พระราชกฤษฎีกาเฟอร์มัน (อังกฤษ: Firman) คือกฎหมาย หรือ ประกาศที่ออกโดยประมุขของรัฐอิสลามที่รวมทั้งจักรวรรดิออตโตมัน, จักรวรรดิโมกุล และ อิหร่านที่ใช้กันมาจนกระทั่งถึงสมัยที่อยู่ภายใต้การปกครองของโมฮัมมัด เรซา ปาห์เลวี (Mohammed Reza Pahlavi) ในคริสต์ศตวรรษที่ 20
คำว่า “firman” มาจากภาษาเปอร์เซีย “?????” (farm?n) ที่แปลว่า “ประกาศ” หรือ “กฎ” ในภาษาตุรกีมาแผลงเป็นคำว่า “ferman”
ในสมัยการปกครองของจักรวรรดิออตโตมันสุลต่านมีอำนาจจากการเป็นผู้รักษากฎหมายชาริอะห์ แต่กฎหมายชาริอะห์มิได้ครอบคลุมในทุกกรณีที่เกี่ยวกับชีวิตทางสังคมและการเมือง ฉะนั้นในการสร้างกฎที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์และสถานะภาพต่างๆ ที่มิได้อยู่ในข่ายของชาริอะห์ สุลต่านจึงก่อตั้งการออกพระราชกฤษฎีกาที่เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาเฟอร์มัน” ขึ้น