ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย

พระมหากษัตริย์ไทยเป็นประมุขของประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และประชาธิปไตย

ถึงแม้ว่าพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์จะลดลงหลังจากการปฏิวัติเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 และถูกจำกัดโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แต่สถาบันพระมหากษัตริย์ก็ยังคงได้รับความเคารพนับถือจากประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 กับทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับว่า พระมหากษัตริย์ "ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้" นอกจากนั้น พระมหากษัตริย์ยังทรงได้รับความคุ้มครองด้วยกฎหมายอาญา ทำให้การวิพากษ์วิจารณ์พระองค์เป็นความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์

พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ ทรงใช้อำนาจอธิปไตยผ่านคณะรัฐมนตรี รัฐสภา และศาล ทรงเป็นจอมทัพไทย พุทธมามกะ และอัครศาสนูปถัมภก มีพระราชอำนาจสถาปนาและพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์กับฐานันดรศักดิ์ พระราชทานอภัยโทษ ประกาศสงครามและสงบศึก รวมตลอดถึงพระราชอำนาจอื่น ๆ ซึ่งจะทรงใช้ได้ก็แต่โดยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ ยกเว้นพระราชอำนาจบางประการที่ทรงใช้ได้ตามพระราชอัธยาศัย คือ ตั้งและถอดองคมนตรีกับบรรดาข้าราชการในพระองค์

พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์ปัจจุบันคือพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี และเป็นประมุขราชวงศ์จักรี มีที่ประทับอย่างเป็นทางการคือพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร เสวยราชย์ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489และเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยังครองราชย์ในฐานะประมุขแห่งรัฐที่นานที่สุดในโลก

รัชทายาทของพระมหากษัตริย์ไทยมีตำแหน่งเรียกว่าสยามมกุฎราชกุมาร พระองค์ปัจจุบันคือสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ การสืบมรดกของพระมหากษัตริย์เป็นไปตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 โดยมีลักษณะเป็นการโอนจากบิดาสู่บุตรตามหลักบุตรคนหัวปีเฉพาะที่เป็นชาย แต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรฉบับปัจจุบันเปิดให้เสนอพระนามพระราชธิดาขึ้นสืบราชบัลลังก์ได้ ในกรณีที่พระมหากษัตริย์มิได้ทรงตั้งรัชทายาทไว้[ต้องการอ้างอิง]

รูปแบบการปกครองแบบราชาธิปไตยของประเทศไทยได้พัฒนาขึ้นมาตลอด 800 ปี ภายใต้การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช โดยพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่สามารถรวบรวมดินแดนจนเป็นปึกแผ่นเป็นอาณาจักรสุโขทัย โดยมีพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นปฐมกษัตริย์ แนวคิดการปกครองแบบราชาธิปไตยสมัยแรกเริ่มตั้งอยู่บนพื้นฐานของศาสนาฮินดู (ซึ่งรับเข้ามาจากจักรวรรดิขะแมร์) และหลักความเชื่อแบบพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ซึ่งแนวคิดแรกนั้นมาจากวรรณะ "กษัตริย์" ของศาสนาฮินดู เนื่องจากพระมหากษัตริย์จะได้รับอำนาจมาจากอำนาจทางทหาร ส่วนแนวคิดที่สองมาจากแนวคิด "ธรรมราชา" ของพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท หลังจากที่พระพุทธศาสนาเข้ามาในประเทศไทยในราวคริสต์ศตวรรษที่ 6 อันเป็นแนวคิดที่ว่าพระมหากษัตริย์ควรจะปกครองประชาชนโดยธรรม

สมัยกรุงสุโขทัย มีการปกครองแบบพ่อปกครองลูก พระมหากษัตริย์จะมีพระนามขึ้นต้นว่า "พ่อขุน" มีความใกล้ชิดระหว่างกษัตริย์กับประชาชนมาก หลังจากรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้ว พระมหากษัตริย์สุโขทัยมีพระนามขึ้นต้นว่า "พญา" เพื่อยกฐานะกษัตริย์ให้สูงขึ้น ในรัชกาลพญาลิไท พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ เฟื่องฟูมาก จึงมีแนวคิด ธรรมราชา ตามคติพุทธขึ้นมา ทำให้พระนามขึ้นต้นของพระมหากษัตริย์ตั้งแต่รัชกาลพญาลิไทเรียกว่า "พระมหาธรรมราชา" ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้รับคติพราหมณ์มาจากขอม เรียกว่า เทวราชา หรือ สมมติเทพ หมายถึงพระมหากษัตริย์ทรงเป็นเทพมาอวตารเพื่อปกครองมวลมนุษย์ ทำให้ชนชั้นกษัตริย์มีสิทธิอำนาจมากที่สุดในอาณาจักรและห่างเหินจากชนชั้นประชาชนมากขึ้น[ต้องการอ้างอิง] คำขึ้นต้นพระนามเรียกว่า "สมเด็จ" หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย พระราชอำนาจด้านการปกครองถูกโอนมาเป็นของรัฐบาลพลเรือนและทหาร พระมหากษัตริย์จะทรงใช้พระราชอำนาจผ่านฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ

ในเดือนมิถุนายน 2475 กลุ่มนักศึกษาซึ่งได้รับการศึกษาแบบตะวันตกและนายทหารเรียก "ผู้ก่อการ" ได้ปฏิวัติยึดอำนาจและเรียกร้องให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ชาวสยาม ในเดือนธันวาคม ปีนั้น พระองค์ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญ เปลี่ยนรูปแบบการปกครองมาสู่ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ แล้วจากนั้นบทบาทของพระมหากษัตริย์ก็เหลือเพียงประมุขแห่งรัฐเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น นายกรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติเป็นผู้ใช้พระราชอำนาจของพระองค์แทน

ในปี 2478 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวสละราชสมบัติ หลังทรงไม่ลงรอยกับรัฐบาลที่เป็นอำนาจนิยมมากขึ้น พระองค์ทรงประทับในสหราชอาณาจักรจนสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรทรงสืบราชสันตติวงศ์ ขณะนั้นพระองค์มีพระชนมายุ 10 พรรษาและเสด็จอยู่ต่างประเทศในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จึงมีการแต่งตั้งสภาผู้สำเร็จราชการแทน ในช่วงนั้น บทบาทและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ถูกยึดโดยรัฐบาลฟาสซิสต์จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ผู้นำสยามเข้ากับฝ่ายอักษะระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อสงครามยุติ จอมพลแปลกถูกถอดออกและพระมหากษัตริย์เสด็จนิวัติประเทศ ระหว่างสงคราม พระญาติหลายพระองค์ของพระมหากษัตริย์เป็นสมาชิกขบวนการเสรีไทย ซึ่งต่อต้านการยึดครองของต่างชาติระหว่างสงครามและช่วยกู้ฐานะของประเทศไทยหลังสงคราม

หลังพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรเสด็จสวรรคตในปี 2489 สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งขณะนั้นทรงพระชนมายุ 19 พรรษา กลายเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลถัดมา ปัจจุบัน พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงราชย์อยู่นานที่สุดของโลก พระองค์มีปฐมบรมราชโองการดังนี้ "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"

เริ่มเมื่อประมาณปี 2543 บทบาทของพระมหากษัตริย์ไทยถูกนักวิชาการ สื่อ ผู้สังเกตการณ์และนักประเพณีนิยมคัดค้านเพิ่มขึ้น และเมื่อผู้สนใจนิยมประชาธิปไตยที่มีการศึกษาเริ่มแสดงออกซึ่งสิทธิคำพูดของเขา หลายคนถือว่าชุดกฎหมายและมาตรการเกี่ยวข้องกับความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ในประเทศไทยซึ่งมุ่งคุ้มครองพระมหากษัตริย์และราชวงศ์เป็นอุปสรรคต่อเสรีภาพการแสดงออก มีการจับกุม การสืบสวนอาญาและจำคุกหลายครั้งโดยอาศัยกฎหมายเหล่านี้ ในปี 2548 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระราชดำรัสว่า สามารถวิจารณ์พระองค์ได้หากสร้างสรรค์และไม่มีแรงจูงใจทางการเมือง

สำนักราชเลขาธิการและสภาองคมนตรีไทยสนับสนุนภาระหน้าที่ของพระมหากษัตริย์ โดยปรึกษากับนายกรัฐมนตรี พระราชวังและพระราชทรัพย์ของพระมหากษัตริย์มีสำนักพระราชวังและสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นผู้จัดการตามลำดับ หน่วยงานเหล่านี้ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลไทย และพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งพนักงานทั้งหมด

รัชทายาทของพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์ปัจจุบัน คือ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร การสืบราชสันตติวงศ์เป็นไปตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 การแก้ไขกฎมณเฑียรบาลยังเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301