ภาษาสิงหล (สิงหล: ?????) เป็นภาษาของชาวสิงหล ซึ่งเป็นกลุ่มชนพื้นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศศรีลังกา เป็นภาษาในสาขาอินโด-อารยันของตระกูลอินโด-ยูโรเปียน มีสัมพันธ์ใกล้ชิดกัยภาษาดิเวฮิของประเทศมัลดีฟส์ มีคนพูดเป็นภาษาแม่ประมาณ 15 ล้านคน
เจ้าชายวิชายาและพรรคพวกนำชาวสิงหลอพยพเข้าสู่เกาะลังกาเมื่อราว 500 ปีก่อนพุทธศักราช วรรณคดีจำนวนมากในศรีลังกาได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา และวรรณคดีอินเดีย การติดต่อกับชาวทมิฬทำให้มีศัพท์ภาษาทมิฬปนอยู่ นอกจากนี้ยังมีคำยืมจากภาษาดัตช์ ภาษาโปรตุเกส และภาษาอังกฤษ เป็นจำนวนมากเพราะเคยถูกปกครองโดยชาติเหล่านี้ เขียนด้วยอักษรสิงหลที่พัฒนามาจากอักษรพราหมี รัฐบาลศรีลังกาประกาศให้ภาษาสิงหลเป็นภาษาราชการเมื่อปี พ.ศ. 2499 และบังคับให้โรงเรียนทุกโรงเรียนสอนหนังสือด้วยภาษาสิงหล ทำให้ชาวทมิฬ ไม่พอใจ
สิงหลเป็นคำจากภาษาสันสกฤตซึ่งภาษาในยุคกลางที่เทียบได้คือสีหละ ส่วนคำในภาษาสิงหลจริงๆคือเฮลา ความหมายของคำนี้คือสิงโต
เชื่อกันว่าใน พ.ศ. 43 ได้มีกลุ่มคนจากทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียมาถึงเกาะลังกา นำโดยเจ้าชายวิชัย จากราชวงศ์มหาวังศะ กลุ่มผู้อพยพได้รวมเข้ากับกลุ่มชนเดิมที่เรียกเผ่าเฮลาหรือเผ่ายักขา เผ่านาคะ ที่พูดภาษาเอลู ทำให้เกิดชนชาติใหม่ที่เรียกสิงหล ในศตวรรษต่อมา มีผู้อพยพระลอกใหม่จากเบงกอลในอินเดียตะวันออก ซึ่งได้นำลักษณะของภาษาปรากฤตตะวันออกเข้ามารวม
ภาษาสิงหลได้พัฒนาเป็น 4 ระยะคือ ภาษาปรากฤตสิงหล (ก่อนพุทธศตวรรษที่ 8) ภาษาสิงหลดั้งเดิม (พุทธศตวรรษที่ 8-12) ภาษาสิงหลยุคกลาง (พุทธศตวรรษที่ 12 – 17) และภาษาสิงหลสมัยใหม่ (พุทธศตวรรษที่ 17 จนถึงปัจจุบัน) การพัฒนาหน่วยเสียงของภาษาสิงหลที่สำคัญ ได้แก่ การไม่มีความแตกต่างระหว่างเสียงมีลมและเสียงกัก เช่น kanav? "กิน" ตรงกับภาษาสันสกฤต kh?dati, ภาษาฮินดี kh?n? สระเสียงยาวถูกทำให้สั้น สระเสียงยาวในภาษาสมัยใหม่มักเป็นคำยืม เช่น vib?gaya "ตัวอย่าง" มาจากภาษาสันสกฤต vibh?ga ทำให้กลุ่มของพยัญชนะกลายเป็นเสียงเดียวที่ง่ายขึ้น เช่น ภาษาสันสกฤต vi??? "เวลา" มาเป็นภาษาปรากฤตสิงหล vi??a และเป็นภาษาสิงหลสมัยใหม่ vi?a การเปลี่ยนเสียง /j/ เป็น /d/ เช่น d?la "ตาข่าย" ตรงกับภาษาสันสกฤต j?la
ใน พ.ศ. 2499 ภาษาสิงหลได้เป็นภาษาราชการของศรีลังกาแทนที่ภาษาอังกฤษ ซึ่งกลายเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาระหว่างชนส่วนใหญ่ชาวสิงหลกับชนกลุ่มน้อยชาวทมิฬ นอกจากนั้น ยังเป็นนโยบายของพรรคศรีลังกาอิสระที่ต้องการให้วัฒนธรรมภาษาสิงหลและศาสนาพุทธเป็นจุดเด่นของสังคม
ตัวอย่างของลักษณะภาษาปรากฤตตะวันตกในภาษาสิงหลคือเสียงต้นคำของ /v/ ยังคงอยู่ ซึ่งเสียงนี้จะเป็น /b/ ในสำเนียงตะวันออก เช่น ภาษาสันสกฤต vi??ati "ยี่สิบ" ภาษาสิงหล visi- ภาษาฮินดี b?s) ตัวอย่างลักษณะของภาษาปรากฤตตะวันออกคือคำนามเอกพจน์เพศชายลงท้ายด้วย –e ซึ่งในสำเนียงตะวันตกเป็น –o และมีมี่ซ้ำกัน เพราะมีที่มาจากภาษาสันสกฤตเช่นกั
ภาษาสิงหลมีลักษณะที่ต่างจากภาษาในกลุ่มภาษาอินโด-อารยันอื่นๆ ภาษาสิงหลมีศัพท์จำนวนมากที่พบเฉพาะในภาษาสิงหล และไม่ได้มาจากภาษากลุ่มอินโด-อารยันยุคกลางหรือยุคโบราณ ตัวอย่าง เช่น Kola แปลว่าใบ Dola แปลว่าหมู และมีศัพท์ทั่วไปจำนวนมากที่พบในภาษาก่อนสิงหลในศรีลังกา ผู้เขียนไวยากรณ์ภาษาสิงหลที่เก่าที่สุดคือ สิทัตสะงครวะ ได้จัดศัพท์เหล่านี้อยู่ในหมวดหมู่ก่อนภาษาสิงหล
ภาษาสิงหลมีคำยืมจากภาษาทมิฬจำนวนมาก และยังพบอิทธิพลของตระกูลภาษาดราวิเดียนซึ่งไม่พบในภาษากลุ่มอินโด-อารยันอื่นๆได้แก่การแยกของเสียง เอะ/เอ โอะ/โอ ไม่มีเสียงมีลม เป็นต้น
ในช่วงที่เป็นอาณานิคมภาษาสิงหลได้ยืมคำจากภาษาโปรตุเกส ภาษาดัตช์และภาษาอังกฤษเป็นจำนวนมาก
ภาษามาเก๊าซึ่งเป็นภาษาลูกผสมระหว่างภาษามาเลย์ ภาษาสิงหล ภาษาโปรตุเกสและภาษาจีนกวางตุ้งซึ่งเริ่มใช้พูดในชุมชนชาวมาเก๊าเมื่อครั้งเป็นอาณานิคมของโปรตุเกส ปัจจุบันยังมีผู้ใช้ภาษานี้เล็กน้อยในมาเก๊า
ภาษาสิงหลที่ใช้พูดทางใต้ของศรีลังกามีคำพูดมากมายที่ไม่พบในส่วนอื่นของประเทศ สำหรับผู้พูดภาษาสิงหลเป็นภาษาแม่จะถือว่าทุกสำเนียงเข้าใจกันได้ และไม่แตกต่างกันมากนัก
ภาษาสิงหลเป็นเช่นเดียวกับภาษาอื่นในเอเชียใต้คือภาษาที่ใช้พูดและเขียนนั้นแตกต่างกัน ภาษาเขียนจะใช้ศัพท์ที่มีพื้นฐานมาจากภาษาสันสกฤตมากกว่า ส่วนภาษาพูดจะไม่ใช้กริยาในรูปกริยาสะท้อน
ภาษาสิงหลเขียนด้วยอักษรสิงหลที่พัฒนามาจากอักษรพราหมี มีอักษรทั้งหมด 54 ตัว มีสระ 18 ตัว และพยัญชนะ 36 ตัว แต่มีอักษรเพียง 36 ตัวเท่านั้นที่จำเป็นสำหรับการเขียนภาษาสิงหลที่เป็นภาษาพูด
การเรียงประโยคเป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา ไม่มีคำเชื่อมที่เทียบได้กับ what หรือ whether ในภาษาอังกฤษ แต่จะใช้ในรูปวลี คำขยายอยู่หน้าคำที่ถูกขยาย ไม่มีบุพบท มีแต่ปรบทเท่านั้น ไม่มีคำที่เทียบเคียงกับ verb to be ในภาษาอังกฤษ ภาษาสิงหลเป็นภาษาที่ละประธานของประโยคได้ ในภาษาสิงหลมีหลายการก ที่ใช้โดยทั่วไปคือ การกประธาน การกกรรมตรง การกแสดงความเป็นเจ้าของ การกกรรมรอง และ ablative
คำนามที่มีชีวิตรูปพหูพจน์ลงท้ายด้วย –o พยัญชนะเสียงยาวลงท้ายด้วย-u หรือ –la คำนามที่ไม่มีชีวิตส่วนใหญ่แสดงพหูพจน์ด้วยการตัดคำลงท้ายในรูปเอกพจน์ออก คำยืมจากภาษาอังกฤษแสดงเอกพจน์ด้วยรูป ek? และไม่แสดงรูปพหูพจน์ คำนำหน้านามไม่ชี้เฉพาะคือ –ek สำหรับนามที่มีชีวิตและ –ak สำหรับนามที่ไม่มีชีวิต ใช้กับนามเอกพจน์เท่านั้น