ภาษากันนาดา (กันนาดา: ?????) เป็นภาษากลุ่มดราวิเดียนที่สำคัญภาษาหนึ่ง ใช้พูดทางภาคใต้ของอินเดีย เป็นภาษาราชการของรัฐกรณาฏกะ เขียนด้วยอักษรกันนาดา เช่นเดียวกับภาษาท้องถิ่นอื่น ๆ ในรัฐกรณาฏกะ ได้แก่ ภาษาตูลู ภาษาโกทวะ และภาษากอนกานีที่เขียนด้วยอักษรกันนาดาเช่นกัน ภาษากันนาดาได้รับอิทธิพลด้านคำศัพท์จากภาษาสันสกฤตเช่นเดียวกับภาษากลุ่มดราวิเดียนอื่น ๆ วรรณคดีรุ่นแรก ๆ ที่เขียนด้วยภาษานี้คือ กาวิราชมาร์กา ของกษัตริย์นริปาตุงา
ภาษากันนาดาเป็นภาษากลุ่มดราวิเดียนที่เก่าที่สุด มีประวัติย้อนหลังไปได้ถึง 2,000 ปี ภาษาในรูปแบบภาษาพูดได้แยกอออกจากภาษาดราวิเดียนดั้งเดิมก่อนภาษาทมิฬและเป็นเวลาใกล้เคียงกับภาษาตูลู จากหลักฐานทางโบราณคดี การเขียนทางการค้าของภาษานี้เริ่มเมื่อราว 1500-1600 ปีมาแล้ว การพัฒนาในระยะแรกเป็นเช่นเดียวกับภาษาดราวิเดียนอื่น ๆ และเป็นอิสระจากภาษาสันสกฤต ในยุคต่อมาจึงได้อิทธิพลทางด้านคำศัพท์และวรรณคดีจากภาษาสันสกฤตเช่นเดียวกับภาษาเตลุกุ ภาษามาลายาลัม และอื่น ๆ
จารึกภาษากันนาดาพบครั้งแรกในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เมื่อราว พ.ศ. 313 ศิลาจารึกภาษากันนาดาที่สมบูรณ์ชิ้นแรกคือ ศิลาศาสนะ เขียนด้วยภาษากันนาดาโบราณ รวมทั้งจารึกหัลมิที, อายุราว พ.ศ. 93 จารึกภาษากันนาดาพบในอินเดียราว 40,000 ชิ้น และพบนอกรัฐกรณาฏกะด้วย เช่นที่ รัฐอานธรประเทศ รัฐมหาราษฏระ รัฐทมิฬนาดู รวมทั้งในรัฐมัธยประเทศและรัฐอุตตรประเทศด้วย
เหรียญในสมัยราชวงศ์กทัมพะบางส่วนมีจารึกภาษากันนาดา "วิระ" และ "สกันธะ" .เหรียญทองมีคำจารึกว่า "ศรี" และคำย่อของชื่อกษัตริย์ภาคิระกะว่า "ภาคิ" ทั้งหมดนี้ใช้อักษรกันนาดาโบราณ การค้นพบล่าสุดเป็นเหรียญทองแดง อายุราวพุทธศตวรรษที่ 10 ในพนวาสี ตำบลอุตรกันนาดา ซึ่งมีจารึกศรีมนราคี ใช้อักษรกันนาดาแสดงว่าภาษากันนาดาเป็นภาษาราชการในสมัยราชวงส์กทัมพะแห่งพนวาสี เหรียญที่มีจารึกภาษากันนาดาพบแพร่กระจายทั่วไปในเขตปกครองของราชวงศ์คันคะตะวันตก จลุกยะตะวันตก อลุปัส รัศตรกุตัส โหสาลัส จักรวรรดิวิชัยนคร และอาณาจักรไมซอร์ เหรียญในสมัยราชวงศ์กทัมพะที่พบในกัวมีลักษณะพิเศษคือมีทั้งอักษรกันนาดาและอักษรเทวนาครี
การเขียนภาษากันนาดาเกิดขึ้นภายใต้อิทธิพลทางศาสนาและสังคมที่หลากหลายในช่วง 1,600 ปีที่ผ่านมา นักภาษาศาสตร์แบ่งการพัฒนาการเขียนเป็น 4 ยุคด้วยกัน คือ
อิทธิพลของภาษากันนาดาโบราณต่อภาษาในจารึกอักษรทมิฬ-พราหมี ตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 343 จนถึงพุทธศตวรรษที่ 11 มีทั้งด้านไวยากรณ์และรากศัพท์ การเขียนในพุทธศตวรรษที่ 14 ในเขตกวิราชมรรคาซึ่งเป็นบริเวณระหว่างแม่น้ำกาเวรีและแม่น้ำโคธาวารี ซึ่งถือว่าเป็นดินแดนกันนาดาแสดงให้ถึงความนิยมใช้ภาษานี้ ภาษากันนาดามีอิทธิพลต่อภาษาคุชราตซึ่งเป็นภาษาเพื่อนบ้านในขณะนั้นด้วย ก่อนพุทธศตวรรษที่ 6 บริเวณที่มีผู้พูดภาษากันนาดาอยู่ในเส้นทางการค้าของจักรวรรดิกรีก-โรมัน ทำให้ภาษานี้มีการแพร่กระจายไปในวงกว้าง ภาษาที่ปรากฏร่วมกับภาษากันนาดาเช่น ภาษาตูลู ภาษาโกทวะ ภาษาสันเกถิ และภาษากอนกานีจึงมีคำยืมจากภาษากันนาดาจำนวนมาก
บทกวีภาษากันนาดาที่เก่าที่สุดคือ กัปเป อรภัตตะ เขียนเมื่อ พ.ศ. 1243 กวิราชมรรคา เขียนโดยกษัตริย์หริปตุระ อโมฆวรรษาที่ 1 เป็นวรรณคดีชิ้นแรกของภาษากันนาดา
มีความแตกต่างของรูปแบบภาษาที่ใช้ในการพูดและเขียน ภาษาพูดของภาษากันนาดามีแนโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงไปตามบริเวณ โดยที่ภาษาเขียนในรัฐกรณาฏกะมีความคงตัวกว่า มีภาษากันนาดาสำเนียงต่าง ๆ กันถึง 20 สำเนียงซึ่งได้รับอิทธิพลจากภูมิหลังทางวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น
ภาษากันนาดาใช้พูดในรัฐกรณาฏกะในอินเดียเป็นหลักและแพร่กระจายไปในรัฐใกล้เคียงเช่น รัฐอันธรประเทศ รัฐมหาราษฎระ รัฐทมิฬนาฑู รัฐเกระละและกัว และมีชุมชนที่ใช้ภาษานี้ในสหรัฐ อังกฤษและสิงคโปร์
ภาษากันนาดามีการผันคำ คำนามมี 3 เพศ คือ เพศชาย เพศหญิง และไม่มีเพศ การผันคำจะผันตามเพศ จำนวน และกาล
อักษรกันนาดามี 41 ตัว แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ สวรคลุ (สระมี13 ตัว) โยควาหกคลุ (เครื่องหมายมี 2 ตัวคือ ? และ ?) และ วยันชนคลุ (พยัญชนะมี 34 ตัว) อักษรแต่ละตัวออกเสียงต่างจากกันอย่างชัดเจน นอกจากนี้ อักษรกันนาดายังใช้เขียนอักษรอื่น เช่น ภาษาตูลู ภาษาโกทวะ และภาษากอนกานี
ในวรรณคดีภาษากันนาดา มีอักษร ? (? หรือ rh) และ ? (?, lh หรือ zh) ซึ่งใกล้เคียงกับเสียงที่คล้ายกันที่ยังใช้อยู่ในภาษาทมิฬและภาษาตูลู อักษร 2 ตัวนี้เลิกใช้เมื่อพุทธศตวรรษที่ 17 และ 23 ตามลำดับ งานเขียนภาษากันนาดารุ่นหลังแทนที่เสียง rh และ lh ด้วย ? (r) และ ? (l) ตามลำดับ
อักษรอีกตัวที่กำลังจะเลิกใช้คือ nh ซึ่งมีเสียงที่คล้ายกันนี้ในภาษาทมิฬและภาษามาลายาลัม การใช้อักษรตัวนี้ลดลงหลัง พ.ศ. 2523 และมักจะแทนที่ด้วย ?? (n)