ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

พระราชวังวินด์เซอร์

พระราชวังวินด์เซอร์ (ภาษาอังกฤษ: Windsor Castle) เป็นพระราชวังตั้งอยู่ที่วินด์เซอร์, มลฑลบาร์คเชอร์ในสหราชอาณาจักร สร้างโดยสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษเมื่อปี ค.ศ. 1070สถาปัตยกรรมเป็นแบบโรมาเนสก์ พระราชวังวินด์เซอร์เป็นพระราชฐานที่ยังมีผู้อยู่อาศัยที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นพระราชฐานที่เก่าที่สุดที่มีผู้อยู่อาศัยที่ต่อเนื่องกันมาตั้งแต่เริ่มสร้าง เนื้อที่การใช้สอยมีทั้งหมดด้วยกัน 484,000 ตารางฟุต หรือ 45,000 ตารางเมตร

พระราชวังวินด์เซอร์, พระราชวังบัคคิงแฮม ที่กรุงลอนดอน และพระราชวังโฮลีรูด (Holyrood Palace) ที่เอดินบะระ เป็นพระราชฐานหลักสามแห่งของพระราชวงศ์อังกฤษ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 มักทรงใช้เวลาวันสุดสัปดาห์หลายวันที่พระราชวังวินด์เซอร์เป็นทั้งที่จัดงานเลี้ยงอย่างเป็นทางการและเป็นการส่วนพระองค์ ตำหนักซานดริงแฮมและ พระราชวังบาลมอรัลเป็นพระราชวังส่วนพระองค์

พระมหากษัตริย์และกษัตรีย์แห่งอังกฤษเกือบทุกพระองค์มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงสร้างและการวิวัฒนาการของพระราชวังวินด์เซอร์โดยตลอด พระราชวังเคยใช้เป็นป้อมปราการ ที่อยู่อาศัย ที่ประทับอย่างเป็นทางการ และบางครั้งเรือนจำ ประวัติของพระราชวังจึงเกี่ยวพันกับประวัติของพระมหากษัตริย์และกษัตรีย์ของอังกฤษอย่างใกล้ชิด การศึกษาประวัติก็ทำได้โดยศึกษาจากประวัติของรัชสมัยต่างๆ ของพระมหากษัตริย์ที่มาประทับ ในยามสงบจากศึกสงครามพระราชวังก็ได้รับการขยายเพิ่มเติมด้วยห้องชุดสำหรับเป็นที่อยู่อาศัย ยามสงครามพระราชวังก็ใช้เป็นป้อมปราการด้วยการสร้างเสริมอย่างแน่นหนา ระบบนี้ก็ยังใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

พระราชวังวินด์เซอร์เปลื่ยนแปลงรูปทรงมากว่า 1,000 ปีตามกาลเวลา รสนิยม ความจำเป็น และสถานะภาพทางการเงินของพระมหากษัตริย์และกษัตรีย์ที่ประทับ แต่กระนั้นที่ตั้งของโครงสร้างหลักๆ ก็ยังตั้งอยู่ที่เดิมที่แรกสร้าง แผนผังใหม่ข้างล่างชี้ให้เห็นถึงจุดต่างๆ ตัวอย่างเช่นตัวพระราชวังปัจจุบันตั้งอยู่กลางเนินปราสาท ตัวอักษร “A” บนแผนที่ ที่เป็นที่ตั้งของปราสาทไม้หลังแรกที่สร้างโดยพระเจ้าวิลเลียมที่ 1

สิ่งที่เห็นเด่นชัดที่สุดของพระราชวังวินด์เซอร์คือ “หอกลม” (“A”) ซึ่งความจริงแล้วเป็นหอกลวงที่มีรูปร่างที่ไม่กลมแต่ดูเผินๆ กลมบนเนินที่ถมขึ้นไป ตัวปราสาทตั้งอยู่บนป้อมปราการที่สร้างมาตั้งแต่ยุคกลาง หอกลมแบ่งพระราชวังออกเป็นสองส่วนที่เรียกว่าวอร์ด (ward) “ลานล่าง” (“F”) เป็นที่ตั้งของโบสถ์เซนต์จอร์จ (“G”) “ลานบน” (“B”) ล้อมรอบด้วยห้องชุดที่ประทับส่วนพระองค์ (“D”) และ “ห้องรับรอง” (“C”) รวมทั้งท้องพระโรงเซนต์จอร์จ (St George's Hall) ซึ่งเป็นห้องใหญ่ตกแต่งด้วยตราประจำตัวทั้งอดีตและปัจจุบันของผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เตอร์

เนื้อที่รอบพระราชวังวินด์เซอร์เรืยกว่า “Home Park” เป็นอุทยานที่ประกอบด้วยฟาร์มสองฟาร์มและบ้านที่อยู่อาศัยของผู้ที่ทำงานในพระราชวัง นอกจากนั้นภายในอุทยานยังเป็นที่ตั้งของ คฤหาสน์ฟรอกมอร์ (Frogmore House) และอุทยานฟรอกมอร์ ซึ่งเปิดให้ประชาชนเข้าชมเป็นบางครั้งแต่บริเวณส่วนใหญ่ของ “Home Park” เป็นบริเวณส่วนพระองค์ ทางด้านเหนือเป็นอุทยานใหญ่ “Windsor Great Park”

ใน “Home Park” ทางเหนือของพระราชวังเป็นโรงเรียนเซนต์จอร์จพระราชวังวินด์เซอร์ ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชน ใช้เป็นที่ฝึกนักร้องเพลงสวดสำหรับชาเปลเซนต์จอร์จวิทยาลัยอีตัน ตั้งอยู่ห่างจากพระราชวังประมาณหนึ่งไมล์ไปทางเหนือ

พระราชวังวินด์เซอร์เดิมสร้างโดยพระเจ้าวิลเลียมที่ 1ผู้ปกครองอังกฤษระหว่างปี ค.ศ. 1066 จนสวรรคตเมื่อปี ค.ศ. 1087 ปราสาทที่ทรงสร้างด้วยไม้สร้างบนเนินปราสาทที่เป็นที่ตั้งของ “หอกลม” (“A”) ปัจจุบัน เมื่อต้นรัชสมัยของพระเจ้าวิลเลียมทรงยึดคฤหาสน์ที่ปัจจุบันคือหมู่บ้านโอลด์วินด์เซอร์ซึ่งแต่เดิมอาจจะเป็นวังของเจ้านายแองโกล-แซ็กซอน ไม่นานหลังจากนั้นระหว่างปี ค.ศ. 1070 ถึงปี ค.ศ. 1086 ทรงเช่าที่ที่เป็นที่ตั้งของพระราชวังปัจจุบันจากคฤหาสน์คลิวเอร์และทรงสร้างปราสาทบนเนินถมปราสาทแรก เนินที่ถมสูงประมาณ 50 ฟุตหรือ 15 เมตร ถมด้วยดินชอล์คที่ขุดจากบริเวณรอบๆ ที่ทำให้กลายเป็นคู

ในช่วงเวลานั้นปราสาทล้อมรอบด้วยกำแพงไม้ (palisade) แทนที่จะเป็นกำแพงหินเช่นที่เห็นกันทุกวันนี้ แผนผังเดิมและโครงสร้างของปราสาทจากสมัยพระเจ้าวิลเลียมสูญหายไปหมด แต่จุดประสงค์ของสิ่งก่อสร้างเพื่อใช้ในทางทหาร จากนั้นเป็นต้นมาปราสาทก็ใช้งานต่อเนื่องกันมาตลอดและได้รับการขยายเพิ่มเติมและบูรณปฏิสังขรณ์เป็นระยะๆ ตลอดมา เชื่อกันว่าพระเจ้าวิลเลียมที่ 2ผู้สืบราชบัลลังก์ต่อจากพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 เป็นผู้ปรับปรุงและขยายโครงสร้างแต่พระเจ้าเฮนรีที่ 1พระโอรสองค์เล็กของพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 เป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์แรกที่ประทับในปราสาท เพราะทรงเป็นกังวลถึงความไม่มั่นคงในราชบัลลังก์ และทรงฉลองเทศกาลสมโภชพระจิตเจ้า ที่นั่นเมื่อปี ค.ศ. 1110 และในปี ค.ศ. 1121 ทรงเสกสมรสกับอเดลิเซีย แห่งลูแวงพระธิดาของกอดฟรีที่ 1 แห่งลูแวง ดยุคแห่งโลธารินเจียที่นี่เช่นกัน

หลักฐานแรกที่สุดของพระราชวังวินด์เซอร์ลงวันที่ในรัชสมัยของพระเจ้าเฮนรีที่ 2 ผู้ทรงขึ้นครองราชย์เมื่อปี ค.ศ. 1154 ทรงก่อกำแพงหินแทนกำแพงไม้เดิมโดยมีหอคอยสี่เหลี่ยมเป็นระยะๆ โครงสร้างที่เปลี่ยนไปจากเดิมมากยังคงพบได้ที่เนินตะวันออก พระเจ้าเฮนรีที่ 2 ทรงสร้างตัวปราสาท (Keep) ภายในปราสาทด้วยหินบนเนินที่ไม่สม่ำเสมอกลางปราสาท

ในปี ค.ศ. 1189, ปราสาทถูกล้อมในระหว่างการปฏิวัติของขุนนางครั้งที่หนึ่งในสมัยของเจ้าชายจอห์น กองกำลังทหารของจอห์นต่อสู้กับพวกปฏิวัติแต่ตัวพระองค์หนีไปฝรั่งเศส ต่อมาในปี ค.ศ. 1215 เจ้าชายจอห์นผู้กลายเป็นพระเจ้าจอห์น แห่งอังกฤษถูกบังคับให้ทรงลงพระนามในมหากฎบัตรที่รันนีมีดไม่ไกลจากปราสาทเท่าใดนัก ในปี ค.ศ. 1216 ปราสาทก็ถูกล้อมอีกครั้งแต่ครั้งนี้บริเวณลานล่าง (“F”) ได้รับความเสียหายแต่ก็ได้รับการซ่อมทันที่โดยพระเจ้าเฮนรีที่ 3ผู้สืบราชบัลลังก์ต่อจากพระเจ้าจอห์น และทรงสร้างเสริมความแข็งแกร่งของปราสาทโดยสร้างกำแพงเชิงเทินทางตะวันตกซึ่งยังอยู่เกือบทั้งหมดในปัจจุบัน (“T”) ในปี ค.ศ. 1227 ภายในหอประกอบด้วยอดีตคุก และบางส่วนของประตูลับแซลลี (Sally port) ซึ่งเป็นทางลับออกจากปราสาทเมื่อถูกล้อม ชั้นบนมีระฆัง (ค.ศ. 1478) และนาฬิกา (ค.ศ. 1689) หลังคาแบบโคนแบบฝรั่งเศสมาต่อเติมในคริสต์ศตวรรษที่ 19 พระเจ้าเฮนรีที่ 3 สวรรคตเมื่อปี ค.ศ. 1272 หลังจากนั้นก็ไม่มีการต่อเติมอะไรมากจนมาถึงรัชสมัยของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3ระหว่างปี ค.ศ. 1327 ถึงปี ค.ศ. 1377

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ทรงพระราชสมภพที่ปราสาทเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1312 มักจะเรียกกันว่า “เอ็ดเวิร์ดแห่งวินด์เซอร์” เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1350 พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงรื้อปราสาทเก่าทิ้งและสร้างปราสาทใหม่ยกเว้นหอเคอร์ฟิว (“T”) และสิ่งก่อสร้างเล็กๆ อื่นๆ โปรดให้บาทหลวงวิลเลียมแห่งวิคแฮมเป็นผู้ออกแบบและดูแลการก่อสร้าง หอพระเจ้าเฮนรีที่ 2 หรือ หอกลมถูกสร้างแทนที่ด้วยสิ่งก่อสร้างปัจจุบันแต่มิได้ยกระดับสูงเท่าปัจจุบันจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 นอกจากนั้นก็ยังทรงสั่งให้เสริมสร้างความแข็งแกร่งเพื่อเพิ่มการป้องกันข้าศึกด้วย ชาเปลของปราสาทได้รับการขยายให้ใหญ่ขึ้นกว่าเดิมมากแต่มิได้สร้างวัดใหม่ตามแผนที่วางไว้ ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากปัญหาเรื่องความปลอดภัย และกำลังทรัพย์หลังจากเกิดกาฬโรคระบาดในยุโรป อีกสิ่งหนึ่งที่สร้างในสมัยนี้คือประตูนอร์มัน (“M”) ซึ่งเป็นประตูใหญ่ที่ฐานหอกลมที่เป็นจุดสุดท้ายของการป้องกันข้าศึกก่อนที่จะเข้าสู่ลานบน (“B”) ซึ่งเป็นบริเวณพระราชฐานชั้นใน

ในปี ค.ศ. 1348 พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ทรงก่อตั้งเครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เตอร์ (Order of the Garter) ซึ่งพิธีการมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ยังกระทำกันเป็นประจำทุกปีที่ชาเปลเซนต์จอร์จซึ่งเป็นชาเปลหลักของพระราชวัง ระหว่างปี ค.ศ. 1353 ถึงปี ค.ศ. 1354 ทรงสร้าง Aerary Porchภายในชาเปลเซนต์จอร์จ

ในปี ค.ศ. 1390 ในรัชสมัยของพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 ชาเปลเซนต์จอร์จอยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรมมากจนเกือบจะพังทลายลงมาจึงได้เริ่มการบูรณปฏิสังขรณ์ โดยมีเจฟฟรี ชอเซอร์ (Geoffrey Chaucer) ข้าราชสำนักคนโปรดเป็นผู้ควบคุมงาน ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองเป็นไปตลอดรัชสมัย ราวสิบปีก่อนชอเซอร์จะเสียชีวิตพระเจ้าริชาร์ดพระราชทานของขวัญและสิ่งต่างๆ รวมทั้งเงินประจำปีจำนวน 20 ปอนด์สเตอร์ลิงตลอดชีพตั้งแต่ปี ค.ศ. 1394 และไวน์อีก 252 แกลลอนต่อปีตั้งแต่ปี ค.ศ. 1397 ชอเซอร์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1400 ไม่ว่าความชำนาญหรือประสบการณ์ในการก่อสร้างของชอเซอร์จะเป็นเช่นใดชาเปลเซนต์จอร์จก็กลับมาอยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรมอีกภายในระยะเวลาเพียง 50 หลังจากการบูรณปฏิสังขรณ์

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 (ค.ศ. 1461–ค.ศ. 1483) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์ยอร์คองค์แรก เป็นผู้สร้างชาเปลเซนต์จอร์จที่เห็นกันในปัจจุบัน ชาเปลอันที่จริงแล้วมิใช่ชาเปลซึ่งหมายถึงวัดเล็กๆ ตามความหมายดั้งเดิมแต่เป็นมหาวิหารขนาดย่อและที่เก็บพระบรมศพ และที่เก็บพระศพ สถาปัตยกรรมเป็นแบบเพอร์เพ็นดิคิวลาร์กอธิค (Perpendicular Gothic) ระหว่างรัชสมัยของพระเจ้าเฮนรีที่ 7 ก็ได้มีการรื้อบางส่วนของชาเปลที่สร้างมาแต่เดิมออกเพื่อสร้างชาเปลพระแม่มารีแต่ก็ทรงละทิ้ง ชาเปลเป็นสิ่งก่อสร้างที่สำคัญที่สุดสิ่งหนึ่งในทางสถาปัตยกรรมของพระราชวัง

การก่อสร้างชาเปลเป็นจุดสำคัญในการเปลื่ยนแปลงลักษณะของการก่อสร้างทางสถาปัตยกรรมของพระราชวังวินด์เซอร์ หลังจากสงครามดอกกุหลาบบ้านเมืองก็มีความสงบขึ้นซึ่งทำให้สิ่งก่อสร้างในสมัยต่อมาจะคำนึงถึงความสะดวกสบายและแบบลักษณะทางสถาปัตยกรรมมากขึ้นกว่าที่จะคำนึงถึงความแข็งแรงในการป้องกันข้าศึกแต่เพียงอย่างเดียวเช่นที่เป็นมา หน้าที่ของปราสาทจึงเปลี่ยนจากการเป็นปราสาทมาเป็นพระราชวัง ที่เห็นได้จากการสร้าง “ระเบียงเกือกม้า” (“H”) ในปี ค.ศ. 1480 ที่สร้างใกล้ชาเปลเพื่อให้เป็นที่พำนักของนักบวช ตัวสิ่งก่อสร้างโค้งเป็นเกือกม้าซึ่งเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 พระราชวังถูกบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่เมื่อปี ค.ศ. 1871 จนสิ่งก่อสร้างเดิมเกือบจะไม่หลงเหลือ


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406