ภาษาคิเลกิ (????? ในภาษาเปอร์เซีย Gileki ในภาษาอังกฤษ) เป็นภาษากลุ่มอิหร่านตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้พูดในจังหวัดกิลันและจังหวัดมาซันดารันในอิหร่าน แบ่งเป็น 4 สำเนียงคือ สำเนียงตะวันตก ตะวันออก ตาบารี และกาเลชิ ใกล้เคียงกับภาษามาซันดารานี สำเนียงตะวันตกและตะวันออกของภาษานี้แบ่งแยกโดยแม่น้ำเวฟิด รุด มีผู้พูดมากกว่า 3 ล้านคนเมื่อ พ.ศ. 2536
โครงสร้างของภาษาคิเลกิใกล้เคียงกับภาษาซาซากีที่ใช้พูดในตุรกี มีความแตกต่างด้านไวยากรณ์ในการแสดงความเป็นเจ้าของและคำคุณศัพท์เมื่อเทียบกับภาษาเปอร์เซียคำคุณศัพท์และคำขยายนำหน้านามเช่นเดียวกับภาษาอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ภาษานี้ได้รับอิทธิพลจากภาษาเปอร์เซียมาก ผู้พูดภาษานี้มักพูดภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาที่สอง
ใกล้เคียงกับภาษาเปอร์เซีย รูปนามกริยาทั้งหมดลงท้ายด้วย -t?n/-d?n หรือ -V:n, เมื่อ V: สระเสียงยาว รูปปัจจุบันมักสัมพันธ์กับรูปนามกริยา ส่วนรูปอดีตจะเป็นรูปนามกริยาที่ตัด -?n หรือ -n
มีกริยาประกอบเป็นจำนวนมากในภาษาคิเลกิ ซึ่งมีรูปแบบต่างจากกริยาโดยทั่วไป ส่วนใหญ่ ไม่ใช้คำอุปสรรค bV- และคำอุปสรรคปฏิเสธ nV- สามารถทำหน้าที่คล้ายอาคม -n-, โดยมาระหว่างอปสรรคและรากศัพท์ ดังนั้น จาก fagift?n, "ได้รับ", จะได้ รูปชี้เฉพาะปัจจุบัน fagir?m, แต่ เงื่อนไขปัจจุบันเป็น f?gir?m, และรูปปฏิเสธของทั้งคู่เป็น f?ngir?m หรือ fan?gir?m. รูปอดีตเป็น f?ngift?m หรือ fan?gift?m.
ภาษาคิเลกิใช้ระบบของการกร่วมกับคำบุพบท มีสามการกคือ การกประธาน การกความเป็นเจ้าของ และการกกรรม