ภาษาสิเลฏี (ชื่อในภาษาของตนเอง ????? Sil??i; ภาษาเบงกาลี ?????? Sile?i) เป็นภาษาที่ใช้พูดโดยชาวสิลเหตที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของบังกลาเทศ และทางใต้ของรัฐอัสสัม ใกล้เคียงกับภาษาเบงกาลีจนอาจจะถือเป็นสำเนียงได้ ชาวสิลเหตเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรกามรูปในสมัยโบราณ มีลักษณะของภาษาอัสสัม เช่น การคงอยู่ของเสียงเสียดแทรกมากกว่าภาษาในอินเดียตะวันออกอื่นๆ มีการเขียนด้วยอักษรเบงกาลีในปัจจุบัน ภาษาสิเลฏิเป็นภาษาที่เน้นเสียงท้ายคำ และมีคำยืมจากภาษาอาหรับ ภาษาเปอร์เซีย ภาษาเบงกาลีและภาษาอัสสัม ผู้พูดภาษาสิเลฏิในบังกลาเทศจะได้รับอิทธิพลจากภาษาเบงกาลีสำเนียงมาตรฐานมาก
ภาษาสิเฏิ เขียนด้วยอักษรเป็นของตนเองเรียกอักษรสิเลฏินาครี และมีงานวรรณกรรมเขียนด้วยอักษรนี้ไม่ต่ำกว่า 200 ปี อักษรนี้ต่างจากอักษรเบงกาลีเพราะเป็นอักษรที่พัฒนามาจากอักษรไกถี หรืออักษรไมถิลีในรัฐพิหาร ส่วนใหญ่ใช้เขียนกวีนิพนธ์ทางศาสนา ในช่วงสงครามปลดปล่อย พ.ศ. 2514 หนังสือที่เขียนด้วยอักษรนี้ถูกทำลาย หลังจากที่บังกลาเทศได้รับเอกราช รัฐบาลใหม่พยายามสนับสนุนให้ใช้อักษรเบงกาลี แต่ก็มีการต่อสู้เพื่อสิทธิของภาษาสิเลฏิ ชาวสิเลฏิได้รณรงค์ให้ใช้ภาษาของตนเอง
มีผู้พูดภาษาสิเลฏิราว 10 % ของประชากรบังกลาเทศ ใช้พูดในแถบแม่น้ำสุมาร์ ซึ่งอยู่ใกล้ชายแดนระหว่างบังกลาเทศและอินเดีย มีผู้พูดทั้งในบังกลาเทศ และบางส่วนในรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย ทั่วโลกมีผู้ใช้ภาษานี้ราว 10 ล้านคน โดยอยู่ในบังกลาเทศ 8 ล้านคน นอกจากบังกลาเทศและอินเดียแล้ว ผู้พูดภาษานี้กลุ่มใหญ่อยู่ในสหราชอาณาจักร ชาวสิเลฏิอพยพไปสู่ลอนดอนมากในช่วง พ.ศ. 2503 – 2513 ชาวบริติชเชื้อสายบังกลาเทศในอังกฤษส่วนใหญ่พูดภาษาสิเลฏิ มีผู้พูดภาษานี้ในสหรัฐด้วย