ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ภาษาทาจิก

ภาษาทาจิก (Tajik Persian หรือ Tajik language หรือ Tajiki;Tadjik หรือ Tadzhik; ,อักษรอาหรับเปอร์เซีย ???????, tojik? โทจิกิ[t??d???ki?]) ,??????) เป็นรูปแบบสมัยใหม่แบบหนึ่งของภาษาเปอร์เซีย ที่พูดในเอเชียกลาง เป็นภาษาตระกูลอินโด-ยูโรเปียน ใน กลุ่มภาษาอิเรเนียน คนที่พูดภาษาทาจิกส่วนใหญ่อาศัยในประเทศทาจิกิสถาน ประเทศอุซเบกิสถาน ประเทศอัฟกานิสถาน และตะวันตกของปากีสถาน แต่ผู้พูดภาษาทาจิกประมาณ 30,000 คน ใกล้ชายแดนประเทศทาจิกิสถานในประเทศจีน) เป็นภาษาราชการของประเทศทาจิกิสถาน

ภาษาทาจิก ที่เป็นภาษาราชการของทาจิกิสถาน ต่างจากภาษาเปอร์เซียที่ใช้พูดในอิหร่านและอัฟกานิสถาน ซึ่งเป็นผลมาจากการแบ่งแยกดินแดนทางการเมือง การแบ่งแยกทางภูมิศาสตร์และการจัดมาตรฐานทางภาษา รวมทั้งอิทธิพลของภาษารัสเซียและภาษากลุ่มเตอร์กิกที่อยู่รอบๆ มาตรฐานของภาษานี้ยึดตามสำเนียงตะวันตกเฉียงเหนือของทาจิกิสถานซึ่งเป็นเมืองเก่าของซามาร์คันฑ์ และได้รับอิทธิพลจากภาษาอุซเบกด้วย ภาษาทาจิกมีหน่วยคำในคำศัพท์ การออกเสียงและไวยากรณ์ซึ่งไม่มีในภาษาเปอร์เซียที่พูดในที่อื่น ซึ่งน่าจะเป็นมาจากการที่ถูกแบ่งแยกโดยภูมิศาสตร์เขตเทือกเขาของเอเชียกลาง

ภาษาทาจิกสืบมาจากภาษาเปอร์เซีย และมีลักษณะใกล้เคียงกันมากจนบางคนถือว่าเป็นภาษาถิ่นของภาษาเปอร์เซีย ตามประวัติศาสตร์นั้นถือว่าเป็นภาษาถิ่นภาษาหนึ่งของภาษาเปอร์เซียที่พูดโดยชนพื้นเมืองชาวทาจิกในเอเชียกลาง ครั้นเมื่อสหภาพโซเวียตบังคับให้ใช้อักษรละตินในปี พ.ศ. 2471 และอักษรซีริลลิกในเวลาต่อมา ภาษาทาจิกจึงถือเป็นอีกภาษาหนึ่งต่างหากในทาจิกิสถาน ทั้งนี้ส่วนหนึ่งก็ด้วยเหตุผลทางการเมือง (ส่วนในอัฟกานิสถาน ชาวทาจิกยังคงใช้อักษรอาหรับต่อไป) ภาษามีความแตกต่างจากภาษาเปอร์เซียที่พูดในประเทศอัฟกานิสถานและประเทศอิหร่านไปบ้าง เนื่องจากเขตแดนทางการเมืองและอิทธิพลของภาษารัสเซีย อย่างไรก็ดีเอกสารที่เขียนภาษาทาจิกเขียนสามารถอ่านเข้าใจโดยชาวอัฟกันหรืออิหร่านที่พูดภาษาเปอร์เซีย และในทางกลับกันด้วย นักเขียนที่มีชื่อเสียง เช่น โอมาร์ คัยยัม (Omar Khayyam) ฟีร์เดาซี (Firdausi) และอาลี ชีร์ นาไว (Ali Shir Navai) ยืนยันว่าทั้งสองภาษามีต้นกำเนิดร่วมกัน

ภาษาเปอร์เซียยุคใหม่พัฒนาขึ้นในทรานโซเซียนาและโคราซาน ซึ่งปัจจุบันอยู่ในอัฟกานิสถาน อุซเบกิสถาน และทาจิกิสถาน ภาษาเหล่านี้เป็นลูกหลานของภาษาเปอร์เซียยุคกลาง และได้รับอิทธิพลจากภาษากลุ่มอิหร่านโบราณในเอเชียกลาง เช่น ภาษาซอกเดีย

หลังจากการรุกรานของชาวอาหรับเข้าสู่อิหร่านและเอเชียกลางในพุทธศตวรรษที่ 13 ภาษาอาหรับเข้ามาเป็นภาษาสำคัญในพุทธศตวรรษที่ 14 ซึ่งเป็นยุคของราชวงศ์ซามานิดส์ ภาษาเปอร์เซียยุคใหม่ได้พัฒนาขึ้นมาในช่วงนี้และกลายเป็นภาษากลางแทนภาษาอาหรับ แต่อิทธิพลของภาษาอาหรับยังคงอยู่ เช่น อักษรอาหรับแบบเปอร์เซียและมีคำยืมจากภาษาอาหรับจำนวนมาก

ภาษาเปอร์เซียยุคใหม่กลายเป็นภาษากลางในเอเชียกลางหลายประเทศและเข้าไปแทนที่ภาษาอื่น เช่น ภาษาชะกะไต ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 21 ภาษาทาจิกที่เป็นสำเนียงหนึ่งของภาษาเปอร์เซียสมัยใหม่ ได้รับอิทธิพลจากภาษาเพื่อนบ้าน ได้แก่ภาษากลุ่มเตอร์กิก โดยเฉพาะภาษาอุซเบกมากขึ้น ภาษาอุซเบกเข้ามาแพร่กระจายในพื้นที่อุซเบกิสถานและบริเวณอื่นๆในเอเชียกลาง และเข้ามาแทนที่ภาษาทาจิก จนบางบริเวณ ไม่มีผู้พูดภาษาทาจิกเหลืออยู่อีกเลย

การเกิดสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทาจิกิสถาน เมื่อ พ.ศ. 2472 ทำให้ภาษาทาจิกเป็นภาษาราชการของรัฐร่วมกับภาษารัสเซีย มีการอพยพผู้พูดภาษาทาจิกจากสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบกิสถานมาสู่ทาจิกิสถาน หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตใน พ.ศ. 2534 รัฐบาลทาจิกิสถานได้สนับสนุนให้ใช้ภาษาทาจิกมากยิ่งขึ้น

เมืองที่สำคัญของผู้พูดภาษาทาจิกในประวัติศาสตร์คือซามาร์คันท์และบูคาราซึ่งในปัจจุบันอยู่ในอุซเบกิสถาน ในอุซเบกิสถานนั้น นอกจากจะมีผู้พูดภาษาทาจิกมากในบริเวณทั้งสองนี้แล้ว ยังมีในจังหวัดซูร์ซอนดาร์โยทางใต้และตามแนวชายแดนที่ติดกับทาจิกิสถาน

ในสมัยที่ปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์ ชาวทาจิกไม่ได้รับการรับรองในอุซเบกิสถาน พวกเขาต้องเลือกระหว่างอยู่ในอุซเบกิสถานและลงทะเบียนเป็นชาวอุซเบก หรือเลือกเป็นชาวทาจิกและถูกย้ายไปอยู่ทาจิกิสถาน . ในทาจิกิสถานนั้น ประชากร 80% พูดภาษาทาจิก ผู้พูดภาษาทาจิกในบาดักซานซึ่งมีภาษากลุ่มปาร์มีเป็นภาษาหลักจะพูดได้สองภาษา นอกจากนั้นยังพบมากทางภาคเหนือของของอัฟกานิสถานและในเมืองสำคัญเช่น คาบูล คุนดุชและเฮรัต ซึ่งภาษาทาจิกในอัฟกานิสถานเขียนด้วยอักษรอาหรับ-เปอร์เซีย และเรียกว่าภาษาดารีเปอร์เซีย นอกจากนี้มีผู้พูดภาษาทาจิกในรัสเซีย คาซัคสถานและที่อื่นๆ

ในประเทศจีน ภาษทาจิกไม่มีรูปเขียนอย่างเป็นทางการ ชาวจีนที่พูดภาษาทาจิกส่วนใหญ่ ที่จริงแล้วพูดภาษาซาริโกลี หรือซาริโคลี (Sariqul, Sarik?li) ซึ่งแม้ว่าจะเรียกว่าภาษาทาจิก ก็ไม่ได้สัมพันธ์ใกล้เคียงกับ ภาษาทาจิก มากกว่าภาษากลุ่มปามีร์ (Pamir languages) และใช้ภาษาอุยกูร์ และภาษาจีนเพื่อติดต่อกับคนชนชาติอื่น ๆ ในพื้นที่

สำเนียงที่ใช้โดยชาวยิวบูคาเรียเรียกภาษาบูโครี จัดอยู่ในสำเนียงเหนือ มีศัพท์ภาษาฮีบรูปนเข้ามาและเคยเขียนด้วยอักษรฮีบรู ซึ่งถ้าตัดส่วนที่มาจากภาษาฮีบรูออกไป ผู้พูดภาษาบูโครีจะเข้าใจกันได้กับผู้พูดสำเนียงเหนืออื่นๆ

ไม่มีเครื่องหมายแสดงเพศ แต่แสดงจำนวน การแสดงเพศมักเป็นการเปลี่ยนรูปคำ เช่น ???? (murgh) 'นก' and ????? (khurus) 'นกตัวผู้'หรือการเติมตัวช่วย '???' (nar) สำหรับผู้ชายหรือ '????' (moda) สำหรับผู้หญิง ต่อท้ายคำนาม เช่น ???? ??? (xari nar) 'ลาตัวผู้' และ ???? ???? (xari moda) 'ลาตัวเมีย'

จำนวนมีเฉพาะเอกพจน์กับพหูพจน์ รูปพหูพจน์แสดงโดยปัจจัย –?? หรือ –?? แต่คำยืมจากภาษาอาหรับจะใช้รูปแบบของภาษาอาหรับ ไม่มีคำนำหน้านามชี้เฉพาะ แต่มีคำนำหน้านามแบบไม่ชี้เฉพาะที่ตำแหน่งแรกก่อนคำนาม และต่อท้ายนามในรูปปัจจัย

ภาษาทาจิกมีลักษณะอนุรักษนิยมทางด้านคำศัพท์ คำศัพท์ใหม่ๆในภาษาทาจิกมาจากภาษารัสเซีย ซึ่งเป็นผลจากการที่ทาจิกิสถานเคยรวมอยู่ในสหภาพโซเวียตมาก่อน คำศัพท์บางส่วนมาจากภาษาอุซเบกที่อยู่ใกล้เคียงและภาษาอาหรับผ่านทางศาสนาอิสลาม ตั้งแต่พ.ศ. 2523 มีความพยายามแทนที่คำยืมด้วยคำดั้งเดิมในภาษา รวมทั้งสร้างคำใหม่จากคำดั้งเดิมนั้น

ในอัฟกานิสถาน ภาษาทาจิกเขียนด้วยอักษรอาหรับแบบเปอร์เซีย ในทาจิกิสถานและประเทศอื่นๆที่เคยอยู่ในสหภาพโซเวียตเขียนด้วยอักษรซีริลลิก โดยที่เคยเขียนด้วยอักษรอาหรับมาก่อนเช่นกัน ในทาจิกิสถานนั้น เคยใช้อักษรละตินใน พ.ศ. 2471 และเปลี่ยนมาใช้อักษรซีริลลิกใน พ.ศ. 2474 ตั้งแต่ พ.ศ. 2551 เริ่มมีผู้เสนอให้กลับมาใช้อักษรอาหรับแบบเปอร์เซียอีก


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

อาสวกิเลส อวิชชา เอ็มพีแอลเอส ภาวะถ่ายโอนแบบไม่ประสานเวลา แวน สมาร์ทโฟน ไลน์ (โปรแกรมประยุกต์) แอลทีอี 4 จี 3 จี วีโอไอพี บริการข้อความสั้น ใยแก้วนำแสง ระบบโทรศัพท์ การกล้ำสัญญาณ เนตเวิร์กสวิตช์ เราต์เตอร์ สัญญาณดิจิทัล ซิมเพล็กซ์ สายอากาศ เสาอากาศ แลน Transmission Control Protocol อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล แพ็กเกตสวิตชิง ดาวเทียมสื่อสาร การพูด การสื่อสารภายในบุคคล การประชาสัมพันธ์ การโฆษณาชวนเชื่อ การตลาด การสื่อสารระหว่างบุคคล ไอแซค อสิมอฟ เขามาจากดาวอังคาร อินุยาฉะ เทพอสูรจิ้งจอกเงิน สโลว์สเต็ป สัญกรณ์โอใหญ่ พรีไบโอติกส์ ป. อินทรปาลิต การเวก (พืช) การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สีเทา สีขาว สีน้ำตาล ม่วง เขียว น้ำเงิน สีกากี ชมพู ระบบสี RGB SVG เบราว์เซอร์ แม่สีแสง CSS RGB เวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม เว็บจีแอล จาวาสคริปต์ Font family (HTML) ซีเอสเอส สไตล์ชีต ด็อม ซี-เอชทีเอ็มแอล เอกซ์เอชทีเอ็มแอล เอชทีเอ็มแอล5 COLOR ISO 11940 ธอง แม่กุญแจสีม่วง ไวต่ออักษรใหญ่เล็ก แม่กุญแจสีทอง ปากานี ซอนด้า ปากานี ซอนด้า ปากานี ซอนด้า ปากานี ซอนด้า ปากานี ซอนด้า เคนต์ โลตัส อีลิส โรวัน แอตคินสัน พยัคฆ์ร้าย ศูนย์ ศูนย์ ก๊าก พยัคฆ์ร้ายทวงแค้นระห่ำโลก จอมมฤตยู 007 เอียน เฟลมมิง พยัคฆ์ร้ายสะบัดลาย โคเวนทรี ระบบส่งกำลัง โปรตอน เอ็กซ์โซร่า โปรตอน วาจา โปรตอน เพอร์โซนา โปรตอน เพรเว่ นิตยสารฟอร์บส Thai language Japanese language Polish language Italian language Dutch language Hindi 2007 พระแม่กาลี มหาธิการิณี

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
235
236
237
238
239
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23944