ภาษาสันเกถิ เคยจัดเป็นภาษาถิ่นของภาษาทมิฬแต่ปัจจุบันแยกออกมาเป็นภาษาต่างหากเพราะผู้พูดภาษานี้ไม่อาจเข้าใจกันได้กับภาษาทมิฬ คาดว่าภาษานี้แยกตัวออกจากภาษาทมิฬในยุคเดียวกับภาษามาลายาลัม ได้รับอิทธิพลและยืมคำจากภาษากันนาดาและภาษาสันสกฤต มีลักษณะใกล้เคียงกับภาษามาลายาลัม แต่ก็ยังมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ผู้พุดปัจจุบันอยุ่ระหว่างรอยต่อของรัฐเกราลากับทมิฬนาดู ภาษานี้ไม่มีระบบการเขียนเป็นของตนเองและมีเพลงพื้นบ้านมาก
ภาษาสันเกถิเป็นภาษาที่มีคำศัพท์มาก คำศัพท์บางส่วนใกล้เคียงกับภาษาทมิฬคลาสสิก ภาษาสันเกถิมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากภาษากลุ่มดราวิเดียนอื่นๆคือ มีการแบ่งเป็นเอกพจน์และพหูพจน์ ซึ่งไม่พบในภาษากันนาดาและภาษาทมิฬ มีความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างกาลและบุคคล มี 3 เพศ มีการแยกสรรพนามที่รวมและไม่รวมผู้ฟังออกจากกันสำหรับบุรุษที่ 1 พหูพจน์ เครื่องหมายการกต่างจากภาษาทมิฬ โดยลักษณะของภาษาสันเกถิที่ไม่พบในภาษาทมิฬและภาษากันนาดาคือลักษณะที่ใช้กับเพศเป็นกลาง
คำส่วนใหญ่ลงท้ายด้วยสระ คำที่ลงท้ายด้วย –a ในภาษากันนาดาจะลงท้ายด้วย –u ในภาษาสันเกถิ คำที่ลงท้ายด้วย –e ในภาษากันนาดาหรือ –ai ในภาษาทมิฬจะลงท้ายด้วย –a ในภาษาสันเกถิ ซึ่งเป็นลักษณะที่คล้ายภาษาเตลูกูและภาษามาลายาลัม
แบ่งภาษาสันเกถิออกเป็นสี่สำเนียง ซึ่งแต่ละสำเนียงเข้าใจกันได้ง่าย โดยสำเนียงเกาศิกาต่างจากภาษาทมิฬมากที่สุด