ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ภาษาทมิฬ

ภาษาทมิฬ (ทมิฬ: ?????;  [t??m??] (วิธีใช้?ข้อมูล) ) เป็นหนึ่งใน ตระกูลภาษาดราวิเดียน เป็นหนึ่งในภาษาคลาสสิกของโลก วรรณกรรมภาษาทมิฬได้มีมาเป็นเวลา 2,500 ปีแล้ว และเป็นภาษาคลาสสิกภาษาแรกที่มีพัฒนาการเขียนแบบเฉพาะสำหรับบทกวี

เสียง "l" ในคำว่า "Tamil" ออกเสียง "คล้าย" กับ "ร" กล่าวคือ ออกเสียงโดยให้ปลายลิ้นส่วนล่างติดกับเพดานปาก และมักจะเขียนเป็น "zh" ในอักษรโรมัน (ตรงกับเสียง j ในภาษาฝรั่งเศส ส่วนภาษาไทยไม่มีเสียงที่เทียบได้ตรง) เชื่อว่าอักษร '?' ซึ่งพบใน '?????' (ทมิฬ) มีการออกเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ที่ไม่พบในภาษาอื่น ๆ ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ อักษรทมิฬ

หลักฐานเริ่มแรกของภาษทมิฬมีอายุราว พ.ศ. 243 ภาษานี้พบในอินเดียในฐานะภาษาที่มีวรรณกรรมมากในยุคสันคัม (พ.ศ. 243 - 843) เป็นภาษาที่พบในจารึกมากที่สุดในเอเชียใต้ โดยพบถึง 30,000 ชิ้น วรรณกรรมภาษาทมิฬในยุคสันคัมเป็นวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุดของตระกูลภาษาดราวิเดียนด้วย การเก็บรักษาวรรณกรรมในอินเดียมี 2 แบบคือ เขียนลงบนใบลานหรือท่องจำแบบมุขปาฐะ นักวิชาการของภาษาทมิฬแบ่งภาษาออกเป็นสามยุคคือ ภาษาทมิฬโบราณ ภาษาทมิฬยุคกลาง ภาษาทมิฬยุคใหม่

จารึกภาษาทมิฬที่เก่าที่สุดพบราว พ.ศ. 243 เขียนด้วยอักษรทมิฬ-พราหมีที่พัฒนามาจากอักษรพราหมี ไวยากรณ์ที่เก่าที่สุดคือ โตลกาปปิยัม (Tolk?ppiyam)ซึ่งบรรยายเกี่วกับกวีและไวยากรณ์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ายุคคลาสสิกของภาษานี้อยู่ระหว่าง พ.ศ. 243 - 1043 วรรณคดีในยุคสันคัม พบบทกวีกว่า 50,000 บรรทัด เขียนโดยกวี 473 คน รวมทั้งกวีที่เป็นสตรีด้วย ส่วนใหญ่ใช้ในการขับร้อง

ภาษาทมิฬโบราณหลังยุคสันคัม มีวรรณคดีที่สำคัญอยู่ 5 เรื่อง ได้แก่ สิลิปปติการัม มนิเมกาลัย สีวกจินตามนิ วลัยยปฐี และกุนทลเกสิ ซึ่งถือเป็นงานที่ยิ่งใหญ่

ยุคนี้เป็นยุคภักติ วรรณกรรมสำคัญคือรามายณะภาคภาษาทมิฬในชื่อ กัมพะ รามายณัม (พุทธศตวรรษที่ 17) ในช่วงท้ายของยุคนี้ ราวพุทธศตวรรษที่ 19-21 ภาษาทมิฬถูกทำให้เป็นสันสกฤต มากขึ้น เกิดภาษาผสมขึ้นมา

ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 25 เกิดขบวนการทมิฬบริสุทธิ์เรียกร้องให้นำส่วนที่มาจากภาษาสันสกฤตและภาษาอื่นๆออกไปจากภาษาทมิฬ แนวคิดนี้ได้รับการสนับสนุนจากพรรคดราวิเดียนและนักชาตินิยมที่เรียกร้องเอกราชของทมิฬ มีการแทนที่คำยืมจากภาษาสันสกฤตด้วยคำจากภาษาทมิฬที่มีความหมายเหมือนกัน

ภาษาทมิฬเป็นภาษาหลักในรัฐทมิฬนาฑูของอินเดียและจังหวัดตะวันออกเฉียงเหนือของศรีลังกา และใช้พูดโดยชนกลุ่มเล็กๆในพื้นที่อื่นๆของทั้งสองประเทศนี้ เช่น รัฐกรณาฏกะ รัฐเกรละ รัฐอานธรประเทศ และรัฐมหาราษฏระของอินเดีย รวมทั้งโคลอมโบและทางตะวันออกของศรีลังกา

จากการอพยพของสมัยอาณานิคมทำให้ปัจจุบันมีผู้พูดภาษาทมิฬกระจายไปในหลายประเทศ เช่น อินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ พม่า เวียดนาม แอฟริกาใต้ และมอริเชียส นอกจากนั้นยังพบบ้างในกายอานา ฟีจี ซูรินาม ตรินิแดดและโตเบโก คนเหล่านี้เป็นคนที่พูดภาษาทมิฬมาก่อน แต่ปัจจุบันเริ่มหันไปพูดภาษาอื่น และยังมีผู้อพยพจากอินเดียและศรีลังกาไปอยู่ที่แคนาดา สหรัฐ ออสเตรเลีย ตะวันออกกลาง และยุโรปตะวันตก สถานะทางกฎหมาย ภาษาทมิฬเป็นภาษาราชการของรัฐทมิฬนาฑู เป็นภาษาราชการร่วมในสหภาพพอนดิเชอรี และหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ เป็นหนึ่งในภาษาประจำชาติ 23 ภาษาของอินเดีย เป็นภาษาราชการร่วมของศรีลังกาและสิงคโปร์ ในมาเลเซียมีโรงเรียนประถมศึกษา 543 แห่งสอนเป็นภาษาทมิฬ

เมื่อ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ดร. อับดุล กาลัมประธานาธิบดีอินเดียได้ประกาศยอมรับให้ภาษาทมิฬเป็นภาษาคลาสสิกของอินเดีย

สำเนียงของภาษาทมิฬในรัฐเกรละมีคำยืมจากภาษามาลายาลัมมาก และได้รับอิทธิพลจากการเรียงประโยคของภาษามาลายาลัม สำเนียงของกลุ่มผู้นับถือนิกายไวษณพ ซึ่งอพยพไปอยู่รัฐกรณาฏกะได้พัฒนาสำเนียงเป็นของตนเอง ภาษาทมิฬในศรีลังกามีคำยืมจากภาษาอังกฤษ ภาษาโปรตุเกสและภาษาดัตช์ด้วย

ความแตกต่างของภาษาทมิฬขึ้นกับการเปลี่ยยนแปลงการออกเสียงที่ต่างไปจากภาษาทมิฬโบราณ เช่นคำว่า ที่นี่ (i?ku) ในสำเนียงคลาสสิกกลายเป็น i?k? ในสำเนียงโกนคู inga ในสำเนียงธันชวูร์ และ i?kai ในบางสำเนียงของศรีลังกา คำว่า i?ka? ในภาษาทมิฬโบราณเป็นแหล่งที่มาของ i?kane ในสำเนียงติรูเนลเวลี ภาษาทมิฬโบราณ i?ka??u เป็นที่มาของ i?ku??u ในสำเนียงมาดูไร และ i?ka?e ในสำเนียงทางเหนืออื่นๆ แม้ว่าปัจจุบันในโจอิมบาตอเรจะเป็นปกติที่จะได้ยิน akka??a ซึ่งหมายถึงสถานที่นี้ สำเนียงของภาษาทมิฬไม่ได้ต่างกันทางด้านคำศัพท์มากนัก สำเนียงในศรีลังกายังคงรักษาคำศัพท์และรูปแบบไวยากรณ์ที่ไม่พบในการพูดในชีวิตประจำวันในอินเดียและใช้คำบางคำต่างไปบ้าง

ภาษาทมิฬมีรูปแบบที่แตกต่างกันหลายแบบ เช่น รูปแบบวรรณคดีคลาสสิกที่มาจากภาษายุคโบราณ (สันกัตตามิฬ) รูปแบบการเขียนสมัยใหม่และเป็นทางการ (เจนตามิฬ) และรูปแบบสมัยใหม่สำหรับการพูด (โกฎูนตามิฬ) แต่ละรูปแบบอาจมีลักษณะร่วมกัน เช่น เป็นไปได้ที่จะเขียนแบบเจนตามิฬโดยใช้รูปศัพท์ที่ต่ำกว่า เรียกเจญกัตตามิฬ หรือใช้รูปแบบที่เกี่ยวข้องกับสำเนียงใดสำเนียงหนึ่งกับโกฎูนตามิฬ

ในปัจจุบัน เจนตามิฬเป็นรูปแบบที่ใช้ทั่วไปในการเขียนและพูดอย่างเป็นทางการและเป็นภาษาในตำรา โกฎูนตามิฬเป็นภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และเริ่มนำมาใช้ในภาพยนตร์และการหาเสียงของนักการเมืองทำให้เกิดการพูดแบบมาตรฐานที่ไม่เป็นทางการขึ้น ในอินเดีย มาตรฐานของโกฎูนตามิฬขึ้นกับการพูดของผู้ที่ไม่ใช่พราหมณ์และระดับการศึกษา แต่ได้รับอิทธิพลจากสำเนียงธันชวูร์และมาดูไร ส่วนในศรีลังกามาตรฐานขึ้นกับสำเนียงจาฟนา

อักษรทมิฬมีสระ 12 ตัว พยัญชนะ 18 ตัวและเครื่องหมายพิเศษคืออายตัม สระและพยัญชนะประสมกันได้รูปแบบผสม 216 แบบ ทำให้มีทั้งหมด 247 แบบ พยัญชนะทุกตัวมีพื้นเสียงเป็น /อะ/ ซึ่งเอาออกได้โดยเติมปุลลิซึ่งเป็นจุดอยู่ใต้พยัญชนะ ไม่มีการแยกเสียงโฆษะและอโฆษะ นอกจากอักษรมาตรฐานแล้ว ยังมีอักษรอีก 6 ตัวมาจากอักษรครันถ์ซึ่งเคยใช้เขียนภาษาสันสกฤตในหมู่ชาวทมิฬ และใช้แสดงเสียงที่ไม่ใช่เสียงพื้นฐานของภาษาทมิฬ ซึ่งเป็นคำยืมจากภาษาสันสกฤต ภาษาปรากฤต และภาษาอื่นๆ

สระในภาษาทมิฬเรียกอูยิเรฬุตตุ แบ่งเป็นสระเสียงสั้น (กุริล) 5 เสียง เสียงยาว 5 เสียงและสระประสม (/ไอ/และ/เอา/) และสระที่ถูกทำให้สั้น (กุรริยัล) 3 เสียง สระเสียงยาว (เนฏิล) มีเสียงยาวเป็นสองเท่าของสระเสียงสั้น สระประสมออกเสียงเป็น 1.5 เท่าของสระเสียงสั้น แต่ในตำราไวยากรณ์มักเอาไปรวมกับสระเสียงยาว

พยัญชนะในภาษาทมิฬเรียกว่าเมยเยฬุตตุ แบ่งเป็นสามหมวดคือ เสียงหนัก (วาลิณัม) เสียงเบาหรือเสียงนาสิก (เมลลิณัม) และเสียงกลาง (อิฏายิณัม) ภาษาทมิฬต่างจากภาษาอื่นๆในอินเดียที่ไม่แยกเสียงมีลมและไม่มีลม เสียงนาสิกส่วนมากเป็นเสียงโฆษะ ภาษาทมิฬมีเสียงม้วนลิ้น (ฬ) ซึ่งในตระกูลภาษาดราวิเดียนด้วยกันพบในภาษามาลายาลัม หายไปจากการออกเสียงภาษากันนาดาเมื่อราว พ.ศ. 1543 แต่ยังมีอักษรใช้อยู่ และไม่พบในภาษาเตลูกู

ในภาษาทมิฬคลาสสิก มีหน่วยเสียงอายตัม เขียนเป็น ‘?' ซึ่งไวยากรณ์ในยุคนั้นแยกเป็นหน่วยเสียงหนึ่ง แต่พบน้อยในภาษาทมิฬสมัยใหม่ ในตำราไวยากรณ์ยุคคลาสสิกกล่าวว่าอายตัมเปลี่ยนเสียงที่เข้ารวมด้วยให้เป็นเสียงจากเส้นเสียงหรือใช้เปลี่ยนเสียงพยัญชนะ ส่วนในภาษาทมิฬสมัยใหม่ ใช้เปลี่ยน pa เป็น fa เมื่อเขียนภาษาอังกฤษด้วยอักษรทมิฬ

ไวยากรณ์ภาษาทมิฬส่วนใหญ่ได้บรรยายไว้ในตำราไวยากรณ์เก่าสุด "โตลกาปปิยัม" การเขียนภาษาทมิฬสมัยใหม่ใช้ตามตำราไวยากรณ์ เมื่อราว พ.ศ. 1800 Nann?l ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปจากโตลกาปปิยัมบ้าง ภาษาทมิฬโบราณแบ่งเป็น5ส่วนคือ eluttu, col, porul, y?ppu และ ani สองส่วนหลังมักใช้ในวรรณคดี

ภาษาทมิฬเป็นภาษารูปคำติดต่อเช่นเดียวกับตระกูลภาษาดราวิเดียนอื่นๆ คำภาษาทมิฬประกอบด้วยรากศัพท์ ซึ่งจะต่อท้ายด้วยปัจจัย 1ตัวหรือมากกว่า ปัจจัยเหล่านี้มีทั้งที่เปลี่ยนความหมายหรือชนิดของคำ และปัจจัยที่แสดงการผันตามบุคคล จำนวน มาลาและกาล ไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับความยาวของการเติมปัจจัย ทำให้มีการสร้างคำขนาดยาว ประกอบด้วยปัจจัยหลายตัวได้

คำศัพท์ภาษาทมิฬสมัยใหม่ ส่วนมากมาจากภาษาทมิฬโบราณ คำยืมจากภาษาสันสกฤตพบได้ทั่วไป นอกจากนั้นมีคำยืมจากภาษาเปอร์เซียและภาษาอาหรับ ซึ่งเป็นผลจากการติดต่อค้าขายในอดีต ตั้งแต่พุทธศตวรรณที่ 25 เริ่มมีคำยืมจากภาษาอังกฤษโดยเฉพาะศัพท์เทคนิค มีการกำหนดศัพท์เทคนิคที่มาจากภาษาทมิฬเช่นกันโดยรัฐบาลศรีลังกาหรือมหาวิทยาลัยทมิฬวิชัล


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406