ภาษาองามี เป็นตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า ใช้พูดในเทือกเขาทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย มีหลายสำเนียง
ไวยากรณ์และรากศัพท์ของภาษาองามีสามารถเข้าถึงได้ในสำเนียงเตนยิดี และภาษาอังกฤษ แต่ส่วนที่สะสมไว้ก็มีความขัดแย้งในการวิเคราะห์หน่วยเสียงหรือประโยคในภาษา และข้อมูลที่ได้มาจากหลายสำเนียง โดยเฉพาะเอกสารรุ่นเก่า (ประมาณ พ.ศ. 2413 – 2503) ที่รวบรวมโดยมิชชันนารีในศาสนาคริสต์ ซึ่งข้อมูลจะไม่เฉพาะกับสำเนียงใดสำเนียงหนึ่ง สันนิษฐานว่าภาษาองามีเป็นภาษามาตรฐานในบริเวณนาคาแลนด์ ปัจจุบันมีหนังสือวลีองามี-อังกฤษ และพจนานุกรมองามี-อังกฤษ-ฮินดีให้เข้าถึงได้ทางอินเทอร์เน็ต
เอกสารภาษาองามีที่สามารถรวบรวมได้มันเป็นเอกสารตีพิมพ์ (นวนิยาย กวีนิพนธ์ และตำรา) เอกสารที่มีการรวบรวมทางอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่มักเป็นเอกสารทางศาสนาคริสต์ที่เขียนด้วยสำเนียงเตนยิดี ไบเบิลที่สมบูรณ์แบบที่เขียนด้วยสำเนียงเตนยิดี ตีพิมพ์ใน พ.ศ. 2513 อย่างไรก็ตาม เฉพาะบทแปลไบเบิลภาค Genesis ที่ได้แสดงทางอินเตอร์เน็ตในโครงการโรเซ็ตตา แหล่งเอกสารที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่งคือนิทานพื้นบ้าน รวมทั้งเพลงพื้นบ้านที่เขียนด้วยสำเนียงเตนยิดี เพลงภาษาองามีสำหรับใช้ในศาสนาคริสต์แต่งขึ้นในชุมชนในโบสถ์ เอกสารขนาดใหญ่ที่เขียนด้วยสำเนียงเตนยิดี คือตำราเรียนในโรงเรียนโกฮีมาและมหาวิทยาลัย