ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

พระเจ้านันทบุเรง

พระเจ้านันทบุเรง (พม่า: နန္ဒဘုရင်, ออกเสียง: [nàɰ̃.da̰ bə.jɪ̀ɰ̃]; อักษรโรมัน: Nanda Bayin; 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1535 – 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1600) หรือ พระเจ้าหงษางาจีสะยาง เป็นพระเจ้าหงสาวดีจากราชวงศ์ตองอู เสวยราชสมบัติตั้งแต่ ค.ศ. 1581 ถึง ค.ศ. 1599 รัชสมัยพระองค์เป็นช่วงแห่งการล่มสลายของจักรวรรดิตองอู อาณาจักรอันยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์

พระองค์เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระเจ้าบุเรงนอง และทรงร่วมนำศึกหลาย ๆ ครั้งในการขยายจักรวรรดิของพระราชบิดา เมื่อเถลิงราชย์แล้ว พระองค์ทรงเผชิญกับภาระอันเหลือบ่ากว่าแรงในการธำรงมหาอาณาจักรที่พระบิดาเพียรสร้างเอาไว้ พระองค์ไม่ได้รับการสนับสนุนจากเจ้าประเทศราช เมื่อครองราชย์ได้เพียงสามปี ทั้งพม่าตอนบนและอาณาจักรอยุธยาก็แข็งเมือง พระองค์ไม่สามารถประชุมพลได้มากกว่าหนึ่งในสามของกองทัพสมัยพระบิดาเพื่อยกไปปราบ ทั้งไม่สามารถปรองดองกับเมืองเล็กเมืองน้อย ครั้นช่วง ค.ศ. 1584 ถึง ค.ศ. 1593 พระองค์ทรงเปิดศึกกับอยุธยาถึงห้าครั้ง ซึ่งพ่ายแพ้ทุกครั้ง ทำให้พระราชอำนาจเสื่อมถอยลง และนับแต่ ค.ศ. 1593 เป็นต้นมา พระองค์กลับทรงเป็นฝ่ายที่ต้องตั้งรับการรุกรานจากอยุธยา โดยในระหว่าง ค.ศ. 1594 ถึง ค.ศ. 1595 อยุธยาสามารถยึดชายฝั่งตะนาวศรีได้ทั้งหมด ส่งผลให้ประเทศราชอื่น ๆ พากันแปรพักตร์จากพระองค์ใน ค.ศ. 1597 ต่อมาใน ค.ศ. 1599 ทัพผสมจากตองอูและยะไข่บุกหงสาวดีเมืองหลวงของพระองค์ พระองค์ทรงถูกจับไปกักขังไว้ที่เมืองตองอู ส่วนเมืองหงสาวดีก็ถูกยะไข่ปล้นทรัพย์และเผาทำลายจนสิ้น หนึ่งปีให้หลัง นัดจินหน่อง โอรสพระเจ้าเมงเยสีหตูแห่งตองอู ลอบวางยาพิษพระองค์สวรรคต

พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ที่แข็งขันจนอาจนับได้ว่ายิ่งกว่าพระมหากษัตริย์พม่าทั่ว ๆ ไป แต่ข้อผิดพลาดประการหนึ่งของพระองค์ คือ การพยายามควบคุมจักรวรรดิที่ใหญ่กว้างขวางภายใต้ความสัมพันธ์ในระบอบอุปถัมภ์เอาไว้ จึงเป็นบทเรียนแก่ผู้สืบสันตติวงศ์ของพระองค์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มิให้ขยายดินแดนจนเกินควร และให้เน้นการปกครองแบบรวมศูนย์ บทเรียนดังกล่าวยังเป็นเหตุให้ปฏิรูปการปกครองในช่วงรื้อฟื้นราชวงศ์ตองอู และปรับปรุงเพิ่มในช่วงราชวงศ์คองบอง ระบอบปกครองที่ปฏิรูปนี้ดำเนินต่อมาจนสิ้นสุดกษัตริย์พม่าใน ค.ศ. 1885

นันทบุเรงประสูติเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1535[note 2] ณ พระราชวังตองอู พระราชบิดาคือขุนพลบุเรงนอง ซึ่งภายหลังขึ้นเป็นพระเจ้าหงสาวดี พระราชมารดาคือเจ้าหญิงตะเกงจี (Thakin Gyi) ซึ่งต่อมาคือพระนางอตุลสิริมหาราชเทวี พระอัครมเหสีกรุงหงสาวดี พระมาตุลาคือพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้แห่งหงสาวดี และพระเจ้าตาคือพระเจ้าเมงจีโยแห่งตองอู และพระเชษฐภคินีเป็นอัครมเหสีกรุงอังวะ ด้วยความสัมพันธ์ทางเครือญาติเหล่านี้ นันทบุเรงจึงทรงมีเชื้อสายราชวงศ์แห่งอาณาจักรพุกามและอาณาจักรปีนยะ นอกจากนี้ พระองค์ยังน่าจะทรงมีเชื้อไทใหญ่ด้วย[note 3]

นันทบุเรงประทับ ณ พระราชวังตองอู จนพระชนม์ได้สามพรรษา จึงแปรพระราชฐานมาพระราชวังพะโคที่เมืองหงสาวดี (พะโค) ซึ่งตั้งเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของจักรวรรดิตองอูเมื่อ ค.ศ. 1539 ตลอดพระชนมชีพวัยเยาว์ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ พระเจ้าลุง นำพาพระบิดาไปทำศึกบ่อยครั้ง เมื่อพระเจ้าลุงทรงตั้งพระบิดาเป็นอุปราชใน ค.ศ. 1542 นันทบุเรงจึงทรงอยู่ในลำดับที่สองของการสืบราชบัลลังก์ตองอูไปโดยปริยาย ในพระสถานะดังกล่าว นันทบุเรงทรงได้รับการฝึกฝนทางทหารเสมือนพระมาตุลาและพระบิดา

เมื่อพระชนมายุได้ 13 พรรษา นันทบุเรงทรงได้รับบรรดาศักดิ์ "ชัยสิงห์" (Zeya Thiha) และโดยตามเสด็จพระมาตุลากับพระบิดาไปทำศึกกับอาณาจักรอยุธยาในสงครามคราวเสียพระสุริโยทัย ความกล้าหาญของนันทบุเรงทำให้พระมาตุลาพระราชทานบรรดาศักดิ์ "เมงเยกะยอชวา" (Minye Kyawswa) แก่นันทบุเรง

พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้พระมาตุลาของพระองค์ถูกลอบปลงพระชนม์ในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1550 แม้พระบิดาจะเป็นพระมหาอุปราช แต่มังฆ้องที่ 2 พระอนุชาร่วมพระบิดาเดียวกับบุเรงนอง ไม่ยอมรับสิทธิสืบบัลลังก์ดังกล่าว และประกาศตนเป็นเอกราช ณ เมืองตองอู นันทบุเรงจึงพาพระมารดาและพระพี่นางลี้ภัยไปหาพระบิดาซึ่งเวลานั้นไปราชการศึกที่เมืองทะละ (ในเมืองย่างกุ้งปัจจุบัน)

ณ ที่นั้น นันทบุเรงทรงร่วมกับพระบิดาวางแผนกอบกู้ราชบัลลังก์ กองกำลังของบุเรงนองเข้าตีเมืองตองอูเป็นครั้งแรกในเดือนกันยายน ค.ศ. 1550 และยึดเมืองได้ในวันที่ 11 มกราคม ค.ศ. 1551 บุเรงนองไว้ชีวิตมังฆ้องที่ 2 แล้วราชาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าหงสาวดีสืบต่อจากพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ สถาปนานันทบุเรงพระราชโอรสซึ่งขณะนั้นพระชนมายุได้ 15 พรรษา ขึ้นเป็นพระมหาอุปราช พระราชพิธีราชาภิเษกมีขึ้น ณ วันที่ 12 มกราคม นั้นเอง[note 4]

ตลอด 15 ปีต่อมา บุเรงนองทรงมุ่งมั่นขยายจักรวรรดิตองอู ทำให้คนใกล้ชิดต้องทุ่มเทกายใจแก่การศึกไปด้วย แต่ในช่วงแรก นันบุเรงยังทรงพระเยาว์นัก จึงมีบทบาทจำกัด จน ค.ศ. 1557 เป็นต้นมา นันทบุเรงทรงได้รับภารกิจสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้พระองค์ พร้อมด้วยพระเจ้าอาคือมังฆ้องที่ 2, ตะโดธรรมราชาที่ 2, และตะโดเมงสอ กลายเป็นสี่ยอดขุนพลของบุเรงนอง และหลายทศวรรษให้หลัง นันทบุเรงทรงก้าวหน้าด้วยความดีความชอบในฐานะผู้นำทัพ จนเมื่อปลายรัชสมัยของพระบิดา นันทบุเรงก็ทรงได้เป็นผู้นำศึกทั้งหมดด้วยพระองค์เอง

นันทบุเรงทรงเป็นสมาชิกที่แข็งขันในราชสำนักหงสาวดีซึ่งส่วนใหญ่มีเสนาบดีเป็นชาวมอญพื้นเมือง พระราชบิดาทรงรับฟังความเห็นที่นันทบุเรงถวายเสมอ แม้ไม่ทรงปฏิบัติตามทุกครั้งก็ตาม นันทบุเรงทรงมีบทบาททางปกครองมากขึ้นในช่วงสองปีสุดท้ายของรัชกาลพระราชบิดา เมื่อพระพลานามัยของพระราชบิดาเสื่อมถอยลงตามลำดับ[note 6]

พระเจ้าบุเรงนองประชวรมายาวนานจนเสด็จสวรรคต ณ วันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1581 นันทบุเรงสืบราชสมบัติต่อโดยปราศจากการต่อต้าน พระองค์ถวายพระเพลิงพระราชบิดาอย่างสมพระเกียรติพระเจ้าจักรพรรดิตามคติพุทธ พระราชพิธีมีขึ้นหน้าพระราชวังกัมโพชธานี จากนั้น จึงราชาภิเษกในวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 1581[note 7] แล้วทรงตั้งมังกะยอชวาที่ 1 พระราชโอรสพระองค์ใหญ่เป็นพระมหาอุปราช

สิ่งที่ตกทอดจากพระราชบิดามาสู่พระเจ้านันทบุเรงคือ "จักรวรรดิซึ่งน่าจะใหญ่โตที่สุดในประวัติศาสตร์อุษาคเนย์" ที่ชาวโปรตุเกสพรรณนาว่า เป็น "รัฐราชาธิปไตยอันทรงอำนาจที่สุดในเอเชีย ถัดจากจีน" อย่างไรก็ดี จักรวรรดิที่ใหญ่โตเกินควรนี้ เดิมผูกกันไว้ด้วยความสัมพันธ์ส่วนตัวพระเจ้าบุเรงนองกับผู้นำท้องถิ่นซึ่งนิยมรักใคร่ในตัวบุเรงนอง มิใช่ต่อจักรวรรดิของบุเรงนอง และในการปกครองประเทศราชต่าง ๆ พระเจ้าบุเรงนองทรงใช้รูปแบบเมืองมณฑล โดยพระองค์อยู่แกนกลาง แล้วรายล้อมด้วยเจ้าประเทศราชที่มีสถานะกึ่งอิสระ อุปราชที่ปกครองโดยอิสระ และผู้ปกครองภายใต้การกำกับดูแลของข้าหลวงจากส่วนกลาง ด้วยระบบเช่นนี้ เมื่อมีกษัตริย์พระองค์ใหม่เข้ามาอยู่ในแกนกลาง กษัตริย์พระองค์นั้นก็จำต้องทรงสร้างความสัมพันธ์ทั้งหมดเสียใหม่ ซึ่งมิใช่งานง่าย เพราะเมืองขึ้นทั้งหลาย แม้จะอยู่ในสภาพภูมิประเทศเดียวกับเมืองแกนกลาง แต่ก็อยู่ห่างไกล ทำให้ยากที่จะยกทัพไปปราบปรามได้เบ็ดเสร็จ จี.อี. ฮาร์วีย์ (G.E. Harvey) นักประวัติศาสตร์ ตั้งข้อสังเกตว่า มรดกที่นันทบุเรงทรงได้รับนั้น คือ ภาระในการรักษาจักรวรรดิให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวให้ได้ และพระองค์หมายพระทัยจะรักษาเอกภาพนั้นไว้ด้วยการยกไปเทครัวอยุธยาไปกระจายไว้ทุกทิศานุทิศ

ช่วงแรก ๆ หลังการขึ้นครองราชย์ นันทบุเรงทรงเรียกเจ้าประเทศราชต่าง ๆ มาถวายสัตย์ เจ้าประเทศราชเหล่านี้เคยเป็นรัฐอธิปไตยมาก่อน พร้อมจะแยกตัวจากจักรวรรดิตองอูทุกเมื่อที่สบโอกาส แต่ยังไม่มีใครพร้อมเคลื่อนไหวต่อต้านนันทบุเรงผู้ทรงพร้อมด้วยประสบการณ์ทางการศึก ทุกฝ่ายจึงมีที่ท่า "เฝ้ารอสังเกตการณ์" ไปก่อน เจ้าประเทศราชหลัก ๆ โดยเฉพาะอยุธยาซึ่งเป็นเมืองขึ้นที่ทรงอำนาจที่สุด ถวายบรรณาการแก่หงสาวดีต่อไปตามเดิมจนถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1582

ภายในปีที่ขึ้นครองราชย์นั้นเอง พระเจ้านันทบุเรงต้องทรงเผชิญกับการแข็งเมืองของรัฐไทใหญ่ทางเหนือหลายรัฐ (ในมณฑลยูนนานปัจจุบัน) กบฏเหล่านี้สามารถปราบปรามลงได้ แต่ก็ตามมาด้วยกบฏจากอังวะและอยุธยาใน ค.ศ. 1584 พระองค์ทรงกำราบอังวะได้ แต่ไม่ทรงสามารถพิชิตอยุธยาได้เหมือนพระราชบิดา โดยในช่วง ค.ศ. 1584–1593 นันทบุเรงทรงเปิดศึกกับอยุธยาถึงห้าครั้ง และทุกครั้งล้มเหลว ทำให้ประเทศราชอื่น ๆ เอาใจออกหาก พระองค์ไม่ทรงสามารถนำเมืองขึ้นกลับคืนมาได้มากกว่าหนึ่งในสามของดินแดนเดิม และเมื่อสิ้นสงครามกับอยุธยา ปรากฏว่า ฐานอำนาจของพระองค์ในพม่าตอนล่างมีประชากรลดลงอย่างยิ่ง นำไปสู่การแข็งเมืองของประเทศราชอื่น ๆ ที่พระองค์มิอาจทรงยุติได้

เมืองจ๋านตา และ เมืองสองสบ รัฐจีนไทใหญ่ (ปัจจุบันคือเต๋อหงและเป่าซานในมณฑลยูนนาน) เป็นกลุ่มแรกที่ไม่ส่งบรรณาการแก่กษัตริย์พระองค์ใหม่ ฉะนั้น ในเดือนกันยายน/ตุลาคม ค.ศ. 1582[note 8] นันทบุเรงจึงส่งทหารสองกอง คน 16,000 ม้า 1,400 และช้าง 100 ให้ตะโดธรรมราชาที่ 2 พระเจ้าแปรผู้เป็นพระเจ้าอา และพระเจ้าเชียงใหม่นรธาเมงสอผู้เป็นพระอนุชา เป็นแม่กองยกไปปราบปรามลงโทษ ทัพทั้งสองใช้เวลาห้าเดือนก็สำเร็จ และยกกลับหงสาวดีในวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1583


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

อาสวกิเลส อวิชชา เอ็มพีแอลเอส ภาวะถ่ายโอนแบบไม่ประสานเวลา แวน สมาร์ทโฟน ไลน์ (โปรแกรมประยุกต์) แอลทีอี 4 จี 3 จี วีโอไอพี บริการข้อความสั้น ใยแก้วนำแสง ระบบโทรศัพท์ การกล้ำสัญญาณ เนตเวิร์กสวิตช์ เราต์เตอร์ สัญญาณดิจิทัล ซิมเพล็กซ์ สายอากาศ เสาอากาศ แลน Transmission Control Protocol อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล แพ็กเกตสวิตชิง ดาวเทียมสื่อสาร การพูด การสื่อสารภายในบุคคล การประชาสัมพันธ์ การโฆษณาชวนเชื่อ การตลาด การสื่อสารระหว่างบุคคล ไอแซค อสิมอฟ เขามาจากดาวอังคาร อินุยาฉะ เทพอสูรจิ้งจอกเงิน สโลว์สเต็ป สัญกรณ์โอใหญ่ พรีไบโอติกส์ ป. อินทรปาลิต การเวก (พืช) การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สีเทา สีขาว สีน้ำตาล ม่วง เขียว น้ำเงิน สีกากี ชมพู ระบบสี RGB SVG เบราว์เซอร์ แม่สีแสง CSS RGB เวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม เว็บจีแอล จาวาสคริปต์ Font family (HTML) ซีเอสเอส สไตล์ชีต ด็อม ซี-เอชทีเอ็มแอล เอกซ์เอชทีเอ็มแอล เอชทีเอ็มแอล5 COLOR ISO 11940 ธอง แม่กุญแจสีม่วง ไวต่ออักษรใหญ่เล็ก แม่กุญแจสีทอง ปากานี ซอนด้า ปากานี ซอนด้า ปากานี ซอนด้า ปากานี ซอนด้า ปากานี ซอนด้า เคนต์ โลตัส อีลิส โรวัน แอตคินสัน พยัคฆ์ร้าย ศูนย์ ศูนย์ ก๊าก พยัคฆ์ร้ายทวงแค้นระห่ำโลก จอมมฤตยู 007 เอียน เฟลมมิง พยัคฆ์ร้ายสะบัดลาย โคเวนทรี ระบบส่งกำลัง โปรตอน เอ็กซ์โซร่า โปรตอน วาจา โปรตอน เพอร์โซนา โปรตอน เพรเว่ นิตยสารฟอร์บส Thai language Japanese language Polish language Italian language Dutch language Hindi 2007 พระแม่กาลี มหาธิการิณี

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
235
236
237
238
239
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23944