ภาษาคริสตัง (Kristang language) หรือ ภาษาโปรตุเกสลูกผสมมะละกา (Malaccan Creole Portuguese) หรือภาษามะละกา หรือภาษาเกอราเกา พูดโดยชาวคริสตังซึ่งเป็นลูกหลานระหว่างชาวโปรตุเกสกับชาวเอเชียที่อยู่ในมะละกาและสิงคโปร์ มีผู้พูดภาษานี้ราว 1,000 คน ในมะละกา มีความเกี่ยวข้องกับสำเนียงที่พบในกัวลาลัมเปอร์และสิงคโปร์ เป็นภาษาทางการค้า ผู้พูดภาษานี้ส่วนใหญ่เป็นผู้ใหญ่ ผู้พูดภาษานี้จะพูดภาษามาเลย์ซาบา ผู้หญิงบางคนพูดภาษาอังกฤษได้ บางครั้งเรียกว่าภาษาคริสเตาหรืออย่างง่ายๆว่าภาษาปาปีอา ประมาณ 80% ของผู้พูดภาษานี้ที่เป็นผู้สูงอายุจะพูดภาษานี้ในชีวิตประจำวัน มีผู้พูดจำนวนน้อยในกัวลาลัมเปอร์ซึ่งเกิดจากการอพยพ มีผู้พูดภาษาครัสตังที่ย้ายถิ่นไปยังอังกฤษ ออสเตรเลีย
การเกิดขึ้นของภาษาคริสเตาเกิดขึ้นเมื่อชาวโปรตุเกสปกครองมะละกาเมื่อ พ.ศ. 2054 ชุมชนของผู้พูดภาษานี้คือลูกหลานที่เกิดจากการแต่งงานระหว่างชาวโปรตุเกสกับหญิงมาเลย์ บางส่วนอพยพมาจากกัว ซึ่งเป็นลูกผสมระหว่างชาวโปรตุเกสกับชาวอินเดีย ภาษาคริสตังได้รับอิทธิพลจากภาษามาเก๊าซึ่งเป็นภาษาลูกผสมที่ใช้พูดในมาเก๊า ซึ่งอาจจะเกิดจากการอพยพออกจากมะละกาเมื่อดินแดนนี้ถูกดัตช์ยึดครอง หลังจากที่โปรตุเกสหมดอำนาจจากมะละกาและไม่ได้มีการติดต่อใดๆอีกตั้งแต่ พ.ศ. 2184 ชาวคริสตังยังคงรักษาภาษาของพวกเขาไว้ ภาษานี้ไม่มีการสอนในโรงเรียน ภาษาที่ใช้ในโบสถ์เป็นภาษาโปรตุเกส
ไวยากรณ์ของภาษาเป็นแบบเดียวกับภาษามาเลย์ คำศัพท์ส่วนใหญ่มาจากภาษาโปรตุเกส และอาจจะเป็นเพราะผลจาการย้ายถิ่นและการติดต่อทางการค้า ภาษาคริสตังจึงมีลักษณะคล้ายกับภาษาลูกผสมอื่น ๆ ที่ตายไปแล้วในอินโดนีเซียและติมอร์-เลสเต
ในการแสดงกาลของกริยา จะมีการเติมคำ เช่น ja แสดงอดีต (มาจาก j? ในภาษาโปรตุเกส “แล้ว”) ta สำหรับปัจจุบันกำลังกระทำ (มาจากภาษาโปรตุเกส est? “เป็น/คือ”) logu สำหรับอนาคต โดยใช้งานเป็นแบบเดียวกับคำที่มีความหมายเช่นเดียวกันนี้ในภาษามาเลย์คือ sudah, sedang, และ akan
คำสรรพนาม yo (ฉัน) เป็นคำที่ใช้อยู่ในภาษาโปรตุเกสทางตอนเหนือ เช่นเดียวกับในภาษาสเปน ภาษาอิตาลีและภาษาซิซิลี รากศัพท์ในภาษาคริสตังส่วนใหญ่มาจากภาษาโปรตุเกส แต่มีการเปลี่ยนรูปไปบ้าง เช่น padrinho (เจ้าพ่อ) madrinha (เจ้าแม่) ในภาษาโปรตุเกส กลายเป็น inyu และ inya gordo (อ้วน) ในภาษาโปรตุเกสเป็น godro เสียงสระประสม oi หรือ ou (ในสำเนียงโบราณ) ลดรูปเป็น o เช่น dois/dous "สอง" dos ? noite/? noute "คืนนี้" anoti
คำภาษาโปรตุเกสจำนวนมากที่เริ่มต้นด้วย ch จะออกเสียงเป็น sh ในภาษาโปรตุเกสสมัยใหม่ ยังคงออกเสียงเป็น ch ในภาษาคริสตัง chegar "มาถึง" และ chuva "ฝน" จากภาษาโปรตุเกสเป็น chegak และ chu ซึ่งอาจเป็นเพราะอิทธิพลของภาษามาเลย์หรือเพราะภาษาคริสตังได้รักษาการออกเสียงของภาษาโปรตุเกสโบราณไว้ เพราะการออกเสียงเช่นนี้ พบในภาษาโปรตุเกสทางตอนเหนือด้วย
ภาษาคริสตังไม่เคยมีการเรียนการสอนในโรงเรียน ส่วนใหญ่ใช้เป็นภาษาพูด ข้อเสนอในการสร้างมาตรฐานการออกเสียงเริ่มขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 2523 เมื่อ Alan B. Baxter ทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับไวยากรณ์ภาษาคริสตัง โดยใช้ระบบการออกเสียงแบบเดียวกับภาษามาเลย์ โดย e ออกเสียงเป็นสระอีเมื่อพยางค์ต่อไปมีเสียงสระอี เช่น penitensia ออกเสียงว่า “ปีนีเตนเซีย”