ภาษามราฐี (?????) เป็นภาษาหนึ่งในตระกูลอินเดีย-ยุโรป หรืออินโด-ยูโรเปียน (Indo-European) ที่พูดกันในประเทศอินเดีย และใช้เป็นประจำรัฐอย่างเป็นทางการของรัฐมหาราษฏระและรัฐใกล้เคียง โดยใช้อักษรที่เรียกว่า อักษรเทวนาครี
นอกจากนี้ภาษามราฐียังเป็นหนึ่งใน 18 ภาษาประจำชาติอย่างเป็นทางการของอินเดียด้วย โดยมีผู้ใช้เกือบร้อยล้านคน เฉพาะในรัฐมหาราษฏระ มีผู้ใช้ภาษามราฐีราว 90 ล้านคน ทั้งยังนับเป็นภาษาหนึ่งที่มีประวัติยาวนาน จารึกภาษามราฐีที่เก่าที่สุด พบครั้งแรกในรัฐกรณาฏกะ เป็นจารึก ของอินเดีย สันนิษฐานจารึกไว้เมื่อประมาณ 1,300 ปีที่แล้ว
ภาษามราฐีเป็นภาษาที่สืบทอดลักษณะทางไวยากรณ์และคำศัพท์จากภาษาสันสกฤต โดยผ่านภาษามหาราษฏรี ซึ่งเป็นภาษาถิ่นหนึ่งของภาษาปรากฤต ในสมัยจักรวรรดิสาตวาหนะ ซึ่งมีราชธานีในเมืองประติษฐาน ในราวพุทธกาล ภาษามราฐีถือเป็นภาษาหลักของภูมิภาคนั้น และนับว่าเป็นภาษาปรากฤตที่แผร่หลายกว้างขวางที่สุดในยุคนั้น และโดดเด่นเหนือกว่าภาษาปรากฤตทั้งหมดที่ใช้ในวรรณคดีประเภทบทละคร (ได้แก่ มหาราษฏรี เสารเสนี และมาคธี) ใช้ภาษามหาราษฎรีแขนงหนึ่งในการบันทึกคัมภีร์ศาสนาเชน ขณะที่จักรพรรดิสัตตสัยทรงแต่งโศลก 700 บท เป็นชิ้นงานที่มีชื่อเสียงที่สุดในบรรดาวรรณกรรมภาษามหาราษฎรี ภาษามหาราษฏรีค่อยๆ วิวัฒนาการไปสู่ภาษามราฐี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15-16
ภาษาปรากฤตหลายภาษารวมทั้งภาษามหาราษฏรีเป็นภาษาที่สืบทอดมาจากภาษาสันสกฤตพระเวท และต่อมาได้พัฒนาเป็นภาษาสมัยใหม่รวมทั้งภาษามราฐี อย่างไรก็ตาม เชื่อกันว่า ภาษามราฐีได้มีการรวมลักษณะของกลุ่มภาษาดราวิเดียนโบราณในบริเวณนั้นซึ่งใกล้เคียงกับบริเวณของผู้พูดภาษากันนาดาและภาษาเตลูกู และได้รวมลักษณะของภาษามหาราษฏรีและภาษาสันสกฤตเอาไว้ด้วย นอกจากนั้น ในปัจจุบันยังได้รับอิทธิพลจากภาษาเปอร์เซีย ภาษาอาหรับหรือภาษาอูรดูซึ่งทำให้ภาษานี้มีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาฮินดี
ภาษามหาราษฏรีใช้เป็นภาษาพูดจนถึงประมาณ พ.ศ. 1418 และเป็นภาษาราชการของจักรวรรดิสาตวาหนะ ซึ่งมีการใช้เขียนวรรณคดีที่สำคัญหลายเรื่อง ภาษามหาราษฏรีจัดเป็นภาษาปรากฤตที่มีการใช้มากที่สุดทางตะวันตกและทางใต้ของอินเดียโดยใช้ในบริเวณมัลวา และราชปุตนะทางเหนือไปจนถึงกฤษณะและตุงคภัทรทางใต้
เอกสารภาษามราฐีที่พบการเขียนในยุคแรก พบในรัฐกรณาฏกะ อายุราว พ.ศ. 1243 พบจารึกบนแผ่นทองแดงของวิชยทิตย์ในสตระอายุราว พ.ศ. 1282 และยังพบจารึกหินที่พระบาทของสรวนเพลโฆล โฆมาเทศวรร ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1526 และยังพบในเอกสารของศาสนาเชน ในช่วงเวลานั้น ภาษษมราฐีจัดเป็นภาษาเอกเทศที่มีผู้ใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่ทางเหนือของรัฐมหาราษฏระไปจนถึงทางใต้ของรัฐกรณาฏกะ พบจารึกที่มีอายุระหว่าง พ.ศ. 1522 – 1813
วรรณคดีภาษามราฐีเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว จากการสนับสนุนของราชวงศ์ยทวะแห่งเทพคีรี ภาษามราฐีเป็นภาษาที่ใช้ในศาลและมีการแปลภควัตคีตาจากภาษาสันสกฤตเป็นภาษามราฐี จักะธรร สวามี แห่งมหนุภาพ เป็นผู้ทำให้ภาษามราฐีแพร่หลายไปในฐานะภาษาที่เป็นสื่อกลางทางศาสนาและวัฒนธรรม
ตั้งแต่พ.ศ. 2173 ภาษามราฐีมีความสำคัญมากขึ้นพร้อมกับการขยายอำนาจของจักรวรรดิมราฐา ซึ่งได้ขยายจักรวรรดิไปทางเหนือจนถึงเดลฮี ทางตะวันออกไปถึงโอริสสาและทางใต้ไปจนถึงทันชวูร์ในทมิฬนาฑู ทำให้มีการแพร่กระจายของภาษามราฐีไปในบริเวณเหล่านี้ หลังพุทธศตวรรษที่ 23 จักรวรรดิมราฐาได้ลดความสำคัญลง
หลังพ.ศ. 2343 จนถึงพุทธศตวรรษที่ 25 ในสมัยที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษ มีการจัดมาตรฐานของไวยากรณ์ภาษามราฐีโดยมิชชันนารี William Caray ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างสารานุกรมและไวยากรณ์ภาษามราฐี ภาษาในยุคนี้เริ่มได้รับอิทธิพลจากภาษาอังกฤษโดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับการศึกษา หนังสือภาษามราฐีที่แปลมาจากภาษาอังกฤษตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2360 และหนังสือพิมพ์ภาษามราฐีเริ่มตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2378 หลังจากอินเดียได้รับเอกราช ภาษามราฐีมีสถานะเป็นภาษาที่มีความสำคัญระดับชาติ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 ได้มีการจัดตั้งองค์กรทางด้านภาษามราฐีขึ้นในรัฐมหาราษฏระ และจัดให้มีการประชุมวิชาการทางด้านภาษามราฐีขึ้นทุกปี
ภาษามราฐีจัดเป็นภาษาในตระกูลอินเดีย-อารยะ (อินโด-อารยัน) ในตระกูลใหญ่ อินเดีย-ยุโรป อันเป็นตระกูลภาษาที่มีสาขากระจายไปทั่วเอเชียและยุโรป
ภาษามราฐีส่วนใหญ่ใช้พูดในรัฐมหาราษฏระและรัฐใกล้เคียง เช่น รัฐคุชราต มัธยประเทศ กัว รัฐกรณาฏกะ และรัฐอานธรประเทศ ดามันและดีอู ดาดรา-หเวลี และรัฐฉัตติสครห์ และยังใช้พูดโดยผู้อพยพชาวอินเดียที่ไปจากรัฐมหาราษฏระทั่วโลก เช่นในสหรัฐอเมริกา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ แอฟริกาใต้ สิงคโปร์ เยอรมัน อังกฤษ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่นและนิวซีแลนด์ และอาจจะมีในอิสราเอลและมอริเชียสด้วย
ภาษามราฐีเป็นภาษาราชการของรัฐมหาราษฏระและเป็นภาษาราชการร่วมในรัฐกัว ดามัน-ดีอู ดาดรา-นครหเวลี มีการสอนระดับสูงในมหาวิทยาลัยหลายแห่งในอินเดีย
สำเนียงมาตรฐานของภาษามราฐีที่ใช้ในสื่อสอิ่งพิมพ์ได้รับอิทธิพลจากบริเวณปูเน มหาราษฏระ สหิตย บริษัทเป็นหน่วยงานที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ภาษามราฐี ภาษามราฐีมีสำเนียงที่แตกต่างกันถึง 42 สำเนียง โดยแต่ละสำเนียงจะได้รับอิทธิพลจากภาษาอื่นที่อยู่ข้างเคียงทำให้แตกต่างไปจากภาษามราฐีมาตรฐาน แต่แต่ละสำเนียงยังคงเข้าใจกันได้ การแบ่งสำเนียงหลักๆของภาษามราฐี ได้แก่
ไวยากรณ์ภาษามราฐีใกล้เคยงกับภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปรียนอื่นๆ เช่น ภาษาฮินดี ภาษาคุชราตและภาษาปัญจาบ หนังสือไวยากรณ์สมัยใหม่ของภาษามราฐีเล่มแรกพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2348 เขียนโดย 'William Kerry' ไวยากรณืของภาษามราฐีได้รับอิทธิพลจากภาษาสันสกฤตด้วย
มี 7 ชนิดคือ นามะ (สามานยนาม) วิเศศนามะ (วิสามานยนาม) สารวะนามะ (สรรพนาม) วิเศษะณะ (คุณศัพท์) กริยาวิเศษะณะ (กริยาวิเศษณ์) กริยาปะทะ (กริยา) อับยายะ
ภาษามราฐีเป็นภาษาที่มีการผันคำมาก เช่นเดียวกับภาษากลุ่ม อินโด-ยุโรเปียนโบราณ เช่นภาษาสันสกฤต ซึ่งใช้การผันคำแทนการใช้คำบุพบท แบ่งคำนามออกได้ 8 การก
ลักษณะทางสัทวิทยาของภาษามราฐีเป็นเช่นเดียวกับกลุ่มภาษาอินโด-อารยันอื่นๆ เสียงสระในภาษามราฐีมีมากกว่าภาษาฮินดีคือมีเสียงสระแอ (??) และสระออ (??) ซึ่งพบในคำยืมจากภาษาอังกฤษ
การเขียนภาษามราฐีพบครั้งแรกในพุทธศตวรรษที่ 16 ในศิลาจรึกและแผ่นทองแดง ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 18 -25 ภาษามราฐีเขียนด้วยอักษรโมดี และเปลี่ยนมาเขียนด้วยอักษรเทวนาครีเมื่อ พ.ศ. 2493 อักษรเทวนาครีสำหรับภาษามราฐีมีความแตกต่างจากอักษรที่ใช้เขียนภาษาฮินดีเล็กน้อย และเรียกว่าอักษรพัลโพธ (??????)
อักษรโมดีเป็นอักษรที่มีลักษณะเป็นเส้นโค้ง เอกสารงานเขียนในจักรวรรดิมารธาใช้อักษรชนิดนี้ แต่ก็มีการใช้อักษรอาหรับแบบเปอร์เซียด้วย เมื่อมีการพิมพ์พบว่าอักษรโมดีมีปัญหาในการจัดตัวพิมพ์ในสมัยนั้น ทำให้ใช้น้อยลง แม้ว่าในปัจจุบันจะสร้างฟอนต์สำหรับอักษรโมดีได้แล้วก็ตาม อักษรนี้ไม่เป็นที่รู้จักในกลุ่มคนรุ่นใหม่และกำลังสูญหายไป
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ผู้พูดภาษามราฐีได้มีการพบปะกับผู้พูดภาษาอื่นมากมาย ภาษาสำคัญที่มีอิทธิพลต่อผู้พูดภาษามราฐีคือภาษาปรากฤต ภาษามหาราษฏรี และภาษาสันสกฤต ในปัจจุบัน ภาษามราฐีมีคำศัพท์จำนวนมากที่มาจากภาษาสันสกฤต และภาษาพี่น้องอื่นๆ เช่น ภาษาฮินดี นอกจากนั้นยังมีคำศัพท์และลักษณะทางไวยากรณ์ที่ได้มาจากกลุ่มภาษาดราวิเดียนในอินเดีย และภาษาจากภายนอกอื่นๆเช่น ภาษาเปอร์เซีย ภาษาอาหรับ ภาษาอังกฤษและภาษาโปรตุเกส เนื่องจากบริเวณที่ใช้ภาษามราฐีเคยเป็นสถานีการค้าที่สำคัญมาก่อน
ประมาณ 50% ของคำในภาษามราฐีมาจากภาษาสันสกฤต ส่วนคำที่ยืมมาจากภาษาอื่นๆส่วนใหญ่มาจากภาษากันนาดา ภาษาฮินดี ภาษาอูรดู ภาษาอาหรับ ภาษาเปอร์เซีย และภาษาโปรตุเกส ตัวอย่างเช่น
ภามราฐีมีการกำหนดชื่อตัวเลขตั้งแต่ 1-20 แลละทวีคูณของ 10 มีชื่อเฉพาะของ ?, ?, และ ?. คือ ปาวะ, อัรธา, และ ปะอูนะ ตามลำดับ เมื่อจำนวนเหล่านี้มากกว่า 1 จะใช้อุปสรรค สัพวา-, ซาเฑ-, ปาวะเณ- ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของเลขยกกำลังของ 10