พรรคกิจสังคม (อังกฤษ: Social Action Party) ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 โดย หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช โดยให้ชื่อว่า "กิจสังคม" โดยแปลตรงตัวจากภาษาอังกฤษ โดยนำชื่อพรรคมาจากพรรคการเมืองนี้ในประเทศอังกฤษ พรรคมีสมาชิกที่ได้แจ้งต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองไว้ จำนวน 27,424 คน และมีสาขาพรรคจำนวน 4 สาขา
อยู่ที่ความรู้สึก ว่าบ้านเมืองของเราเริ่มจะเป็นประชาธิปไตย ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกๆ คนปรารถนา ที่นี้ผมเองและพวกพ้อง ลูกศิษย์ ลูกหาที่เขาทำการงานไปแล้วหลายคน มาคิดกันว่า ประชาธิปไตย นี่ความจริงก็เป็นสิ่งที่ เราต้องการกันทุกคนในเมืองไทย
แต่เมื่อมีประชาธิปไตยแล้ว มันก็ไม่ควรจะคิดว่า เราจะได้อะไรจากประชาธิปไตย เราควรจะคิดว่าเราจะให้อะไรแก่ ประชาธิปไตย ซึ่งเราทุกคนปรารถนานั้นได้ เมื่อคิดเช่นนั้นแล้ว เราก็อยากให้เท่าที่เรามีจะให้ได้คือ ก็เรียกว่าประสบการณ์ของเรา ความสามารถของเรา ความเสียสละ และความจริงใจของเราที่จะ ทำประโยชน์ต่อบ้านเมือง
เมื่อคิดเช่นนั้นแล้ว เรายังเห็นว่า บ้านเมืองนี้ ยังต้องการคนที่พร้อมจะเสียสละ ทำการงานอีกมาก โดยที่ไม่หวังอะไรตอบแทน ก็เลยตั้งพรรค (กิจสังคม) นี้ขึ้น เพื่อมีส่วนเข้าส่งเสริม แล้วก็รักษาระบอบประชาธิปไตย แล้วก็ทำการงานให้บ้านเมืองตามระบอบประชาธิปไตยจะอำนวยให้
พรรคกิจสังคมลงเลือกตั้งครั้งแรกในปี พ.ศ. 2518 ได้ ส.ส.เพียง 18 คน แต่สร้างประวัติศาสตร์ ให้แก่วงการการเมืองไทยทันที ด้วยการสามารถ พลิกกลับเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลได้ แทนที่ พรรคประชาธิปัตย์ ที่ได้จำนวน ส.ส. สูงสุด โดยอภิปรายตอบโต้นโยบายของ รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช จนในที่สุดสภามีมติไม่ให้นโยบายของรัฐบาลผ่าน พรรคประชาธิปัตย์ และ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ได้แสดงความรับผิดชอบ ด้วยการไม่ขอรับตำแหน่ง พรรคกิจสังคมโดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช จึงเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลขึ้นมาเอง โดยร่วมกับพรรคเล็กพรรคน้อยต่างๆ รวมถึง 22 พรรค จัดตั้งรัฐบาลขึ้นมา นับเป็นรัฐบาลที่มาจากพรรคผสม มากที่สุดในประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน โดยมีจุดเด่นเป็นนโยบายสาธารณะต่างๆ เช่น นโยบายเงินผันสู่ชนบท นโยบายให้รถเมล์วิ่งฟรี เป็นต้น
แต่รัฐบาลเสียงผสมหลายพรรค ก็ไม่สามารถไปรอดตลอดฝั่งได้ เพราะประสบปัญหาหลายอย่าง ประจวบกับสถานการณ์การเมืองในประเทศ ในขณะนั้นที่ยังรุ่มร้อน ในที่สุด ก็ต้องยุบสภา มีการเลือกตั้งใหม่ และก็เป็นพรรคประชาธิปัตย์ กลับมาเป็นรัฐบาลอีก แต่ก็อยู่ได้ไม่นาน เนื่องด้วยความร้อนแรง ของสถานการณ์การเมืองขณะนั้นยังไม่หาย จนในที่สุดก็เกิดเป็นเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
หลังจากนั้น ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ก็ยังคงเล่นการเมือง และเป็นหัวหน้าพรรคกิจสังคมต่อไป ได้นำพรรคลงเลือกตั้งอีกหลายครั้ง ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2526 พรรคกิจสังคมได้คะแนนเสียงมาเป็นลำดับหนึ่งถึง 96 เสียง แต่หัวหน้าพรรคคือ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช กลับไม่ได้รับเลือกตั้งเสียเองในเขต 2 เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร จึงหันร่วมกับพรรคอื่นเช่น พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย สนับสนุน พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2
โดยสภาพแล้วพรรคกิจสังคมเป็นพรรคการเมืองขนาดกลางค่อนไปทางเล็ก มีจำนวน ส.ส. ไม่มาก จึงมีบทบาทในการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล หรือฝ่ายค้าน ภายหลังการยุติบทบาททางการเมืองของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช พรรคกิจสังคมก็ได้มี นายมนตรี พงษ์พานิช เป็นหัวหน้าพรรค จากนั้นจึงเป็น นายสุวิทย์ คุณกิตติ อดีตสมาชิกพรรคอีกคนหนึ่ง ที่ยังมีบทบาททางการเมืองคือ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน อดีตเลขาธิการพรรค
พรรคกิจสังคมจดทะเบียนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2525 แต่ในระหว่างปี พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2551 พรรคกิจสังคมมิได้มีบทบาททางการเมืองเหมือนแต่ก่อน เพราะสมาชิกคนสำคัญของพรรค ได้ลาออกหรือไปเข้าร่วมกับพรรคอื่น โดยเฉพาะพรรคไทยรักไทย
พรรคกิจสังคม ได้ฉายาจากสื่อมวลชนว่า "พรรคแสบ" (SAP) ซึ่งย่อมาจากชื่อภาษาอังกฤษของพรรค และประกอบกับลีลาการเล่นการเมือง ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่แสบสันต์เป็นที่รู้จักกันดี
นอกจากนี้แล้ว พรรคกิจสังคม ยังเคยเอาชนะพรรคประชาธิปัตย์ ในพื้นที่ภาคใต้ อันเป็นพื้นที่ ๆ รับรู้กันทั่วว่าเป็นฐานเสียงเข้มแข็งของพรรคประชาธิปัตย์มาแล้ว ในการเลือกตั้ง ปี พ.ศ. 2522 (กิจสังคมได้ 18 เสียง, ประชาธิปัตย์ได้ 15 เสียง)
พรรคกิจสังคม ได้ถูกรื้อฟื้นอีกครั้ง ในปลายปี พ.ศ. 2551 ภายหลังคดียุบพรรคใหญ่หลายพรรค นายสุวิทย์ คุณกิตติ อดีตหัวหน้าพรรคได้นำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กลับมาฟื้นฟูพรรคอีกครั้ง โดยนายสุวิทย์ดำรงตำแหน่งประธานที่ปรึกษาพรรค และเข้าร่วมฝ่ายรัฐบาลซึ่งสนับสนุน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ย้ายมาสังกัด จำนวน 5 คน คือ
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ส่งผู้สมัครทั้งในระบบบัญชีรายชื่อ และระบบแบ่งเขต แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้งแม้แต่ที่นั่งเดียวในสภาผู้แทนราษฎร โดยได้รับคะแนนในระบบบัญชีรายชื่อเพียงร้อยละ 0.31 หรือ 81,824 คะแนน
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ? สิทธิ เศวตศิลา ? หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ? มนตรี พงษ์พานิช ? บุญพันธ์ แขวัฒนะ ? สุวิทย์ คุณกิตติ ? พยุง นพสุวรรณ ? เจษฎา ตันติบัญชาชัย ? อรรถพล ชัยนันท์สมิตย์ ? ทองพูล ดีไพร
โกศล ไกรฤกษ์ ? พงส์ สารสิน ? สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ ? มนตรี พงษ์พานิช ? ประยุทธ์ ศิริพานิชย์? เขษม ไกรสรรณ์ ? บุญพันธ์ แขวัฒนะ ? เฉลิม อยู่บำรุง ? สุวิทย์ คุณกิตติ ? สมศักดิ์ เทพสุทิน ? ระวี หิรัญโชติ ? เจษฎา ตันติบัญชาชัย ? อุทัย นิ่มสุวรรณ ? ปราโมทย์ ตามควร ? อำนวย ศิริทองสุข ? สยมภู เกียรติสยมภู