ปรัชญาการเมือง (อังกฤษ: political philosophy) เป็นสาขาวิชาหนึ่งขององค์ความรู้ในวิชารัฐศาสตร์ ปรัชญาการเมืองเป็นวิชาที่เก่าแก่ที่สุดเนื่องจากเป็นวิชาที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ราวศตววษที่ 5 ก่อนคริสตกาลในดินแดนคาบสมุทธเพลอพอนเนซุส หรือดินแดนของประเทศกรีซในปัจจุบัน จุดเริ่มต้นของวิชาปรัชญาการเมืองเกิดขึ้นในนครรัฐที่ชื่อว่าเอเธนส์ในช่วงที่เอเธนส์เริ่มเปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากระบบอภิสิทธ์ชนธิปไตย (Aristocracy) มาเป็นประชาธิปไตยโบราณ (Demokratia)
สารานุกรมปรัชญาของรูธเลท (Rouledge Interrnet Encyclopedia of Philosophy) นิยามวิชาปรัชญาการเมืองว่าเป็นกระบวนการสะท้อนความคิดทางปรัชญา ในเรื่องการจัดการชีวิตสาธารณะให้มีความเหมาะสม เหมาะควร ผ่านการครุ่นคิดว่าสถาบันทางการเมืองแบบใดที่ดีที่สุด กิจกรรมทางการเมืองแบบใดที่ดีที่สุด ฯลฯ ส่วนสารานุกรรมปรัชญา (Internet Encyclopedia of Philosophy) อธิบายว่า ปรัชญาการเมืองคือการแสวงหาชีวิตที่ดี แสวงหาชีวิตที่ควรจะเป็น แสวงหาค่านิยมที่ดีในการปกครอง สถาบันทางสังคมที่ดีในการปกครอง
เมื่อแยกพิจารณาคำว่าปรัชญาการเมืองในภาษาอังกฤษโดยทางนิรุกติศาสตร์แล้ว จะพบว่า Philosophy มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกโบราณว่า ????????? (philosophos) เกิดจากการสนธิของคำว่า philos (มิตรภาพ) และ sophia (ปัญญา) ที่แปลตรงตัวว่า “มิตรภาพกับปัญญา” หรือแปลเทียบเคียงได้ว่า “การไฝ่รู้หรือความไฝ่รู้” อย่างไรก็ดีในวงวิชาการไทยมักแปลผิดเป็น "ความรักในความรู้" ทั้งที่คำว่าความรักในภาษากรีกนั้นคือ '???? ('eros) หรือ ????? (aga'pe) ซึ่งมักเป็นคำที่ถูกใช้แสดงอารมณ์ ส่วนคำว่าความรู้นั้นคือ ???????? (episte'me) ซึ่งหมายถึงความรู้ที่แท้จริงที่มนุษย์อาจเข้าถึงหรือเข้าไม่ถึงก็ได้ ปรัชญาจึงไม่ใช่ความรอบรู้ นักปรัชญาจึงไม่ใช่ผู้รู้หรือครู (sophist) การแปลคำว่าปรัชญาในภาษาอังกฤษว่า "ความรักในความรู้" จึงถือว่าแปลไม่ถูกต้องตามรากศัพท์ เพราะไม่ได้ครอบคลุมนิยามที่ว่าปรัชญาเป็นความรักที่จะเรียนรู้หรือแสวงหาความรู้ นักปรัชญาจึงมีลักษณะแบบนักสงสัย (sceptic) และนักแสวงหาความรู้ ว่าไปแล้วนักปรัชญาจึงมีลักษณะของนักเรียนตลอดชีพมากกว่าผู้รู้ที่ทรงภูมิตามความหมายแบบตะวันออก
ส่วนคำว่าการเมืองในทางรัฐศาสตร์เป็นเรื่องทางสังคมศาสตร์ของการกำหนดมุมมองของผู้คนให้มองเห็น หรือเข้าใจในสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม ในทางรัฐศาสตร์การเมืองนั้นมีความหมายอย่างน้อย 2 ระดับ (senses) คือ
นอกจากนี้การเมืองยังได้สร้างสำนึกในเรื่องความรับผิดชอบขึ้นด้วยเพราะการเมืองพยายามสร้างการรับผิดชอบต่อสิ่งที่เป็นส่วนรวม/สาธารณะ (public affairs) อาทิ การเมือง ธุรกิจ การค้า การทำงาน ศิลปะ ฯลฯ) ไม่ใช่เพียงคิดถึงเรื่องส่วนตัว (private sphere) ในขณะเดียวกันพื้นที่ส่วนตัว อาทิ ครอบครัว เรื่องในบ้าน ความสัมพันธ์ส่วนตัว ฯลฯ ควรเป็นเรื่องของเสรีภาพของคน รัฐไม่ควรเข้าไปแทรกแซง
ดังนั้นหากกล่าวโดยสรุป "ปรัชญาการเมืองจึงเป็นวิชาแสวงหาความเข้าใจในแนวคิดต่างๆที่นำเสนอกระบวนการทางอำนาจในการกำหนดมุมมองของผู้คนให้มองเห็น หรือเข้าใจในสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม"
ปรัชญาการเมืองมีวิธีวิทยา (methodology) ในการแสวงหาความรู้ในวิถีทางเดียวกับการหาความรู้ในวิชาปรัชญา ทฤษฎีการหาความรู้ดังกล่าวคือทฤษฎีที่แบ่งวิธีการหาความรู้เป็น 4 ด้าน คือ
ในการเรียนการสอนวิชารัฐศาสตร์มักความเข้าใจที่คาบเกี่ยว (overlap) และสับสน ในนิยามของคำว่าทฤษฎีการเมือง และปรัชญาการเมือง การทำความเข้าใจที่ถูกต้องต้องเริ่มการแยกง่ายๆว่าทฤษฎีนั้นกล่าวอย่างถึงที่สุดก็คือความรู้ที่เป็นนามธรรม (abstract knowledge) ดังนั้นการศึกษาทฤษฎีการเมืองจึงเป็นการศึกษาความรู้นามธรรมในทางการเมืองของมนุษย์ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วก็คือนักคิดคนสำคัญต่างๆ (major thinkers) ในประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาของมนุษย์ ซึ่งนักคิดคนสำคัญที่กล่าวถึงนี้ก็คือนักปรัชญานั่นเอง ดังนั้นความสับสนในนิยามจึงเริ่มจากการที่การศึกษาในวิชาทฤษฎีการเมืองจึงหลีกเลี่ยงการศึกษาเนื้อหาในวิชาปรัชญาการเมืองไปไม่พ้น
ในทางสังคมศาสตร์ไมเคิล โอคชอตต์ (Michael Joseph Oakeshott) นักปรัชญาและทฤษฎีการเมืองชาวอังกฤษ ได้พยายามจะทำความเข้าใจคำว่าทฤษฎี โดยวิเคราะห์ผ่านรากของคำในภาษากรีกโบราณโดย โอคชอตต์กล่าวถึงคำในภาษากรีก 5 คำ คือ ??? (th?a), ??????? (theorein), ?????? (theor?s), ?????? (theor?a) และ ??????? (the?rema) ซึ่งทุกๆคำต่างมีนัยถึง "มุมมอง" ทั้งสิ้น ดังนั้นทฤษฎีจึงเป็นเรื่องของมุมมองต่อปรากฏการณ์ต่างๆ ทฤษฎีการเมืองจึงเป็นสาขาวิขาว่าด้วยมุมมองต่อปรากฏหารณ์ทางการเมือง
ดังนั้นในขณะที่คำว่าปรัชญาการเมืองมีนิยามว่า "ความไฝ่รู้ในทางการเมือง" คำว่าทฤษฎีการเมืองจะเกี่ยวพันอยู่กับการมองและการเข้าใจในสิ่งต่างๆ ซึ่งการมอง และการเข้าใจนั้นๆเป็นเพียงแง่มุมที่แปรผันไปตามผู้มอง ทฤษฎีการเมืองจึงไม่ใช่ความจริงทางการเมือง แต่เป็นเพียงเศษเสี้ยวของความจริงทางการเมืองที่ถูกรับรู้ในกาละ-เทศที่ต่างกันเท่านั้น นอกจากนี้จากการที่ปรัชญาการเมืองเป็นเรื่องของการคิดและจินตนาการความเป็นไปได้ที่ดีที่สุดในทางการเมือง มากกว่าที่จะเป็นเรื่องของความรู้ที่ได้มาในเชิงประจักษ์หรือสภาวการณ์ของการเมืองที่เกิดขึ้นจริงซึ่งเป็นสิ่งที่ทฤษฎีการเมืองพยายามอธิบาย หรือนิยามของทฤษฎีการเมืองก็คือ "มุมมองในทางการเมือง" นั่นเอง
ดังนี้แล้วในขณะที่ปรัชญาการเมืองจึงไม่ได้ใคร่คำนึงถึงการเปิดเผยความจริงในทางการเมืองในวิธีแบบวิทยาศาสตร์ แต่ถึงที่สุดแล้วปรัชญาการเมืองเป็นเรื่องของการใคร่คำนึงถึงรากฐานทางความคิดของมนุษย์เพื่อทำความเข้าใจ สรรสร้างความเข้าใจ รวมไปถึงการจินตนาการถึงสิ่งที่ควรจะมีควรจะเป็นของมนุษย์ในทางการเมืองมากกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ส่วนทฤษฎีทางการเมืองนั้นก็คือการศึกษาที่พยายามนำเอามโนทัศน์ (concepts) ต่างๆของนักปรัชญาทางการเมืองมาเป็นพื้นฐานในการสร้าง “กรอบการมอง” ปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคม และการเมือง จากนั้นก็ต้องพยายามประยุกต์ใช้กรอบดังกล่าวมาศึกษาปรากฏการณ์นั้นๆ ด้วยระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้พิจารณาจากพัฒนาการของสาขาวิชาแล้ว ขณะที่ปรัชญาการเมืองเป็นวิชาที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ยุคโบราณที่เรียกตัวเองว่านักปรัชญา หรือนักปรัชญาการเมือง ทว่าวิชาทฤษฎีการเมืองเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมเมื่อศตวรรษที่ 20 นี้เอง โดยกลุ่มนักรัฐศาสตร์ที่เรียกแนวทางการศึกษาหาความรู้ของพวกตนว่านักรัฐศาสตร์สายพฤติกรรมศาสตร์
ปรัชญาเศรษฐศาสตร์ ? ปรัชญาการศึกษา ? ปรัชญาประวัติศาสตร์ ? นิติศาสตร์ ? ปรัชญาสังคมศาสตร์ ? ปรัชญาความรัก
สังคม ? สงคราม ? กฎหมาย ? ความยุติธรรม ? สันติภาพ ? สิทธิมนุษยชน ? การปฏิวัติ ? การดื้อแพ่ง ? ประชาธิปไตย ? สัญญาประชาคม
อนาธิปไตย ? อำนาจนิยม ? อนุรักษนิยม ? เสรีนิยม ? อิสรนิยม ? ชาตินิยม ? สังคมนิยม ? ประโยชน์นิยม ? ทฤษฎีความขัดแย้ง ? ทฤษฎีความเห็นหมู่
เพลโต ? โสกราตีส ? อริสโตเติล ? ขงจื๊อ ? นักบุญออกัสติน ? นักบุญโทมัส อควีนาส ? มาเกียเวลลี ? ฮอบส์ ? ล็อก ? รูโซ ? มงแต็สกีเยอ ? วอลแตร์ ? อดัม สมิธ ? โรเบิร์ต พีล ? เอ็ดมันด์ เบิร์ก ? มิล ? แฟรงคลิน ? ไลบ์นิซ ? คานท์ ? ทอโร ? มหาตมา คานธี