ปืนเล็กยาวจู่โจม หรือ ปืนไรเฟิลจู่โจม (อังกฤษ: Assault rifle) เป็นปืนเล็กยาว หรือปืนเล็กสั้น (Carbine) ยิงด้วยระบบอัตโนมัติหรือกึ่งอัตโนมัติไปตามวงรอบจนกว่ากระสุนจะหมด ด้วยอัตราการยิงสูง ปืนเล็กยาวจู่โจมจัดเป็นอาวุธประจำกายของทหารในราชการกองทัพ ตามหลักนิยมในการจัดกำลัง 1 หมู่ (Squad) จะมีพลปืนเล็กจำนวน 5 นายและอีก 1 นายใช้ปืนเล็กกลหรือปืนกลเบา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการรบ เช่น เอ็ม1 กาแรนด์และเอสวีที-40 ในสงครามโลกครั้งที่สอง ตัวอย่างปืนเล็กยาวจู่โจม เช่น เอเค 47 เอ็ม16 ฟามาส สไตเออร์ เอยูจี ปืนเล็กยาวกึ่งอัตโนมัติ ได้แก่ เออาร์-15
คำว่าปืนเล็กยาวจู่โจมหรือปืนไรเฟิลจู่โจมนั้นเป็นคำแปลมาจากคำในภาษาเยอรมัน คือ Sturmgewehr ("ไรเฟิลพายุ") ที่ตั้งโดยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ "พายุ"ถูกใช้เป็นการเปรียบเทียบกิริยาการโจมตี อย่างการระดมโจมตีที่เสมือนพายุกระหน่ำ
การแปลความหมายของปืนเล็กยาวจู่โจมหรือปืนไรเฟิลจู่โจมกลายมาเป็นชื่อโดยทั่วไปของอาวุธปืนที่ได้รับออกแบบเหมือนกับเอสทีจี 44 (Sturmgewehr 44, StG 44) ในการจำกัดความนั้น อาวุธปืนจะต้องมีสิ่งต่อไปนี้จึงจะจัดว่าเป็นปืนเล็กยาวจู่โจม
กองทัพสหรัฐฯ นิยามปืนเล็กยาวจู่โจมไว้ว่า"เป็นอาวุธที่สั้น กระชับ มีระบบการยิงที่เลือกได้ ซึ่งใช้กระสุนที่มีอำนาจการยิงระหว่างปืนพกกับปืนเล็กยาว"
ข้อจำกัดหลักตามสหรัฐอเมริกาในคำว่าอาวุธจู่โจม (อังกฤษ: assault weapon) เป็นคำทางกฎหมาย แยกจากคำที่ใช้ทางเทคนิค ใช้เพื่อบรรยายถึงอาวุธปืนกึ่งอัตโนมัติที่มีจุดเด่นเหมือนกับปืนเล็กยาวจู่โจมของกองทัพ มีการนิยามว่าปืนเล็กยาวจู่โจมต้องใช้แมกกาซีนที่ถอดออกได้และเป็นอาวุธปืนกึ่งอัตโนมัติ และดังนี้
การห้ามอาวุธจู่โจมไม่ได้จำกัดอาวุธที่สามารถยิงได้อย่างอัตโนมัติ อย่าง ปืนเล็กยาวจู่โจมและปืนกล อาวุธที่เป็นอัตโนมัติสมบูรณ์ไม่ได้รับผลจากการสั่งห้ามและยังถูกควบคุมอยู่
ตั้งแต่สมัยโบราณ ทหารราบเบาต้องต่อสู้ในรูปขบวนที่กระจายออก ในขณะที่ทหารราบหนักต้องต่อสู้ในรูปขบวนที่แน่นหนา สิ่งนี้ทำให้อาวุธขว้างและหอกถูกแทนที่ด้วยปืนคาบศิลาและดาบปลายปืน เครื่องแบบที่มีสีสด (เยอรมัน=น้ำเงิน รัสเซีย=เขียว อังกฤษ=แดง ฝรั่งเศส=ขาว) กลายมาเป็นพื้นฐานของหน่วยที่ต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้มองเห็นได้ท่ามกลางกลุ่มควันจากดินปืน ปืนคาบศิลาไร้ความแม่นยำในระยะไกลตั้งแต่ 50-100 เมตรและบรรจุกระสุนได้ช้า ซึ่งนำไปสู่รูปขบวนแบบหลายแถวเพื่อเพิ่มอำนาจการยิงและทำให้มั่นใจว่าส่วนหนึ่งของหน่วยจะต้องเตรียมพร้อมสำหรับการยิงเสมอ รูปขบวนที่แน่นยังช่วยให้นายทหารควบคุมคนของเขาได้ขณะทำการต่อสู่
การนำปืนคาบศิลาที่ภายในลำกล้องเป็นเกลียวนั้นเริ่มในทศวรรษที่ 19 ได้เพิ่มระยะและอำนาจการยิงของปืน และทำการรบจากรูปขบวนที่สร้างการนองเลือด อย่างที่เห็นได้ในสงครามกลางเมืองอเมริกัน นักวางแผนยุทธการได้ให้การเน้นสำคัญไปที่อาวุธปืนมากขึ้นให้มีความแม่นยำ ไว้ใจได้ และอัตราการยิงที่ดี ทหารม้าเลิกใช้ม้าและลงมาใช้ปืนเล็กยาวแทน
หลังจากสงครามกลางเมืองอเมริกันการพัฒนาเพิ่มอย่างการใช้ปืนเล็กยาวที่ใช้แมกกาซีน ปืนกล และระเบิดแรงสูงจากปืนใหญ่ได้นำจุดจบมาสู่รูปขบวนแบบหนาแน่นในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง มันหมายถึงในทางปฏิบัติแล้วทหารราบไม่จำเป็นต้องปะทะกับศัตรูจากระยะไกลในสมรภูมิอีกต่อไป ปืนเล็กยาวแบบลูกเลื่อนพลังสูงในตอนนั้นไม่ต้องใช้ในระยะประชิดอีกแล้วในสงครามปัจจุบัน ผู้นำทางทหารและบริษัทผู้ผลิตอาวุธได้เริ่มทำอาวุธใหม่เพื่อสงครามยุคใหม่
อาวุธปืนอัตโนมัติต่อไปนี้คาดว่าใช้ก่อนที่จะมีปลอกกระสุนปืนเล็กยาว พลังงานเคลื่อนที่จะอยู่ระหว่าง 3,000-5,000 จูล ความเร็วที่ 750-900 เมตรต่อวินาที และลูกกระสุนหนัก 9-13 กรัม
การใช้งานของสิ่งที่เกิดก่อนปืนเล็กยาวจู่โจมคือเฟเดรอฟ อัฟโตมัทของรัสเซียในปีพ.ศ. 2458 และกระสุนปลอกขนาด 6.5x50 ม.ม.ของญี่ปุ่น แต่ของรัสเซียนั้นถูกใช้ในจำนวนที่น้อยมาก และมันยังไม่ใช่ปืนเล็กยาวจู่โจมจริงๆ ตามหลักปัจจุบันเพราะว่ามันไม่ใช้กระสุนแบบกลาง
ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ปืนโชแชท (Chauchat) ของฝรั่งเศสได้ปรากฏตัวขึ้น ปืนกลขนาดเบาและบรรพบุรุษของปืนเล็กยาวจู่โจมในปัจจุบัน มันถูกผลิตออกมาในจำนวนที่มาก (ประมาณ 250,000 กระบอก) เช่นเดียวกับปืนเล็กยาวจู่โจมในเวลาต่อมาคือมันสามารถยิงได้ทั้งแบบทีละนัดและแบบอัตโนมัติ และใช่แมกกาซีนและยังมีด้ามจับปืนพก เมื่อเทียบกับปืนกลขนาดเบาแบบอื่นในช่วงเวลานั้นโชแชทนั้นเบามากด้วยน้ำหนัก 9 กิโลกรัมแต่มันยังอุ้ยอ้ายในการต่อสู้ระยะใกล้และมีแรงถีบที่มากเกินที่จะควบคุมเมื่อยิงแบบอัตโนมัติเนื่องมาจากการใช้กระสุนที่ทรงพลังขนาด 8 ม.ม.หรือ .30-06 สปนิงฟีลด์ของสหรัฐฯ และกระสุนคาลิเบอร์ขนาด 7.92 หรือ 7.65 ถึงแม้ว่าจะมีข้อบกพร่องที่ร้ายแรงมันก็ยังสำคัญรบของทหารราบต่อทหารเยอรมันที่หมดหวังผู้ที่ไม่มีอาวุธที่เทียบเท่ากับปืนโชแชท พวกเยอรมันจึงเริ่มใช้อาวุธที่ยึดได้ ในขณะที่มันออกแบบมาเพื่อใช้กระสุนคาลิเบอร์เต็มขนาดและดังนั้นก็ไม่ได้ใช้ปลอกกระสุนกลาง มันเป็นอาวุธกลางระหว่างปืนกลมือและปืนกลขนาดหนักอย่างปืนเลวิส
ริเบย์รอล 1918 (Ribeyrolle 1918) อาจเป็นอาวุธขนาดกะทัดรัดที่เลือกการยิงได้แบบแรกโดยใช้กระสุนกลางที่ในปัจจุบันนิยามว่าเป็นปืนเล็กยาวจู่โจม ปลอกกระสุนมีพื้นฐานมาจากปลอก .351 วินเชสเตอร์และแคบจนเป็นกระสุน 8 ม.ม.เลเบล มันปรากฏตัวครั้งแรกในกองทัพเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2461 มันมีชื่อเป็นทางการว่าปืนคาร์บินกล Carabine Mitrailleuse (อังกฤษ: machine carbine; เยอรมัน: Maschinenkarabiner) มันถูกยกเลิกในปีพ.ศ. 2464 เพราะว่ามันไม่แม่นยำพอในระยะไกลเกิน 400 เมตร
ปืนเล็กกล เอ็ม 1918 บราวน์นิงหรือบาร์ (อังกฤษ: M1918 Browning Automatic Rifle, BAR) ได้เลียนแบบความคิดของโชแชทแต่ไม่ได้ผลิตออกมาหรือใช้ในจำนวนที่มากจนกระทั่งจบสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง การพัฒนาต่อมาได้เพิ่มลำกล้องและไฟพ็อคที่หนักขึ้นซึ่งทำให้มันเหมือนกับปืนกลขนาดเบาหรืออาวุธอัตโนมัติประจำหมู่ในปัจจุบัน บาร์รุ่นนี้ถูกผลิตออกมาจำนวนมาก ใช้อย่างกว้างขวาง และทำหน้าที่ได้ดีในทศวรรษที่ 1960 ในกองทัพของสหรัฐฯ และชาติอื่นๆ
ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ปืนกลมือได้เข้ามามีบทบาทเช่นกัน อย่างวิลลาร์ เพอโรซา เบเรทต้า โมเดล 1918 และเอ็มพี18 อาวุธเหล่านี้ได้มีองค์ประกอบเหมือนกันกับปืนเล็กยาวจู่โจม แต่พวกมันใช้กระสุนขนาด 9x19 ม.ม.ของของปืนพก ผู้สร้างปืนกลมือทอมป์สันเดิมทีตั้งใจที่จะใช้กระสุนของปืนเล็กยาว อย่างไรก็ตามระบบกลไกที่สามารถรับมือพลังของพวกมันได้นั้นไม่มีและกระสุน .45 เอซีพีจึงถูกเลือกมาใช้แทน อาวุธปืนเหล่านี้ถูกจัดว่าเป็นส่วนหนึ่งในชั้นของปืนกลมือ แต่เป็นขั้นตอนที่สำคัญในการพัฒนาปืนเล็กยาว