พระเจ้ามโหตรประเทศ (คำเมือง: ) (พระนามเดิม เจ้าหนานมหาวงศ์) เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร ทรงครองราชย์ในระหว่างปี พ.ศ. 2390 ถึงปี พ.ศ. 2397
พระเจ้ามโหตรประเทศ เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 5 พ.ศ. 2390 - พ.ศ. 2397 พระนามเดิมคือเจ้าหนานมหาวงส์ เป็นราชโอรสองค์ที่ 2 ใน พระยาธรรมลังกา เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 2 และเป็นราชปนัดดา (เหลนปู่) ในพระยาไชยสงคราม (ทิพย์ช้าง) (พระญาสุละวะฤๅไชยสงคราม) กับแม่เจ้าพิมพาราชเทวี ซึ่งเป็นองค์ปฐมวงศ์ "ราชวงศ์ทิพย์จักร (เจ้าเจ็ดตน)"
พระเจ้ามโหตรประเทศ มีพระภคินี พระเชษฏา พระอนุชาและพระขนิษฐา รวม 16 พระองค์ มีพระนามตามลำดับ ดังนี้
พระเจ้ามโหตรประเทศ อภิเษกสมรสกับแม่เจ้าสุวรรณคำแผ่นราชเทวี มีราชโอรสธิดา รวม 19 พระองค์ อยู่ในราชตระกูลณ เชียงใหม่ มีพระนามตามลำดับ ดังนี้
หลังจากพระยาพุทธวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 4 ถึงแก่พิราลัยเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2389 พระยาอุปราช (หนานมหาวงศ์) ก็ได้รั้งเมืองสืบมา จนถึง พ.ศ. 2390 พระยาอุปราช (มหาวงศ์) แห่งนครเชียงใหม่ และเจ้าพิมพิสาร ณ เชียงใหม่ ได้นำช้างพลายสีประหลาดลงไปถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งนั้นได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระยาอุปราชมหาวงศ์เป็นพระยาเชียงใหม่ และแต่งตั้งเจ้าพิมพิสารเป็นพระยาอุปราชเมืองเชียงใหม่
ในปี พ.ศ. 2396 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้พระยาสีหราชฤทธิไกรเชิญพระสุพรรณบัฏ กับเครื่องสูงมาพระราชทานถวายพระยาเชียงใหม่มหาวงศ์ และโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้ามโหตรประเทศราชาธิบดี นพิสีมหานคราธิฐาน ภูบาลบพิตร สถิตในอุตมชิยางคราชวงศ์ เจ้านครเชียงใหม่ ในขณะนั้นยังประชวรอยู่ ครั้นได้เป็นพระเจ้าประเทศราชได้ 5 เดือนกับ 28 วัน ถึงวันเดือนยี่เหนือ แรม 9 ค่ำ ปีจุลศักราช 1216 (ตรงกับวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2397) พระโรคกำเริบมากขึ้น พระเจ้ามโหตรประเทศฯ ก็ถึงแก่พิราลัย รวมเวลาที่ทรงครองนครเชียงใหม่ได้ 7 ปีเศษ
เจ้าราชบุตร (สุริยฆาต) • พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ • เจ้าหนานมหาวงศ์ • เจ้าสำใส • เจ้าหนานไชยเสนา
เจ้าศรีปิมปา • พระเจ้ามโหตรประเทศ • เจ้าหลวงน้อยคำแสน • เจ้าอุปราช (หน่อคำ) • เจ้าน้อยพรหมา • เจ้าหนานอินตา • เจ้าสุธรรมมา • เจ้าปทุมมา • เจ้าคำทิพย์ • เจ้าบัวคำ • เจ้าองค์ทิพย์ • เจ้ากาบแก้ว • เจ้าบุญปั๋น • เจ้าเกี๋ยงคำ • เจ้าจันทร์เป็ง • เจ้าแก้วยวงคำ
เจ้าหนานไชยเสนา • เจ้าหนานมหายศ • พระยาอุปราชพิมพิสาร • เจ้าไชยลังกาพิศาลโสภาคย์คุณ • เจ้าหลวงหนานธรรมลังกา • เจ้าบัวคำ • เจ้าเกี๋ยงคำ • เจ้าคำค่าย • พระยาราชวงศ์ (มหาพรหมคำคง) • เจ้าบุญนำ • เจ้าคำเกี้ยว • แม่เจ้าเขียวก้อมเทวี • เจ้าฟองสมุทร • เจ้าเปาพิมาลย์ • เจ้าคำเมา • เจ้าลังกา • เจ้าคำปวน • เจ้าหนานมหาวงศ์ • เจ้าบัวถา • เจ้ากัณหา • เจ้ามณีวรรณ • เจ้าธรรมเสนา • เจ้าบุรีรัตน์ (ภูเกียง) • เจ้าอุปราช (ธรรมปัญโญ) • เจ้าน้อยธรรมกิติ • เจ้าหนานธรรมปัญญา • เจ้าหนานพรหมจักร • เจ้าหนานคำวัง • เจ้าน้อยจักรคำ • เจ้าน้อยมโนรส • เจ้าหนานสุยะ • เจ้าคำตื้อ • แม่เจ้ากันธิมาเทวี • เจ้ากัลยา • เจ้ามุกดา • เจ้าสนธยา • เจ้าบัวบุศย์ • เจ้าหนานกาวิละ • เจ้าบัวศรี • เจ้าพิมพา • เจ้าคำนาง • เจ้าเบ็ญจ๋าย • เจ้าบัวไข • เจ้ากรรณิกา
เจ้าราชบุตร (หนานธนัญไชย) • เจ้าหนานปัญญา • เจ้าน้อยขี้วัว • เจ้าน้อยขี้ควาย • เจ้าน้อยขี้ช้าง • เจ้าเฮือนคำ • เจ้าน้อยหน่อแก้ว • เจ้าศิริวรรณา • เจ้าสุนันทา สุริยโยดร
เจ้าอุตรการโกศล (มหาพรหม) • เจ้าราชบุตร (สุริยวงศ์) • เจ้าน้อยเทพวงศ์ • เจ้าหนานไชยวงศ์ • เจ้ามหันต์ยศ • เจ้าหนานไชยเทพ • เจ้าหนานมหาเทพ • เจ้าน้อยคำกิ้ง • เจ้าอุปราช (ปัญญา) • เจ้าบุญปั๋น • เจ้าน้อยก้อนแก้ว • เจ้าคำปวน • เจ้ายอดเรือน • เจ้าอุษา • เจ้าบัวทิพย์ • เจ้าคำหลอ • เจ้าปิมปา • เจ้าอโนชา • เจ้าตุ่นแก้ว
เจ้าจันทรโสภา • เจ้าดารารัศมี พระราชชายา • เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ • เจ้าแก้วนวรัฐ • เจ้าจอมจันทร์ • เจ้าน้อยโตน • เจ้าแก้วปราบเมือง • เจ้าน้อยมหาวัน • เจ้าราชวงศ์ (น้อยขัตติยะ) • เจ้าคำข่าย • เจ้าคำห้าง
เจ้าอุตรการโกศล (ศุขเกษม ณ เชียงใหม่) • เจ้าบัวทิพย์ ณ เชียงใหม่ • เจ้าราชบุตร (วงศ์ตวัน ณ เชียงใหม่) • เจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่ • เจ้าศิริประกาย ณ เชียงใหม่ • เจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่