ปากีสถานตะวันออก (อังกฤษ: East Pakistan; เบงกาลี: ????? ????????? Purbo P?kist?n; อูรดู: ????? ???????? Ma?riq? P?kist?n เสียงอ่าน [m??r?qi? p??k?st???n]) เป็นดินแดนที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของประเทศปากีสถาน ซึ่งอยู่ในดินแดนเบงกอล ระหว่าง พ.ศ. 2498 - 2514
ใน พ.ศ. 2490 เบงกอลเป็นส่วนหนึ่งของบริติชอินเดีย ซึ่งแบ่งเป็นเบงกอลตะวันตกและเบงกอลตะวันออกตามศาสนา การแบ่งแยกนี้เป็นผลจากความขัดแย้งทางศาสนาระหว่างฮินดูและมุสลิมในอินเดีย ใน พ.ศ. 2490 ชาวเบงกอลที่เป็นมุสลิมเข้าร่วมกับขบวนการปากีสถาน หลังการแบ่งแยกอินเดียและกลายเป็นจังหวัดเบงกอลตะวันออกของปากีสถาน ระหว่าง พ.ศ. 2490 - 2497 เบงกอลตะวันออกมีการบริหารเป็นเอกเทศโดยพันธมิตรมุสลิมปากีสถาน นำโดยนูรุล อามีน ต่อมา ใน พ.ศ. 2498 นายกรัฐมนตรีเบงกอล มูฮัมหมัด อาลี โบกรา ได้ประกาศยุบจังหวัดเบงกอลตะวันออก และจัดตั้งปากีสถานตะวันออก โดยมีเมืองหลักคือธากา ในช่วงนี้พันธมิตรมุสลิมปากีสถานพ่ายแพ้ให้แก่สันนิบาตอวามี สันนิบาตอวามีเข้ามาบริหารปากีสถานตะวันออก หลังจาก ฮุเซน ชะฮีด ชุระวรรดี ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ช่วงระหว่าง พ.ศ. 2501 - 2514 เป็นช่วงที่เกิดความขัดแย้งทางการเมือง การสนับสนุนการปกครองตนเองเติบโตขึ้นเมื่อสันนิบาตอวามี จัดตั้งขบวนการหกประการใน พ.ศ. 2509 และเติบโตเต็มที่เมื่อสันนิบาตอวามีชนะการเลือกตั้งทั่วไปใน พ.ศ. 2513 ในปากีสถานตะวันออก
หลังการเลือกตั้งทั่วไป นายกรัฐมนตรีของปากีสถาน นายพลยะห์ยา ข่าน พยายามเจรจากับทั้งพรรคประชาชนปากีสถาน และสันนิบาตอวามีในการแบ่งปันอำนาจจากรัฐบาลกลางแต่ล้มเหลว สันนิบาตอวามีได้ประกาศเอกราชของปากีสถานตะวันออกเมื่อ 26 มีนาคม พ.ศ. 2514 และเริ่มต้นสงครามปลดปล่อยบังกลาเทศจากปากีสถาน โดยอินเดียเข้ามาสนับสนุนสันนิบาตอวามี สงครามสิ้นสุดลงเมื่อ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2514 ปากีสถานตะวันออกได้รับเอกราชอย่างเป็นทางการในนามบังกลาเทศ