พืชอวบน้ำ (Succulent plants หรือ succulents) เป็นพืชที่กักเก็บน้ำไว้ในราก ใบ หรือลำต้น ที่อวบ และนุ่ม ความอวบหรือความใหญ่นั้นขึ้นอยู่กับปริมาณของเนื้อเยื่อพาเรงคิมา (parenchyma) เช่น ในว่านหางจระเข้ (Aloe vera) การเก็บน้ำในลักษณะดังกล่าว ทำให้มันสามารถมีชีวิตรอดในสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งได้ ในตอนกลางวัน สภาพที่อยู่ของมันมักจะร้อนจัด แต่ในตอนกลางคืนอากาศจะเย็นลง ทำให้พืชอวบน้ำเปิดปากใบ และคายคาร์บอนไดออกไซด์ และมีบ่อยครั้งที่น้ำค้างในตอนเช้ามืดช่วยให้พืชเหล่านี้มีชีวิตรอดได้ และด้วยการใช้ขนที่ยาว ซึ่งขึ้นคลุมทั่วพื้นผิวส่วนใหญ่ของมัน ทำให้พืชอวบน้ำบางชนิดสามารถดูดซับน้ำค้างเหล่านี้ได้
พืชอวบน้ำจำนวนมากมีไขเคลือบอยู่บนลำต้น และใบ ช่วยให้สามารถกักความชื้นเอาไว้ได้ นอกจากนี้การมีปริมาตรภายในสำหรับกักเก็บน้ำได้มาก แต่ทีพื้นที่ผิวน้อยที่สุด ก็มีส่วนสำคัญที่ช่วยป้อนกันมาสูญเสียน้ำได้ การสังเคราะห์ด้วยแสงแบบ CAM (Crassulacean acid metabolism) ยังเป็นวิธีการสงวนน้ำเอาไว้ ที่พบได้ทั่วไปในพืชอวบน้ำหลายชนิด
ความอวบน้ำของพืชเหล่านี้ยังมีผลมาจากวิวัฒนาการเบนเข้า (convergent evolution : วิวัฒนาการของพืชที่นำไปสู่ผลลัพธ์ท้ายสุดที่เหมือนกัน โดยไม่ได้มีจุดเริ่มต้นอย่างเดียวกัน) โดยไม่จำเป็นต้องบอกถึงความสัมพันธ์ในเชิงพันธุกรรมระหว่างกัน