ภาษาจีนฮกเกี้ยนสำเนียงไต้หวัน (อังกฤษ: Taiwanese Hokkien; จีน: ?????; พินอิน: T?iw?n f?ji?n hu?) หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า ภาษาไต้หวัน (อังกฤษ: Taiwanese; จีน: ???; พินอิน: T?iw?n hu?; ไต้หวัน: T?i-o?n-o?; หรือ จีน: ??; พินอิน: T?i y?; ไต้หวัน: T?i-g?) เป็นภาษาจีนสำเนียงฮกเกี้ยนซึ่งใช้โดยราว ๆ ร้อยละเจ็ดสิบของประชากรในสาธารณรัฐจีน (ประเทศไต้หวัน) จัดเป็นสำเนียงย่อยของภาษาจีนฮกเกี้ยนที่เรียก ฮกโล (Hoklo) และเป็นภาษาประจำชาติไต้หวัน อย่างไรก็ดี ภาษาราชการของสาธารณรัฐจีน คือ ภาษาจีนสำเนียงกลางซึ่งใช้รูปแบบการเขียนแตกต่างจากสำเนียงกลางของสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) เพราะชาวไต้หวันยังใช้ตัวอักษรจีนดั้งเดิมซึ่งเรียก อักษรจีนตัวเต็ม (Traditional Chinese) ส่วนจีนแผ่นดินใหญ่ปรับปรุงระบบตัวอักษรให้เขียนง่ายขึ้นเรียก อักษรจีนตัวย่อ (Simplified Chinese)
ใกล้เคียงกับภาษาจีนสำเนียงทางใต้เช่นภาษาฮากกาการเรียงประโยคเป็นแบบประธาน-กริยา-กรรม เช่นเดียวกับภาษาจีนกลาง แต่สามารเรียงประโยคแบบประธาน-กรรม-กริยาได้เมื่อเป็นรูปถูกกระทำและเติมอนุภาคของคำ ตัวอย่างเช่นประโยค "ฉันจับคุณ" คำที่เก่ยวข้องคือ: go? ("ฉัน" ในรูปประธานและกรรม), ph? ("จับ"), l? ("คุณ").
ด้วยวิธีนี้จะทำให้สร้างประโยคที่ซับซ้อนขึ้นได้ เช่น Go? k? ch?i h?• l? lim ("ฉันให้น้ำแก่คุณเพื่อดื่ม ": ch?i หมายถึง "น้ำ"; lim หมายถึง "ดื่ม").
ภาษาไต้หวันเป็นรูปแบบหนึ่งของภาษาอมอยที่เป็นสำเนียงหนึ่งของภาษาจีนฮกเกี้ยน และเป็นส่วนหนึ่งของภาษาจีนหมิ่นและภาษาจีน การเป็นภาษาหรือสำเนียงของภาษาไต้หวันขึ้นกับมุมมองทางการเมือง ภาษาจีนหมิ่นเป็นภาษาเดียวของภาษาจีนที่ไม่ได้มาจากภาษาจีนยุคกลางโดยตรง บางครั้งจึงยากที่จะหาอักษรจีนที่เหมาะสมสำหรับคำศัพท์ในภาษาจีนฮกเกี้ยน และเป็นเหตุผลหนึ่งทำให้ผู้พูดภาษานี้เข้าใจกับผู้พูดภาษาจีนกลางหรือผู้พูดภาษาจีนสำเนียงอื่นๆได้ยาก
ผู้พูดภาษาไต้หวันทั้งหมดเกือบจะถือว่าเป็นผู้พูดภาษาอมอยด้วย ความผันแปรทางด้านพื้นที่ภายในภาษาไต้หวัน อาจจะติดตามย้อนกลับไปสู่ความแตกต่างของภาษาอมอยในมณฑลฝูเจี้ยนตอนใต้ ภาษาไต้หวันมีคำยืมจากภาษาญี่ปุ่นและกลุ่มภาษาเกาะฟอร์โมซา ในปัจจุบันได้มีการทำงานวิจัยเกี่ยวกับความเกี่ยวข้องของคำศัพท์พื้นฐานในภาษาไต้หวันกับตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนและตระกูลภาษาไท-กะได
ผู้พูดภาษาจีนฮกเกี้ยน ส่วนใหญ่อยู่ในมณฑลฝูเจี้ยน และต่อมาบางส่วนได้อพยพไปสู่ไต้หวัน งานเขียนเกี่ยวกับละครที่ตีพิมพ์ในสมัยราชวงศ์หมิงเมื่อราว พ.ศ. 2103 เป็นส่วนหนึ่งของงานที่มีการรู้จักในช่วงแรกๆ แต่รูปแบบของภาษาแบบนี้ส่วนใหญ่เลิกใช้แล้ว
งานศึกษาทางด้านภาษาศาสตร์สมัยใหม่ประมาณว่าคำศัพท์ 75 – 90% ของคำศัพท์ในภาษาไต้หวันมีความคล้ายคลึงกับภาษาจีนอื่นๆ ตัวอย่างเช่น ch?u หมายถึงวิ่ง ในภาษาไต้หวัน ส่วนในภาษาจีนกลาง zou หมายถึงเดิน นอกจากนั้น phin หมายถึงจมูก (ภาษาจีนกลาง bi) แต่หมายถึงได้กลิ่นได้ด้วย แต่ก็มีบางคำที่มีความหมายแตกต่างไปจากภาษาจีนอื่นๆทั้งหมด
ความใกล้ชิดกับภาษาญี่ปุ่นทำให้มีคำยืมจากภาษาญี่ปุ่น แม้ว่าจะมีจำนวนน้อย แต่ใช้บ่อยเพราะเป็นศัพท์ในสังคมสมัยใหม่เช่นคำว่า oo-to-b?i มาจากภาษาญี่ปุ่น ootobai ซึ่งมาจากภาษาอังกฤษอีกต่อหนึ่ง และ ph?ng มาจากภาษาญี่ปุ่น pan (ขนมปัง) ที่มาจากภาษาโปรตุเกสอีกต่อหนึ่ง มีการยืมหน่วยทางไวยากรณ์จากภาษาญี่ปุ่นเช่น te_k (จาก teki) และ ka ซึ่งพบในภาษาไต้หวันที่พูดโดยผู้สูงอายุ ภาษาไต้หวันไม่มีรูปพหูพจน์ที่แท้จริง เช่นเดียวกับภาษาจีนอื่นๆ
ภาษาจีนมีสรรพนามบุรุษที่ 1 พหูพจน์สองคำคือการรวมผู้ฟังและไม่รวมผู้ฟัง เช่น go?n = พวกเราไม่รวมคุณ ในขณะที่ l?n = พวกเรารวมคุณด้วย คำว่า l?n ยังใช้เพื่อแสดงความสุภาพ การแบ่งแยกนี้เป็นลักษณะทั่วไปของกลุ่มภาษาจีน-ทิเบต
ภาษาไต้หวันไม่มีการเขียนเป็นของตนเองก่อนพุทธศตวรรษที่ 14 ผู้พูดภาษาไต้หวันใช้อักษรจีน ระบบการเขียนที่ใช้อักษรละตินที่เรียกเป๊ะห์โอยจี (POJ) ได้พัฒนาขึ้นขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 24 ปัจจุบันนี้ ผู้พูดภาษาไต้หวันนิยมเขียนด้วยอักษรจีน โดยใช้คำศัพท์และไวยากรณ์ของภาษาจีนกลาง
โดยส่วนใหญ่ผู้พูดภาษาไต้หวันใช้อักษรที่มีลักษณะของอักษรฮั่นหรืออักษรจีน โดยยืมอักษรที่มีเสียงคล้ายกัน
ในบางครั้งภาษาไต้หวันเขียนด้วยอักษรละติน ตามการออกเสียงเรียกอักษรเป๊ะห์โอยจี พัฒนาขึ้นครั้งแรกโดยมิชชันนารีนิกายเพรสไบทีเรียนและปรับปรุงโดยมิชชันนารีนิกายนี้ที่เป็นชาวไต้หวัน ระบบอื่นๆที่ใช้ภาษาละตินได้แก่ อักษรสัทศาสตร์ภาษาไต้หวัน (TLPA) ภาษาไต้หวันสมัยใหม่ (MTL) และโฟซิสไดบูอัน (PSDB)
ในการเขียนแบบเป๊ะห์โอยจีมีตัวอักษร 24 ตัวรวมทั้ง ts ซึ่งใช้แสดงเสียง /ch/ มีเครื่องหมายแสดงเสียงนาสิกและวรรณยุกต์ ใน พ.ศ. 2549 คณะกรรมการภาษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการของสาธารณรัฐจีนได้เสนอการเขียนแบบการออกเสียงแบบโรมันสำหรับภาษาไต้หวัน โดยรวมแบบเป๊ะห์โอยจีกับ TLPA การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือเปลี่ยนจาก ts เป็น ch และ tsh เป็น chh
ภาษาไต้หวันเคยเขียนด้วยอักษรคะนะแบบญี่ปุ่นเมื่ออยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น รัฐบาลก๊กมินตั๋งเคยเสนอการเขียนแบบ Bopomofo
ในไต้หวัน สำเนียงไทนานทางใต้ของไต้หวันเป็นสำเนียงหลัก สำเนียงอื่น ๆ ได้แก่ สำเนียงทางเหนือ สำเนียงภาคกลางและสำเนียงตามแนวชายฝั่งทางเหนือ ลักษระที่แตกต่างไปของสำเนียงตามแนวชายฝั่งคือการใช้สระ ‘ui?’ แทนที่ ng สำเนียงทางเหนือแตกต่างไปโดยไม่มีเสียงวรรณยุกต์เสียงที่ 8 สำเนียงกลางเพิ่มเสียงสระ [?] หรือ [?]ซึ่งอยู่ระหว่าง i และ u
ประชาชนส่วนใหญ่ในไต้หวันพูดทั้งภาษาจีนกลางและภาษาไต้หวันทำให้มีอิทธิพลระหว่างกัน มีประชากรในไต้หวันประมาณ 20 - 30% ไม่สามารถพูดภาษาไต้หวันได้เลย ในขณะเดียวกันมีชาวไต้หวันประมาณ 10 - 20% ส่วนใหญ่เกิดก่อน พ.ศ. 2493 ไม่สามารถพูดภาษาจีนกลางได้เลย ชาวฮากกาในไต้หวันประมาณ 1/2 หนึ่งพูดภาษาไต้หวันได้ มีหลายครอบคัวที่เป็นเลือดผสมระหว่างฮากกา ฮกโล และชาวพื้นเมือง มีชาวไต้หวันจำนวนมากที่สามารถเข้าใจภาษาไต้หวันได้ดีกว่าการพูดภาษาไต้หวัน
โดยทั่วไปประชาชนจะใช้ภาษาจีนกลางในสถานะที่เป็นทางการ และใช้ภาษาไต้หวันในสถานะที่ไม่เป็นทางการ ภาษาไต้หวันจะใช้มากในเขตชนบท และใช้ภาษาจีนกลางมากในเขตเมือง คนอายุมากมีแนวโน้มใช้ภาษาไต้หวัน ในขณะที่วัยรุ่นมีแนวโน้มใช้ภาษาจีนกลาง สื่อต่าง ๆ เช่น วิทยุ ละครใช้ภาษาไต้หวัน ส่วนงานที่เป็นเอกสารใช้ภาษาจีนกลาง การสื่อสารทางการเมืองใช้ภาษาไต้หวันและภาษาจีนกลาง
Chhit-j?-? เป็นการเขียนกวีนิพนธ์ของภาษาไต้หวัน แต่ละวรรคมี 7 พยางค์ และมีรูปแบบเฉพาะสำหรับการแสดงละครเรียก koa-?-h? และหุ่นกระบอกแบบไต้หวันเรียก P??-t?-h?
เช่นเดียวกับภาษาอื่น ๆ การแปลไบเบิลเป็นภาษาไต้หวันมีลำดับขั้นของการจัดมาตรฐานภาษาและการออกเสียง การแปลไบเบิลเป็นภาษาอมอยหรือภาษาไต้หวันด้วยการออกเสียงแบบ pe?h-?e-j? โดยมิชชันนารีที่เข้ามาอยู่ในไต้หวัน James Laidlaw Maxwell ส่วนที่เป็นพันธสัญญาใหม่เผยแพร่เมื่อ พ.ศ. 2416 ส่วนพันธสัญญาเก่าเผยแพร่เมื่อ พ.ศ. 2427
การแปลไบเบิลรุ่นต่อมาดำเนินการโดย Thomas Barclay ทั้งในมณฑลฝูเจี้ยนและไต้หวัน ภาคพันธสัญญาใหม่แปลเป็นภาษาไต้หวันโดยสมบูรณ์เมื่อ พ.ศ. 2459 การแปลทั้งสองภาคเป็นภาษาไต้หวันโดยใช้การออกเสียงแบบ pe?h-?e-j? สำเร็จเมื่อ พ.ศ. 2473 และตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อ พ.ศ. 2476 และได้ปริวรรตเป็นรูปที่ใช้อักษรจีนใน พ.ศ. 2539
การตีพิมพ์ไบเบิลปกแดงซึ่งใช้การออกเสียงแบบ pe?h-?e-j? ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2516 โดยใช้ศัพท์สมัยใหม่ที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาจีนกลาง การแปลเป็นภาษาไต้ไหวันโดยใช้รูปแบบอักษรโรมันปัจจุบันของไต้หวันตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2551 เฉพาะพันธสัญญาใหม่ พันธสัญญาเก่ากำลังจัดพิมพ์
ตั้งแต่ พ.ศ. 2523 การใช้ภาษาไต้หวันร่วมกับสำเนียงอื่น ๆ ของภาษาจีนที่ไม่ใช่ภาษาจีนกลางถูกควบคุมโดยรัฐบาลก๊กมินตั๋งทั้งการใช้ในโรงเรียนและสื่อออกอากาศ การจำกัดถูกยกเลิกเมื่อ พ.ศ. 2533 เนื่องมีกระแสการสร้างความสำคัญของท้องถิ่น ภาษาจีนกลางยังคงเป็นภาษาสำคัญในโรงเรียน แต่ภาษาไต้หวันจะถูกสอนในโรงเรียนในฐานะภาษาแม่ ซึ่งเลือกได้ระหว่างภาษาไต้หวัน ภาษาฮากกา และภาษาของชาวพื้นเมือง การรณรงค์ให้ใช้ภาษาไต้หวันมากกว่าภาษาจีนกลางเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการไต้หวันเอกราชในอดีต แต่ความเชื่อมโยงระหว่างการเมืองกับภาษาในปัจจุบันลดน้อยลง ผลทางการเมืองของการใช้ภาษาไต้หวันมีทั้งเพื่อการเรียกร้องเอกราช และความเป็นหนึ่งเดียวกันของไต้หวัน การใช้ภาษาไต้หวันเพื่อการเรียกร้องเอกราชได้ลดลงเพราะต้องการควมร่วมมือจากชาวจีนแผ่นดินใหญ่และชาวฮากกา
(หนังสือเกี่ยวกับภาษาไต้หวันที่ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษมีจำกัด ส่วนใหญ่เป็นภาษาญี่ปุ่นและภาษาเยอรมัน)
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/ภาษาจีนฮกเกี้ยนสำเนียงไต้หวัน