คำนามมี 3 การก คือ สัมบูรณ์ เกี่ยวพัน และกรรมตรง เป็นภาษาที่นิยมใช้ในรูปถูกกระทำ เครื่องหมายสำหรับการกสัมบูรณ์จะแสดงการกระทำของอกรรมกริยาและกรรมของสกรรมกริยา เครื่องหมายแสดงการกเกี่ยวพัน แสดงกรรมของอกรรมกริยา และการกระทำของสกรรมกริยา และใช้แสดงความเป็นเจ้าของ เครื่องหมายแสดงกรรมเหมือนกับบุพบทในภาษาอังกฤษแสดงตำแหน่งและทิศทาง เครื่องหมายของคำนามแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ ใช้กับบุคคลและใช้ทั่วไป ดังในตาราง
คำสรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของตามหลังคำที่ถูกขยาย คำสรรพนามที่เป็นกรรมอาจใช้แทนคำสรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของได้ แต่จะนำหน้าคำที่ถูกขยาย เช่น
คำสรรพนามทวิพจน์ ikata ใช้แทนสรรพนามบุรุษที่ 1 และ 2 คำสรรพนามรวมผู้ฟัง ikatamu ใช้แทนบุรุษที่ 1 และ 2 อาจรวมบุรุษที่ 3 ด้วย คำสรรพนามไม่รวมผู้ฟัง ikami ใช้แทนสรรพนามบุรุษที่ 1 และ 3 แต่ไม่รวมบุรุษที่ 2 ตัวอย่างเช่น
การเรียงลำดับและรูปแบบของคำสรรพนามในภาษากาปัมปางันแสดงในตารางข้างล่าง สรรพนามเหล่านี้มีลำดับแน่นอนในการตามหลังคำกริยาหรืออนุภาค เช่นคำปฏิเสธ คำสรรพนามภายในจะตามหลังคำสรรพนามอีกตัวเป็นลำดับแรก เช่น
ตารางต่อไปนี้แสดงคำสรรพนามที่รวมกันได้ ช่องว่างแสดงว่าคำสรรพนามคู่นั้นรวมกันไม่ได้ ตามแนวตั้งเป็นสรรพนามรูปสัมบูรณ์ ส่วนแนวนอนเป็นสรรพนามรูปเกี่ยวพัน
คำสรรพนามชนิดนี้ในภาษากาปัมปางันต่างจากภาษาในฟิลิปปินส์อื่นๆ คือมีการแยกรูปเอกพจน์กับพหูพจน์
imi และ iti หมายถึง"นี่" เหมือนกันแต่ใช้ต่างกัน iti ใช้แทนสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น iting musika (ดนตรีนี้) ini ใช้กับสิ่งที่เป็นรูปธรรมเท่านั้น เช่น ining libru (หนังสือเล่มนี้)
ในรูปชี้บ่งสถานที่ keni ใช้เมื่อผู้พูดไม่อยู่ใกล้สิ่งที่พูดถึง keti ใช้เมื่อผู้พูดอยู่ใกล้สิ่งที่พูดถึง ทั้งสองคำหมายถึง "ที่นี่" เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น
คำกริยาในภาษากาปัมปางันมีโครงสร้างที่ซับซ้อน มีการลงวิภัติปัจจัยผันตามสิ่งเน้น จุดประสงค์ รูปแบบ และอื่นๆ ผู้พูดภาษาอื่นๆในฟิลิปปินส์จะมองว่าคำกริยาของภาษากาปัมปางันยากกว่าภาษาอื่น เพราะมีรูปแบบที่คาดเดาได้ยาก ตัวอย่างเช่นคำว่า sulat (เขียน) ซึ่งเป็นรากศัพท์ที่พบทั้งภาษาตากาล็อกและภาษากาปัมปางัน มีการผันต่างกันดังนี้
มีคำกริยาในรูปเน้นผู้ถูกกระทำที่ไม่ใช้อาคม -um- แต่ใช้การเชื่อมต่อ เช่น gawa(ทำ) bulus (จม) sindi (สูบบุหรี่)คำกริยาเหล่านี้เกิดจากการเปลี่ยนเสียงสระในรูปเน้นผู้กระทำจะเกิดกับคำกริยาที่มีสระ u ที่พยางค์แรก เช่น lucas (เอาออกไป) lukas (จะเอาออกไป) lulukas (กำลังเอาออกไป) และ likas (เอาออกไปแล้ว)