พระวิสุทธิกษัตรีย์ มีพระนามเดิมว่า พระสวัสดิราชธิดา ทรงเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีในสมเด็จพระมหาธรรมราชา และทรงเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีในพระสุพรรณกัลยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ พระองค์ทรงสืบเชื้อสายจาก 2 ราชวงศ์ กล่าวคือ ทรงสืบเชื้อสายแห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิผ่านทางสมเด็จพระราชบิดา (สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ) พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา และเชื้อสายทางราชวงศ์พระร่วงเจ้าสุโขทัยศรีสัชนาลัยผ่านทางสมเด็จพระราชมารดา (สมเด็จพระสุริโยทัย)[ต้องการอ้างอิง]
พระองค์ได้อภิเษกสมรสกับขุนพิเรนทรเทพ เจ้านายฝ่ายพระร่วง ภายหลังได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระมหาธรรมราชา รั้งตำแหน่งเจ้าผู้ครองเมืองพิษณุโลกและได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระวิสุทธิกษัตรีย์ รั้งตำแหน่งพระอัครมเหสีแห่งเมืองพิษณุโลก พระองค์เป็นพระราชมารดาของ พระสุพรรณกัลยา(องค์ทอง) พระนเรศวร (องค์ดำ) และ พระเอกาทศรถ (องค์ขาว) แม้พระนางจะกินตำแหน่งสูงศักดิ์ถึงพระอัครมเหสี แต่ความทุกข์โทมนัสในใจนั้นแสนสาหัส ยากที่ผู้ใดจะรับรู้ หลังจากสูญเสียพระราชมารดา สมเด็จพระสุริโยทัย และ พระน้องนางเธอ สมเด็จพระบรมดิลก ในสงครามพระเจ้าหงสาวดีตะเบ็งชะเวตี้แล้ว พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองเสวยราชได้ยกกองทัพมาตีหัวเมืองฝ่ายเหนือ ตั้งแต่เมืองตาก สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร จนกระทั่งเมืองพิษณุโลกโดยได้ล้อมเมืองพิษณุโลกไว้ได้ทุกด้าน อาณาประชาราษฎรเดือดร้อนหนีภัยสงครามมาอยู่ในเมืองเกิดการขาดแคลนเสบียงอาหารอย่างหนักเนื่องจากข้าศึกล้อมเมืองไว้ทุกด้านไม่สามารถทำนาได้ ประกอบทั้งกองทัพจากกรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นเมืองข้างฝ่ายพระราชบิดาติดแต่จะตกแต่งพระนครรับข้าศึกอย่างเดียวไม่คิดจะยกกองทัพมาขึ้นช่วย กลับปล่อยให้พระองค์กับพระมหาธรรมราชา ทรงตั้งรับศึกพม่าแต่เพียงลำพัง โดยไม่คิดถึงความสัมพันธ์พ่อลูกแม้แต่น้อย สุดท้ายพระมหาธรรมราชาเห็นว่าบ้านเมืองขาดเสบียงอาหารประกอบทั้งทหารหาญที่ส่งไปรบก็ล้มตายลงเป็นอันมากฯลฯ เป็นการยากยิ่งที่จะรักษาเมืองพิษณุโลกจากข้าศึกซึ่งล้อมเมืองไว้ทุกด้านได้ จึงทรงยอมเป็นไมตรีกับพระเจ้ากรุงหงสาวดี โดยส่งตัวพระองค์ดำ พระนเรศวร ไปเป็นตัวประกันที่กรุงหงสาวดี[ต้องการอ้างอิง]
กาลต่อมาเมื่อพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตล้านช้าง พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช แต่งพระราชสาสน์ไปยังพระมหาจักรพรรดิ กรุงศรีอยุธยา เพื่อสู่ขอพระน้องนางเธอ พระเทพกษัตรีย์ ไปเป็นอัครมเหสีแห่งกรุงล้านช้างจะได้เป็นสุวรรณปฐพีกับกรุงศรีอยุธยา ข้างฝ่ายพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง เมื่อทราบเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น จึงให้พระมหาธรรมราชา แต่งทัพชิงตัวพระเทพกษัตรีย์ไปให้พระเจ้าบุเรงนอง ทางพระเทพกษัตรีย์นั้นไม่ได้มีความยินดีที่จะเป็นพระมเหสีของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองจึงได้ปลิดชีพองค์เอง ณ กรุงหงสาวดี นำความโศกเศร้าพระทัยมาถึงพระวิสุทธิกษัตรีย์อย่างที่สุด[ต้องการอ้างอิง] ทรงตัดพ้อถึงตัวเองเสมอว่าส่งตัวพระน้องนางไปสิ้นพระชนม์ เวลาต่อมากองทัพพระเจ้าล้านช้างได้ยกทัพมาตีเมืองพิษณุโลก พระมหาธรรมราชาแต่งสาสน์ไปยังอยุธยาเพื่อขอให้มาช่วยรบ พระมหาจักรพรรดิได้ให้พระมหินทร์ พระอนุชาธิราชของพระนาง นำกองทัพมาช่วยแต่พอมาเมืองพิษณุโลก กับเห็นความสำคัญของสายพระโลหิตในพระพี่นางข้นน้อยกว่าข้าศึก กลับลำยกทัพสนับสนุนกับพระเจ้าล้านช้างตีเมืองพิษณุโลก พระมหาธรรมราชาจึงหันไปขอกำลังสนับสนุนพระเจ้าบุเรงนองแทน พระเจ้าบุเรงนองได้ให้ยกกองทัพพม่ามาช่วยขับไล่ทัพพระเจ้าล้านช้างจนหนีแตกพ่าย[ต้องการอ้างอิง]
สิ้นรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองได้กรีฑาทัพหลวงหมายจะมาเอากรุงศรีอยุธยาและได้ให้พระมหาธรรมราชายกทัพหัวเมืองเหนือมาร่วมทัพด้วย พระนางในฐานะอัครมเหสีเมืองพิษณุโลกนั้นมีความทุกข์ในพระทัยเหนือผู้ใด ครั้นจะยกทัพเอาชัยเหนือเมืองพระราชบิดาก็จะเป็นการอกกัญญูภาพ ครั้นจะไม่ให้พระราชสวามียกทัพไปร่วมบ้านเมืองก็จักเดือดร้อน ในที่สุดทัพพระเจ้าบุเรงนองก็ทำศึกมีชัยเหนือกรุงศรีอยุธยา เป็นเหตุให้ต้องนำตัวพระมหินทราธิราช พระอนุชาไปเป็นตัวประกันยังกรุงหงสาวดี แล้วสถาปนาพระมหาธรรมราชาขึ้นเป็นเจ้าเหนือหัวกรุงศรีอยุธยาแทน พระนางจึงได้ย้ายมากินตำแหน่งพระอัครมเหสีแห่งกรุงศรีอยุธยา ครั้นสิ้นรัชกาลพระเจ้าบุเรงนองแล้วพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงเมืองประเทศราชต่างก็ได้แข็งเมือง จากพระนเรศวรประกาศอิสรภาพ ณ เมืองแครงแล้วก็ได้เทครัวเชลยศึกครั้งเสียกรุงที่อยู่กรุงหงสาวดี กลับกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง[ต้องการอ้างอิง]