ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

พรรคประชาธิปัตย์

พรรคประชาธิปัตย์ (อังกฤษ: Democrat Party - DP, ย่อ: ปชป.) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2489 เป็นพรรคการเมืองจดทะเบียนที่เก่าแก่ที่สุดของไทยที่ยังดำเนินการอยู่ พรรคมีสมาชิกที่ได้แจ้งต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองไว้ จำนวน 2,895,272 คน นับเป็นพรรคการเมืองที่มีสมาชิกมากที่สุดในประเทศไทย และมีสาขาพรรคจำนวน 175 สาขา

นายควง อภัยวงศ์ ได้ก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ขึ้นเมื่อ 5 เมษายน พ.ศ. 2489 โดยประชุมรวมตัวกันของนักการเมืองกลุ่มหนึ่งที่บริษัทของนายควง ที่ย่านเยาวราช แต่ทางพรรคถือเอาวันที่ 6 เมษายน เป็นวันก่อตั้งพรรค เพื่อให้ตรงกับวันจักรี มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นฝ่ายค้านคานอำนาจของ นายปรีดี พนมยงค์ ต่อมานายปรีดีลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังถูกกดดันจากกรณีสวรรคต ร.8 และรัฐสภาลงคะแนนให้ พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้ใกล้ชิดนายปรีดี ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีสืบต่อ

ในช่วงปี พ.ศ. 2489 ที่ประชาธิปัตย์เป็นฝ่ายค้าน มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ พล.ร.ต.ถวัลย์ ยาวนานถึง 7 วัน 7 คืนติดต่อกัน รวมถึงการหาเสียงในเดือนสิงหาคมด้วย ต่อมาเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ถูกนายทหารฝ่ายจอมพล ป. ที่นำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ทำรัฐประหารยึดอำนาจ นายควงได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการ และมีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2491 ผลการเลือกตั้งพรรคประชาธิปัตย์ได้คะแนนเสียงมากที่สุดจึงได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลครั้งแรก

หลังจากนั้นพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลอีก 6 ครั้งจนถึงปัจจุบัน คือในปี พ.ศ. 2518, 2519 (2 ครั้ง) , 2535, 2540 และ 2551 ได้เป็นพรรคร่วมรัฐบาล 4 ครั้ง และเป็นพรรคฝ่ายค้านอีกรวม 16 ครั้ง โดยเป็นพรรคที่ได้รับเสียงข้างมากในกรุงเทพมหานครทันที และครองจำนวนที่นั่งในกรุงเทพมหานครจนถึงปี พ.ศ. 2522 ทั้งนี้ ประชาธิปัตย์ยังเป็นพรรคแรกที่หาเสียงด้วยวิธีการปราศรัยด้วย โดยเริ่มใช้ตั้งแต่การเลือกตั้งในเดือนสิงหาคมปี พ.ศ. 2489

ในปี พ.ศ. 2550 พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดทำ "โครงการยุทธศาสตร์ประเทศไทย" (Thailand Strategy Project หรือ TSP) ขึ้น โดยมี นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรค เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ เพื่อรวบรวมข้อมูลทางวิชาการใน 19 ยุทธศาสตร์หลัก ใช้เป็นฐานข้อมูลในการพัฒนานโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ และจัดทำเป็นแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศ รวมทั้งเพื่อแลกเปลี่ยนทรรศนะกับชุมชนวิชาการและประชาชนที่สนใจทั่วไป ผ่านทางเว็บไซต์ และเอกสารเผยแพร่ของโครงการ

ในปี พ.ศ. 2551 ภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ มีสถานะเป็น "พรรคฝ่ายค้านพรรคเดียว" เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และผู้นำฝ่ายค้าน ได้ประกาศจัดตั้ง คณะรัฐมนตรีเงา ขึ้นตรวจสอบการบริหารงานของรัฐบาลและนำเสนอแนวทางการบริหารประเทศ ควบคู่ไปกับการบริหารงานของรัฐบาล ตามรูปแบบรัฐบาลเงาในระบบเวสต์มินสเตอร์ของประเทศอังกฤษ ขึ้นเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหลัง พรรคพลังประชาชน ถูกพิพากษายุบพรรคจาก คดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2551 ทำให้ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เกิดการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองทำให้พรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล โดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี คนที่ 27 ของประเทศไทย จาก การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี ของสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551

พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่มีคะแนนเสียงอันดับสองในสภาผู้แทนราษฎร โดยมีจำนวนที่นั่ง 96 ที่นั่ง (จากทั้งหมด 500 ที่นั่ง) มีฐานเสียงใหญ่อยู่ที่ภาคใต้ ใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในไทย พ.ศ. 2548 พรรคประชาธิปัตย์ได้เสียงจากภาคใต้ถึง 52 ที่นั่งจาก 54 ที่นั่ง อย่างไรก็ตามพรรคไม่ได้รับการสนับสนุนมากนักในส่วนอื่น ๆ ของประเทศ (ยกเว้นในเขตกรุงเทพมหานคร ที่คะแนนเสียงแปรผันไปตามสถานการณ์ทางการเมืองแต่ละสมัย ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 พรรคฯ ได้เสียงจากกรุงเทพเพียง 4 ที่นั่ง จาก 37 ที่นั่ง โดยที่พรรคคู่แข่งคือ พรรคไทยรักไทย ได้ถึง 32 ที่นั่ง) ลักษณะเช่นนี้เหมือนกับพรรคเสรีนิยมของสหราชอาณาจักรที่ผู้สนับสนุนอย่างเหนียวแน่นส่วนใหญ่จะอยู่ในแคว้นสก็อตแลนด์ คือเป็นลักษณะภูมิภาคนิยม ดังจะเห็นได้ชัดเจนจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีจำนวนที่นั่งในสภาผู้แทนสูงถึง 136 ที่นั่ง แต่พรรคได้รับเลือกเพียง 2 ที่นั่งเท่านั้น

ช่วงวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พรรคประชาธิปัตย์ร่วมกับพรรคร่วมฝ่ายค้านเดิมอีก 2 พรรค คือ พรรคชาติไทย และ พรรคมหาชน คว่ำบาตรการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 ด้วยการไม่ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง โดยมีเหตุผลว่ารัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยุบสภา โดยไม่ชอบธรรม และต่อมามีคำวินิจฉัยของศาลให้การเลือกตั้ง 2 เมษายน พ.ศ. 2549 เป็นโมฆะ เนื่องจาก กกต. จัดการเลือกตั้งไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น มีการหันคูหาเลือกตั้งที่ทำให้การลงคะแนนไม่เป็นการลงคะแนนลับ

ในช่วงเวลาเดียวกันพรรคประชาธิปัตย์ได้ทำการฟ้องร้องต่อ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในขณะนั้น ให้ดำเนินคดียุบพรรคไทยรักไทย เนื่องจากกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง โดยมีการจ้างพรรคเล็กลงสมัครรับเลือกตั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงเกณฑ์ร้อยละ 20 ตามกฎหมาย และพรรคประชาธิปัตย์มีพยานบุคคลจากพรรคเล็กยืนยัน แต่ต่อมาพยานดังกล่าวได้กลับคำให้การกลางคัน และพรรคไทยรักไทยที่เป็นผู้ต้องหาในคดีกลับฟ้องร้องต่อ กกต. ให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ โดยกล่าวหาว่ามีการจ้างพรรคเล็กให้ใส่ร้ายพรรคไทยรักไทย และมีพฤติกรรมล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย จึงมีการนำคดีขึ้นสู่กระบวนการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ

ต่อมาภายหลังการ รัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 โดย คปค. ทำให้ศาลรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลงพร้อมกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และมีคณะตุลาการรัฐธรรมนูญขึ้นตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ. 2549 ประกอบด้วยตัวแทนฝ่ายตุลาการคือ ประธานศาลฎีกา และประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นต้น รับโอนอรรถคดีจากศาลรัฐธรรมนูญมาดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป จนกระทั่งวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 คณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ยกคำร้องในส่วนพรรคประชาธิปัตย์ และมีมติให้ยุบ พรรคไทยรักไทยและพรรคเล็กที่ถูกฟ้องร่วมในคดี และวินิจฉัยให้ตัดสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยและพรรคเล็กทั้งหมด เป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นที่ประจักษ์ว่ากรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยจ้างพรรคเล็กลงสมัครรับเลือกตั้งจริง และขณะเดียวกันไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่าพรรคประชาธิปัตย์จ้างพรรคเล็กให้ใส่ร้ายพรรคไทยรักไทยหรือมีพฤติกรรมล้มล้างการปกครองตามฟ้องแต่อย่างใด

หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 พรรคประชาธิปัตย์ถูกงดกิจกรรมทางการเมืองชั่วคราว จนกระทั่งได้มีกำหนดการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2550 ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ได้เสนอนโยบายบริหารประเทศชื่อว่า "วาระประชาชน" ใจความสำคัญว่า "ประชาชนต้องมาก่อน" ในการรณรงค์เลือกตั้ง โดยได้เสนอต่อสาธารณะนับตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2549 มีกลุ่มนโยบาย 4 หัวข้อใหญ่

ผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ปรากฏว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้อันดับ 2 รวม 165 ที่นั่ง รองจากพลังประชาชนได้คะแนนอันดับ 1 ที่ได้ 232 ที่นั่ง โดยพรรคประชาธิปัตย์แบ่งตามภาคได้ดังนี้

พรรคพลังประชาชนได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลผสม ร่วมกับพรรคการเมืองอื่น ๆ คือ พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรคชาติไทย พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา พรรคมัชฌิมาธิปไตย และพรรคประชาราช โดยมีพรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคฝ่ายค้านพรรคเดียวเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย[ต้องการอ้างอิง]

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ในฐานะผู้นำฝ่ายค้าน ได้ประกาศจัดตั้ง "รัฐบาลเงา" หรือ "ครม.เงา" เพื่อตรวจสอบการบริหารงานของรัฐบาลและนำเสนอแนวทางการบริหารประเทศควบคู่ไปกับการบริหารงานของรัฐบาล ตามรูปแบบ "คณะรัฐมนตรีเงา" ใน "ระบบเวสมินสเตอร์" ของอังกฤษขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 โดยมีเว็บไซต์ www.shadowdp.com ในการเผยแพร่การปฏิบัติหน้าที่ของ ครม.เงา

ภายหลังจากศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคการเมืองซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาล (พรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย) และเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคเป็นเวลา 5 ปี ซึ่งส่งผลให้ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ต้องพ้นจากตำแหน่ง พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดตั้งรัฐบาลผสมโดยร่วมกับพรรคการเมืองอื่น ๆ คือ พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรคชาติไทยพัฒนา พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา พรรคภูมิใจไทย และพรรคกิจสังคม (ภายหลังพรรคมาตุภูมิได้เข้ามาเป็นพรรคร่วมรัฐบาลแทนพรรคเพื่อแผ่นดิน) พร้อมกับสนับสนุนให้ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ชนะพลตำรวจเอกประชา พรหมนอก จากพรรคเพื่อแผ่นดิน ด้วยคะแนน 235 ต่อ 198 เสียง ในการลงมติ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และได้จัดตั้งรัฐบาลผสม เป็นคณะรัฐมนตรี คณะที่ 59 ของไทย

อภิชาต สุขัคคานนท์ นายทะเบียนพรรคการเมือง ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวหาว่า ใน พ.ศ. 2548 พรรคประชาธิปัตย์ได้รับเงินบริจาค จำนวนสองร้อยห้าสิบแปดล้านบาท จาก บริษัททีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) แต่ไม่แจ้งคณะกรรมการการเลือกตั้ง ทราบ และใช้จ่ายไปโดยผิดวัตถุประสงค์ของกฎหมาย ซึ่งเงินจำนวนยี่สิบเก้าล้านบาท ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดสรรให้จากกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง ขัดต่อ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 66 อนุมาตรา และ จึงขอให้ศาลมีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ และตัดสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าและกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ตาม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 มาตรา 98

คดีนี้ ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2553 ด้วยมติสี่ต่อสองว่า กฎหมายกำหนดให้ผู้ร้องยื่นคำร้องมาภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ปรากฏแก่ตนว่าผู้ถูกร้องฝ่าฝืนกฎหมายอันเป็นเหตุให้ถูกยุบได้ มว่า ผู้ร้องยื่นคำร้องมาล่วงระยะเวลาสิบห้าวันดังกล่าวนี้ จึงไม่ชอบที่จะพิจารณาวินิจฉัยคำร้องสืบไป และให้ยกคำร้อง

หลังจากที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ประกาศ ยุบสภาในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เพื่อให้จัดตั้งการเลือกตั้งทั่วไป และหลังจากที่ พรรคประชาธิปัตย์ได้แพ้การเลือกตั้งทั่วไปในปี พ.ศ. 2554 นายอภิสิทธิ์ ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 และเป็นเหตุให้คณะเลขาธิการพรรค รองหัวหน้าพรรค ที่ปฏิบัติหน้าที่นั้น ต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งหมด หลังจากนั้นได้มีการลงคะแนนเสียงเลือกหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนใหม่ และผลออกมาในวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554 หลังนายอภิสิทธิ์ พ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก็ได้รับเลือกให้กลับมาเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์อีกครั้ง พ.ศ. 2556

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ มีท่าทีผสมกัน แม้เขาโพสต์ลงเฟซบุ๊กขออภัยที่ไม่สามารถผลักดันแผนปฏิรูปประเทศและปกป้องประชาธิปไตยได้ และพร้อมร่วมคัดค้านรัฐประหาร หาก คสช. ไม่มีคำตอบชัดเจนว่าจะปฏิรูปอะไรและประชาชนจะมีส่วนร่วมอย่างไร และมีผู้รักประชาธิปไตยที่แท้จริงเสนอประชาธิปไตยที่ดีกว่า แต่เขาก็โพสต์สนับสนุนให้ คสช. ใช้มาตรการเข้มข้นขึ้นเพื่อรับมือกับการต่อต้านรัฐประหาร

นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่า ประยุทธ์ควรเป็นนายกรัฐมนตรี ควรใช้อำนาจเด็ดขาด อย่าเป็นนักประชาธิปไตยเหมือนสุรยุทธ์ จุลานนท์ อย่าสนใจคำครหานินทาว่ามาจากรัฐประหาร หากทำดี แก้ปัญหาได้ ทำประเทศปรองดองได้ ทุกคนจะสรรเสริญ


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301