ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ภาษากงกณี

ภาษากงกณี(อักษรเทวนาครี: ?????? ; อักษรกันนาดา:??????; อักษรมาลายาลัม:?????? ; อักษรโรมัน: Konknni) เป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยัน โดยมีคำศัพท์จากภาษาดราวิเดียนปนอยู่ด้วย ได้รับอิทธิพลจากภาษาอื่นหลายภาษา ทั้งภาษาโปรตุเกส ภาษากันนาดา ภาษามราฐี ภาษาเปอร์เซีย และภาษาอาหรับ มีผู้พูดประมาณ 7.6 ล้านคน แต่เดิมเชื่อกันว่าภาษานี้เป็นภาษาถิ่นของภาษามราฐี แต่หลักฐานที่พบภาษากอนกานีเกิดก่อนภาษามราฐีนานมาก จารึกภาษากอนกานีพบครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 1730 ขณะที่จารึกภาษามราฐีพบครั้งแรก เมื่อราว พ.ศ. 2100

ภาษากอนกานีเป็นภาษาที่มีความหลากหลายในด้านการเรียงประโยคและรูปลักษณ์ของภาษา ไม่อาจจำแนกได้ว่าเป็นภาษาที่ใช้การเน้นเสียงหรือเป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์ เป็นภาษาที่แยกเสียงสั้นยาวของสระเช่นเดียวกับภาษาในกลุ่มอินโด-อารยันอื่นๆ พยางค์ที่มีสระเสียงยาวมักเป็นพยางค์ที่เน้น

ภาษากอนกานีมีสระพื้นฐาน 16 เสียง พยัญชนะ 36 เสียง เสียงกึ่งสระ 5 เสียง เสียงออกตามไรฟัน 3 เสียง เสียงระบายลม 1 เสียง และมีเสียงประสมจำนวนมาก ความแตกต่างของสระนาสิกเป็นลักษณะพิเศษของภาษากอนกานี

ภาษากอนกานีพัฒนาขึ้นในบริเวณกอนกานซึ่งเป็นฉนวนแผ่นดินแคบๆระหว่างเขตภูเขาสหยทริและทะเลอาหรับทางฝั่งตะวันตกของอินเดีย โดยเฉพาะในโคมันตัก (ปัจจุบันคือกัว) ทฤษฎีเกี่ยวกับกำเนิดของภาษากอนกานีมีสองแบบคือ

ภาษากอนกานีเป็นภาษาหลักในกัว เริ่มแรกเขียนด้วยอักษรพราหมี ต่อมาจึงเขียนด้วยอักษรเทวนาครี ใช้ในทางศาสนาและการค้ารวมทั้งในชีวิตประจำวัน

กลุ่มชนอื่นๆ ที่ใช้ภาษากอนกานีสำเนียงต่างๆ ได้แก่ชาวกอนกานมุสลิมในเขตรัตนกาลีและภัตกัล ซึ่งมีลักษณะของภาษาอาหรับเข้ามาปนมาก ชนอีกกลุ่มหนึ่งที่ใช้ภาษากอนกานีคือชาวสิททิสซึ่งมาจากเอธิโอเปีย

การเข้ามาของโปรตุเกสทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงมากในหมู่ของชาวกอนกานี ชาวกอนกานีบางส่วนเปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์และอิทธิพลทางศาสนาของโปรตุเกสทำให้ชาวกอนกานีบางส่วนอพยพออกไป การแบ่งแยกระหว่างชาวกอนกานีที่นับถือศาสนาฮินดูและคริสต์ทำให้ภาษากอนกานีแตกเป็นหลายสำเนียงยิ่งขึ้น

ภาษานี้แพร่ไปสู่เขตจนระหรือกรวลี (ชายฝั่งของการณตกะ) โกกัน-ปัตตะ (ชายฝั่งกอนกาน ส่วนของรัฐมหาราษฏระ) และรัฐเกราลาในช่วง 500 ปีหลัง การอพยพของชาวกอนกานีมีสาเหตุมาจากการปกครองกัวของโปรตุเกส

การอพยพของชาวคริสต์และฮินดูเกิดเป็น 3 ระลอก การอพยพครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2103 ซึ่งเป็นช่วงแรกที่โปรตุเกสเข้ามาปกครองกัว ครั้งที่ 2 เกิดเมื่อ พ.ศ. 2114 ในสงครามกับสุลต่านพิชปูร์ การอพยพครั้งที่ 3 เกิดขึ้นระหว่างสงครามในช่วง พ.ศ. 2226 - 2283 การอพยพในช่วงแรกเป็นผู้นับถือศาสนาฮินดู ส่วนสองครั้งหลัง ส่วนใหญ่เป็นชาวคริสต์

ในช่วงแรกของการเป็นอาณานิคมของโปรตุเกส มิชชันนารีให้ความสำคัญกับการแปลคัมภีร์ศาสนาคริสต์เป็นภาษาท้องถิ่นทั้งภาษากอนกานีและภาษามราฐีจนกระทั่ง พ.ศ. 2227 โปรตุเกสห้ามใช้ภาษาถิ่นในเขตปกครองของตน ซึ่งถือว่าเป็นภาษาสำหรับศาสนาฮินดู ให้ใช้ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาราชการแทน ทำให้การใช้ภาษากอนกานีลดลงและทำให้ภาษาโปรตุเกสมีอิทธิพลต่อภาษากอนกานีสำเนียงของชาวคริสต์มาก ส่วนชาวกอนกานีที่นับถือศาสนาฮินดูใช้ภาษามราฐีเป็นภาษาทางศาสนา และจากความสัมพันธ์ในอดีตระหว่างภาษากอนกานีและภาษามราฐี ทำให้ชาวกอนกานีส่วนใหญ่พูดภาษามราฐีเป็นภาษาที่สองและปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวันของชาวฮินดูในกัวรวมทั้งชาวกอนกานีด้วย ชาวคริสต์ชั้นสูงใช้ภาษากอนกานีกับชนชั้นที่ต่ำกว่าและยากจน ส่วนในสังคมของตนใช้ภาษาโปรตุเกส

ผู้อพยพชาวกอนกานีนอกกัวยังคงใช้ภาษากอนกานีและภาษามีความแตกต่างกันมากยิ่งขึ้น มีการเขียนภาษากอนกานีด้วยอักษรเทวนาครีในรัฐมหาราษฏระ ในขณะที่ผู้พูดในรัฐกรนาฏกะเขียนด้วยอักษรกันนาดา

สถานะของภาษากอนกานีจัดว่าน่าเป็นห่วง มีการใช้ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาราชการและภาษาทางสังคมในหมู่ชาวคริสต์ ในหมู่ชาวฮินดูนิยมใช้ภาษามราฐีมากกว่าและมีการแบ่งแยกระหว่างชาวคริสต์และชาวฮินดูมากขึ้น

หลังจากอินเดียได้รับเอกราช กัวได้รวมเข้ากับอินเดียเมื่อ พ.ศ. 2504 ได้เกิดข้อโต้แย้งในกัวเกี่ยวกับสถานะของภาษากอนกานีในฐานะภาษาเอกเทศและอนาคตของกัวว่าจะรวมเข้ากับรัฐมหาราษฏระหรือเป็นรัฐต่างหากต่อไป บทสรุปปรากฏว่ากัวเลือกเป็นรัฐต่างหากใน พ.ศ. 2510 ส่วนในด้านภาษา ภาษาที่มีการใช้มากภายในรัฐได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาฮินดี ภาษามราฐี ส่วนภาษากอนกานียังไม่ได้รับการใส่ใจ

ในขณะที่มีความเชื่อว่าภาษากอนกานีเป็นสำเนียงของภาษามราฐีไม่ใช่ภาษาเอกเทศ สุนิต กุมาร จัตเตร์ชี ประธานคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาศาสตร์แห่งชาติได้จัดการประชุมทางวิชาการเกี่ยวกับข้อโต้แย้งนี้และได้บทสรุปเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 ว่าภาษากอนกานีเป็นภาษาเอกเทศ

กลุ่มผู้รักภาษากอนกานีได้เรียกร้องให้ภาษากอนกานีเป็นภาษาประจำรัฐกัวใน พ.ศ. 2529 ในที่สุดเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 รัฐกัวยอมรับให้ภาษากอนกานีเป็นภาษาราชการของรัฐ และได้รับการยอมรับให้เป็นภาษาประจำชาติของอินเดียเมื่อ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2535

มีความพยายามที่จะฟื้นฟูภาษากอนกานีโดยเฉพาะความพยายามของเศนอย โคเอมพับ ที่พยายามสร้างความสนใจวรรณกรรมภาษากอนกานีขึ้นอีกครั้ง มีองค์ที่สนับสนุนการใช้ภาษากอนกานี เช่น กอนกาน ไทซ ยตระ ที่บริหารโดยมันเดล และองค์กรที่ใหม่กว่าอย่างเช่น วิศวะ กอนกานี ปาริศัด

จากการสำรวจในอินเดีย ผู้พูดภาษากอนกานีพูดได้หลายภาษา ใน พ.ศ. 2544 ค่าเฉลี่ยทั้งประเทศมีผู้ใช้สองภาษา 19.44% และใช้สามภาษา 7.26% ในขณะที่เฉพาะผู้พูดภาษากอนกานี มีผู้ใช้สองภาษา 74.2% และใช้สามภาษา 44.68% ทำให้ชุมชนของชาวกอนกานีเป็นชุมชนของผู้ใช้หลายภาษาในอินเดีย เหตุผลหนึ่งน่าจะมาจากการที่ขาดโรงเรียนที่สอนด้วยภาษากอนกานีเป็นภาษาแรกหรือภาษาที่สอง

การใช้หลายภาษาไม่ใช่สิ่งที่ผิดแต่เป็นการชี้ให้เห็นว่าภาษากอนกานีเป็นภาษาที่ไม่เกิดการพัฒนา ผู้พูดภาษากอนกานีที่ใช้ภาษามราฐีในกัวและมหราราษฏระเชื่อว่าภาษากอนกานีเป็นสำเนียงของภาษามราฐี

มีการกล่าวอ้างมานานแล้วว่าภาษากอนกานีเป็นสำเนียงของภาษามราฐีและไม่ใช่ภาษาเอกเทศ ซึ่งมีเหตุผลหลายประการ ได้แก่ ความใกล้เคียงระหว่างภาษามราฐีและภาษากอนกานี ความใกล้เคียงทางภูมิศาสตร์ระหว่างกัวและมหาราษฏระ อิทธิพลอย่างชัดเจนของภาษามราฐีต่อภาษากอนกานีสำเนียงที่ใช้พูดในรัฐมหาราษฏระ การที่ภาษากอนกานีมีวรรณกรรมน้อยและชาวกอนกานีที่นับถือศาสนาฮินดูจะใช้ภาษามราฐีเป็นภาษาที่สอง ทำให้งานเขียนของ Jose Pereira ใน พ.ศ. 2514 กล่าวว่าภาษากอนกานีเป็นสำเนียงของภาษามราฐี งานเขียนของ S. M. Katre ใน พ.ศ. 2509 ได้ใช้การศึกษาทางประวัติศาสตร์สมัยใหม่และเปรียบเทียบสำเนียงของภาษากอนกานีหกสำเนียงได้สรุปว่าจุดกำเนิดของภาษากอนกานีต่างจากภาษามราฐี เศนอย โคเอมพับ ผู้มีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูภาษากอนกานี ได้ต่อต้านการใช้ภาษามราฐีในหมู่ชาวฮินดูและการใช้ภาษาโปรตุเกสในหมู่ของชาวคริสต์

การรวมของกัวเข้ากับอินเดียเมื่อ พ.ศ. 2504 เป็นเวลาที่รัฐในอินเดียมีการจัดตัวใหม่ตามเส้นแบ่งทางภาษา มีความต้องการที่จะรวมกัวเข้ากับรัฐมหาราษฏระเพราะในกัวมีผู้พูดภาษามราฐีจำนวนมาก และภาษากอนกานีถูกจัดให้เป็นสำเนียงของภาษามราฐี ดังนั้นสถานะของภาษากอนกานีในฐานะภาษาเอกเทศหรือเป็นสำเนียงของภาษามราฐีจึงเป็นหัวข้อทางการเมืองในการรวมรัฐกัวด้วย

องค์กรวิชาการสาหิตยะในอินเดียยอมรับภาษากอนกานีในฐานะภาษาเอกเทศเมื่อ พ.ศ. 2518 และภาษากอนกานีที่เขียนด้วยอักษรเทวนาครีได้เป็นภาษาราชการของกัวใน พ.ศ. 2530

ภาษกอนกานีใช้พูดทั่วไปในเขตกอนกาน ซึ่งรวมถึง กัว ชายฝั่งตอนใต้ของรัฐมหาราษฏระ ชายฝั่งของรัฐการณาฏกะ และรัฐเกราลา แต่ละท้องถิ่นมีสำเนียงของตนเอง การแพร่กระจายของผู้พูดภาษานี้มีสาเหตุหลักจากการออพยพของชาวกัวเพื่อหลบหนีการปกครองของโปรตุเกส

ภาษากอนกานีเขียนด้วยอักษณหลายชนิด ทั้ง อักษรเทวนาครี อักษรโรมัน (เริ่มสมัยอาณานิคมของโปรตุเกส) อักษรกันนาดา ใช้ในเขตมันกาลอร์ และชายฝั่งของรัฐการณาฏกะ อักษรอาหรับในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลามที่เรียกว่า ภัทกาลี ชนกลุ่มนี้หันมานับถือศาสนาอิสลามในสมัยสุลต่านทิบบู อยู่ในเขตรัฐการณาฏกะ มีผู้เขียนด้วยอักษรมาลายาลัมกลุ่มเล็กๆในเกราลา แต่ปัจจุบันเริ่มหันมาใช้อักษรเทวนาครีแทน

ปัญหาทางด้านการใช้ระบบการเขียนหลายชนิดและสำเนียงที่ต่างกันกลายเป็นปัญหาสำคัญทำให้ภาษากอนกานีเป็นเอกภาพ การตัดสินใจให้ใช้อักษรเทวนาครีเป็นอักษรทางการและให้สำเนียงอันตรุซเป็นสำเนียงมาตรฐานทำให้มีข้อโต้แย้งตามมา สำเนียงอันตรุซเป็นสำเนียงที่ชาวกัวส่วนใหญ่ไม่เข้าใจและต่างจากภาษากอนกานีสำเนียงอื่น และอักษรเทวนาครีมีการใช้น้อยเมื่อเทียบกับอักษรโรมันในกัวและอักษรกันนาดาในบริเวณชายฝั่งของรัฐกรนาฏกะ ชาวคริสต์คาทอลิกในกัวได้ใช้อักษรโรมันในการเขียนงานวรรณกรรมและต้องการให้อักษรโรมันเป็นอักษรทางการเทียบเท่าอักษรเทวนาครี

ในกรนาฏกะที่มีผู้พูดภาษากอนกานีจำนวนมาก ได้มีการจัดกิจกรรมเพื่อรณรงค์ให้ใช้อักษรกันนาดาเขียนภาษากอนกานีในโรงเรียนท้องถิ่นแทนอักษรเทวนาครี ในปัจจุบันไม่มีอักษรชนิดใดหรือสำเนียงใดเป็นที่เข้าใจหรือได้รับการยอมรับจากทุกส่วน การที่ขาดสำเนียงที่เป็นกลางและเข้าใจกันได้ทั่วไป ทำให้ผู้พูดภาษากอนกานีต่างสำเนียงกันต้องสื่อสารกันด้วยภาษาอื่น


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301