ์ที่หนัก คือ การเน้นบางคำในประโยคเพิ่มที่ผู้พูดต้องการดึงความสนใจ ทำนองเดียวกับที่ออกเสียงคำที่สำคัญน้อยเบา สำหรับจังหวะ ภาษาอังกฤษจัดเป็นภาษาที่มีการเน้นบางพยางค์ ซึ่งมีแนวโน้มให้เวลาพักระหว่างพยางค์ที่เน้นเท่ากัน โดยออกเสียงกลุ่มพยางค์ที่ไม่เน้นเร็วขึ้น

สำหรับทำนองเสียง มีการใช้ระดับเสียงเชิงวากยสัมพันธ์ในภาษาอังกฤษ ตัวอย่างเช่น เพื่อถ่ายทอดความประหลาดใจหรือประชดประชัน หรือเพื่อเปลี่ยนข้อความเป็นคำถาม ภาษาถิ่นส่วนใหญ่ของภาษาอังกฤษใช้ทำนองเสียงลงสำหรับข้อความบอกเล่า และทำนองเสียงสูงเพื่อแสดงวามไม่แน่ใจ เช่น ในคำถาม (โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำถามปลายปิด) นอกจากนี้ ยังมีการเปลี่ยนทำนองเสียงตรงพยางค์ที่เน้นหนักเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พยางค์ที่เน้นหนักที่สุดในประโยคหรือกลุ่มทำนองเสียง

ไวยากรณ์อังกฤษมีการผันคำน้อยเมื่อเทียบกับภาษาอื่นในตระกูลอินโด-ยูโรเปียนส่วนใหญ่ ตัวอย่างเช่น ภาษาอังกฤษใหม่ ซึ่งไม่เหมือนกับภาษาเยอรมันหรือดัตช์ใหม่ และภาษาโรมานซ์ ไม่มีเพศทางไวยากรณ์และความสอดคล้องของคุณศัพท์ เครื่องหมายการกแทบไม่ปรากฏในภาษาอังกฤษและส่วนใหญ่มีอยู่เฉพาะในสรรพนาม การวางแบบผันกริยาแข็ง (เช่น speak/spoke/spoken) กับผันกริยาอ่อน (เช่น love/loved หรือ kick/kicked) ซึ่งรับมาจากภาษาเยอรมันลดความสำคัญลงในภาษาอังกฤษใหม่ และส่วนที่เหลือของการผันคำ (เช่น เครื่องหมายพหูพจน์) กลายมาพบได้มากขึ้น

ในขณะเดียวกัน ภาษาอังกฤษกลายมาเป็นเชิงวิเคราะห์มากขึ้น และได้พัฒนาลักษณะอย่างกริยาข่วยและลำดับคำเป็นทรัพยากรสำหรับสื่อความหมาย คำช่วยกริยาเป็นการผูกคำถาม สภาพปฏิเสธ กรรมวาจกและภาวะต่อเนื่อง

คำเจอร์แมนิก (Germanic, คำจากภาษาอังกฤษเก่าหรือ ในวงแคบกว่า คำที่มีกำเนิดจากภาษานอร์สโบราณโดยทั่วไป) มีแนวโน้มสั้นกว่า คำแลทะเนท (Latinate, คำที่มีรากศัพท์หรือเลียนภาษาละติน) และใช้พูดในชีวิตประจำวันมากกว่า ซึ่งรวมสรรพนาม บุพบท สันธาน กริยาช่วย ฯลฯ พื้นฐานแทบทั้งหมด ซึ่งเป็นฐานของวากยสัมพันธ์และไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ โดยทั่วไป ความสั้นของคำนั้นมาจากการตัดกลางคำในภาษาอังกฤษกลาง (เช่น อังกฤษเก่า h?afod  อังกฤษใหม่ head, อังกฤษเก่า s?wol  อังกฤษใหม่ soul) และจากการตัดพยางค์สุดท้ายเนื่องจากการเน้นพยางค์ (เช่น อังกฤษเก่า gamen  อังกฤษใหม่ game, อังกฤษเก่า ?rende  อังกฤษใหม่ errand) มิใช่เพราะคำเจอร์แมนิกสั้นกว่าคำแลทะเนทเป็นปกติอยู่แล้ว คำซึ่งมักพิจารณาว่าสละสลวยหรือมีการศึกษาในภาษาอังกฤษใหม่จึงมักเป็นคำแลทะเนท

ในหลายกรณี ผู้ใช้ภาษาอังกฤษสามารถเลือกระหว่างไวพจน์เจอร์แมนิกและแลทะเนท เช่น come หรือ arrive, sight หรือ vision, freedom หรือ liberty ในบางกรณี มีทางเลือกระหว่างคำที่มีรากศัพท์จากกลุ่มภาษาเจอร์แมนิก (oversee) คำที่มีรากศัพท์จากภาษาละติน (supervise) และคำภาษาฝรั่งเศสที่มีรากศัพท์มาจากคำเดียวกันในภาษาละติน (survey) หรือกระทั่งคำเจอร์แมนิกที่มีรากศัพท์จากภาษานอร์มัน (เช่น warranty) กับภาษาฝรั่งเศสสำเนียงปารีส (guarantee) หรือแม้แต่ทางเลือกระหว่างแหล่งเจอร์แมนิกและแลทะเนทหลายแหล่งก็มี เช่น sickness (อังกฤษเก่า), ill (นอร์สโบราณ), infirmity (ฝรั่งเศส), affliction (ละติน) อย่างไรก็ดี ไวพจน์จำนวนมากนี้มิใช่ผลของอิทธิพลภาษาฝรั่งเศสและละติน เพราะภาษาอังกฤษมีคำหลากหลายอยู่แล้วก่อนยืมคำภาษาฝรั่งเศสและละตินอย่างกว้างขวาง

นอกจากนี้ในชื่อสัตว์และเนื้อสัตว์จะใช้ศัพท์แยกจากกัน ชื่อสัตว์มักมีชื่อเจอร์แมนิก และเนื้อมีชื่อที่มีรากศัพท์จากภาษาฝรั่งเศส ตัวอย่างเช่น deer และ venison, cow และ beef; swine/pig และ pork, และ sheep/lamb และ mutton ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นผลจากการพิชิตอังกฤษของนอร์มัน ซึ่งชนชั้นสูงที่พูดภาษาแองโกล-นอร์มันเป็นผู้บริโภคเนื้อสัตว์ที่ผลิตโดยชนชั้นล่าง ที่ส่วนใหญ่เป็นชาวแองโกล-แซ็กซัน

ภาษาอังกฤษรับศัพท์เทคนิคมาใช้กันทั่วไปโดยง่ายและมักรับคำและวลีใหม่ ๆ เข้ามา ตัวอย่างปรากฏการณ์นี้ เช่น cookie, Internet และ URL (ศัพท์เทคนิค) เช่นเดียวกับ genre, ?ber, lingua franca และ amigo ซึ่งมาจากภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลีและสเปนตามลำดับ นอกเหนือจากนี้ สแลงมักให้ความหมายใหม่แก่คำและวลีเก่าด้วย

คำศัพท์ในภาษาอังกฤษนั้นมีมหาศาล แต่การระบุตัวเลขขนาดแน่ชัดนั้นเป็นประเด็นการนิยามมากกว่าการคำนวณ และไม่มีแหล่งข้อมูลอย่างเป็นทางการที่จะนิยามคำและการสะกดภาษาอังกฤษที่ยอมรับกัน

บรรณาธิการของพจนานุกรมสากลใหม่ฉบับตีพิมพ์ครั้งที่สามของเว็บสเตอร์ ไม่ย่อ (Webster's Third New International Dictionary, Unabridged) รวมคำหลักสำคัญไว้ 475,000 คำ แต่ในคำนำ พวกเขาประมาณว่าตัวเลขที่แท้จริงจะสูงกว่านี้มาก นักภาษาศาสตร์และนักพจนานุกรมโดยทั่วไปไม่ถือการเปรียบเทียบขนาดคำศัพท์ภาษาอังกฤษกับขนาดคำศัพท์ภาษาอื่นจริงจังนัก และนอกจากนี้ยังมีข้อเท็จจริงที่ว่าพจนานุกรมจะมีนโยบายการรวมและนับหน่วยข้อมูลแตกต่างกัน

ในเดือนธันวาคม 2553 การศึกษาร่วมของฮาร์วาร์ด/กูเกิลพบว่า ภาษาอังกฤษมีคำ 1,022,000 คำ และขยายตัวที่อัตรา 8,500 คำต่อปี การค้นพบนี้มีขึ้นหลังการคำนวณโดยคอมพิวเตอร์จากหนังสือที่ถูกแปลงเป็นดิจิทัล 5,195,769 เล่ม ส่วนการค้นพบอื่นประมาณอัตราการเติบโตของคำไว้ 25,000 คำต่อปี

ในบรรดาหนึ่งพันคำที่ใช้มากที่สุดในภาษาอังกฤษ ส่วนใหญ่ (พิสัยการประมาณตั้งแต่ราว 50% ไปจนถึงกว่า 80%) เป็นคำเจอร์แมนิก อย่างไรก็ดี คำขั้นสูงกว่าในหัวข้ออย่างวิทยาศาสตร์ ปรัชญาและคณิตศาสตร์มาจากภาษาละตินหรือกรีก และยังมีภาษาอารบิกหลายคำในวิชาดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์และเคมี

กรีก ? โครเอเชีย ? เช็ก ? ดัตช์ ? เดนมาร์ก ? บัลแกเรีย ? โปรตุเกส ? โปแลนด์ ? ฝรั่งเศส ? ฟินแลนด์ ? มอลตา ? เยอรมัน ? โรมาเนีย ?ลัตเวีย ? ลิทัวเนีย ? สเปน ? สโลวัก ? สโลวีเนีย ? สวีเดน ? อังกฤษ ? อิตาลี ? เอสโตเนีย ? ไอริช ? ฮังการี


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406