ภาษาตาตาร์ เป็นภาษากลุ่มเติร์ก ตระกูลยูราล-อัลไตอิก พูดโดยชาวตาตาร์ จัดเป็นภาษารูปคำติดต่อ มีผู้พูดในบางส่วนของยุโรป รัสเซีย ไซบีเรีย จีน ตุรกี โปแลนด์ ยูเครน ฟินแลนด์ และเอเชียกลาง เป็นภาษาราชการของสาธารณรัฐตาตาร์สถาน เขียนด้วยอักษรซีริลลิกโดยมีอักษรเฉพาะที่ไม่ได้ใช่ในภาษากลุ่มสลาวิก
มีผู้พูดในรัสเซีย เอเชียกลาง ยูเครน โปแลนด์ จีน ฟินแลนด์และตุรกี ภาษาตาตาร์เป็นภาษาแม่ของผู้พูดภาษาบัศกีร์ 400,000 คน โดยเฉพาะที่อยู่ในยูฟา ชาวตาตาร์ 94% และชนกลุ่มอื่นที่อยู่ในตาตาร์สถาน 7% อ้างว่ารู้ภาษาตาตาร์ ใน พ.ศ. 2545]]
ภาษาตาตาร์เป็นภาษาราชการของสาธารณรัฐตาตาร์สถาน อักษรทางการของภาษาตาตาร์เป็นอักษรซีริลลิกและเพิ่มตัวอักษรที่ไม่พบในภาษากลุ่มสลาฟอื่นๆ บางครั้งงมีการใช้อักษรอื่นๆ เช่น อักษรละติน และอักษรอาหรับ การใช้ในการตีพิมพ์และในอินเทอร์เน็ตเป็นอักษรซีริลลิก แต่ในที่ๆภาษาตาตาร์ไม่ได้เป็นภาษาราชการ อักษรที่ใช้ขึ้นกับความถนัดของผู้เขียน
ภาษาตาตาร์เสมือนเป็นภาษาราชการในรัสเซียเมื่อ พ.ศ. 2460 แต่เฉพาะในสาธารณรัฐโซเวียตสังคมนิยมตาตาร์-บัศกีร์ และเป็นภาษาราชการในรัฐอีเดล-ยูราล
การใช้ภาษาตาตาร์เริ่มลดลงตั้งแต่ พ.ศ. 2473 ใน พ.ศ. 2523 ไม่มีการสอนในโรงเรียนในเมือง มีแต่ในโรงเรียนในชนบท ผู้พูดภาษาตาตาร์มีโอกาสเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยน้อย เพราะในมหาวิทยาลัยสอนเป็นภาษารัสเซีย อย่างไรก็ตาม ภาษาตาตาร์ยังไม่จัดว่าเป็นภาษาใกล้ตาย เพราะมีการสอนด้วยภาษาตาตาร์ระดับสูงในตาตาร์สถาน การใช้ภาษาตาตาร์เป็นภาษาเขียนพบเฉพาะในหมู่ผู้พูดภาษาตาตาร์
ภาษาตาตาร์มีสำเนียงหลักสามสำเนียงคือ สำเนียงตะวันตก (Mi??) สำเนียงกลาง (ใช้ทั่วไป) และสำเนียงตะวันออก (ไซบีเรีย) แต่ละสำเนียงยังแบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้อีก
ภาษารัสเซียมีอิทธิพลต่อภาษาตาตาร์ มีการใช้คำและวลีภาษารัสเซียด้วยไวยากรณ์ภาษาตาตาร์ หรือมีการใช้ไวยากรณ์ภาษารัสเซียในหนังสือภาษาตาตาร์
ภาษาตาตาร์ไซบีเรียเป็นสำเนียงที่ต่างจากภาษาตาตาร์ที่ใช้ในการเขียน สำเนียงนี้เคยใช้เป็นภาษาเขียนในช่วงก่อน พ.ศ. 2473 หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนมาใช้ภาษารัสเซีย ภายในสำเนียงนี้เองยังมีความแตกต่างทางด้านไวยากรณ์.โดยเฉพาะไซบีเรียตะวันตก ส่วนภาษาของชาวชูเลียม ตาตาร์ ถือเป็นภาษาเอกเทศต่างหาก
มีผู้พูดภาษาตาตาร์ในรัสเซียราว 5,300,000 คน โดยเป็นชาวตาตาร์ 4,500,000 คน ส่วนที่เหลือเป็นชาวบัศกีร์ 520,000 คน ชาวรัสเซีย 130,000 คน ชาวชูวาส 70,000 คน ชาวมาริส 42,000 คน ชาวอุดเมิร์ธ และมอร์ดวินส์ มีชาวพื้นเมืองที่พูดภาษาตาตาร์ในตาตาร์สถาน ได้แก่ ชาวอาเซอรี ชาวคาซัค ชาวอาร์เมเนีย และชาวยิว
บรรพบุรุษของภาษาตาตาร์คือภาษาโบลการ์ที่ตายแล้วและภาษาเคียปชัก ภาษาตาตาร์ไครเมียไม่ถือเป็นภาษาใกล้เคียง สำเนียงที่ใช้เป็นมาตรฐานสำหรับการเขียนคือสำเนียงกลางที่ใช้ในตาตาร์สถานและสำเนียงโบราณ ทั้งสองสำเนียงนี้อยู่ในภาษากลุ่มเคียปชักซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของภาษากลุ่มเตอร์กิก ภาษาตาตาร์ได้รับอิทธิพลจากภาษากลุ่มคอเคเซียน ภาษากลุ่มสลาฟ และภาษากลุ่มฟินโน-อูกริก ที่ใช้พูดในบริเวณแม่น้ำโวลการ์มาก
ภาษาตาตาร์มีเครื่องหมายแทนเสียงสระ 16 ตัว เช่นเดียวกับภาษากลุ่มเตอร์กิกอื่นๆ ภาษาตาตาร์มีการเปลี่ยนเสียงสระ สระบางตัวแยกเป็นสระหน้าและสระหลังด้วย สระหน้า: ? [?~?], ? [?], e [e], ? [?], i [i], ? [?], ? [?], ? [y] สระหลัง: a [?~?], ? [?], ? [??], ? [?~?:], o [o~o:], u–? [u]
หน่วยเสียงในภาษาตาตาร์ส่วนใหญ่ใกล้เคียงหรือเหมือนกับภาษากลุ่มเตอร์กิกอื่นๆ เสียง /f/, /x/ และ /?/ เป็นเสียงที่ยืมมาจากภาษาอาหรับและภาษาในยุโรปตั้งแต่ยุคกลาง ส่วนเสียง /v/ ยืมมาในพุทธศตวรรษที่ 25 ความแตกต่างระหว่างเสียง /h/ และ /x/ เริ่มเกิดขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 15 เมื่อมีการใช้คำ อัลลอหฺ และการได้รับอิทธิพลจากภาษาอาหรับและภาษาเปอร์เซีย ในยุคที่อยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต การปรากฏของเสียง /h/ ลดลงมาก
ภาษาตาตาร์มีประวัติการเขียนด้วยอักษรหลายชนิด การเขียนเริ่มแรกประยุกต์มาจากภาษาโบลการ์ ซึ่งใช้อักษรออร์คอนก่อน พ.ศ. 1463 ต่อจากนั้น เปลี่ยนมาใช้อักษรอาหรับ จนถึง พ.ศ. 2471 ในช่วง พ.ศ. 2470 – 2481 ใช้อักษรละติน ส่วนในรัสเซียและในตาตาร์สถานได้เปลี่ยนมาใช้อักษรซีริลลิก ต่อมาในราว พ.ศ. 2543 ได้มีการปรับปรุงการเขียนด้วยอักษรละตินใหม่และเป็นที่นิยมใช้ทางอินเทอร์เน็ต แต่มีใช้ในรัสเซียน้อยเพราะมีกฎหมายบังคับให้ทุกภาษาในรัสเซียต้องเขียนด้วยอักษรซีริลลิก