ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

พญามังราย

พญามังราย (คำเมือง: พ.ศ. 1782—1854) เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 25 แห่งหิรัญนครเงินยางเชียงราวเมื่อ พ.ศ. 1804 และต่อมาทรงสร้างอาณาจักรล้านนาเมื่อ พ.ศ. 1839 จึงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรดังกล่าวด้วย

พระนาม "มังราย" นั้นปรากฏในศิลาจารึก ตำนาน และเอกสารดั้งเดิมทุกชนิด มีแต่พงศาวดารโยนกที่พระยาประชากิจกรจักร์ (แช่ม บุนนาค) เรียบเรียงขึ้นในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเอกสารในสมัยหลัง ๆ ซึ่งอ้างอิงพงศาวดารโยนก ที่ออกพระนามว่า "เม็งราย"

ประเสริฐ ณ นคร ราชบัณฑิต กล่าวว่า "เม็งราย" เป็นการเขียนที่ผิด อย่างไรก็ดี มีสถานที่หลายแห่งใช้ชื่อว่า "เม็งราย" ไปแล้ว เช่น ตำบลเม็งราย อำเภอพญาเม็งราย โรงเรียนเม็งรายมหาราชวิทยาคม และค่ายเม็งรายมหาราช ในจังหวัดเชียงราย กับทั้งวัดพระเจ้าเม็งราย ในจังหวัดเชียงใหม่

มีการสันนิษฐานว่า ที่พงศาวดารโยนกเรียก "เม็งราย" เป็นกุศโลบายทางการเมืองของรัฐบาลสยามในสมัยนั้น เพราะเมื่ออังกฤษได้พม่าเป็นอาณานิคมแล้ว ก็หมายจะยึดดินแดนล้านนาด้วย โดยใช้เหตุผลว่า ล้านนาเป็นเมืองขึ้นพม่า เมื่อพม่าเมืองแม่เป็นของอังกฤษแล้ว ล้านนาเมืองลูกย่อมเป็นของอังกฤษตามกันด้วย แม้ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนายังมีพระนามว่า "มังราย" ซึ่งน่าจะบ่งบอกว่าล้านนาเป็นของพม่ามาแต่เดิมแล้ว ("มัง" เป็นคำนำหน้าชื่อชายพม่าชนชั้นสูง เพี้ยนมาจากคำว่า "มิน" เช่น มังมหานรธา มังสามเกียด ฯลฯ) รัฐบาลสยามจึงแต่งประวัติศาสตร์ล้านนาโดยจงใจแก้ "มังราย" เป็น "เม็งราย" และประวัติศาสตร์ดังกล่าวก็ได้รับความนิยมจนมีการอ้างถึงสืบ ๆ มา

พระองค์เป็นพระราชโอรสของลาวเมง พระมหากษัตริย์แห่งหิรัญนครเงินยางเชียงราว กับนางเทพคำขยาย พระราชธิดาของท้าวรุ่งแก่นชาย พระมหากษัตริย์แห่งเมืองเชียงรุ่งสิบสองพันนา

เมื่อเสวยราชย์สืบจากพระราชบิดาใน พ.ศ. 1804 แล้ว พญามังรายหมายพระทัยจะสร้างพระราชอาณาจักรใหม่ จึงทรงรวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ ที่ดำรงตนเป็นอิสระให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยทรงเริ่มพระราชภารกิจนี้ในหัวเมืองฝ่ายเหนือก่อน แล้วขยายมาฝ่ายใต้

ในช่วงนั้น ได้ทรงสร้างเมืองเชียงรายเป็นเมืองหลวงใหม่เมื่อ พ.ศ. 1805 และทรงสร้างเมืองฝางเมื่อ พ.ศ. 1816, เมืองชะแว ทางตะวันออกเฉียงเหนือของลำพูน เมื่อ พ.ศ. 1826, และเวียงกุมกาม ซึ่งบัดนี้อยู่คาบอำเภอเมืองเชียงใหม่และอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 1829 เมื่อสร้างเมืองใหม่แต่ละครั้ง พญามังรายจะประทับอยู่ที่เมืองนั้น ๆ เสมอ ประเสริฐ ณ นคร สันนิษฐานว่า

"...คงมีพระประสงค์ที่จะสร้างชุมชนขึ้นใหม่ เพื่อรวบรวมผู้คนที่กระจัดกระจายกันอยู่ให้มาตั้งเป็นเมืองใหม่ขึ้น ในขณะเดียวกัน ก็ทรงแสวงหาชัยภูมิที่เหมาะสมจะเป็นเมืองหลวงถาวรของพระองค์ต่อไป"

นอกจากนี้ ยังทรงตีได้เมืองมอบ เมืองไร และเมืองเชียงคำ จึงมีหัวเมืองหลายแห่งมาขออ่อนน้อมเป็นเมืองขึ้น เช่น เมืองร้าง ต่อมาจึงเสด็จไปเอาเมืองเชียงของได้ใน พ.ศ. 1812 และเมืองเซริงใน พ.ศ. 1818

พญามังรายมีพระราชประสงค์จะได้เมืองหริภุญไชย (ลำพูน) เพราะเป็นเมืองมั่งคั่ง เป็นศูนย์การค่าระหว่างประเทศ ธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ทั้งยังมีทางน้ำติดต่อถึงเมืองละโว้และเมืองอโยธยาด้วย ทรงพระดำริแล้วก็ทรงให้ข้าราชการคนหนึ่งชื่อ อ้ายฟ้า ปลอมปนเข้าไปเป็นไส้ศึกในเมืองหริภุญไชย ขณะนั้น เมืองหริภุญไชยมีพญาญี่บาเป็นพระมหากษัตริย์ อ้ายฟ้าจึงทำให้ชาวหริภุญไชยไม่พอใจพญาญี่บา โดยเกณฑ์พวกเขาไปขุดเหมืองในฤดูร้อนเพื่อถ่ายแม่น้ำปิงมาสู่แม่น้ำกวงเป็นระยะทางสามสิบหกกิโลเมตร ปัจจุบัน เหมืองดังกล่าวก็ยังมีและยังใช้ได้ดีอยู่ด้วย

อ้ายฟ้าดำเนินแผนต่ออีกโดยตัดไม้ซุงลากผ่านที่นาของชาวบ้านในหน้านา ทำให้ข้าวเสียหายเป็นอันมาก โดยอ้ายฟ้าแจ้งประชาชนว่า พญาญี่บาจะทรงสร้างพระราชวังใหม่ อ้ายฟ้าบ่อนทำลายเมืองหริภุญไชยอยู่นานเกือบเจ็ดปี ชาวหริภุญไชยจึงเอาใจออกห่างพญาญี่บาเต็มที่ เมื่อพญามังรายทรงกรีธาทัพมายึดเมือง ชาวเมืองก็ให้ความร่วมมือแก่พระองค์เป็นอย่างดี พระองค์ทรงได้เมืองไปโดยง่ายเมื่อ พ.ศ. 1824 แต่ชินกาลมาลีปกรณ์ว่าเป็น พ.ศ. 1835 ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของประเสริฐ ณ นคร

เมื่อพญามังรายทรงได้เมืองหริภุญไชยแล้ว ขุนคราม พระราชบุตรพระองค์ที่สองของพญามังราย ก็ตีนครเขลางค์ (ลำปาง) ได้ใน พ.ศ. 1839 ในปีนั้นเอง ทรงสถาปนาอาณาจักรล้านนาขึ้นที่เมืองเชียงใหม่ พระราชทานนามเมืองเชียงใหม่ว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" และโปรดให้เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรใหม่นั้น ในการนี้ นับเป็นการสถาปนาราชวงศ์ใหม่ขึ้นโดยปริยาย ซึ่งนักประวัติศาสตร์ขนานชื่อตามพระนามพระองค์ว่า ราชวงศ์มังราย และพญามังรายก็ทรงชื่อว่าเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์และอาณาจักรทั้งสองด้วย

อาณาเขตของล้านนาในรัชกาลพญามังรายนั้น ทางเหนือถึงเชียงรุ่งและเชียงตุง, ตะวันออกถึงน้ำโขง แต่ไม่รวมเมืองพะเยา เมืองน่าน และเมืองแพร่, ทิศใต้ถึงนครเขลางค์, และตะวันตกถึงอาณาจักรพุกาม (พม่าและมอญ)

พงศาวดารโยนก ของพระยาประชากิจกรจักร์ (แช่ม บุนนาค) ว่า ใน พ.ศ. 1833 อาณาจักรพุกามขอเป็นเมืองขึ้นของพระองค์ พญามังรายจึงเสด็จไปเยือนพุกาม และเมื่อนิวัติ ก็ทรงนำช่างฆ้อง ช่างหล่อ ช่างเหล็ก และช่างฝีมืออื่น ๆ กลับมาด้วย แล้วก็โปรดให้ช่างทองไปประจำที่เมืองเชียงตุง

แต่เรื่องดังกล่าวไม่ปรากฏในชินกาลมาลีปกรณ์ นอกจากนี้ ประเสริฐ ณ นคร แสดงความเห็นว่า ถ้าเกิดขึ้นจริง ควรเป็น พ.ศ. 1843 มากกว่า 1833 เพราะมอญอยู่ในอาณัติของอาณาจักรสุโขทัยภายใต้การปกครองของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชซึ่งสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 1841 มอญจะแยกตัวไปหานายใหม่ได้ก็ควรหลัง พ.ศ. 1841

นอกจากนี้ บันทึกของจีนและไทลื้อระบุว่า พญามังรายทรงเคยยกรี้พลไปตีเมืองเชียงรุ่งและอาณาจักรพุกามบางส่วนใน พ.ศ. 1840 และสิบสองพันนาใน พ.ศ. 1844 กับทั้งว่า จีนเคยยกลงมาตีอาณาจักรล้านนาแต่พ่ายกลับไปด้วย

พญามังรายทรงมีสัมพันธไมตรีกับพญางำเมือง พระมหากษัตริย์แห่งแคว้นพะเยา และพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัย โดยเป็นศิษย์สำนักเดียวกันที่เมืองละโว้ ทั้งสามพระองค์เป็นพระสหายร่วมสาบานกันด้วย

เมื่อพญามังรายจะทรงสถาปนาอาณาจักรล้านนาที่เมืองเชียงใหม่นั้น ก็ได้ทรงปรึกษากับพระสหายทั้งสอง พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงแนะนำว่า ควรลดขนาดเมืองลดครึ่งหนึ่ง จากเดิมวางผังให้ยาวด้านละสองพันวา เพราะเมื่อเกิดศึกสงครามในอนาคต ผู้คนที่ไม่มากพอจะไม่อาจปกปักรักษาบ้านเมืองที่กว้างขวางถึงเพียงนั้นได้ และพญามังรายทรงเห็นชอบด้วย

มิตรภาพระหว่างพระมหากษัตริย์ทั้งสามพระองค์นี้ ทำให้แต่ละพระองค์ทรงสามารถขยายดินแดนไปได้อย่างไม่ต้องทรงพะวงหน้าพะวงหลัง

ในการปกครองบ้านเมือง พญามังรายทรงอาศัยประมวลกฎหมายที่เรียก "วินิจฉัยมังราย" หรือ "มังรายศาสตร์" ซึ่งเป็นราชศาสตร์ (พระราชบัญญัติประกอบพระธรรมศาสตร์) อันกลั่นกรองมาจากคำวินิจฉัยที่พระมหากษัตริย์มีไว้ แล้วประมวลเข้าเป็นหมวดเป็นหมู่ ในรัชกาลพญามังราย วินิจฉัยมังรายมีเพียงยี่สิบสองมาตรา ประกอบด้วย เรื่องการหนีศึก ความชอบในสงคราม หน้าที่ของไพร่ในอันที่จะต้องเข้าเวรมาทำงานหลวงสิบวัน กลับบ้านไปทำไรไถ่นาสิบวัน สลับกันไป และเรื่องที่ดิน ภายหลังมีการแก้ไขเพิ่มเติมจนยาวขึ้นอีกสิบเท่า

วินิจฉัยมังรายฉบับเก่าแก่ที่สุดหลงเหลือมาถึงปัจจุบันเพียงฉบับเดียว คือ ที่พบ ณ วัดเสาไห้ คัดลอกเอาไว้เมื่อ พ.ศ. 2342 และต่อมา ราชบัณฑิตยสถานแปลเป็นภาษาปัจจุบันเมื่อ พ.ศ. 2514

อนึ่ง พญามังรายทรงให้ช่างก่อเจดีย์กู่คำ ณ วัดเจดีย์เหลี่ยม เวียงกุมกาม พญามังรายยังโปรดให้นายช่างชื่อ การโถม สร้างอารามพระอาหารขึ้นที่เมืองน่าน กับทั้งทรงสร้างพระพุทธมหาปฏิมากรห้าพระองค์ สูงใหญ่เท่าพระวรกายของพระองค์ ตลอดจนมหาวิหารและเจดีย์อีกเป็นมากไว้ที่วัดดังกล่าวด้วย นายช่างการโถมปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเป็นที่พอพระราชหฤทัย จึงโปรดให้เขาไปครองเมืองรอย (ต่อมาสถาปนาเป็นเมืองเชียงแสน) และพระราชทานนามวัดนั้นว่า "วัดการโถม" (ปัจจุบันคือ วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน)

พญามังรายมีพระราชบุตรเท่าใดไม่ปรากฏชัด แต่ปรากฏว่า พระราชบุตรพระองค์หัวปี พระนามว่า ขุนเครื่อง นั้น ทรงให้ไปครองเมืองเชียงราย แต่ภายหลังคิดกระบถ จึงทรงให้คนไปฆ่าทิ้งเสีย พระราชบุตรพระองค์ที่สอง คือ ขุนคราม ผู้ตีได้นครเขลางค์ดังกล่าวข้างต้น และพระองค์ที่สาม คือ ขุนเครือ โปรดให้กินเมืองพร้าว แต่ต่อมาถูกพระองค์เนรเทศไปเมืองกองใต้ และชาวไทยใหญ่พากันสร้างเมืองใหม่ให้ขุนเครือปกครองแทน

พญามังรายทรงต้องอสนีบาตถึงแก่พระชนมชีพกลางเมืองเชียงใหม่ใน พ.ศ. 1854 สิริพระชนม์เจ็ดสิบสามพรรษา และพญาไชยสงครามเสวยราชย์สืบมา

พ้นรัชกาลพญามังรายแล้ว ราชวงศ์มังรายครอบครองอาณาจักรล้านนาเป็นเอกราชอยู่ระยะหนึ่ง โดยเคยขยายอาณาบริเวณมาครอบคลุมเมืองพะเยา น่าน ตาก แพร่ สวรรคโลก และสุโขทัยด้วย กระทั่ง พ.ศ. 2101 ถูกพม่าตีแตก แล้วก็กลายเป็นเมืองขึ้นพม่าบ้าง เป็นอิสระบ้าง และเป็นเมืองขึ้นกรุงศรีอยุธยาบ้าง สลับกันไปดังนี้เป็นเวลาสองร้อยปี จนร่วมมือกับอาณาจักรรัตนโกสินทร์ขับพม่าออกจากดินแดนได้อย่างสิ้นเชิง และเข้ารวมเป็นประเทศไทยในปัจจุบัน

กลางเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 มีผู้ตัดต่อภาพอนุสาวรีย์พญามังราย โดยนำสัญลักษณ์ "ชอบ" หรือ "ไลก์" (like) ของเฟซบุ๊กไปติดกับพระหัตถ์พญามังราย แล้วนำลงเผยแพร่ในเฟซบุ๊กหน้า "ไลค์ดะ" พร้อมทั้งเรียกภาพตัดต่อนั้นว่า "พ่อขุนเม็งไลก์" ส่งผลให้บุคคลจำนวนหนึ่งไม่พอใจและพากันเข้าไปต่อว่าเจ้าของเฟซบุ๊กหน้า "ไลค์ดะ" เป็นข้อความหยาบคายต่าง ๆ แต่เจ้าของเฟซบุ๊กหน้าดังกล่าวยืนยันว่าไม่เป็นความผิด ต่อมาวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555 มงคล สิทธิหล่อ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย แถลงว่า เตรียมดำเนินคดีต่อเจ้าของเฟซบุ๊กหน้า "ไลค์ดะ" และวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555 ชาวเชียงรายบางกลุ่มประท้วงเดินขบวนที่บริเวณอนุสาวรีย์พญามังรายในอำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ขณะที่เจ้าของเฟซบุ๊กหน้า "ไลค์ดะ" เลิกเฟซบุ๊กหน้าดังกล่าวไปก่อนนั้นแล้ว

อนึ่ง วันที่ 14–20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 มีการประชุมผู้นำด้านน้ำแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 2 (2nd Asia–Pacific Water Summit) หรือการประชุมน้ำโลก ครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นการประชุมนานาชาติ จัดขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ในการประชุมมีการแสดงละครเวทีว่าด้วยเรื่องราวของพญามังราย และผู้ที่รับบทพญามังราย คือ ปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและรองนายกรัฐมนตรี โดยมีการพรรณนาลักษณะการแต่งกายและท่าทางว่า "ชุดกษัตริย์ล้านนาโบราณ เปลือยท่อนบน โชว์พุงหลาม นุ่งผ้านุ่ง มีทับทรวงและมงกุฎ กำลังชี้นิ้วขึ้นฟ้าไปท้ารบเทวดาบนฟ้า" ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสม

"พญาเม็งราย...พระนามที่ถูกต้องว่า พญามังราย ทั้งนี้ ปรากฏตามหลักฐานในศิลาจารึก ตำนาน และเอกสารดั้งเดิมทุกชนิด ยกเว้นพงศาวดารโยนกที่พระยาประชากิจกรจักร์เรียบเรียงขึ้น และเอกสารที่อ้างอิงพงศาวดารโยนกในชั้นหลัง ซึ่งใช้พระนาม เม็งราย"


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301