ปัสสาวะ (ภาษาปากว่า ฉี่, เยี่ยว หรือ เบา) เป็นของเสียในรูปของเหลวที่ร่างกายขับถ่ายออกมาโดยไต ด้วยกระบวนการกรองจากเลือดและขับออกทางท่อปัสสาวะ ซึ่งเป็นผลจากกระบวนการสร้างและสลายในระดับเซลล์ (cellular metabolism) แล้วทำให้เกิดสารประกอบไนโตรเจนที่เป็นของเสียจำนวนมาก ซึ่งจำเป็นต้องกำจัดออกจากกระแสเลือด
ปัสสาวะไม่เป็นพิษ แม้ปัสสาวะประกอบด้วยสารเคมีที่ร่างกายไม่ต้องการ ซึ่งสามารถทำให้ระคายเคืองผิวหนังและตาได้ แต่ถ้าหากผ่านกระบวนการกรองที่เหมาะสม จะสามารถสกัดน้ำออกมาเป็นน้ำดื่มได้ อย่างเช่นน้ำดื่มของนักบินอวกาศ
ปัสสาวะทั่วไปอาจมีสีแตกต่างกันตั้งแต่ใสไม่มีสีจนถึงสีอำพันเข้ม ขึ้นอยู่กับระดับความอวบน้ำ (hydration) ของร่างกายและองค์ประกอบอื่น ๆ
ส่วนประกอบของปัสสาวะ มีดังนี้ ดร.ฟารอน นักชีวเคมีได้วิจัยสารต่างๆ ในปัสสาวะพบว่า 95% เป็นน้ำ 2.5 % เป็นยูเรีย อีก 2.5% เป็นสารอื่นๆ ถ้าแยกส่วนประกอบที่เป็นมิลลิกรัมออกมาในน้ำปัสสาวะ 100 ซีซี จะพบว่ามี
Urea เป็นสารขับปัสสาวะ เป็นสารต้านอักเสบ ต้านไวรัส และแบคทีเรีย ผิวหนังอ่อนเยาว์ สารยูเรียยังช่วยขจัดเชื้อแบคทีเรียที่ไม่ดี ในทางเดินอาหารของผู้ป่วยโรคทางเดินอาหารอีกด้วย
อินเตอร์เฟอรอน เป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง ที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อใช้กำจัดเชื้อก่อโรคโดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อไวรัส รักษาโรคเอดส์
สีน้ำตาล เกิดจากการดื่มน้ำน้อย ทำให้มีของเสียปะปนกับปัสสาวะเยอะ ปกติจึงต้องดื่มน้ำเยอะๆ ทำให้ปัสสาวะมีสีใส
แต่เดิมมาคนยุคโบราณคิดว่าสีเหลืองของปัสสาวะมาจากแร่ทองคำ นักเล่นแร่แปรธาตุสมัยนั้นได้ใช้เวลานานมากในการที่สกัดเอาแร่ทองคำออกมาจากปัสสาวะเสียให้ได้ แต่ความพยายามดังกล่าวกลับทำให้เกิดการค้นพบฟอสฟอรัสขาว ซึ่งค้นพบโดยนักเล่นแร่แปรธาตุชาวเยอรมัน วิคเตอร์ แวนาโนวิกซ์ (Victor Wernanowicz) ใน พ.ศ. 2212 (ค.ศ. 1669) ขณะที่เขากำลังกลั่นปัสสาวะหมัก และใน พ.ศ. 2316 (ค.ศ. 1773) อิแลร์ รูแอลล์ ได้ค้นพบสารประกอบอินทรีย์ชนิดใหม่จากการต้มปัสสาวะแห้งขึ้นซึ่งเรียกว่า ยูเรีย