ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ฟุตบอลทีมชาติเวลส์

ฟุตบอลทีมชาติเวลส์ (เวลส์: Tîm pêl-droed cenedlaethol Cymru) เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนของประเทศเวลส์ในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างชาติ บริหารงานโดยสมาคมฟุตบอลเวลส์ (FAW) และเป็นสมาชิกของยูฟ่า

แม้ประเทศเวลส์จะไม่ใช่ดินแดนที่เป็นรัฐเอกราช โดยมีฐานะเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร แต่ก็มีสมาคมฟุตบอลและทีมชาติเป็นของตนเอง โดยเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลระหว่างชาติในรายการสำคัญๆทุกรายการของฟีฟ่าและยูฟ่า อย่างไรก็ตามสำหรับการแข่งขันฟุตบอลในกีฬาโอลิมปิก ประเทศในเครือสหราชอาณาจักรอันประกอบไปด้วยอังกฤษ, สก็อตแลนด์, เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือต้องรวมทีมกันลงแข่งขันภายใต้ชื่อของสหราชอาณาจักร

ทีมชาติเวลส์จัดเป็นฟุตบอลทีมชาติที่เก่าแก่ที่สุดในโลกอันดับที่ 3 รองจากทีมชาติอังกฤษและทีมชาติสก็อตแลนด์ แต่เคยผ่านเข้าไปเล่นรอบสุดท้ายในรายการสำคัญๆ เพียงแค่ 3 ครั้งคือฟุตบอลโลกปี 1958 ที่ประเทศสวีเดน, ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 ที่ประเทศฝรั่งเศส และฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020​ โดยทีมชาติเวลส์มีฉายาที่ตั้งขึ้นโดยสื่อมวลชนกีฬาในประเทศไทยว่า มังกรแดง

โดยผลงานดีที่สุดในระดับชาติที่ทีมชาติเวลส์เคยทำได้คือการผ่านเข้าถึงรอบ 8 ทีมสุดท้ายในฟุตบอลโลก 1958 และผ่านเข้าถึงรอบรองชนะเลิศในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016

ส่วนในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก โซนยุโรป เวลส์ตกรอบคัดเลือกโดยมีคะแนนตามหลังทีมชาติสาธารณรัฐไอร์แลนด์ซึ่งอยู่อันดับ 2 เพียงแค่ 2 คะแนน อย่างไรก็ตามเวลส์สามารถผ่านเข้าไปแข่งขันในรอบสุดท้ายในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020​ ได้สำเร็จ

การจัดอันดับโลกของฟีฟ่าที่ทีมชาติเวลส์เคยทำได้สูงสุดคืออันดับที่ 8 (ตุลาคม 2015) ภายใต้การคุมทีมของ คริส โคลแมน โดยในเดือนกันยายน 2015 นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ เวลส์ กลายเป็นทีมชาติที่มีอันดับโลกดีที่สุดในบรรดาทีมชาติในสหราชอาณาจักร

ทีมชาติเวลส์ลงแข่งขันฟุตบอลเป็นนัดแรกเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1876 โดยเป็นการแข่งขันนัดกระชับมิตรกับทีมชาติสก็อตแลนด์ ที่สนามแฮมิลตัน เครสเซนต์ ซึ่งเป็นสนามของทีมคริกเก็ตในเมืองกลาสโกว์ ทำให้เวลส์เป็นทีมฟุตบอลทีมชาติที่เก่าแก่ที่สุดในโลกอันดับที่ 3 รองจากทีมชาติอังกฤษและทีมชาติสก็อตแลนด์ โดยแข่งขันในนามทีมชาติเป็นครั้งแรกของเวลส์จบลงด้วยการแพ้สก็อตแลนด์ถึง 4–0

ปีต่อมาในวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 1877 ทีมชาติเวลส์และทีมชาติสก็อตแลนด์ กลับมาแข่งกันอีกครั้งที่สนามเรสคอส กราวน์ เมืองเร็กซ์แฮม ประเทศเวลส์ โดยถือเป็นการเล่นในฐานะเจ้าบ้านเป็นครั้งแรก และสก็อตแลนด์เอาชนะไปได้อีกครั้งด้วยผล 2–0

ทีมชาติเวลส์มีโอกาสลงแข่งขันกับทีมชาติอังกฤษเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 18 มกราคม ค.ศ.1879 ที่สนามดิ โอวัล ในกรุงลอนดอน และเป็นฝ่ายแพ้ไป 2–1

ปี ค.ศ. 1882 ทีมชาติเวลส์ได้ลงแข่งกับทีมชาติเกาะไอร์แลนด์เป็นครั้งแรก ที่เมืองเร็กซ์แฮม และชนะไป 7–1 (ในสมัยนั้นเกาะไอร์แลนด์ยังไม่ได้แยกเป็นไอร์แลนด์เหนือและสาธารณรัฐไอร์แลนด์)

สมาคมฟุตบอลเวลส์เข้าร่วมเป็นสมาชิกของฟีฟ่าครั้งแรกในปี ค.ศ. 1906 แต่ด้วยความสัมพันธ์ที่ไม่ค่อยดีนักระหว่างฟีฟ่าและสมาคมฟุตบอลของประเทศในเครือสหราชอาณาจักร ทำให้สมาคมฟุตบอลเวลส์ถูกถอดถอนออกจากการเป็นสมาชิกของฟีฟ่าในปี ค.ศ. 1928 ทำให้ไม่มีสิทธิเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลก 1930 ซึ่งเป็นการจัดฟุตบอลโลกสมัยแรก และในอีก 2 ครั้งต่อมา

โดยเดินทางออกไปแข่งขันภายนอกสหราชอาณาจักรเป็นครั้งแรกของทีมชาติเวลส์ เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1933 เมื่อนักฟุตบอลทีมชาติเวลส์เดินทางไปที่กรุงปารีส เพื่อลงแข่งขันกับทีมชาติฝรั่งเศส ในวันที่ 23 พฤษภาคม ซึ่งผลจบลงด้วยการเสมอกัน 1–1 และ วอลเตอร์ ร็อบบินส์ กองหน้าสังกัดสโมสรเวสต์บรอมมิช อัลเบียน ได้รับการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ของสมาคมฟุตบอลเวลส์ว่าเป็นนักฟุตบอลทีมชาติคนแรกที่ยิงประตูได้ในการแข่งขันนอกสหราชอาณาจักร

หลังจบสงครามโลกครั้งที่สองในปี ค.ศ. 1946 สมาคมฟุตบอลเวลส์ได้กลับเข้ามาเป็นสมาชิกของฟีฟ่าอีกครั้ง พร้อมๆกับสมาคมฟุตบอลของประเทศในเครือสหราชอาณาจักรอื่นๆ และลงแข่งขันรอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 1950 แต่ทีมชาติเวลส์จบอันดับสุดท้ายของกลุ่ม

อย่างไรก็ตามในยุค 50 ถือเป็นยุคทองของทีมชาติเวลส์ เมื่อทีมชาติในยุคนั้นอุดมไปด้วยดารานักเตะดังๆแทบจะทั้งทีมเช่น อิวอร์ ออลเชิร์ช, คลิฟฟ์ โจนส์, เทรเวอร์ ฟอร์ด และ จอห์น ชาร์ลส์

ทีมชาติเวลส์ผ่านเข้าไปเล่นฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายครั้งแรกและครั้งเดียวในฟุตบอลโลก 1958 ที่ประเทศสวีเดน ภายใต้การคุมทีมของ จิมมี่ เมอร์ฟี่ โดยในรอบแบ่งกลุ่มถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มที่ 3 ร่วมกับทีมชาติสวีเดน ที่เป็นเจ้าภาพ ,ทีมชาติฮังการี และทีมชาติเม็กซิโก

โดยแข่งฟุตบอลโลกนัดแรกในประวัติศาสตร์ของทีมชาติเวลส์ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 1958 ที่สนามเจิร์นวัลเล่น เมืองแซนด์ไวเค่น เป็นการแข่งขันในรอบแรกระหว่างทีมชาติฮังการี และ ทีมชาติเวลส์ ผลจบลงด้วยการเสมอกันไป 1–1 ฮังการีได้ประตูขึ้นนำก่อนจากโจเซฟ บอสซิก ส่วนเวลส์ตีเสมอได้จาก จอห์น ชาร์ลส์ กองหน้าสังกัดยูเวนตุส ทำให้จอห์น ชาร์ลส์ ถูกบันทึกว่าเป็นนักเตะทีมชาติคนแรกของเวลส์ที่ยิงประตูได้ในฟุตบอลโลก

นัดต่อมาเวลส์เสมอกับทีมชาติเม็กซิโก 1–1 โดยเวลส์ได้ประตูขึ้นนำก่อนจากลูกยิงของอิวอร์ ออลเชิร์ช ก่อนที่ไคเม่ เบลมอนเต้จะตีเสมอให้เม็กซิโก

ผลจากการที่นัดสุดท้ายในรอบแรก ทีมชาติเวลส์เสมอกับเจ้าภาพสวีเดน 0–0 ทำให้สวีเดนผ่านเข้ารอบในฐานะแชมป์กลุ่ม ส่วนเวลส์ มี 3 คะแนนเท่ากับฮังการี ต้องตัดสินด้วยการเพลย์ออฟ เพื่อหาทีมที่จะเข้าไปเล่นในรอบ 8 ทีมสุดท้ายต่อไป

การแข่งขันเพลย์ออฟ ระหว่างเวลส์และฮังการี่ ทีมชาติเวลส์เสียประตูก่อนในครึ่งแรก แต่มายิงคืนได้ 2 ประตูรวดจากอิวอร์ ออลเชิร์ช ที่ยิงตีเสมอ และได้ประตูชัยจากเทอร์รี่ เมดวิน ปีกจากสโมสรท็อตแน่ม ฮ็อตสเปอร์ ในช่วงท้ายเกมส์ ทำให้ผ่านเข้าไปสู่รอบ 8 ทีมสุดท้ายต่อไป

ในรอบ 8 ทีมสุดท้ายเวลส์ต้องพบกับทีมชาติบราซิล และจอห์น ชาร์ลส์ กองหน้าตัวสำคัญของทีมก็ได้รับบาดเจ็บ ซึ่งในที่สุดเวลส์ก็แพ้บราซิลไป 1–0 โดยผู้ที่ยิงประตูให้ทีมชาติบราซิลได้ในแมตช์ดังกล่าวเป็นนักเตะหนุ่มที่อายุเพียง 17 ปี ของสโมสรซานโต๊ส และประตูนี้เป็นประตูแรกของเขาในนามทีมชาติบราซิล อีกทั้งยังส่งผลให้เขาเป็นเจ้าของสถิติผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดที่ยิงประตูได้ในฟุตบอลโลกจนถึงปัจจุบัน หลังจบทัวนาเมนต์บราซิลคว้าตำแหน่งแชมป์โลกไปครองได้สำเร็จ และนักฟุตบอลหนุ่มที่ยิงประตูได้ในแมตช์นี้กลายเป็นกองหน้าระดับตำนานของวงการฟุตบอลในเวลาต่อมา นักฟุตบอลหนุ่มคนนี้มีชื่อเล่นว่า "เปเล่"

จำนวนนัดที่ลงเล่นให้ทีมชาติและจำนวนประตูที่ยิงได้นับถึงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2022 หลังแข่งขันกับ อิหร่าน

สมาคมฟุตบอลเวลส์ ได้จัดให้มีการมอบรางวัล โกลเดน แคป หรือ หมวกทีมชาติทองคำ ให้แก่นักฟุตบอลที่ลงเล่นให้กับทีมชาติมากกว่า 50 นัด ดังรายชื่อต่อไปนี้ สังเกต: ผู้ที่ยังคงเล่นให้กับทีมชาติจะแสดงเป็น ตัวหนา:


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

โดมทองแห่งเยรุซาเล็ม โบสถ์โนเตรอะดาม เซนต์โทมัส อาควีนัส ทัศนศิลป์ ลิแวนต์ อัลจีเรีย อ๊อตโตมาน เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ฮอลแลนด์ สะฮารา ทัศนคติ สุนทรียภาพ ประสาท วัฒนธรรมบรรษัท นักสังคมวิทยา กลุ่มวัฒนธรรมย่อย วัฒนธรรมย่อย นักวิทยาศาสตร์สังคม เอ็ดการ์ เดอกาส วัฒนธรรมมวลชน มานุษยวิทยาสังคม มานุษยวิทยาวัฒนธรรม นักมานุษยวิทยาสังคม นักโบราณคดี วานรวิทยา ประเพณี นักมานุษยวิทยา วัฒนธรรมนิยม วัฒนธรรมระดับต่ำ วัฒนธรรมระดับสูง สินค้าบริโภค คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โครงสร้างนามธรรม ประวัติปรัชญาตะวันตก ปรัชญาตะวันตก ลัทธิสโตอิก ม่อจื่อ จวงจื่อ มีมางสา โยคะ สางขยะ ไวเศษิกะ นยายะ มัธยมกะ โยคาจาร เสาตรานติกะ จารวาก คัมภีร์พระเวท สารัตถะ ความเป็นจริง ปรัชญาตะวันออก สุนทรียศาสตร์ จริยศาสตร์ ความงาม คุณธรรม คุณวิทยา อรรฆวิทยา หนูผี พันเจีย สนามแม่เหล็ก เขตกึ่งร้อน ดาวเคราะห์คล้ายโลก บาป (ศาสนาคริสต์) คริสตชน จดหมายถึงชาวฮีบรู ศรัทธาในศาสนาพุทธ การอนุมาน สัมพัทธภาพทางความรู้ การจัดการความรู้ ทุนทางสังคม การลองผิดลองถูก ประสบการณ์ การสังเคราะห์ การวิเคราะห์ ญาณวิทยา ความเข้าใจ อาสวกิเลส อวิชชา เอ็มพีแอลเอส ภาวะถ่ายโอนแบบไม่ประสานเวลา แวน สมาร์ทโฟน ไลน์ (โปรแกรมประยุกต์) แอลทีอี 4 จี 3 จี วีโอไอพี บริการข้อความสั้น ใยแก้วนำแสง ระบบโทรศัพท์ การกล้ำสัญญาณ เนตเวิร์กสวิตช์ เราต์เตอร์ สัญญาณดิจิทัล ซิมเพล็กซ์ สายอากาศ เสาอากาศ แลน

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
235
236
237
238
239
240
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 24022