ภาษากูย (อังกฤษ: Kuy) หรือ ภาษากวย หรือ ภาษาส่วย เป็นภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก สาขามอญ-เขมร กลุ่มกะตู มีผู้พูดทั้งหมด 366,675 คน พบในไทย 300,000 คน (พ.ศ. 2535) ในจังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด ส่วนใหญ่พูดภาษาลาว ภาษาไทยถิ่นอีสาน ภาษาไทยหรือภาษาเขมรเหนือได้ด้วย พบในกัมพูชา 15,495 คน (พ.ศ. 2532) ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือในจังหวัดพระวิหาร เสียมเรียบ กำปงธม สตรึงเตรง ส่วนใหญ่พูดภาษาเขมรได้ด้วย พบในลาว 51,180 คน (พ.ศ. 2543) ในแขวงสะหวันนะเขต ส่วนใหญ่อยู่ตามริมแม่น้ำโขงในลาวภาคใต้
ภาษากวย เป็นภาษาบังคับช้างที่ใช้บังคับมาจนถึงปัจจุบัน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งคือ ภาษากวย ภาษาช้าง นั่นเอง เช่น ( นั่ง = ตะโก ลุก = ยูร์ เดิน = เปาะ ยืน = สยึง ถอยหลัง = ทอยกเรอย ยกขา = เล๊อยืง หมอบลง = มูมแสง ยกงวง = เล๊อโจบย ดึง = ร๊อง ลาก = ดึ วิ่ง = อึมปรอย แต๊ะ = กถ๊าร์ เต้น = รำ กินกล้วย = จาเปรียด กินอ้อย = จา-กต๊วม ไปอาบน้ำ = จีปอยด๊า หยุด = เจชาว์ ไหว้ = จะม๊า )