ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮัน

ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮัน (เกาหลี: ??? ?? , ฮันจา:??? ??, Hangangui Gijeok; อังกฤษ: Miracle on the Han River) เป็นการอ้างถึงการเจิญเติบโตอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจเกาหลีใต้ที่มีปัจจัยจากการส่งออก ซึ่งประกอบด้วยการเจริญเติบโตของภาคอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยี การตื่นตัวทางด้านการศึกษา คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง การขยายตัวอย่างรวดเร็วของชุมชนเมือง การขยายตัวของตึกระฟ้า ความทันสมัย ความประสบความสำเร็จในการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อน 1988 และเจ้าภาพร่วมฟุตบอลโลก 2002 การกลายเป็นประชาธิปไตยและโลกาภิวัตน์ ซึ่งเปลี่ยนแปลงประเทศเกาหลีใต้จากเถ้าถ่านในช่วงสงครามเกาหลีจนกลายร่ำรวยและประเทศพัฒนาแล้วในปัจจุบัน ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจระดับล้านล้านดอลลาร์สหรัฐและมีบรรษัทข้ามชาติ ที่เป็นที่รู้จักกันทั่วโลกอย่าง ซัมซุง แอลจี และกลุ่มบริษัทฮุนได

นอกจากนี้ คำว่า "ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮัน" ยังหมายถึงการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของโซล ซึ่งเป็นสถานที่ที่แม่น้ำฮันไหลผ่าน และยังหมายถึงช่วงระยะเวลาระหว่าง พ.ศ. 2496 ถึง 2539 ส่วนคำว่าปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำฮันมีที่มาจากคำว่า "ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำไรน์" ซึ่งเป็นเหตุการณ์การเกิดใหม่ทางเศรษฐกิจของประเทศเยอรมนีตะวันตกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเป็นผลบางส่วนมาจากแผนมาร์แชลล์ ศัพท์คำว่า "ปาฏิหาริย์" (miracle) ใช้อธิบายการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจหลังสงครามของประเทศเกาหลีใต้ จนกลายมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่อันดับที่ 13 ของโลก และเป็นต้นแบบในการพัฒนาประเทศของประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศ ถ้าพิจารณาจากเหตุการณ์ในขนะนั้นจะเห็นว่าการพัฒนาประเทศเกาหลีใต้นั้นไม่อาจเป็นไปได้ เช่น โครงสร้างพื้นฐานของโซลถูกทำลายไปในสงครามเกาหลี และชาวเกาหลีใต้หลายล้านคนอยู่ในสภาพยากจนและมีคนว่างงานอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งดิ้นรนเพื่อหาความต้องการพื้นฐานให้ได้ เมื่อนายพลพัก จองฮี ยึดอำนาจในปี พ.ศ. 2504 คนเกาหลีใต้มีอัตรารายได้เฉลี่ยตัวหัวในอัตราต่ำกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี ณ จุดนี้ ประเทศเกาหลีใต้ยังต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากสหรัฐอเมริกา เพื่อแลกกับความช่วยเหลือของเกาหลีใต้ในสงครามเวียดนาม โครงการพัฒนาชุมชนใหม่ของประธานาธิบดีพัก จองฮี มุ่งพัฒนาชนบทของประเทศเกาหลีใต้ ความเข้มแข็งของรัฐบาลของประธานาธิบดีพักและความมีประสิทธิภาพของการใช้แรงงานราคาถูกซึ่งทำให้จุดประกายเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ ในระยะเวลาไม่ถึงสี่ทศวรรษ ในประเทศที่ไร้ซึ่งความหวังเปลี่ยนผ่านไปสู่ประเทศเศรษฐกิจชั้นนำของโลก เป็นศูนย์กลางทางด้านธุรกิจและการค้าของเอเชีย เป็นประเทศเศรษฐกิจที่สำคัญของโลกทั้งเป็นศูนย์กลางทางด้านเศรษฐกิจและมีโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีขั้นสูง สิ่งนี้สามารถพิจารณาชาวเกาหลีนั้นเป็นสัญลักษณ์ของความภูมิใจของชาติและความมุ่งมั่นที่จะทำทุกอย่างได้ นอกจากนี้โครงการพัฒนาชุมชนใหม่ของรัฐบาลเกาหลีใต้ยังส่งผลให้เกิดความสำเร็จในด้านประสิทธิภาพของเศรษฐกิจเกาหลีใต้ในด้านอื่น ๆ อีก โดยกำหนดขั้นตอนไว้เป็นแผนพัฒนาเรียกว่า แผนพัฒนาห้าปี และมีมาแล้วมากกว่าห้าฉบับ โดยร่างขึ้นมาเพื่อให้เศรษฐกิจเกาหลีใต้มีชีวิตชีวาและก่อให้เกิดการพัฒนาทางอุตสาหกรรมอย่างสูงสุด และมีความเติบโตมากขึ้นในตลาดเกาหลีใต้

เศรษฐกิจของเกาหลีใต้หลังสงครามเกาหลีทรุดโทรมอย่างรุนแรง รายได้ประชาชาติต่ำลงเรื่อยๆ รัฐบาลมีฐานะทางการเงินย่ำแย่การลงทุนมีน้อย แม้จะได้รับการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจากสหรัฐอเมริกาอย่างมากมายรวมทั้งความช่วยเหลือจากสัมพันธมิตรอื่นๆด้วย แต่สภาพเศรษฐกิจโดยรวมไม่สามารถเลี้ยงตัวเองได้แม้ว่ารัฐบาลจะมีการใช้จ่ายอย่างมหาศาลเพื่อบูรณะประเทศแล้วก็ตาม

กิจกรรมทางเศรษฐกิจของเกาหลีในช่วงนี้ส่วนใหญ่ถูกผูกขาดจากนายทุนเพียงไม่กี่รายโดยมีอิทธิพลของนักการเมืองและราชการหนุนหลัง กิจการผูกขาดส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งมีผลทำให้คนส่วนใหญ่ยากจนโดยที่คนชั้นผู้นำไม่ได้เอาใจใส่ดูแลประชาชนเท่าที่ควร

เมื่อพัก จองฮีเถลิงอำนาจในปี ค.ศ. 1962 เกาหลีใต้จึงก้าวสู่การพัฒนาประเทศอย่างแท้จริง ในสมัยของเขามีการวางแผนสำหรับอนาคตและหาทางเลือกที่ก่อประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติ รัฐบาลกำหนดนโยบายต่างๆ ออกมาเพื่อเร่งการพัฒนาประเทศเรียกว่าแผนพัฒนาห้าปี และด้วยนโยบายที่เน้นความสำคัญทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมากและความพยายามขจัดปัญหาความยากจน รัฐบาลเกาหลีใต้ภายใต้การนำของพัก จองฮีใช้กลยุทธ์ที่สำคัญคือการมองออกไปข้างนอกหรือการมีสัมพันธ์กับตลาดโลก (Outward-Looking Strategy) แทนกลยุทธ์เน้นตนเองหรือมองแต่ตลาดภายใน (Inward-Looking Strategy)

กลยุทธ์มองไปข้างนอก (Outward-Looking Strategy) คือการมีความสัมพันธ์กับตลาดโลกในด้านการค้า มีการผลิดเพื่อขายในตลาดโลกแทนการผลิตเพื่ออุปโภคบริโภคในประเทศ และที่สำคัญคือเป็นการทำอุตสหกรรมที่ส่งเสริมการใช้แรงงาน (labour-intensive) ในขณะเดียวกันรัฐบาลลดกฎเกณฑ์และความเข้มงวดในการนำเข้าลดน้อยลง

โดยที่รัฐบาลภายใต้การนำพัก จองฮี ใช้นโยบายเน้นอุตสหกรรมการส่งออกแทนนโยบายอุตสหกรรมผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า และไม่เน้นการพัฒนาเกษตรกรรมเป็นพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ก็มีเหตุผลว่าพื้นที่ประเทศเกาหลีมีขนาดไม่ใหญ่มากเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรและมีพื้นที่ทำการเกษตรเพียงร้อยละ 20 ของประเทศเท่านั้น อีกประการหนึ่งคือการได้รับเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศลดลง ทำให้เกาหลีใต้จำเป็นต้องเน้นอุตสหกรรมส่งออกเพื่อสร้างรายได้ให้กับประเทศ รัฐบาลเกาหลีในยุคนี้ได้ตระหนังถึงข้อจำกัดของประเทศโดยมีการวางแผนในระยะยาวให้กับประเทศ และมีการส่งคนเกาหลีไปดูงานและศึกษาความเป็นไปได้ยังประเทศอุตหกรรมในยุโรป นอกจากนี้ตัวอย่างจากประเทศญี่ปุ่นที่ประสบความสำเร็จทางเศรษฐกิจก็รับการศึกษาอย่างละเอียดจากนักวิชาการเกาหลีด้วยเพื่อได้กำหนดแผนนโยบายการพัฒนาประเทศได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

ในปี ค.ศ.1962 เป็นปีที่เกาหลีใต้เริ่มใช้แผนพัฒนาห้าปีฉบับแรก ซื่งเน้นการฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ (Infra-structure) และทุนสังคมอื่นๆ (Social-Capital Formation) และมีการส่งเสริมอุตสหกรรมโดยรัฐบาลเขาแทรกแซงโดยตรงในอุตสหกรรมหลักและกิจกรรมที่เกี่ยวกับอุตสหกรรมสำคัญๆ แต่ยังยึดนโยบายเศรษฐกิจเสรีหรือให้กลไกตลาดมีบทบาทในเศรษฐกิจได้พอสมควร

แผนนี้มีรายละเอียดเพิ่มขึ้นโดยมีทั้งแผนเศรษฐกิจมหภาคและแผนสาขาย่อย พยายามสร้างเป้าหมายที่มีความเป็นไปได้มากขึ้น และในการสร้างแผนได้มีการเอาหลักการวิเคราะห์ผลตอบแทน (Cost-Benefit Analysis) มาใช้ด้วย

การพัฒนาชนบทของเกาหลีใต้ (Saemaul Undong) แซมาอึล อุนดง เกาหลีใต้ได้สร้างขบวนการพัฒนาชุมชนในช่วงปีค.ศ. 1971 ซื่งเป็นปีสุดท้ายของแผนพัฒนาห้าปีฉบับที่ 2 จุดกำเนิดของ“แซมาอึล อุนดง”อันเนื่องมาจากภายหลังเหตุการณ์น้ำท่วมในปีค.ศ. 1969 ซึ่งประชาชนต่างพากันซ่อมแซมหลังคาบ้านเรือนและถนนหนทางด้วยตนเอง โดยปราศจากการช่วยเหลือจากภาครัฐ ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจที่สำคัญของประธานาธิบดี พัก จุงฮี ที่จะให้การช่วยเหลือชุมชนในชนบท พัก จุงฮี ตระหนักดีว่า ความช่วยเหลือของรัฐบาลย่อมจะไร้ประโยชน์โดยสิ้นเชิงเว้นแต่ว่าประชาชนจะลงมือกระทำสิ่งต่างๆ ด้วยจิตวิญญาณของการพึ่งพาตนเอง การโน้มน้าวชุมชนในชนบทให้รู้จักการพึ่งพาตนเองและร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ถือเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาชนบท และแนวคิดเหล่านี้ก็คือหลักการพื้นฐานของแซมาอึล อุนดง หรือขบวนการสร้างหมู่บ้านใหม่

การดำเนินงานของ แซมาอึล อุนดง ในช่วงปีค.ศ. 1970 ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะไม่มีเงินทุนมากพอที่จะสนับสนุนการจัดทำโครงการต่างๆ แต่ก็ใช่ว่าจะทำอะไรไม่ได้เลย เพราะการปรับปรุงสิ่งจำเป็นพื้นฐานหลายๆ ประการ ก็อาจกระทำได้โดยอาศัยความช่วยเหลือจากรัฐบาลที่มีเพียงเล็กน้อยได้ โดยรัฐบาลได้ทดลองจัดทำโครงการสำคัญ 10 โครงการ เพื่อพัฒนาพื้นที่ชนบทได้แก่ การขยายถนนในท้องถิ่น การปรับปรุงหลังคาบ้านเรือน ห้องครัว และรั้วบ้าน การจัดให้มีแหล่งบริการซักรีด การสร้างบ่อน้ำชุมชน การก่อสร้างสะพาน รวมถึงการปรับปรุงระบบชลประทาน

ในแผนนี้เน้นการพัฒนาให้มีเสถียรภาพ ประสิทธิภาพและความเสมอภาค รวมทั้งการแข่งขันอย่างเสรีในตลาดโลก


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406