สถานีรถไฟ คืออาคารหรือกลุ่มอาคาร ที่ใช้เป็นจุดจอด แวะพัก เปลี่ยนขบวน สำหรับการเดินรถไฟ มีการรับส่งผู้โดยสารเป็นภารกิจหลัก และรับส่งสินค้าบ้างเป็นครั้งคราว
สถานีทั่วไป เป็นสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งเปิดรับส่งผู้โดยสาร และ/หรือสินค้า และเป็นสถานที่ซึ่งมีนายสถานีประจำอยู่และอนุญาตให้รถไฟเดินไปมาตามระเบียบการเดินรถ เช่น สถานีรถไฟคลองมะพลับ สถานีรถไฟแม่ตานน้อย ในเส้นทางสายเหนือ สถานีรถไฟแผ่นดินทอง สถานีบ้านแสลงพัน ในเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ สถานีรถไฟบ้านดงบัง สถานีรถไฟองครักษ์ ในเส้นทางสายตะวันออก และสถานีรถไฟบูกิ๊ต สถานีรถไฟแสงแดด ในเส้นทางสายใต้
สถานีชุมทาง เป็นสถานีที่ทางรถไฟสายหลัก และสายแยก แยกออกจากกัน ทั้งนี้ สถานีชุมทางก็มีคุณสมบัติเหมือนกันกับสถานีทั่วไปเช่นกัน กล่าวคือ เป็นสถานที่รับส่งผู้โดยสาร และ/หรือสินค้า และเป็นสถานที่ซึ่งมีนายสถานีประจำอยู่และอนุญาตให้รถไฟเดินไปมาตามระเบียบการเดินรถ ปัจจุบัน การรถไฟแห่งประเทศไทย มีสถานีชุมทางทั้งหมด 16 สถานี คือ
อนึ่งทั้งสถานีทั่วไปและสถานีชุมทางนั้น จัดให้อยู่ในประเภทเดียวกันคือ ประเภท สถานีรถไฟ โดยแบ่งชั้นสถานีเป็น 5 ระดับ ตามปริมาณรายได้จากการโดยสาร จำนวนประชากรในชุมชน และความสำคัญในการเดินรถไฟ (เช่น เป็นที่ตั้งของแขวงเดินรถ เป็นต้น) ดังนี้
เป็นสถานที่ที่ซึ่งขบวนรถหยุดเพื่อรับส่งผู้โดยสาร แต่ไม่มีการขนส่งสินค้าขึ้นลง รวมไปถึงป้ายหยุดรถไฟจะไม่มีนายสถานีอยู่ประจำ ป้ายบอกชื่อทำด้วยเหล็ก เป็นตั้งแต่ก่อสร้าง ตัวอย่างเช่น ป้ายหยุดรถไฟอุรุพงษ์ ป้ายหยุดรถไฟพญาไท ในเส้นทางสายตะวันออก ป้ายหยุดรถไฟนิคมรถไฟ กม.11 ในเส้นทางสายเหนือ ป้ายหยุดรถไฟบ้านหนองกันงาในเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ และป้ายหยุดรถไฟจรัญสนิทวงศ์ ป้ายหยุดรถไฟสะพานจุฬาลงกรณ์ ป้ายหยุดรถไฟสวนสนประดิพัทธ์ในเส้นทางสายใต้
เป็นสถานีที่ซึ่งขบวนรถหยุดเพื่อรับส่งผู้โดยสาร และขนส่งสินค้าขึ้นลง แต่ไม่มีนายสถานีอยู่ประจำ ป้ายทำด้วยปูน อาจเป็นที่หยุดรถตั้งแต่ก่อสร้างหรือสถานีที่ ถูกลดระดับ เช่น ที่หยุดรถไฟบ้านแต้ ที่หยุดรถไฟบ้านไร่ ในเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ ที่หยุดรถไฟห้วยโรง ที่หยุดรถไฟปากแพรก ที่หยุดรถไฟเขาหลุง ในเส้นทางสายใต้ ที่หยุดรถไฟผาคอ ที่หยุดรถไฟแม่พวก ที่่หยุดรถไฟนวนคร ในทางรถไฟสายเหนือ และ ที่หยุดรถไฟไทย ชายแดนไทย-กัมพูชา ในทางรถไฟสายตะวันออก เป็นต้น
สถานีรถไฟเฉพาะกิจ คือสถานีที่ตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ เช่น เป็นสถานีขนส่งสินค้าอย่างเดียวไม่รับผู้โดยสาร (บางแห่งรับผู้โดยสารร่วมด้วย) นอกจากนี้ อาจจะเป็นสถานีสำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ เช่น สถานีรถไฟหลวงสวนจิตรลดา