ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ปะการัง

ปะการัง หรือ กะรัง เป็นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเล จัดอยู่ในชั้นแอนโธซัวและจัดเป็นพวกดอกไม้ทะเล มีขนาดเล็กเรียกว่าโพลิฟ แต่จะอาศัยรวมกันอยู่เป็นโคโลนีที่ประกอบไปด้วยโพลิฟเดี่ยวๆจำนวนมาก เป็นกลุ่มที่สร้างแนวปะการังที่สำคัญพบในทะเลเขตร้อนที่สามารถดึงสารแคลเซียมคาร์บอเนตจากน้ำทะเลมาสร้างเป็นโครงสร้างแข็งเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยได้

หัวของปะการังหนึ่งๆโดยปรกติจะสังเกตเห็นเป็นสิ่งมีชีวิตเดี่ยวๆอันหนึ่ง แต่ที่จริงนั้นมันประกอบขึ้นมาจากสิ่งมีชีวิตเดี่ยวๆขนาดเล็กนับเป็นพันๆโพลิฟโดยในทางพันธุ์ศาสตร์แล้วจะเป็นโพลิฟชนิดพันธุ์เดียวกันทั้งหมด โพลิฟจะสร้างโครงสร้างแข็งที่มีลักษณะเฉพาะของปะการังแต่ละชนิด หัวของปะการังหนึ่งๆมีการเจริญเติบโตโดยสืบพันธุ์แบบไม่ใช้เพศของโพลิฟเดี่ยวๆ แต่ปะการังก็สามารถสืบพันธุ์ออกลูกหลานโดยใช้เพศกับปะการังชนิดเดียวกันด้วยการปล่อยเซลล์สืบพันธุ์พร้อมๆกันตลอดหนึ่งคืนหรือหลายๆคืนในช่วงเดือนเพ็ญ

แม้ว่าปะการังจะสามารถจับปลาและสัตว์เล็กๆขนาดแพลงตอนได้โดยใช้เข็มพิษ (เนมาโตซิสต์) ที่อยู่บนหนวดของมัน แต่ส่วนใหญ่แล้วปะการังจะได้รับสารอาหารจากสาหร่ายเซลล์เดียวที่สังเคราะห์แสงได้ที่เรียกว่าซูแซนทาลา นั่นทำให้ปะการังทั้งหลายมีการดำรงชีวิตที่ขึ้นตรงต่อแสงอาทิตย์และจะเจริญเติบโตได้ในน้ำทะเลใสตื้นๆโดยปรกติแล้วจะอาศัยอยู่บริเวณที่มีความลึกน้อยกว่า 60 เมตร ปะการังเหล่านี้ถือว่าเป็นผู้สร้างโครงสร้างทางกายภาพของแนวปะการังที่พัฒนาขึ้นมาในทะเลเขตร้อนและเขตกึ่งร้อนอย่างเช่นเกรตแบริเออร์รีฟบริเวณนอกชายฝั่งของรัฐควีนส์แลนด์ของประเทศออสเตรเลีย แต่ก็มีปะการังบางชนิดที่ดำรงชีวิตอยู่ได้โดยไม่เกี่ยวข้องกับสาหร่ายเนื่องจากอยู่ในทะเลลึกอย่างในมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น ปะการังสกุล “โลเฟเลีย” ที่อยู่ได้ในน้ำเย็นๆที่ระดับความลึกได้มากถึง 3000 เมตร ตัวอย่างของปะการังเหล่านี้สามารถพบได้ที่ดาร์วินมาวด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเคพแวร็ธในสก๊อตแลนด์ และยังพบได้บริเวณนอกชายฝั่งรัฐวอชิงตันและที่เกาะเอลิวเตียนของอะแลสกา

หัวปะการังดูเหมือนจะเป็นสิ่งมีชีวิตเดี่ยวๆแต่ที่แท้จริงแล้วมันประกอบไปด้วยโพลิฟเดี่ยวๆมากมาย โพลิฟเป็นเนื้อเยื่ออ่อนของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ที่กินสิ่งมีชีวิตเล็กๆที่หลากหลายเป็นอาหารจำพวกแพลงตอนขนาดเล็กจนไปถึงปลาตัวเล็กๆ

ปรกติแล้วโพลิฟจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่กี่มิลลิเมตร ด้านนอกเป็นชั้นผนังอีพิเธลเลียม ส่วนด้านในเป็นเนื้อเยื่อคล้ายวุ้นที่รู้จักกันว่าเมโซกลี โพลิฟมีสมมาตรรัศมีและมีหนวดโดยรอบช่องปากที่อยู่ตรงกลางที่เปิดต่อเนื่องไปที่กระเพาะอาหารหรือซีเลนเทอรอนไปยังที่อาหารถูกย่อยและปล่อยของเสีย

กระเพาะอาหารติดอยู่ที่ฐานของโพลิฟบริเวณที่ซึ่งผนังชั้นนอก (อีพิเธลเลียม) สร้างโครงสร้างแข็งภายนอกขึ้นมาอันหนึ่งเรียกว่าแผ่นฐานรอง (แคลลิเคิล) (L. ถ้วยเล็กๆ) ซึ่งเกิดจากวงแหวนเนื้อปูนหนาๆมีสันตามแนวรัศมีรองรับอยู่ 6 สัน โครงสร้างนี้มีการเติบโตขึ้นไปในแนวดิ่งเข้าไปยังฐานรองของโพลิฟ เมื่อโพลิฟทั้งหลายตกอยู่ในสภาพที่เครียดก็จะเกิดการหดตัวเป็นคาริกซ์ เพื่อได้ไม่มีส่วนใดๆโผล่ขึ้นมาเหนือแท่นโครงสร้างแข็งอันเป็นการป้องกันโพลิบทั้งหลายจากเหล่านักล่า (Barnes, R.D., 1987; Sumich, 1996). โพลิฟจะเจริญเติบโตขึ้นโดยขยายตัวของกลีบห่อหุ้มในแนวดิ่งซึ่งบางครั้งก็ถูกกั้นด้วยแผ่นผนังเกิดเป็นแผ่นฐานอันใหม่ที่สูงกว่า การขยายตัวนี้เกิดขึ้นหลายๆรุ่นทำให้เกิดโครงสร้างเนื้อปูนขนาดใหญ่ของปะการังและแนวปะการังทั้งหลาย

การเกิดโครงสร้างแข็งเนื้อปูนด้านนอกเกิดจากการตกสะสมตัวของแร่อะราโกไนต์ โดยโพลิฟทำหน้าที่จับไอออนของแคลเซี่ยมจากน้ำทะเลให้ทำปฏิกิริยากับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากสาหร่าย อัตราการตกสะสมตัวมีความแปรผันอย่างมากในระหว่างชนิดพันธุ์และสภาพสิ่งแวดล้อมรอบข้างที่อาจจะมากถึง 10 กรัม/ตารางเมตรของโพลิฟ/วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแสงสว่าง กล่าวคือในช่วงกลางคืนจะผลิตได้เพียงประมาณร้อยละ 90 ต่ำกว่าการผลิตในช่วงกลางวัน

หนวดทั้งหลายของโพลิฟจะทำการจับเหยื่อโดยใช้เซลล์ที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองแสบร้อนที่เรียกว่าเข็มพิษ มีเซลล์หลายชนิดที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อการจับเหยื่อและทำให้เหยื่อสลบอย่างเช่นแพลงตอนด้วยการพ่นพิษอย่างเร็วมากเมื่อมีสิ่งเข้าไปสัมผัส พิษเหล่านี้ปรกติจะมีฤทธิ์อ่อนๆแต่ถ้าเป็นปะการังไฟแล้วจะมีผลต่อมนุษย์มากพอควร เข็มพิษลักษณะนี้ก็พบได้ในแมงกระพุนและดอกไม้ทะเล สารพิษที่ฉีดโดยเข็มพิษจะทำให้เหยื่อสลบหรือตายซึ่งก็จะตกเข้าไปในกระเพาของโพลิฟด้วยการช่วยของหนวดผ่านแถบของอีพิเธเลียมที่หดตัวได้เรียกว่าคอหอย

โพลิฟทั้งหลายถูกต่อเชื่อมโยงใยโดยระบบท่อแกสโตรวาสคิวล่าที่พัฒนาขึ้นมาอย่างดีและมีความสลับซับซ้อนที่ทำให้โพลิบต่างๆมีการใช้อาหารและการพึ่งพาอาศัยร่วมกันได้ ในปะการังอ่อนระบบท่อเหล่านี้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 50-500 ไมครอน ที่ยอมให้เกิดการส่งผ่านทั้งการสันดาปและส่วนประกอบของเซลล์

นอกเหนือจากการกินแพลงตอนเป็นอาหารแล้ว ปะการังจำนวนมากและรวมถึงกลุ่มของไนดาเรียอื่นๆอย่างเช่นดอกไม้ทะเล (เช่น เออิพเทเซีย) ที่มีการดำรงชีวิตแบบพึ่งพาอาศัยกับพวกสาหร่ายซูแซนทาลีสกุลซิมไบโอดิเนียม ดอกไม้ทะเลสกุลเออิพเทเซียที่จะถูกพิจารณาว่าเป็นสิ่งรบกวนต่อสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ตามแนวปะการังแต่ก็ถือว่าเป็นแบบจำลองสิ่งมีชีวิตที่มีค่ายิ่งในการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ถึงการพึ่งพาอาศัยกันระหว่างกลุ่มของไนดาเรียกับสาหร่าย ทั้งนี้โพลิฟหนึ่งๆจะพึ่งพาอาศัยกับสาหร่ายเฉพาะชนิดเท่านั้นการสังเคราะห์แสงของสาหร่ายให้พลังงานแก่ปะการังและช่วยให้เกิดการตกตะกอนของสารแคลเซียมคาร์บอเนต สาหร่ายยังมีประโยชน์ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยด้วยการใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และของเสียที่มีองค์ประกอบของไนโตรเจนที่สร้างขึ้นมาโดยโพลิฟ เมื่อปะการังคลายความเครียดสาหร่ายสามารถเข้าไปในโพลิฟได้ สภาพที่ปะการังตกอยู่ในความเครียดปรกติแล้วจะขับสาหร่ายออกมาที่ยังผลก่อให้เกิดปรากฏการที่เรียกว่าการฟอกขาวของปะการังที่สาหร่ายทำให้ปะการังมีสีน้ำตาลหรือสีอื่นๆทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเม็ดสีในเนื้อปะการัง อย่างเช่นโปรตีนเรืองแสงสีเขียว การขับสาหร่ายออกจะเป็นการเพิ่มโอกาสให้โพลิฟตกอยู่ในระยะที่เครียดต่อไป โดยที่สามารถจะเพิ่มสาหร่ายได้ใหม่ในภายหลัง หากสภาพเครียดยังคงดำเนินต่อไป โพลิฟหรือปะการังทั้งหลายก็จะตายไปในที่สุด

ปะการังมีการแพร่พันธุ์ขยายถิ่นอาศัยของตนออกไปหลากหลายวิธี โดยมีสองวิธีการหลักๆคือการใช้เพศและการไม่ใช้เพศ การสืบพันธุ์แบบใช้เพศเป็นไปได้ทั้งชนิดแยกเพศ (โกโนโชริสม์) และชนิดที่มีทั้งสองเพศในตัวเดียวกัน (เฮอร์มาโพรดิติสม์) โดยปะการังทั้งสองชนิดดังกล่าวสามารถทำให้เกิดการสืบพันธุ์ทั้งแบบใช้เพศและแบบไม่ใช้เพศก็ได้

ส่วนใหญ่แล้วปะการังจะสืบพันธุ์แบบใช้เพศ โดยประมาณแล้วร้อยละ 25 จะเป็นปะการังที่สร้างแนวปะการังที่โคโลนีหนึ่งๆจะประกอบไปด้วยเพศเดี่ยว ส่วนที่เหลือจะเป็นโคโลนีชนิดที่มีสองเพศประมาณร้อยละ 75 ของปะการังชนิดที่สร้างแนวปะการังที่ตัวอ่อนเกิดจากการปฏิสนธิภายนอกโคโลนีพ่อ โดยปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ (ไข่และสเปิร์ม) ออกไปสู่มวลน้ำทะเลแพร่กระจายไปได้ระยะทางไกลๆ เมื่อหีหลอมรวมกันในระหว่างการปฏิสนธิจะเกิดเป็นตัวอ่อนขนาดจิ๋วที่เรียกว่าพลานูลาซึ่งปรกติแล้วจะเป็นรูปวงรีและมีสีชมพู ในปีหนึ่งๆโคโลนีของปะการังขนาดย่อมๆสามารถจะสร้างตัวอ่อนเหล่านี้ได้หลายพันตัวที่มากเพียงพอที่มีโอกาสจะเกิดเป็นโคโลนีใหม่เพิ่มขึ้นสักหนึ่งโคโลนี ตัวอ่อนปะการังหนึ่งๆจะว่ายน้ำไปหาแสงสว่างที่บริเวณผิวน้ำแล้วลอยไปตามกระแสน้ำและเจริญเติบโตในช่วงระยะเวลาหนึ่งจึงว่ายน้ำกลับลงไปหาพื้นผิวที่มันสามารถเกาะยึดและสร้างโคโลนีใหม่ได้ กระบวนการนี้มีหลายขั้นตอนและมีอัตราการล้มเหลวสูง กล่าวคือเซลล์สืบพันธุ์นับเป็นล้านๆที่โคโลนีหนึ่งๆปล่อยออกไปจะมีโอกาสรอดเกิดเป็นโคโลนีใหม่ๆได้เพียง 2 หรือ 3 โคโลนีเท่านั้น ช่วงระยะเวลาตั้งแต่วางไข่ไปจนถึงเกิดเป็นโคโลนีใหม่นี้ปรกติแล้วจะใช้ระยะเวลาประมาณ 2 หรือ 3 วัน แต่ก็สามารถยาวนานออกไปได้ถึง 2 เดือนทีเดียว ตัวอ่อนหนึ่งๆจะเจริญเติบโตอยู่ในโพลิฟแล้วท้ายที่สุดก็จะกลายเป็นหัวปะการังโดยแบ่งตัวเองแบบไม่ใช้เพศและเจริญเติบโตสร้างโพลิฟใหม่ๆ

ปะการังอีกกลุ่มหนึ่งจะเกิดการปฏิสนธิภายในโคโลนีแม่คือบรรดาปะการังทั้งหลายที่ไม่ใช่ปะการังหินชนิดที่สร้างแนวปะการัง ปะการังกลุ่มนี้จะปล่อยอสุจิไปทำการปฏิสนธิกับไข่ เจริญเติบโตใหญ่ขึ้นเป็นตัวอ่อนแล้วท้ายสุดก็ถูกปล่อยออกไปสร้างโคโลนีใหม่ ตัวอ่อนจะเจริญเติบโตในโพลิฟของปะการังแล้วเกิดเป็นหัวปะการังโดยแบ่งตัวเองแบบไม่อาศัยเพศแล้วเติบโตด้วยการสร้างโพลิฟใหม่ๆ

การผสมพันธุ์แบบซินโครนีเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปในแนวปะการังเมื่อมีปะการังหลายชนิดปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ออกมาในคืนเดียวกัน ซินโครนีนี้เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อที่เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมียจะเกิดการปฏิสนธิกันเกิดเป็นตัวอ่อน สิ่งกระตุ้นที่ทำให้ปะการังปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ออกมานั้นมีความสลับซับซ้อนที่มีความเกี่ยวข้องกับการโคจรของดวงจันทร์ เวลาที่พระอาทิตย์ลับขอบฟ้า และอาจเป็นได้ที่จะเกี่ยวข้องกับกลไกลทางเคมี การผสมพันธุ์แบบซินโครนีอาจยังผลให้เกิดปะการังพันธุ์ผสมและอาจจะทำให้เกิดการแตกแขนงสายพันธุ์ใหม่ๆของปะการัง ในบางที่ปะการังสามารถออกไข่ครั้งละจำนวนมากๆโดยปรกติจะเกิดขึ้นในช่วงกลางคืนที่จะทำให้น้ำใสๆขุ่นฟุ่งขึ้นมาที่เต็มไปด้วยเซลล์สืบพันธุ์

ปะการังต้องอยู่ภายใต้การกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมในการที่จะหาช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะปล่อยเซลล์สืบพันธุ์เข้าไปในมวลน้ำซึ่งจะมีความแปรผันจากสายพันธุ์สู่สายพันธุ์ ปะการังที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศมีสองวิธีซึ่งแตกต่างกันตรงที่ว่าจะปล่อยเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียออกไปหรือไม่

การปฏิสนธิภายนอกโคโลนีแม่ที่จะมีการปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ออกไปครั้งละจำนวนมากจะอยู่ภายใต้การกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมอย่างสูงต่างจากการปฏิสนธิภายในโคโลนีแม่ตรงที่จะมีการปล่อยทั้งสเปิร์มและไข่เข้าไปในมวลน้ำพร้อมๆกัน ปะการังจะใช้สิ่งกระตุ้นในระยะยาวอย่างเช่นความยาวของช่วงกลางวัน อุณหภูมิน้ำ และ/หรืออัตราการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ และการกระตุ้นในระยะสั้นซึ่งส่วนใหญ่เป็นการหมุนเวียนโคจรของดวงจันทร์และช่วงเวลาดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าจะกระตุ้นให้มีการปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ ประมาณร้อยละ 75 ของสายพันธุ์ปะการังที่มีการปฏิสนธิภายนอกโคโลนีแม่ โดยหลักแล้วจะเป็นพวกสร้างแนวปะการัง เซลล์สืบพันธุ์ที่เบาตัวจะลอยตัวขึ้นไปที่ผิวน้ำแล้วเกิดการปฏิสนธิที่นั่นเกิดเป็นตัวอ่อน (พลานูลา) ตัวอ่อนนี้จะว่ายไปตามผิวน้ำหาแสงสว่างเข้าไปในกระแสน้ำโดยปรกติแล้วจะล่องลอยไปเป็นระยะเวลา 2 วันแต่ก็อาจสูงได้ถึง 3 สัปดาห์ และมีอยู่กรณีหนึ่งที่นานถึง 2 เดือน หลังจากนั้นก็จะปักหลักปักฐานเปลี่ยนสภาพเป็นโพลิฟและพัฒนาไปเป็นโคโลนีต่อไป

การปฏิสนธิภายในโคโลนีแม่จะเป็นปะการังพวกไม่สร้างแนวปะการัง หรือเป็นปะการังพวกที่สร้างแนวปะการังบางชนิดที่อยู่ในพื้นที่ที่มีกระแสน้ำเชี่ยวหรือมีคลื่นซัดแรง พวกที่มีการปฏิสนธิภายในโคโลนีแม่จะปล่อยเฉพาะสเปิร์มออกไปซึ่งไม่ลอยน้ำและสามารถอยู่กับไข่ที่ยังไม่ได้รับการปฏิสนธิหลายสัปดาห์ลดความจำเป็นที่จะเกิดการผสมพันธุ์แบบซินโครนีแต่ก็ยังสามารถเกิดขึ้นได้ ภายหลังการปฏิสนธิปะการังก็จะปล่อยตัวอ่อนออกไปที่พร้อมที่จะพัฒนาเป็นโคโลนีแม่ต่อไป

ภายในหัวของปะการังหนึ่งโพลิฟทั้งหลายที่มีลักษณะทางพันธุกรรมที่เหมือนกันจะมีการสืบพันธุ์แบบไม่ใช้เพศที่ทำให้โคโลนีมีการเจริญเติบโต การสืบพันธุ์นี้ไม่เกิดจากการแตกหน่อก็เกิดจากการแบ่งตัวเอง ทั้งสองวิธีนี้ได้แสดงในไดอะแกรมของ “ออร์บิเซลลา แอนนูลาริส” การแตกหน่อเกี่ยวข้องกับโพลิฟใหม่หนึ่งที่เติบโตแตกออกมาจากโพลิฟผู้ใหญ่ตัวหนึ่ง ขณะที่การแบ่งตัวทำให้เกิดโพลิฟสองตัวที่มีขนาดเท่ากันกับขนาดดั้งเดิม

โคโลนีทั้งหลายสามารถถูกสร้างขึ้นมาใหม่ได้อีกแบบไม่อาศัยเพศโดยผ่านวิธีการหนีออกจากโพลิฟและแตกออกเกิดเป็นโคโลนีโดดๆอันใหม่ที่มีลักษณะทางพันธุกรรมเดียวกัน

ปะการังแข็ง (stony coral) ปรกติจะพบในแนวประการังซึ่งเป็นโครงสร้างของสารแคลเซี่ยมคาร์บอเนตขนาดใหญ่พบบริเวณน้ำตื้นในเขตร้อน แนวปะการังถูกสร้างขึ้นมาจากโครงสร้างแข็งของปะการังที่ถูกรองรับด้วยชั้นของสารแคลเซี่ยมคาร์บอเนตที่ผลิตขึ้นมาโดยสาหร่ายคอรอลลีน แนวปะการังเป็นระบบนิเวศน์ที่มีความหลากหลายมากๆซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของปลามากกว่า 4,000 ชนิด ชุมชนของไนดาเรียขนาดมหึมา หอย ครัสตาเชียน และสัตว์อื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก

ปะการังชนิดที่สร้างแนวปะการังสามารถเปลี่ยนอาหารที่เหลือเกินความจำเป็นต่อปะการังเอง การเปลี่ยนอาหารที่เหลือเกินความจำเป็นนี้เกิดจากการช่วยของสาหร่ายซูแซนทาลีไปเป็นแคลเซียมคาร์บอเนตสร้างเป็นโครงสร้างแข็งของมัน ชนิดพันธุ์ของปะการังที่สร้างแนวปะการังประกอบด้วยสเคอร์แรคติเนีย มิลเลพอรา ทูบิพอรา และเฮลิโอพอรา

ลำพังในพื้นที่ทะเลแคริบเบียนแล้ว มีปะการังแข็งมากถึง 50 ชนิดโดยแต่ละชนิดมีโครงสร้างเป็นเอกลักษณ์ของมันเอง ประเภทที่รู้จักกันดีได้แก่

ปะการังชนิดที่ไม่สร้างแนวปะการังเป็นปะการังที่ไม่มีสาหร่ายซูแซนทาลีจึงไม่สามารถสร้างแนวปะการังใดๆได้ ปะการังกลุ่มนี้ได้แก่ปะการังกลุ่มของอัลคายโยนาซีรวมถึงพวกแอนธิปาธาเรีย (ปะการังสีดำ เซอริพาเธส และแอนติพาเธส)

ปะการังอ่อนในทะเลแคริบเบียนพบค่อนข้างน้อย (ประมาณ 20 ชนิด) เมื่อเทียบกับปะการังหิน ปะการังกลุ่มนี้ประกอบด้วยพวกฟองน้ำทั้งหลาย (เป็นที่อิงอาศัยที่สำคัญของสัตว์ไร้หนามขนาดจิ๋วเพื่อหลบซ่อนจากพวกปลา) รวมไปถึงพวกที่มีความเกี่ยวข้องกับปะการังที่ไม่สร้างแนวปะการังอีกหลายชนิด เช่น แส้ทะเล ขนนกทะเล และปากกาทะเล

แม้ว่าปะการังจะปรากฏขึ้นมาครั้งแรกในช่วงยุคแคมเบรียนหรือ 542 ล้านปีมาแล้ว some 542 ล้านปีก่อน, แต่ก็พบเป็นซากดึกดำบรรพ์ในปริมาณที่น้อยมากต่อเนื่องจนไปถึงยุคออร์โดวิเชียนหรือประมาณ 100 ล้านปีให้หลัง จากนั้นปะการังรูโกสและปะการังทาบูเลตจึงปรากฏขึ้นมาอย่างแพร่หลาย

ปะการังทาบูเลตจะพบในหินปูนและหินดินดานเนื้อปูนของยุคออร์โดวิเชียนและยุคไซลูเรียนและบ่อยครั้งก็เกิดเป็นรูปหมอนอิงเตี้ยๆหรือเป็นกลุ่มก้อนไปตามข้างๆของปะการังรูโกส จำนวนของมันเริ่มลดลงระหว่างช่วงกลางของยุคไซลูเรียนและท้ายสุดได้สูญพันธุ์ไปเมื่อสิ้นสุดยุคเพอร์เมียนหรือประมาณ 250 ล้านปีมาแล้ว โครงสร้างแข็งของปะการังทาบูเลตประกอบขึ้นด้วยสารแคลเซี่ยมคาร์บอเนตหรือที่เรียกว่าแคลไซต์

ปะการังรูโกสเข้ามาโดดเด่นในช่วงกลางของยุคไซลูเรียนแล้วไปสูญพันธุ์ในช่วงแรกๆของยุคไทรแอสซิก ปะการังรูโกสพบเป็นปะการังที่อยู่อาศัยแบบเดี่ยวๆและแบบโคโลนีและเหมือนกับปะการังทาบูเลตที่โครงสร้างแข็งของมันก็ประกอบไปด้วยแร่แคลไซต์

ปะการังสเคอร์แรคติเนียได้เข้าไปแทนที่ที่ว่างลงจากการสูญพันธุ์ไปของปะการังรูโกสและปะการังทาบูเลต ซากดึกดำบรรพ์ที่พบอาจยังมีจำนวนน้อยในหินยุคไทรแอสซิกแต่ได้เพิ่มมากขึ้นจากช่วงยุคจูแรสซิกจนไปถึงยุคถัดมา โครงสร้างแข็งของประการังสเคอร์แรคติเนียนี้ประกอบขึ้นด้วยสารแคลเซียมคาร์บอเนตของแร่อะราโกไนต์ในทางธรณีวิทยาแล้ว แม้ว่าปะการังสเคอร์แรคติเนียจะมีอายุอ่อนกว่าปะการังทาบูเลตและปะการังรูโกส แต่ด้วยโครงสร้างแข็งที่ประกอบด้วยแร่อะราโกไนต์ของมันจึงทำให้มันกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ได้น้อยและมีสภาพซากดึกดำบรรพ์ที่ไม่ค่อยสมบูรณ์

ณ ช่วงเวลาหนึ่งๆในทางธรณีวิทยาปะการังในอดีตมีชนิดที่หลากหลายมาก ซึ่งก็เหมือนปะการังในปัจจุบันที่พบได้ในน้ำใสๆเฉพาะในเขตร้อนที่มีน้ำอบอุ่น เหมือนกับปะการังในปัจจุบันที่บรรพบุรุษปะการังก็สร้างแนวปะการังขึ้นมา ซึ่งบางทีก็พบอยู่ในโครงสร้างขนาดใหญ่ของหินตะกอน

แนวปะการังยุคโบราณนี้ไม่ได้ประกอบไปด้วยปะการังล้วนๆ ยังมีซากดึกดำบรรพ์อื่นๆอีกมากที่เคยอาศัยอยู่ตามแนวปะการัง เช่น สาหร่าย ฟองน้ำ และซากเหลือของเอชิโนเดิร์ม แบรคิโอพอด หอยกาบคู่ หอยกาบเดี่ยว และไทรโลไบต์ นี้ทำให้ปะการังบางชนิดเป็นซากดึกดำบรรพ์ดัชนีที่ดีที่ทำให้นักธรณีวิทยาสามารถบอกอายุของชั้นหินที่พบปะการังเหล่านั้นได้

ปะการังไม่ได้พบเฉพาะในแนวปะการังเท่านั้น ปะการังชนิดที่อยู่อาศัยแบบเดี่ยวๆอาจพบได้ในหินที่ไม่ได้เป็นแนวปะการังอย่างเช่น ซายโคลไซยาธุส ซึ่งพบในหมวดหินเกาต์เคลย์ ในประเทศอังกฤษ

แนวปะการังโบราณที่พบบนพื้นดินมักจะถูกทำเป็นเหมืองผลิตปูนขาวหรือตัดเป็นก้อนใช้เป็นหินก่อสร้าง (เศษปะการังหรือคอรอลแร็ก) เศษปะการังนี้เป็นวัตถุก่อสร้างท้องถิ่นที่มีความสำคัญในบางพื้นที่อย่างเช่นตามแนวชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก

ปะการังบางชนิดมีลักษณะเป็นแถบในเนื้อโครงสร้างเป็นผลเนื่องมาจากความแปรผันในอัตราการเจริญเติบโตในแต่ละปี แถบในปะการังปัจจุบันและซากดึกดำบรรพ์ดังกล่าวทำให้นักธรณีวิทยาหาอายุปีต่อปีทำให้ทราบระยะเวลาของการเติบโตที่มีความแม่นยำสูงซึ่งทำให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมบรรพกาลเมื่อผนวกกับข้อมูลการวิเคราะห์ทางธรณีเคมีของแต่ละแถบดังกล่าวด้วย

ปะการังบางกลุ่มรวมตัวกันเป็นชุมชนเรียกว่าไมโครแอททอล โดยที่การเจริญเติบโตในแนวดิ่งของไมโครเอโตลล์ถูกจำกัดโดยความสูงเฉลี่ยของระดับน้ำขึ้นสูงสุด จากการวิเคราะห์รูปลักษณ์สัณฐานของการเติบโตที่หลากหลายไมโครแอททอลสามารถถูกนำไปใช้หาประวัติการเปลี่ยนแปลงระดับทะเลได้อย่างคร่าวๆ ไมโครแอททอลที่เป็นซากดึกดำบรรพ์ก็สามารถหาอายุโดยวิธีกัมมันตรังสีของคาร์บอนที่จะทำให้ทราบถึงอายุในรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงระดับทะเลได้ วิธีการนี้ใช้ในการวิเคราะห์ระดับทะเลสมัยโฮโลซีน


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301