ภาษาซูเมอร์ (อังกฤษ: Sumerian language) เป็นภาษาพูดของชาวซูเมอร์ในเมโสโปเตเมียตอนใต้เมื่อประมาณ 3,457 ปีก่อนพุทธศักราช ภาษานี้ถูกแทนที่ด้วยภาษาแอกแคดเมื่อราว 1,257 ปีก่อนพุทธศักราช แต่ยังคงใช้เป็นภาษาทางศาสนา วรรณคดีและวิทยาศาสตร์ในเมโสโปเตเมียจนถึงราว พ.ศ. 643 หลังจากนั้น ภาษานี้ถูกลืมไปจนพุทธศตวรรษที่ 24 ภาษาซูเมอร์จึงถูกแยกออกจากภาษาโบราณอื่น ๆ ในเมโสโปเตเมีย เช่น ภาษาแอกแคดและภาษาแอราเมอิก
ประวัติการเขียนของภาษาสุเมเรียแบ่งได้เป็นหลายช่วงคือ ภาษาสุเมเรียโบราณ ตั้งแต่ ศตวรรษที่ 31 – 26 ก่อน ค.ศ. ภาษาสุเมเรียคลาสสิก ศตวรรษที่ 26 – 23 ก่อน ค.ศ. ภาษาสุเมเรียใหม่ ศตวรรษที่ 23 – 21 ก่อน ค.ศ. ภาษาสุเมเรียตอนปลาย ศตวรรษที่ 20 – 18 ก่อน ค.ศ. และยุคหลังสุเมเรีย หลัง 1,700 ปีก่อน ค.ศ.
ภาษาสุเมเรียโบราณเป็นจารึกรุ่นแรกสุด พบในสมัยเยมเดต นาสร์ หรืออูรักที่ 3 ในช่วงศตวรรษที่ 31 – 30 ก่อน ค.ศ. ในขณะที่เอกสารบางแหล่งกำหนดให้ช่วงหลัง 2,000 ปีก่อน ค.ศ. เป็นช่วงหลังสุเมเรีย คำว่าหลังสุเมเรียเป็นการอ้างถึงช่วงเวลาที่ภาษานี้กลายเป็นภาษาตายและถูกนำมาใช้โดยชาวบาบิโลเนียและชาวอัสซีเรียในฐานะภาษาเขียน และภาษาคลาสสิกสำหรับใช้ในทางศาสนา ศิลปะและวิชาการ การกลายเป็นภาษาตายคาดว่าเกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดราชวงศ์ที่ 3 แห่งอูร์ ซึ่งเป็นรัฐของชาวสุเมเรียแห่งสุดท้ายในเมโสโปเตเมียเมื่อราว 2,000 ปีก่อน ค.ศ. แต่ตัวเลขนี้ก็เป็นเพียงตัวเลขประมาณ เพราะนักวิชาการบางคนเสนอว่าภาษาสุเมเรียเป็นภาษาตายเมื่อ 2,100ปีก่อน ค.ศ. เมื่อเริ่มต้นสมัยอูร์ที่ 3 แต่บางคนก็เชื่อว่าภาษาสุเมเรียยังคงเป็นภาษาพูดในพื้นที่ส่วนเล็กๆของเมโสโปเตเมียใต้ คือนิปปูร์และบริเวณใกล้เคียง จนถึง 1,700 ปีก่อน ค.ศ. สถานการณ์เป็นภาษาพูดของภาษาสุเมเรียระหว่าง 2,000 – 1,700 ปีก่อน ค.ศ. เป็นช่วงที่มีเอกสารและรากศัพท์สองภาษาระหว่างภาษาสุเมเรียและภาษาอัคเคเดียอยู่มาก โดยเฉพาะจากนิปปูร์ ควบคู่ไปกับการใช้ภาษาอัคเคเดียนเป็นภาษาราชการในช่วงเวลาเดียวกัน
มีภาษาสุเมเรีย 2 สำเนียงที่มีการบันทึกไว้ สำเนียงมาตรฐานเรียก eme-?ir (? ออกเสียง [?])อีกสำเนียงเรียก eme-sal หรือที่เรียกว่าสำเนียงผู้หญิง ซึ่งใช้บรรยายลักษณะที่เกี่ยวกับเพศหญิงในเอกสารบางชิ้น ซึ่งอาจจะใกล้เคียงกับการแบ่งภาษาผู้หญิงในบางวัฒนธรรมเช่นการที่ผู้หญิงใช้ภาษาปรากฤต และผู้ชายใช้ภาษาสันสกฤตในยุคคลาสสิกของอินเดีย
มีการศึกษาเกี่ยวกับการจัดจำแนกภาษาสุเมเรียหลายแบบทั้งที่เป็นภาษารูปคำติดต่อหรือไม่เป็น ในฐานะที่เป็นภาษาเขียนภาษาแรกของโลก ทำให้บางข้อเสนอมีลักษณะชาตินิยมแฝงอยู่ ตัวอย่างของกลุ่มภาษาที่มีข้อเสนอให้จัดภาษาสุเมเรียรวมอยู่ด้วย ได้แก่ ตระกูลภาษายูราลิก กลุ่มภาษาเตอร์กิก กลุ่มภาษาฮูร์โร-ยูราเทีย กลุ่มภาษามุนดา ตระกูลภาษาดราวิเดียน กลุ่มภาษานอสตราดิก กลุ่มภาษาโดเน-คอเคเซียน
ภาษาสุเมเรียจัดเป็นภาษาแรกของโลกที่เป็นภาษาเขียน ช่วงก่อนที่จะเป็นภาษาเขียนคาดว่าอยู่ในช่วง 3,500 – 3,000 ปีก่อน ค.ศ. ช่วงนี้บันทึกแบบโลโกแกรมโดยไม่มีเนื้อหาทางภาษาศาสตร์หรือสัทวิทยาอยู่ เอกสารเก่าที่สุดในยุคนี้คือคิชแทบเล็ต ซึ่งมีการใช้เครื่องหมายในยุคนี้ 939 แบบ
บันทึกที่มีเนื้อหาทางภาษาชัดเจนพบในสมัยเยมเดท นัสร์ ในช่วงศตวรรษที่ 31 – 30 ก่อน ค.ศ. ในประมาณ 2,600 ปีก่อน ค.ศ. สัญลักษณ์โลโกแกรมถูกปรับให้มีรูปแบบคล้ายรูปลิ่ม เพื่อให้เหมาะกดลงในดินเหนียวที่เปียก โดยมีเครื่องหมาย 468 แบบที่ใช้ในยุคนี้ อักษรแบบรูปลิ่มนี้ได้ถูกปรับไปใช้เขียนภาษาอัคคาเดียน ในสมัยต่อมา ในช่วงสมัยอูร์ที่ 3 ประมาณศตวรรษที่ 21 ก่อน ค.ศ. ภาษาสเมเรียนเขียนด้วยอักษรรูปลิ่มที่แสดงแนวคิดเป็นส่วนใหญ่ จึงถูกนำไปใช้ต่อในอักษรรูปลิ่มสำหรับภาษาอัสซีเรียโบราณ
คำนามภาษาซูเมอร์มีรากศัพท์ 1-2 พยางค์ สำหรับโครงสร้างง่าย ๆ เช่น igi = ตา, e = วิหาร, หรือ nin = ผู้หญิง คำประสมเช่น lugal (จาก lu "ผู้ชาย" และ gal "ยิ่งใหญ่") คำนามอาจประกอบด้วยเครื่องหมายการกและแสดงหน้าที่ในประโยค เพิ่มคำแสดงความเป็นเจ้าของบุรุษที่ 3 –ani เป็น lugal.ani = พระราชาของเขา/ของหล่อน คำนามสามารถแสดงความเป็นเจ้าของโดยไม่ต้องใช้เครื่องหมาย เช่น Ur. Namma = ผู้ชายแห่งนัมมา เครื่องหมายการกแสดงความเป็นเจ้าของ .k ไม่ออกเสียงในกรณีนี้
คำกริยาภาษาซูเมอร์โดยทั่วไปมี 1-2 พยางค์ มีการเชื่อมต่อ สกรรมกิริยาและอกรรมกิริยา มีจุดมุ่งหมายสองแบบ การลงท้ายคำกริยามีสามแบบคือ บุรุษที่ 1 เอกพจน์ –en บุรุษที่ 1 พหูพจน์ -en-d?-en และ บุรุษที่ 2 พหูพจน์ -en-z?-en อย่างไรก็ตาม ระบบคำกริยาของภาษาซูเมอร์ซับซ้อนกว่าภาษาสมัยใหม่เช่นภาษาอังกฤษ และถือว่าเป็นกรณีแตกต่างจากภาษาอื่นในด้านที่ว่าเป็นภาษาที่พัฒนาระบบการเขียนขึ้นเองโดยไม่ได้รับอิทธิพลจากระบบการเขียนอื่น