ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ฝ่ายอักษะ

ฝ่ายอักษะ (อังกฤษ: Axis Powers; เยอรมัน: Achsenm?chte; อิตาลี: Potenze dell'Asse; ญี่ปุ่น: ???) เป็นกลุ่มประเทศมหาอำนาจทางการทหารซึ่งสู้รบกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง ประกอบด้วยสามประเทศหลัก คือ นาซีเยอรมนี อิตาลี และจักรวรรดิญี่ปุ่น ซึ่งทั้งสามร่วมลงนามสนธิสัญญาไตรภาคี เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1940 ฝ่ายอักษะขยายอิทธิพลของตนในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ครอบคลุมพื้นที่หลายส่วนของทวีปยุโรป ทวีปแอฟริกา เอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมหาสมุทรแปซิฟิก ทว่า สงครามโลกครั้งที่สองยุติลงด้วยความพ่ายแพ้ของฝ่ายอักษะ ทำให้ฝ่ายอักษะต้องสูญเสียอำนาจและพื้นที่จำนวนมากที่ยึดครองมาได้ เช่นเดียวกับฝ่ายสัมพันธมิตร สมาชิกภาพของกลุ่มประเทศฝ่ายอักษะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดช่วงสงคราม

คำว่า "อักษะ" (Axis) เชื่อกันว่าเป็นคำสร้างของนายกรัฐมนตรีฟาสซิสต์ฮังการี กยูลา เกิมเบิส ผู้ให้การสนับสนุนการลงนามเป็นพันธมิตรระหว่างเยอรมนี ฮังการีและอิตาลี ซึ่งตนเป็นตัวกลางเชื่อมความแตกต่างระหว่างเยอรมนีและอิตาลีเพื่อให้บรรลุข้อตกลงความเป็นพันธมิตรระหว่างกัน การถึงแก่อสัญกรรมอย่างกะทันหันของเกิมเบิสในปี ค.ศ. 1936 เป็นการยุติการเจรจาระหว่างฮังการีกับเยอรมนี และความพยายามสร้างอักษะสามฝ่ายของฮิตเลอร์ แต่ก่อนหน้านั้น การตกลงระหว่างเยอรมนีและอิตาลีได้นำไปสู่การตั้งอักษะสองฝ่ายเรียบร้อยแล้ว[ต้องการอ้างอิง]

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1936 ผู้นำอิตาลี เบนิโต มุสโสลินี ใช้คำว่า "อักษะ" เป็นคนแรก[ต้องการอ้างอิง] เมื่อเขากล่าวถึงแกนโรม-เบอร์ลิน ซึ่งลงนามเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1936 มุสโสลินีประกาศว่า ความเป็นแกนกลางของทั้งสองประเทศจะทำให้ประเทศอื่นต้องโคจรรอบ อิตาลีร่างสนธิสัญญาดังกล่าวก่อน ในตอนแรก เยอรมนีปฏิเสธที่จะลงนาม และถูกสันนิบาติชาติต่อต้านเพราะการทำสงครามในเอธิโอเปีย และได้รับการสนับสนุนจากเยอรมนี ต่อมา เมื่อถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1939 ความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นขึ้นระหว่างอิตาลีและเยอรมนีนำไปสู่การลงนามความเป็นพันธมิตร ซึ่งมุสโสลินีเรียกสนธิสัญญาดังกล่าวว่า "สนธิสัญญาเหล็ก"

ส่วนการรวมตัวกันเป็น "ฝ่ายอักษะ" อย่างเป็นทางการได้ชื่อหลังการลงนามสนธิสัญญาไตรภาคีระหว่างเยอรมนี อิตาลีและญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 1940 ในกรุงเบอร์ลิน ซึ่งต่อมามีประเทศเข้าร่วมอีก โดยประเทศที่ทรงอำนาจทางทหารมากที่สุด ได้แก่ เยอรมนีและญี่ปุ่น โดยก่อนหน้าการลงนามสนธิสัญญาไตรภาคี เยอรมนีและญี่ปุ่นเป็นพันธมิตรกันหลังร่วมลงนามสนธิสัญญาต่อต้านองค์การคอมมิวนิสต์สากล

เยอรมนีถือได้ว่าเป็นผู้นำของกลุ่มประเทศฝ่ายอักษะอย่างไม่เป็นทางการ เนื่องจากว่าเยอรมนีมีกองทัพขนาดใหญ่ที่สุดและมีวิทยาการเจริญก้าวหน้าที่สุดในกองทัพประเทศฝ่ายอักษะทั้งหมด ภายใต้การนำของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์แห่งพรรคนาซี

นโยบายด้านการต่างประเทศของเยอรมนีเกี่ยวข้องกับการเหยียดเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชาวยิวและชาวโซเวียต รวมไปถึงแนวคิดที่จะสร้างมหาจักรวรรดิเยอรมัน ซึ่งเป็นการรวมเอาประชากรเชื้อชาติเยอรมันทั้งหมดในทวีปยุโรปมาอยู่ภายใต้การปกครองเดียวกัน และยังรวมไปถึงแนวคิดเลเบนสเราม์ ซึ่งเป็นการแสวงหาดินแดนแถบยุโรปตะวันออก

เยอรมนีเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สองเมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 ภายหลังการบุกครองโปแลนด์ นักประวัติศาสตร์หลายคนเชื่อว่า จุดเปลี่ยนที่นำไปสู่หายนะของกองทัพเยอรมัน คือ การรุกรานสหภาพโซเวียต รวมไปถึงการเข้าร่วมสงครามของสหรัฐอเมริกา หลังจากการทำศึกหลายด้าน นำไปสู่ความพ่ายแพ้ของเยอรมนีในที่สุด เยอรมนียอมจำนนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1945

ญี่ปุ่นถือว่าเป็นประเทศฝ่ายอักษะที่ยิ่งใหญ่ในภาคพื้นเอเชียและมหาสมุทรแปซิฟิก ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิฮิโรฮิโตในเวลานั้น

ผลสืบเนื่องมาจากปัญหาทางเศรษฐกิจในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 ได้นำไปสู่การปกครองในระบอบเผด็จการทหาร จักรวรรดิญี่ปุ่นมีนโยบายในการขยายอาณาเขตของตนและการปลดปล่อยชาติเอเชียจากการยึดครองของชาติตะวันตก หรือที่รู้จักกันว่า วงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา นโยบายขยายอาณาเขตทำให้เกิดการบาดหมางกับสันนิบาติชาติ แต่ทำให้เกิดความใกล้ชิดกันระหว่างญี่ปุ่นกับเยอรมนีและอิตาลี ซึ่งมีนโยบายในการขยายอาณาเขตในรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน ก้าวแรกในการร่วมมือทางการทหารกับเยอรมนี คือ การลงนามในสนธิสัญญาต่อต้านองค์การคอมมิวนิสต์สากล ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อปกป้องตนเองจากการโจมตีของสหภาพโซเวียต

การรบครั้งสำคัญของญี่ปุ่น เริ่มจาก สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สองในปี ค.ศ. 1937 การสู้รบตามแนวชายแดนของสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1938-1939 ต่อมา ญี่ปุ่นได้หาทางเจรจาสงบศึกกับสหภาพโซเวียตและลงนามในสนธิสัญญาความเป็นกลางโซเวียต-ญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 1941

ขณะที่มหาอำนาจยุโรปเฝ้าติดตามสถานการณ์สงครามในทวีปยุโรป ญี่ปุ่นจึงเตรียมการรุกรานอาณานิคมของชาติตะวันตกในแถบเอเชีย เริ่มจากการยึดครองอินโดจีนของฝรั่งเศส ตามด้วยการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์และการยกพลขึ้นบกในหลายประเทศในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกหลังวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 แต่เมื่อสงครามมาถึงจุดเปลี่ยน ญี่ปุ่นจึงต้องกลายเป็นฝ่ายตั้งรับจนกระทั่งยอมจำนนหลังจากการทิ้งระเบิดปรมาณูทั้งสองลูกและการรุกรานแมนจูเรีย ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945

อิตาลีอยู่ภายใต้การปกครองของผู้นำเผด็จการ เบนิโต มุสโสลินี ในพระนามของ พระเจ้าวิคเตอร์ อิมมานูเอลที่ 3

อิตาลีซึ่งผิดหวังจากการทำสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง จากความระส่ำระสายของบ้านเมืองและภาวะเศรษฐกิจตกต่ำได้นำไปสู่การก้าวขึ้นสู่อำนาจของมุสโสลินีในปี ค.ศ. 1922 แนวคิดของฟาสซิสต์อิตาลี คือ การสร้างจักรวรรดิโรมันใหม่ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งเพื่อครอบครองดินแดนแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เริ่มจากการทำสงครามกับเอธิโอเปีย และการลงนามในสนธิสัญญาต่อต้านองค์การคอมมิวนิสต์สากลในปีต่อมา ในเดือนมีนาคม-เมษายน ค.ศ. 1939 อิตาลีได้ผนวกแอลเบเนีย ตามมาด้วยการลงนามในสนธิสัญญาเหล็ก ในวันที่ 22 พฤษภาคม

อิตาลีเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สองในวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1940 ต่อมา ในเดือนกันยายน เยอรมนี อิตาลีและญี่ปุ่นได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาไตรภาคี อย่างไรก็ตาม การทำสงครามของอิตาลีประสบความพ่ายแพ้หลายครั้ง ทั้งในกรีซ และในอียิปต์ ทำให้เยอรมนีต้องเข้าแทรกแซงการรบทั้งในกรีซ ยูโกสลาเวียและในแอฟริกาเหนือ ในปี ค.ศ. 1943 มุสโสลินีถูกปลดออกจากตำแหน่ง และประกาศเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร

ต่อมา ในวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 1943 มุสโสลินีได้รับการช่วยเหลือจากกองทัพเยอรมันในปฏิบัติการโอ๊ก และฮิตเลอร์ได้สร้างรัฐบาลหุ่นเชิดขึ้น โดยเรียกว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมอิตาลี ซึ่งล่มสลายภายหลังจากการยอมแพ้ของกองทัพเยอรมันในอิตาลี เมื่อปี ค.ศ. 1945

ประเทศฮังการี ได้ลงนามในสนธิสัญญาไตรภาคี และได้กลายเป็นประเทศฝ่ายอักษะที่ส่งกองกำลังเข้าร่วมกองทัพพันธมิตรอักษะในการบุกสหภาพโซเวียต

ประเทศโรมาเนีย ได้ลงนามในสนธิสัญญาไตรภาคี และได้กลายเป็นประเทศฝ่ายอักษะที่ส่งกองกำลังเข้าร่วมกองทัพพันธมิตรอักษะในการบุกสหภาพโซเวียต

ประเทศบัลแกเรีย ได้ลงนามในสนธิสัญญาไตรภาคี และได้กลายเป็นประเทศฝ่ายอักษะที่ส่งกองกำลังเข้าร่วมกองทัพพันธมิตรอักษะในการบุกสหภาพโซเวียต

ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล จอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ประเทศไทยอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหาร เป็นช่วงที่มีการปลูกฝังลัทธิชาตินิยมอย่างเข้มข้น

วันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 1940 (พ.ศ. 2483) คณะนิสิตและนักศึกษาได้เดินขบวนและเรียกร้องให้รัฐบาลเรียกร้องดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงคืนจากฝรั่งเศส ซึ่งเสียไปหลังวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 จากการสนับสนุนอย่างท่วมท้นของประชาชนไทย รัฐบาลจึงได้ส่งกองทัพข้ามแม่น้ำโขงไปโจมตีประเทศลาวและกัมพูชา ซึ่งขณะนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของอินโดจีนฝรั่งเศส การรบที่เป็นที่กล่าวขานมาก คือ ยุทธนาวีเกาะช้าง ซึ่งก็ทำให้เรือรบฝรั่งเศสไม่กล้าเข้ามาในอ่าวไทยอีก การสู้รบยังคงดำเนินต่อไป จนกระทั่งญี่ปุ่นเป็นผู้เข้ามาเป็นผู้ไกล่เกลี่ยในการเจรจาสงบศึก และภายหลังสงครามไทย-ฝรั่งเศสสิ้นสุดเมื่อ พ.ศ. 2484 ไทยก็ได้ดินแดนเพิ่มเข้ามาอีก 4 จังหวัด คือ จังหวัดนครจัมปาศักดิ์ จังหวัดลานช้าง จังหวัดพิบูลสงครามและจังหวัดพระตะบอง เหตุการณ์ครั้งนี้ภายหลังได้ชื่อว่า "กรณีพิพาทอินโดจีน"

หลังสงคราม ได้เป็นที่คาดหมายว่า ญี่ปุ่นจะยาตราทัพเข้าสู่ไทยในอนาคต รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงครามจึงมีการรณรงค์ให้ประชาชนทำงาน ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และเสริมสร้างเศรษฐกิจ และรัฐบาลยังได้เปิดเพลงปลุกใจซึ่งถูกกระจายเสียงโดยสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย

วันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1941 (พ.ศ. 2484) กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกในหลายจังหวัดของภาคกลางและภาคใต้ แต่ก็ได้รับการต้านทานอย่างหนักของทหารไทยและยุวชนทหาร ทางด้านรัฐบาลได้รับคำขู่จากอัครราชทูตญี่ปุ่นให้เปิดดินแดน เนื่องจากมองเห็นว่ากองทัพไทยไม่อาจต้านกองทัพญี่ปุ่นไว้ได้นาน จึงยอมยุติการต่อสู้เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม และได้ตกลงลงนามร่วมเป็นพันธมิตรของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ณ อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

ขณะเดียวกัน ในต่างประเทศ มีผู้ที่ไม่อาจยอมรับตัดสินใจของรัฐบาล หนึ่งในนั้น คือ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศขบวนการเสรีไทยขึ้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม เนื่องจากท่านมีความเห็นว่าสหรัฐอเมริกามีขีดความสามารถทางอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสูงกว่า ทางด้านในประเทศเองก็มีบุคคลจากคณะราษฎรภายในประเทศไทยที่ดำเนินการต่อต้านญี่ปุ่นในทางลับ เช่น นายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งต่อมาได้เกิดเป็นขบวนการเสรีไทยทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ทางด้านฝ่ายสัมพันธมิตรก็เริ่มเข้ามาทิ้งระเบิดภายในพระนครเมื่อย่างเข้า ค.ศ. 1942 (พ.ศ. 2485) หลังจากนั้น รัฐบาลไทยก็ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1942 (พ.ศ. 2485)

หลังจากญี่ปุ่นได้ยอมจำนนเมื่อ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1945 (พ.ศ. 2488) นายควง อภัยวงศ์ ซึ่งได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีแทนจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ออก "ประกาศสันติภาพ" มีผลให้การประกาศสงครามของไทยต่อฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นโมฆะ ทำให้ประเทศไทยไม่ตกอยู่ในฐานะผู้แพ้สงคราม แต่ทางฝ่ายอังกฤษไม่ยอมรับ และเรียกร้องสิทธิจากไทยในฐานะของผู้แพ้สงคราม นายควง อภัยวงศ์ได้ลาออกจากเก้าอี้นายกรัฐมนตรี และร้องขอให้ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมชขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน ด้านม.ร.ว.เสนีย์ก็สามารถเจรจากับอังกฤษและสามารถตกลงกันได้ในที่สุด

ประเทศฟินแลนด์ ได้ลงนามในสนธิสัญญาไตรภาคี และได้กลายเป็นประเทศฝ่ายอักษะที่ส่งกองกำลังเข้าร่วมกองทัพพันธมิตรอักษะในการบุกสหภาพโซเวียต ต่อมาได้เปลี่ยนฝ่ายมาเป็นสัมพันธมิตร เมื่อในปี พ.ศ. 2487 เมื่อต่อสู้ขับไล่นาซีเยอรมนีออกจากตอนเหนือของฟินแลนด์ในสงครามแลปแลนด์

ประเทศอิรัก ได้เป็นประเทศพันธมิตรอักษะในช่วงสั้นๆ โดยได้ต่อสู้กับสหราชอาณาจักรในช่วงสงครามอังกฤษ-อิรักในเดือน พ.ค. 1941

สาธารณรัฐสังคมนิยมอิตาลี (อิตาลี: Repubblica Sociale Italiana, RSI) เป็นรัฐหุ่นเชิดของนาซีเยอรมนีระหว่างช่วงหลังของสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นการเกิดใหม่ของรัฐฟาสซิสต์อิตาลี นำโดย ดูเชเบนิโต มุสโสลินีและพรรคฟาสซิสต์สาธารณรัฐนิยมปฏิรูปของเขา รัฐดังกล่าวประกาศว่ากรุงโรมเป็นเมืองหลวง แต่เนื่องจากโรมไม่อยู่ภายใต้การควบคุม โดยพฤตินัยจึงกระจุกอยู่รอบซาโล อันเป็นสำนักงานใหญ่ของมุสโสลินีและกระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐสังคมนิยมอิตาลีมีอำนาจอธิปไตยในนามในทางเหนือของอิตาลี แต่ต้องพึ่งพาทหารเยอรมันเพื่อรักษาการควบคุมเป็นส่วนใหญ่

ฝรั่งเศสและอาณานิคมของจักรวรรดิภายใต้รัฐบาลวิชีของฟีลิป เปแต็ง ได้ร่วมมือกับฝ่ายอักษะ ตั้งแต่ปี 1940 ไปจนถึงปี 1944 เมื่อรัฐบาลถูกโค่นล้ม

เมื่อนาซีเยอรมนีบุกยึดกรุงปารีสได้ในวันที่ 14 มิถุนายน 1940 ในยุทธการฝรั่งเศส เปแต็งเป็นนายกรัฐมนตรีคนสุดท้ายของสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3

สหภาพโซเวียตได้ร่วมมือกับนาซีเยอรมันในเรื่องการบุกเข้ายึดประเทศโปแลนด์ในปี ค.ศ. 1939 โดยนาซีเยอรมันจะบุกจากทางตะวันตก ส่วนสหภาพโซเวียตบุกมาทางด้านตะวันออก ทำให้ประเทศโปแลนด์ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนโดยนาซีเยอรมันครอบครองโปแลนด์ทางตะวันตก ส่วนสหภาพโซเวียตครอบครองโปแลนด์ทางตะวันออก ต่อมาทั้งสองประเทศได้ทำสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพคือ การไม่รุกรานกัน เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 1939 แต่ทว่านาซีเยอรมันกลับฉีกสันธิสัญญาฉบับนี้ไป เมื่อส่งกองทัพบุกโจมตีสหภาพโซเวียตในปฏิบัติการบาร์บารอสซา โซเวียตจึงได้เปลี่ยนฝ่ายเป็นสัมพันธมิตร

ประเทศสเปนมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อประเทศนาซีเยอรมันและประเทศอิตาลี ซึ่งในช่วงสงครามกลางเมืองสเปน นาซีเยอรมันและประเทศอิตาลีได้ให้การสนับสนุนสเปนชาตินิยมโดยอยู่ภายใต้การนำของจอมพลฟรันซิสโก ฟรังโก ด้วยการส่งทหาร เครื่องบิน รถถัง และอาวุธ โดยรัฐบาลอิตาลีได้จัดหา "กองทหารอาสาสมัคร" (อิตาลี: Corpo Truppe Volontarie) และเยอรมนีได้ส่ง "กองพันนกแร้ง" (อังกฤษ: Legion Condor) โดยอิตาลีได้ส่งทหารไปยังสเปนกว่า 75,000 นาย ส่วนเยอรมนีส่งทหารไป 19,000 นาย ทำให้สเปนชาตินิยมชนะเหนือฝ่ายสาธารณรัฐสเปนได้สำเร็จ ต่อมาเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองได้อุบัติขึ้น ในระยะแรกประเทศสเปนซึ่งอยู่ภายใต้การนำของฟรังโกได้ยืนอยู่ข้างเยอรมนีและอิตาลีในลักษณะผู้ไม่เข้าร่วมประกาศสงครามมากว่าการเป็นประเทศไม่ฝักไฝ่ฝ่ายใด แต่อย่างไรก็ดี ในปี พ.ศ. 2486 ฟรังโกได้ปรับเปลี่ยนนโยบาย นำเอาประเทศสเปนออกจากการเกี่ยวข้องกับฝ่ายอักษะได้อย่างชาญฉลาด ทำให้สเปนไม่ต้องตกอยู่ในฐานะผู้แพ้สงคราม


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301