ฟุริงะนะ (ญี่ปุ่น: ???? furigana ?) คือ คะนะตัวเล็กๆที่เอาไว้ช่วยบอกคำอ่านของคันจิในภาษาญี่ปุ่น ในข้อความตามแนวนอน ฟุริงะนะจะวางอยู่บนคันจิ ในข้อความตามแนวตั้ง ฟุริงะนะจะอยู่ทางขวาของคันจิดังรูปข้างล่าง ฟุริงะนะถูกเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โยะมิงะนะ (????) หรือ รุบิ (??) ในภาษาญี่ปุ่น
ฟุริงะนะอาจปรากฏอยู่บนคันจิตัวต่อตัว หรืออาจจะอยู่ตรงกลางของด้านบนของคำหรือวลีก็ได้ วิธีหลังเป็นที่นิยมกว่าเนื่องจากภาษาญี่ปุ่นมีคำอยู่หลายคำที่มีเสียงอ่านเฉพาะตัว นั่นคือเสียงของทั้งคำไม่สอดคล้องกับเสียงของคันจิแต่ละตัว
โดยทั่วไปแล้ว ฟุริงะนะจะเขียนแทนด้วยฮิระงะนะ แต่ในกรณีที่ต้องการแยกแยะความแตกต่างระหว่างเสียงอ่านแบบญี่ปุ่นกับเสียงอ่านแบบจีน ตัวอย่างเช่นพจนานุกรมคันจิ จะเขียนเสียงอ่านแบบญี่ปุ่นด้วยฮิระงะนะ และเสียงอ่านแบบจีนด้วยคะตะกะนะ
นอกจากนี้ อักษรบางตัวที่เมื่อเขียนด้วยฮิระงะนะแล้วเป็นตัวเล็ก พอนำไปเขียนเป็นฟุริงะนะแล้วอาจจะมีขนาดเท่ากับตัวอักษรตัวอื่นก็ได้เช่น ?? (kyakka) เขียนด้วยฮิระงะนะได้ว่า ???? แต่พอไปเขียนเป็นฟุริงะนะแล้วอาจจะเป็น ???? เนื่องจากระบบการพิมพ์ในสมัยก่อนไม่สามารถพิมพ์ฟุริงะนะตัวเล็กได้ ปัจจุบันนี้ปัญหานี้ลดน้อยลงแล้ว
ฟุริงะนะมักใช้ในสิ่งของสำหรับเด็กที่ยังอ่านคันจิได้ไม่มากแต่สามารถเข้าใจเมื่อเขียนเป็นคำอ่านด้วยฮิระงะนะได้ ทั้งนี้เป็นเพราะเด็กๆจะเรียนฮิระงะนะและคะตะกะนะก่อนจะเริ่มเรียนคันจิ
นอกจากนี้ฟุริงะนะยังใช้เขียนคำอ่านของคันจิที่ไม่ค่อยใช้กันด้วย สื่อต่างๆมักใช้ฟุริงะนะกับคันจิที่ไม่ได้อยู่ในรายการโจโยคันจิ
ฟุริงะนะมักปรากฏในคันจิบนป้ายของสถานีรถไฟต่างๆแม้ว่าคันจิเหล่านั้นจะเป็นที่รู้กันอยู่แล้ว ฟุริงะนะมักใช้ในแผนที่แสดงชื่อของสถานที่ที่ไม่ค่อยมีคนรู้จัก
ชาวญี่ปุ่นเขียนชื่อด้วยคันจิ แต่คันจิบางตัวก็มีวิธีอ่านได้หลายวิธี ดังนั้นจึงมีการใช้ฟุริงะนะเพื่อระบุการอ่านที่ถูกต้อง เวลากรอกแบบฟอร์มต่างๆที่เป็นทางการ จะมีช่องให้ใส่ชื่อและช่องให้ใส่ฟุริงะนะเสมอ
หนังสือเรียนภาษาต่างประเทศของชาวญี่ปุ่นก็ใช้ฟุริงะนะด้วยเช่นกัน เช่น ใช้ฟุริงะนะบอกคำอ่านของอักษรฮันกึลในภาษาเกาหลี