ภาษาจีนกลาง (จีนตัวเต็ม: ??, จีนตัวย่อ: ??, พินอิน: Gu?nhu?, Mandarin) หรือที่เรียกในประเทศจีนว่า "ภาษาฮั่น" เป็นภาษาหลักของภาษาจีนและเป็น 1 ใน 6 ของภาษาราชการของสหประชาชาติ ในปัจจุบันมีผู้ใช้มากกว่า 800 ล้านคนทั่วโลก
ภาษาจีนกลาง เป็นคำที่คนไทยใช้เรียกภาษาหลักของจีน ซึ่งในประเทศจีนจะเรียกภาษานี้ว่า ฮั่นอวี่ แปลว่า ภาษาฮั่น อันป็นภาษาของชาวฮั่น ที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศจีน ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า "Mandarin" ซึ่งมีรากจากคำในภาษาโปรตุเกส อันหมายถึง "ภาษาราชการ" ของเจ้าหน้าที่รัฐของจีน
ในวงแคบ คำว่า ภาษาจีนกลาง ใช้เรียก ผู่ทงฮั่ว (???/???) และ กั่วอวี่ (??/??) ซึ่งเป็นภาษาพูดมาตรฐานที่เกือบจะเหมือนกัน ซึ่งมีพื้นฐานมาจากภาษาพูดที่ใช้กว้างขวาง คือ Beifanghua เป่ยฟางฮั่ว ซึ่งความหมายในวงแคบนี้ คือความหมายที่ใช้ในบริบทนอกวิชาการ
ในวงกว้าง คำว่า ภาษาจีน ใช้เรียก เป่ยฟางฮั่ว ("ภาษาพูดทางเหนือ") ซึ่งเป็นประเภทที่ประกอบด้วยภาษาย่อยต่าง ๆ ของภาษาจีนที่ใช้ในทางตอนเหนือและตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ซึ่งความหมายนี้มักจะพบในบริบททางวิชาการ และจะใช้ความหมายนี้ในบทความนี้ โดยที่ผู่ตงฮั่วและกั๋วอวี่ จะใช้ชื่อจีนเรียก รวมถึงใช้ "ภาษาจีนกลางมาตรฐาน" และ "ภาษาจีนมาตรฐาน" เรียก
ภาษาประเภทเป่ยฟางฮั่วมีคนพูดมากกว่าภาษาอื่น ๆ และเป่ยฟางฮั่วก็เป็นพื้นฐานของผู่ตงฮั่วและกั่วอวี่ด้วย อย่างไรก็ดี เป็นที่น่าสังเกตว่า เป่ยฟางฮั่วครอบคลุมภาษาย่อยจำนวนมากที่ไม่สามารถเข้าใจกันได้ นอกจากนี้ แนวคิดเป่ยฟางฮั่วส่วนใหญ่ ไม่ใช้นอกวงการวิชาการเป็นคำที่ใช้อธิบายตัวเอง เมื่อให้อธิบายชนิดของภาษาพูดที่ใช้ คนจีนที่พูดชนิดของเป่ยฟางฮั่วจะอธิบายตามชนิดของภาษาที่ใช้ เช่น ภาษาเสฉวนหรือภาษาจีนตะวันออกเฉียงเหนือ ชาวจีนมักจะถือชนิดของภาษาจีนกลางที่พูด เป็นส่วนหนึ่งของการระบุมณฑลที่อายอยู่ อย่างไรก็ดี แทบจะไม่มีอะไรที่สามารถระบุได้โดยทั่วไป เกี่ยวกับแนวคิดของภาษาพูดทางเหนือ
เหมือนกับภาษาอื่นๆ การจัดภาษาจีนกลางเป็นภาษาเดียวหรือเป็นภาษาย่อย ยังคงเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่