พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร ด้วยพระนิสัยที่เด็ดขาดเป็นที่เคารพยำเกรงในหมู่ข้าราชบริพารและพสกนิกร เมื่อทรงพิจารณาตัดสินว่าคดีความใดแล้ว หากทรงเอ่ยว่า "อ้าว" เมื่อใด หมายถึงการต้องโทษตัดศีรษะประหารชีวิต จนประชาชนทั่วไปต่างถวายพระสมัญญาว่า "เจ้าชีวิตอ้าว"
พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ มีพระนามเดิมว่า เจ้าหนานสุริยวงศ์ เป็นพระโอรสในพระเจ้ากาวิละกับแม่เจ้าโนจา ในปี พ.ศ. 2368 ได้รับอิสริยยศเป็น "พระยาเมืองแก้ว" เมื่อพระเจ้ามโหตตรประเทศถึงแก่พิราลัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนยศเป็น "เจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ ดำรงนพีสีนคร สุนทรทศลักษณเกษตร วรฤทธิ์เดชมหาโยนางคราชวงศาธิบดี เจ้านครเชียงใหม่" เมื่อลงมาเข้าเฝ้าในปี พ.ศ. 2404 ก็ได้รับเพิ่มยศเป็นพระเจ้านครเชียงใหม่ในราชทินนาม "พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ ดำรงนพีสีนคร สุนทรทศลักษณเกษตร วรฤทธิเดชศรี โยนางคดไนย ราชวงศาธิบดี เจ้านครเชียงใหม่"
พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ มีพระเชษฐา พระอนุชา และพระขนิษฐา รวม 5 องค์ มีพระนามตามลำดับ ดังนี้
พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ เสด็จขึ้นครองนครเชียงใหม่ ใน พ.ศ. 2399 จนกระทั่งถึงแก่พิราลัยในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2413 รวมระยะเวลาที่ทรงครองนคร 16 ปี
พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ ทรงปกครองนครเชียงใหม่ และทำนุบำรุงศาสนาอย่างสม่ำเสมอ ทั้งยังทรงจัดสร้างระฆังชุดใหญ่ ถวายแด่วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร
ในด้านการปกครองทรงเข้มแข็งเป็นที่เกรงขาม แม้แต่รัฐบาลสยามก็ยังมิอาจล่วงเกินกิจการภายในของนครเชียงใหม่ได้ แต่พระเจ้ากาวิโรรสฯ ก็มิได้โปรดให้มีการเผยแพร่ศาสนาอื่นในนครเชียงใหม่ และได้ทรงสั่งประหารชีวิตคริสต์ศาสนิกชน 2 คน ในปี พ.ศ. 2411
พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ เป็นผู้น้อมเกล้าฯ ถวายพระเศวตวรวรรณ เป็นช้างในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เมื่อปี พ.ศ. 2412
เจ้าราชบุตร (สุริยฆาต) • พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ • เจ้าหนานมหาวงศ์ • เจ้าสำใส • เจ้าหนานไชยเสนา
เจ้าศรีปิมปา • พระเจ้ามโหตรประเทศ • เจ้าหลวงน้อยคำแสน • เจ้าอุปราช (หน่อคำ) • เจ้าน้อยพรหมา • เจ้าหนานอินตา • เจ้าสุธรรมมา • เจ้าปทุมมา • เจ้าคำทิพย์ • เจ้าบัวคำ • เจ้าองค์ทิพย์ • เจ้ากาบแก้ว • เจ้าบุญปั๋น • เจ้าเกี๋ยงคำ • เจ้าจันทร์เป็ง • เจ้าแก้วยวงคำ
เจ้าหนานไชยเสนา • เจ้าหนานมหายศ • พระยาอุปราชพิมพิสาร • เจ้าไชยลังกาพิศาลโสภาคย์คุณ • เจ้าหลวงหนานธรรมลังกา • เจ้าบัวคำ • เจ้าเกี๋ยงคำ • เจ้าคำค่าย • พระยาราชวงศ์ (มหาพรหมคำคง) • เจ้าบุญนำ • เจ้าคำเกี้ยว • แม่เจ้าเขียวก้อมเทวี • เจ้าฟองสมุทร • เจ้าเปาพิมาลย์ • เจ้าคำเมา • เจ้าลังกา • เจ้าคำปวน • เจ้าหนานมหาวงศ์ • เจ้าบัวถา • เจ้ากัณหา • เจ้ามณีวรรณ • เจ้าธรรมเสนา • เจ้าบุรีรัตน์ (ภูเกียง) • เจ้าอุปราช (ธรรมปัญโญ) • เจ้าน้อยธรรมกิติ • เจ้าหนานธรรมปัญญา • เจ้าหนานพรหมจักร • เจ้าหนานคำวัง • เจ้าน้อยจักรคำ • เจ้าน้อยมโนรส • เจ้าหนานสุยะ • เจ้าคำตื้อ • แม่เจ้ากันธิมาเทวี • เจ้ากัลยา • เจ้ามุกดา • เจ้าสนธยา • เจ้าบัวบุศย์ • เจ้าหนานกาวิละ • เจ้าบัวศรี • เจ้าพิมพา • เจ้าคำนาง • เจ้าเบ็ญจ๋าย • เจ้าบัวไข • เจ้ากรรณิกา
เจ้าราชบุตร (หนานธนัญไชย) • เจ้าหนานปัญญา • เจ้าน้อยขี้วัว • เจ้าน้อยขี้ควาย • เจ้าน้อยขี้ช้าง • เจ้าเฮือนคำ • เจ้าน้อยหน่อแก้ว • เจ้าศิริวรรณา • เจ้าสุนันทา สุริยโยดร
เจ้าอุตรการโกศล (มหาพรหม) • เจ้าราชบุตร (สุริยวงศ์) • เจ้าน้อยเทพวงศ์ • เจ้าหนานไชยวงศ์ • เจ้ามหันต์ยศ • เจ้าหนานไชยเทพ • เจ้าหนานมหาเทพ • เจ้าน้อยคำกิ้ง • เจ้าอุปราช (ปัญญา) • เจ้าบุญปั๋น • เจ้าน้อยก้อนแก้ว • เจ้าคำปวน • เจ้ายอดเรือน • เจ้าอุษา • เจ้าบัวทิพย์ • เจ้าคำหลอ • เจ้าปิมปา • เจ้าอโนชา • เจ้าตุ่นแก้ว
เจ้าจันทรโสภา • เจ้าดารารัศมี พระราชชายา • เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ • เจ้าแก้วนวรัฐ • เจ้าจอมจันทร์ • เจ้าน้อยโตน • เจ้าแก้วปราบเมือง • เจ้าน้อยมหาวัน • เจ้าราชวงศ์ (น้อยขัตติยะ) • เจ้าคำข่าย • เจ้าคำห้าง
เจ้าอุตรการโกศล (ศุขเกษม ณ เชียงใหม่) • เจ้าบัวทิพย์ ณ เชียงใหม่ • เจ้าราชบุตร (วงศ์ตวัน ณ เชียงใหม่) • เจ้าพงษ์อินทร์ ณ เชียงใหม่ • เจ้าศิริประกาย ณ เชียงใหม่ • เจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/พระเจ้ากาวิโรรสสุริยวงศ์