ภาษาอวธี (????) เป็นภาษาถิ่นของภาษาฮินดี ใช้พูดในเขตอวัธ ของรัฐอุตตรประเทศ และพบในรัฐพิหาร มัธยประเทศ เดลฮี รวมทั้งในประเทศเนปาลด้วย มีผู้พูดราว 20 ล้านคน
ภาษาอวธีเป็นสำเนียงหลักของภาษาฮินดีสำเนียงตะวันออก ซึ่งเป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยันที่ใช้พูดทางภาคเหนือของอินเดีย และแพร่กระจายไปทั่วโลก คำว่าอวธีหมายถึงภาษาของดินแดนอวัธหรืออูด แต่มีการใช้พูดแพร่หลายในดินแดนอื่นด้วย เช่น กันปูร์ อัลลอฮาบาด และบางส่วนของเนปาล ฟิจิ มอริเชียส ซูรินาม ตรินิแดด มาเลเซีย กายอานา นอกจากนั้นยังมีผู้พูดภาษานี้ในมหาราษฏระ หรยณะ พิหาร ฌารขัณฑ์ อุตรขัณฑ์ มัธยประเทศ
ส่วนใหญ่ผู้พูดภาษาอวธีอยู่ในรัฐอุตรประเทศ อุตตรขัณฑ์ และพิหาร และพื้นที่ใกล้เคียงในเนปาล มีผู้พูดภาษาอวธีประมาณ 45 ล้านคนทั่วโลก นอกจากในประเทศอินเดียแล้วจะพบผู้พูดภาษานี้ในเนปาล ฟิจิ กายอานา มาเลเซียและมอริเชียส ส่วนใหญ่พูดภาษานี้เป็นภาษาแม่ ภาษานี้เขียนด้วยอักษรเทวนาครีหรืออักษรไกถี มุสลิมที่พุดภาษานี้ใช้อักษรเปอร์เซีย
มีงานเขียนจำนวนน้อยในภาษาอวธี เพราะจะใช้ภาษาฮินดีหรือภาษาอูรดูในการเขียน แม้ว่าทุกวันนี้จะพิจารณาว่าเป็นสำเนียงหนึ่งของภาษาฮินดี แต่ก่อนที่จะมีการปรับมาตรฐานภาษาฮินดี ภาษานี้เป็นหนึ่งในสองสำเนียงของภาษาฮินดี (อีกสำเนียงหนึ่งคือสำเนียงพรัช) ที่มีความสำคัญในการเขียน เอกสารเก่าที่สุดที่เกี่ยวกับภาษาอวธีคือ อุกติวยาติปราการณะเขียนโดย ทาโมทารา ปัณฑิตา ที่มีชีวิตในสมัยพุทธศตวรรษที่ 17 เขาเขียนเอกสารนี้เพื่อใช้สอนภาษาอวธี เมื่อลัทธิซูฟีแพร่เข้ามาในอินเดีย ได้มีกวีที่เป็นมุสลิมเขียนบทกวีด้วยภาษาอวธี กวีคนแรกคือเมาลานา ดาอุด บทกวีเหล่านี้เขียนด้วยอักษรเปอร์เซีย
สำเนียงอวธีของภาษาเปอร์เซียมีกวีที่นับถือลัทธิซูฟีจำนวนมาก นักเขียนที่ยิ่งใหญ่ในช่วงนี้คือ กอสวานี ตุลสิดาส หนังสือที่เขาเขียนคือ รามจริตมนัส ซึ่งเป็นเรื่องราวของพระราม มาลิก มูฮัมหมัด ญายาซี เขียนปัทมวัท เป็นต้น