ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

พระนครศรีอยุธยา

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดมีมูลค่าสูงเป็นอันดับ 3 ของประเทศ และมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนาน เคยมีชื่อเสียงในฐานะเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นจังหวัดที่ไม่มีอำเภอเมือง มีอำเภอพระนครศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการด้านต่าง ๆ ชาวบ้านโดยทั่วไปนิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "กรุงเก่า" หรือ "เมืองกรุงเก่า"

พระนครศรีอยุธยาเคยเป็นราชธานี (เมืองหลวง) ของอาณาจักรอยุธยา หรืออาณาจักรสยาม ตลอดระยะเวลา 417 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 1893 กระทั่งเสียกรุงแก่พม่า เมื่อ พ.ศ. 2310 ครั้นเมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสถาปนาราชธานีแห่งใหม่ที่กรุงธนบุรี กรุงศรีอยุธยาก็ไม่ได้กลายเป็นเมืองร้าง ยังมีคนที่รักถิ่นฐานบ้านเดิมอาศัยอยู่และมีราษฎรที่หลบหนีไปอยู่ตามป่ากลับเข้ามาอาศัยอยู่รอบ ๆ เมือง รวมกันเข้าเป็นเมือง จนทางการยกเป็นเมืองจัตวาเรียกว่า "เมืองกรุงเก่า"

เมื่อ พ.ศ. 2325 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงยกเมืองกรุงเก่าขึ้นเป็น หัวเมืองจัตวา เช่นเดียวกับในสมัยกรุงธนบุรี หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้จัดการปฏิรูปการปกครองทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยปกครองส่วนภูมิภาคนั้น โปรดให้จัดการปกครองแบบเทศาภิบาลขึ้น โดยให้รวมเมืองที่อยู่ใกล้เคียงกัน 3-4 เมือง ขึ้นเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครอง โดยในปี พ.ศ. 2438 โปรดให้จัดตั้งมณฑลกรุงเก่าขึ้น ประกอบด้วยหัวเมืองต่าง ๆ คือ กรุงเก่าหรืออยุธยา อ่างทอง สระบุรี พระพุทธบาท ลพบุรี พรหมบุรี อินทร์บุรี และสิงห์บุรี

ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองอินทร์บุรีและเมืองพรหมบุรีเข้ากับเมืองสิงห์บุรี รวมเมืองพระพุทธบาทเข้ากับเมืองสระบุรี ตั้งที่ว่าการมณฑลที่อยุธยา และในปี พ.ศ. 2469 เปลี่ยนชื่อจาก "มณฑลกรุงเก่า" เป็น "มณฑลอยุธยา" ซึ่งจากการจัดตั้งมณฑลอยุธยามีผลให้อยุธยามีความสำคัญทางการบริหารการปกครองมากขึ้น การสร้างสิ่งสาธารณูปโภคหลายอย่างมีผลพัฒนาเมืองอยุธยาในเวลาต่อมา จนเมื่อยกเลิกการปกครองระบบมณฑลเทศาภิบาล ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 อยุธยาจึงเปลี่ยนฐานะเป็นจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบัน

ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายบูรณะโบราณสถานภายในเมืองอยุธยา เพื่อเป็นการฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษ ประจวบกับในปี พ.ศ. 2498 นายกรัฐมนตรีประเทศพม่าเดินทางมาเยือนประเทศไทย และได้มอบเงินจำนวน 200,000 บาท เพื่อปฏิสังขรณ์วัดและองค์พระมงคลบพิตร เป็นการเริ่มต้นบูรณะโบราณสถานในอยุธยาอย่างจริงจัง ซึ่งต่อมากรมศิลปากรเป็นหน่วยงานสำคัญในการดำเนินการ จนองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโกมีมติให้ประกาศขึ้นทะเบียนอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เป็น "มรดกโลก" เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2534 มีพื้นที่ในบริเวณโบราณสถานเมืองอยุธยา

ในสมัยอาณาจักรอยุธยามีการแบ่งการปกครองในราชธานีออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่ การปกครองภายในบริเวณกำแพงเมือง และภายนอกบริเวณกำแพงเมือง โดยในบริเวณกำแพงเมืองก็จะแบ่งออกเป็น 4 แขวง ได้แก่ แขวงขุนธรณีบาล แขวงขุนโลกบาล แขวงขุนธราบาล และแขวงขุนนราบาล ต่อมาในสมัยอาณาจักรธนบุรีจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้รวมทั้ง 4 แขวงภายในกำแพงเมืองเป็นแขวงเดียวกัน เรียกว่า แขวงรอบกรุง และขยายอาณาเขตออกมาเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน และต่อมาเปลี่ยนมาเป็นอำเภอรอบกรุง อำเภอกรุงเก่า และอำเภอพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน ตามลำดับ

ส่วนการปกครองภายนอกบริเวณกำแพงเมือง บริเวณนอกกำแพงเมืองแบ่งออกเป็น 3 แขวง ได้แก่ แขวงขุนนคร แขวงขุนอุทัย และแขวงขุนเสนา และต่อมามีการแบ่งออกเป็นแขวงต่าง ๆ ดังนี้

ดังนั้น ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แขวงในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจึงมีทั้งหมด 7 แขวง ได้แก่ แขวงรอบกรุง แขวงนครใหญ่ แขวงนครน้อย แขวงอุทัยใหญ่ แขวงอุทัยน้อย แขวงเสนาใหญ่ และแขวงเสนาน้อย ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการจัดระเบียบการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล มีการรวมเมืองเข้าด้วยกันเป็นมณฑล เปลี่ยนคำเรียกเมืองเป็นจังหวัด แขวงจึงต้องเปลี่ยนเป็นอำเภอตามไปด้วย และต่อมาสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้นได้ทรงดำริว่า อำเภอแต่ละอำเภอมีพลเมืองมากและมีท้องที่กว้าง จึงให้แบ่งเขตการปกครองออกไปอีกในทุกอำเภอ ยกเว้นอำเภอรอบกรุง อำเภออุทัยใหญ่ และอำเภออุทัยน้อย ดังนี้

ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่ออำเภอต่าง ๆ โดยในปี พ.ศ. 2443 เปลี่ยนชื่ออำเภออุทัยน้อยเป็นอำเภอพระราชวัง ในปี พ.ศ. 2446 เปลี่ยนชื่ออำเภอนครกลางเป็นอำเภอนครหลวงมาจนถึงปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2450 ได้แบ่งเขตท้องที่อำเภอพระราชวังด้านตะวันออกรวมกับอำเภออุทัยใหญ่ด้านใต้ แล้วยกขึ้นเป็นอำเภออุทัยน้อย แทนอำเภออุทัยน้อยเดิมที่ได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอพระราชวังเมื่อปี พ.ศ. 2443 และมีการเปลี่ยนชื่ออำเภอต่าง ๆ อีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ตรงกับชื่อตำบลที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอ อำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจึงได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อใหม่ ดังนี้

และอีก 4 กิ่งอำเภอได้แก่ กิ่งอำเภอลาดบัวหลวง (ขึ้นกับอำเภอบางไทร), กิ่งอำเภอภาชี (ขึ้นกับอำเภออุทัย), กิ่งอำเภอบางซ้าย (ขึ้นกับอำเภอเสนา) และกิ่งอำเภอบ้านแพรก (ขึ้นกับอำเภอมหาราช) ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอตามลำดับจนครบในปี พ.ศ. 2502

จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวนทั้งสิ้น 158 แห่ง แบ่งออกเป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา, เทศบาลนคร 1 แห่ง คือ เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา, เทศบาลเมือง 4 แห่ง, เทศบาลตำบล 31 แห่ง, และองค์การบริหารส่วนตำบล 121 แห่ง โดยเทศบาลสามารถจำแนกได้ตามอำเภอต่าง ๆ ดังนี้

จังหวัดพระนครศรีอยุธยาถือเป็นจังหวัดที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดมีมูลค่าสูงเป็นอันดับที่ 3 ของประเทศ รองจากจังหวัดระยอง และจังหวัดสมุทรสาคร ทั้งนี้จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอยู่ในเขตส่งเสริมการลงทุน เขต 2 มีนิคมอุตสาหกรรม 3 แห่ง ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน, นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค), นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร และมีเขตประกอบการอุตสาหกรรม 3 แห่ง ได้แก่ เขตประกอบการอุตสาหกรรมแฟตเตอรี่แลนด์วังน้อย สวนอุตสาหกรรมโรจนะ และสวนอุตสาหกรรมโรจนะ 2

ปัจจุบันรถโดยสารประจำทางสาย กรุงเทพฯ-อยุธยา มีให้บริการ 2 ประเภท 1.รถบัส ประเภท ปรับอากาศชั้น 2 สายที่ 901 กรุงเทพฯ (หมอชิตใหม่) -อยุธยา ให้บริการอยู่ที่ ท่ารถไปกรุงเทพฯ (ถนนนเรศวร) 2.รถตู้ ประเภท มาตรฐาน 2 (จ) 2 (ต) 2 (ช)

การเดินทางไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สามารถใช้บริการรถไฟโดยสารที่มีปลายทางสู่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขบวนรถไฟจะผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในเขตอำเภอบางปะอิน อำเภอพระนครศรีอยุธยา และอำเภอภาชี ทางรถไฟจะแยกไปภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

อาสวกิเลส อวิชชา เอ็มพีแอลเอส ภาวะถ่ายโอนแบบไม่ประสานเวลา แวน สมาร์ทโฟน ไลน์ (โปรแกรมประยุกต์) แอลทีอี 4 จี 3 จี วีโอไอพี บริการข้อความสั้น ใยแก้วนำแสง ระบบโทรศัพท์ การกล้ำสัญญาณ เนตเวิร์กสวิตช์ เราต์เตอร์ สัญญาณดิจิทัล ซิมเพล็กซ์ สายอากาศ เสาอากาศ แลน Transmission Control Protocol อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล แพ็กเกตสวิตชิง ดาวเทียมสื่อสาร การพูด การสื่อสารภายในบุคคล การประชาสัมพันธ์ การโฆษณาชวนเชื่อ การตลาด การสื่อสารระหว่างบุคคล ไอแซค อสิมอฟ เขามาจากดาวอังคาร อินุยาฉะ เทพอสูรจิ้งจอกเงิน สโลว์สเต็ป สัญกรณ์โอใหญ่ พรีไบโอติกส์ ป. อินทรปาลิต การเวก (พืช) การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สีเทา สีขาว สีน้ำตาล ม่วง เขียว น้ำเงิน สีกากี ชมพู ระบบสี RGB SVG เบราว์เซอร์ แม่สีแสง CSS RGB เวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม เว็บจีแอล จาวาสคริปต์ Font family (HTML) ซีเอสเอส สไตล์ชีต ด็อม ซี-เอชทีเอ็มแอล เอกซ์เอชทีเอ็มแอล เอชทีเอ็มแอล5 COLOR ISO 11940 ธอง แม่กุญแจสีม่วง ไวต่ออักษรใหญ่เล็ก แม่กุญแจสีทอง ปากานี ซอนด้า ปากานี ซอนด้า ปากานี ซอนด้า ปากานี ซอนด้า ปากานี ซอนด้า เคนต์ โลตัส อีลิส โรวัน แอตคินสัน พยัคฆ์ร้าย ศูนย์ ศูนย์ ก๊าก พยัคฆ์ร้ายทวงแค้นระห่ำโลก จอมมฤตยู 007 เอียน เฟลมมิง พยัคฆ์ร้ายสะบัดลาย โคเวนทรี ระบบส่งกำลัง โปรตอน เอ็กซ์โซร่า โปรตอน วาจา โปรตอน เพอร์โซนา โปรตอน เพรเว่ นิตยสารฟอร์บส Thai language Japanese language Polish language Italian language Dutch language Hindi 2007 พระแม่กาลี มหาธิการิณี

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
235
236
237
238
239
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23944