รถยนต์นั่งแบบไมโครคาร์ เป็นรถยนต์ที่มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดารถยนต์ทั้งหมด (ตามชื่อ "ไมโคร" ซึ่งเป็นศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ แปลว่า เศษหนึ่งส่วนล้าน) มีขนาดที่อยู่ระหว่างรถจักรยานยนต์กับรถยนต์ รถยนต์นั่งแบบไมโครคาร์เกือบทั้งหมด จะมีคุณสมบัติสอดคล้องกับเงื่อนไขต่อไปนี้อย่างน้อยหนึ่งข้อ
ตลาดรถยนต์นั่งไมโครคาร์ในประเทศไทยถือว่าหายากมาก เนื่องจากปัจจัยหลายๆ ด้าน รวมทั้งคุณสมบัติของตัวรถที่ก่อให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้งานในชีวิตประจำวัน ตลาดกลุ่มนี้จึงค่อนข้างแคบ อย่างในก็ตามในต่างประเทศ รถยนต์นั่งไมโครคาร์ที่มีชื่อเสียงอยู่บ้างเป็นบางรุ่น เช่น
รถยนต์นั่งขนาดเล็กมาก ประเภท City Car หรือ Kei Car เป็นรถที่มักใช้ในพื้นที่เมืองที่หนาแน่น ความยาวรถไม่เกิน 3.4 เมตร ขนาดเครื่อง และชิ้นส่วนต่างๆ จะยังเล็กกว่ารถระดับใหญ่กว่า คุณสมบัติอื่นๆ ไม่ต่างจากรถเก๋งทั่วไปมากนัก สามารถเร่งความเร็วได้ใกล้เคียงกับรถเก๋งประเภทอื่นๆ อีกทั้งยังมีระบบความปลอดภัยที่สูงกว่าไมโครคาร์ รถซิตีคาร์ที่มีชื่อเสียงได้แก่
ตลาดรถยนต์นั่งขนาดเล็กมาก ประเภท City Car ในประเทศไทย พอพบเห็นได้บ้างประปรายจากค่ายรถบางค่าย เช่น เฌอรี่ คิวคิว โปรตอน แซฟวี่ เกีย พิแคนโท และ เฟียต 500 แต่ถึงกระนั้นยังถือเป็นตลาดขนาดเล็ก เนื่องจากความมั่นใจของแบรนด์ที่ทำตลาดและความคุ้มค่าระหว่างเงินที่จ่ายเทียบกับขนาดที่ได้ รวมถึงความกังวลด้านความปลอดภัยด้วยความที่ตัวรถมีรูปลักษณ์ขนาดเล็ก
รถยนต์นั่งขนาดเล็กมาก ประเภท Supermini จะมีขนาดใหญ่กว่า City Car เป็นรถระดับเล็กที่สุดที่มีคุณสมบัติไม่ต่างจากรถประเภทอื่นๆ ทั้งเรื่องสมรรถนะ การตกแต่งภายใน อุปกรณ์อะไหล่ต่างๆ ไม่ต่างจากรถยนต์ประเภทอื่นๆ ในขณะที่รถระดับ City Car และ Microcar จะยังมีความแตกต่างจากรถยนต์ประเภทอื่นๆ ในหลายๆ ด้าน และด้วยความที่รถ Supermini ที่มีขนาดเล็ก ก็จะสามารถทำให้มีราคาถูกกว่ารถยนต์ประเภทอื่นๆ และยังได้รถที่มีคุณภาพสูงไม่ต่างกัน จะต่างกันบ้างในเรื่องขนาดเท่านั้นแต่ยังสามารถรองรับสรีระของมนุษย์ส่วนใหญ่ได้ จึงทำให้ Supermini มียอดขายค่อนข้างสูง รวมทั้งในประเทศไทย ซึ่งตลาดรถยนต์นั่งขนาดเล็กมาก ประเภท Supermini เป็นตลาดที่ใหญ่มาก รถประเภท Supermini จะมี 2 ระดับย่อย คือระดับอีโคคาร์ และระดับปกติ
รถยนต์รุ่นที่ถูกจัดเป็นรถยนต์นั่งขนาดเล็ก หรือ Compact Car มักจะเป็นรุ่นที่ขายดี แม้จะมีราคาแพงกว่ารถยนต์นั่งขนาดเล็กมากก็ตาม ด้วยเพราะการที่รถมีขนาดที่ไม่เล็กเกินไปสำหรับการเป็นรถครอบครัว แต่ไม่ใหญ่เทอะทะเกินไปสำหรับการขับขี่ในเมืองหรือการขับขี่ในฐานะรถส่วนบุคคล อีกทั้งยังสามารถปรับแต่งเครื่องยนต์และช่วงล่างให้มีสมรรถนะสูงแบบรถสปอร์ตได้ง่าย ด้วยขนาดของรถยนต์และเครื่องยนต์ที่เหมาะสมและลงตัว ใช้ประโยชน์ได้ในหลายลักษณะ จึงทำให้ยอดขายของรถยนต์นั่งขนาดเล็ก มักจะมียอดขายค่อนข้างสูงนั่นเอง
รถยนต์นั่งขนาดเล็ก ส่วนใหญ่จะมีขนาดความยาวระหว่าง 4.4-4.75 เมตร ใช้เครื่องยนต์ขนาดลูกสูบ 1.5-2.4 ลิตร รถยนต์นั่งขนาดเล็กที่มีชื่อเสียง ได้แก่
รถยนต์นั่งขนาดกลาง มีขนาดภายในใหญ่พอที่จะรองรับผู้ใหญ่ 5 คน ได้โดยไม่เบียดเสียด มีเครื่องยนต์ที่สมรรถนะสูงขึ้น เพื่อรองรับน้ำหนักตัวรถที่มากขึ้น สามารถใช้เป็นรถสำหรับครอบครัวได้ดี และมีราคาที่ไม่สูงจนเกินไป รถยนต์นั่งขนาดกลางที่มีชื่อเสียง ได้แก่
ในประเทศไทย ตลาดกลุ่มนี้มีเพียงโตโยต้า คัมรี่ ฮอนด้า แอคคอร์ด และนิสสัน เทียน่าเท่านั้น ในอดีตมีผู้ผลิตหลายรายเคยนำมาทำตลาดแบบจริงจังในประเทศไทย เช่น มิตซูบิชิ กาแลนต์ มาสด้า 626 และฟอร์ด มอนดิโอ แต่เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำจากวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ทำให้มิตซูบิชิ มาสด้า และฟอร์ดต้องถอนตัวจากตลาดนี้ไป ในขณะที่ผู้นำตลาดเดิมก็ขายได้น้อยลง จนต้องมีการเปลี่ยนโฉมเพื่อกระตุ้นตลาด จนกระทั่งปัจจุบัน ยังไม่มีผู้ผลิตรายใหม่ หรือผู้ผลิตที่เคยนำมาทำตลาดจะกลับมาแข่งขันในตลาดนี้อีกครั้ง ในขณะที่ผู้ผลิตบางรายนำมาทำตลาด แต่ไม่ได้ทำตลาดแบบจริงจัง เนื่องจากไม่พร้อมในการลงทุนผลิตในประเทศ เช่น ฮุนได โซนาต้า สโกด้า ซูเพิร์บ และซูบารุ เลกาซี หรือบางรายที่เคยทำตลาดแล้วเลิกทำการตลาดทั้งตัวรถและตัวยี่ห้อ เช่น แดวู เอสเปอโร โอเปิล เวคตร้า เป็นต้น
รถยนต์นั่งประเภทหรูหราระดับต้น จะมีขนาดที่พอๆ กับรถยนต์นั่งขนาดเล็กทั่วไป หรือใหญ่กว่าเล็กน้อย แต่มักจะมีการตกแต่งภายในและอุปกรณ์ต่างๆ ที่หรูหรากว่ารถยนต์นั่งขนาดกลาง (ในทางปฏิบัติ รถยนต์ขนาดที่ใหญ่กว่า มักมีการตกแต่งภายในที่หรูหรากว่า แต่รถ Entry-level luxury car จะมีขนาดเท่ารถขนาดเล็ก แต่หรูกว่ารถขนาดกลาง) อีกทั้งยังมีภาพลักษณ์ในการใช้เครื่องยนต์ขนาดใหญ่ที่มีกำลังมาก สมรรถนะสูง รถที่จัดอยู่ในประเภทรถยนต์นั่งประเภทหรูหราระดับต้นที่มีชื่อเสียง ได้แก่
รถยนต์นั่งขนาดใหญ่ หรือ Full-size car เป็นรถที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดารถเก๋งทั้งหมด (ร่วมกับ Full-size luxury car) มีตัวถังภายในกว้างขวาง ตัวรถมีความยาว 4.9 เมตรขึ้นไป รถยนต์นั่งขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงได้แก่
ในประเทศไทย ตลาดรถยนต์นั่งขนาดใหญ่ไม่ได้รับความนิยมเหมือนในอดีต เนื่องจากราคาจะทับกับรถยนต์นั่งประเภทหรูหราระดับต้น ในการจ่ายเงินที่เท่ากัน รถยนต์นั่งขนาดใหญ่ แม้จะมีขนาดที่ใหญ่กว่า แต่อุปกรณ์ความหรูหรา และภาพลักษณ์ทางสังคม จะสู้รถยนต์นั่งประเภทหรูหราระดับต้นไม่ได้ ซึ่งฝ่ายการตลาดของหลายค่ายได้ประเมินตรงกันว่า ตลาดประเทศไทยต้องการความหรูหราและภาพลักษณ์มากกว่าขนาด จึงไม่กล้านำรถยนต์นั่งขนาดใหญ่เข้ามาขายในประเทศไทย ซึ่งในอดีต มีการนำโตโยต้า คราวน์ และเชฟโรเลต ลูมิน่า เข้ามาจำหน่าย แต่ไม่ประสบความสำเร็จทำให้ในปัจจุบันไม่มีรถยนต์นั่งขนาดใหญ่ขายในประเทศไทย
รถยนต์นั่งประเภทหรูหราขนาดกลาง (Mid-size luxury car) จะมีขนาดใหญ่กว่ารถยนต์นั่งขนาดกลางแบบปกติ และมีความหรูหราภายในห้องโดยสารค่อนข้างมาก เครื่องยนต์มีขนาดใหญ่ สมรรถนะสูง กว่ามาตรฐานที่รถขนาดกลางหรือแม้แต่รถขนาดใหญ่ทั่วไปเลือกใช้ ค่ายรถยนต์จากฝั่งญี่ปุ่นจำนวนมากมีการทำตลาดกลุ่มนี้ด้วย รถยนต์นั่งประเภทหรูหราขนาดกลางที่มีชื่อเสียง ได้แก่
ในประเทศไทย ผู้ที่เข้ามาทำตลาดรถยนต์กลุ่มนี้จะเป็นผู้ผลิตจากยุโรป เช่น เมอร์เซเดส-เบนซ์ อี-คลาส บีเอ็มดับเบิลยู 5 ซีรีส์ วอลโว่ S80 ส่วนผู้ผลิตจากอเมริกา ไม่มีการนำรถยนต์ประเภทนี้มาทำตลาดในประเทศไทย ขณะที่ผู้ผลิตจากญี่ปุ่น มีเพียงแค่เล็กซัส จีเอสเท่านั้น ขณะที่ผู้ผลิตรายอื่นเคยนำมาทำตลาด เช่น ฮอนด้า เลเจนด์ และมาสด้า 929 แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากเป็นการทำตลาดแบบหยั่งเชิง
รถยนต์นั่งประเภทหรูหราขนาดใหญ่ (Full-size luxury car) เป็นเสมือนสุดยอดของรถเก๋งนั่งทั้งหมด ทั้งขนาด การตกแต่งภายใน กำลังสมรรถนะของเครื่องยนต์ ความสะดวกสบายภายใน รถยนต์แบบหรูหราขนาดใหญ่ รถยนต์ประเภทนี้แทบจะไม่ใช้เครื่องยนต์แบบสี่สูบแบบที่ส่วนใหญ่ใช้ ส่วนใหญ่จะใช้เครื่องยนต์แบบ หกสูบขึ้นไป (อาจถึงสิบสองสูบก็มี) ส่วนขนาดของลูกสูบส่วนใหญ่อยู่ที่ 4500 ซีซีขึ้นไป มีน้อยมากที่จะใช้เครื่องยนต์ขนาดต่ำกว่า 3000 ซีซี รถยนต์นั่งประเภทหรูหราขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียง ได้แก่
รถยนต์นั่งสมรรถนะสูง หรือรถ Sport โดยทั่วไปจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับรถยนต์นั่งทั่วไป ยกเว้นความนิยมที่นิยมซื้อรถที่นั่งตอนเดียว สองที่นั่ง ตัวถังแบบคูเป้ (ไม่เสมอไป) เพื่อลดน้ำหนักรถยนต์ เพื่อให้รถยนต์สามารถมีอัตราเร่งได้สูง และมีวิ่งได้ในอัตราเร็วสูงกว่ารถยนต์นั่งทั่วไปเกือบสองเท่า รถยนต์นั่งสมรรถนะสูงที่มีชื่อเสียงมีมากมาย เช่น
ในอันที่จริงแล้ว ยังมีประเภทย่อยของรถSport อยู่อีก คือ Pony Car และ Muscle Car โดยที่ทั้งคู่คือรถที่มีสมรรถนะสูงในระดับต้นๆ ของรถ Sport (สูงกว่ารถ Sport ทั่วๆ ไป แต่ยังไม่สูงถึงขนาด Supercar) แต่จะแตกต่างในด้านขนาดและสมรรถนะ รถยนต์ประเภท Pony Car จะมีขนาดเทียบเท่ารถยนต์นั่งขนาดเล็กลงไป ส่วน Muscle Car จะมีขนาดเทียบเท่ารถยนต์นั่งขนาดกลางขึ้นไป (แต่ทั่งคู่ ยังถือเป็นรถยนต์ประเภท รถSport) ตัวอย่างรถประเภทนี้ ได้แก่
รถยนต์นั่งสมรรถนะสูงมาก หรือ Supercar จะเป็นรถที่สมรรถนะสูงกว่ารถสปอร์ตมาก ซูเปอร์คาร์บางรุ่น ใช้เครื่องยนต์สิบหกสูบ (รถทั่วไป สี่สูบ) มีกำลังเครื่องยนต์ถึงเกือบ 1,000 แรงม้า (รถยนต์ทั่วไป 100 แรงม้า) เครื่องยนต์ขนาดเกือบ 10,000 ซีซี (รถทั่วไป ไม่เกิน 2,500) เร่งความเร็วได้สูงสุดอาจถึง 400 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (รถทั่วไป 200) รถยนต์ซูเปอร์คาร์หลายรุ่นมีจำนวนการผลิตจำกัด มีการผลิตไม่กี่ร้อยคันในรอบหลายสิบปี ซูเปอร์คาร์ที่มีชื่อเสียง เช่น
รถยนต์เพื่อกิจกรรมสันทนาการ หรือ LAV ย่อมาจาก Leisure activity vehicle (Leisure=สันทนาการ, Activity=กิจกรรม, Vehicle=พาหนะ) ซึ่งจะเป็นรถที่มีขนาดเดียวกับรถประเภท Supermini แต่ว่าจะได้รับการออกแบบให้การใช้พื้นที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ทำให้สามารถใช้พื้นที่ภายในได้หลากหลาย จึงสามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ได้คุ้มค่า อีกทั้งยังมีขนาดเล็ก ขับง่าย ซึ่งเป็นแนวทางการออกแบบเดียวกับรถ MPV ขนาดอื่นๆ แต่รถ LAV มีขนาดเล็กมาก จึงยังมีพื้นที่ใช้สอยไม่มาก จะใช้ได้ดีกับการไปท่องเที่ยวสำหรับครอบครัวเล็ก รถ LAV ที่มีชื่อเสียง ได้แก่
รถยนต์อเนกประสงค์ขนาดเล็กมาก หรือ Mini MPV (MPV ย่อมาจาก Multi-purpose vehicle:Multi=หลากหลาย, Purpose=จุดประสงค์, Vehicle=ยานพาหนะ) มีลักษณะทางการออกแบบให้ใช้พื้นที่ยืดหยุ่น และมีขนาดใหญ่กว่า LAV จึงมีพื้นที่ใช้สอยมากขึ้น รถ Mini MPV มักมีลูกเล่นที่สำคัญคือเบาะนั่งแถว 3 ซึ่งสามารถพับเก็บได้ เมื่อพับแล้ว จะเกิดที่ว่างสำหรับวางสัมภาระจำนวนมาก และเมื่อกางเบาะ ก็จะเกิดที่นั่งรองรับได้เพิ่มขึ้น ทำให้การโดยสารไม่อึดอัด Mini MPV ที่มีชื่อเสียง ได้แก่
รถยนต์อเนกประสงค์ขนาดเล็ก หรือ Compact MPV คล้ายกับ Mini MPV แต่จะใหญ่กว่า พื้นที่ใช้สอยมีมากขึ้น รถยนต์ Compact MPV ที่มีชื่อเสียง ได้แก่
รถยนต์อเนกประสงค์ขนาดใหญ่ หรือ Large MPV คล้ายกับ Compact MPV แต่จะใหญ่ขึ้นไปอีก (ไม่มี Mid-size MPV) ที่มีชื่อเสียง ได้แก่
รถยนต์อเนกประสงค์สมรรถนะสูง หรือ SUV (ย่อมาจาก Sport Utility Vehicle : Sport=สมรรถนะสูง(แบบรถสปอร์ต), Utility=สารประโยชน์, Vehicle=พาหนะ) เป็นคล้ายๆ กับรถ MPV แต่จะต่างที่ MPV จะใช้สอยพื้นที่ยืดหยุ่นมากกว่า และมักใช้เครื่องยนต์เบนซิน ในขณะที่ SUV จะมีสมรรถนะสูงกว่า สามารถใช้ไต่เขาชันและวิ่งทางวิบากได้ดีกว่า แต่การใช้สอยพื้นที่อาจไม่ยืดหยุ่น(อเนกประสงค์)หลากหลายเท่า MPV แต่ก็ถือว่าอเนกประสงค์มากกว่ารถเก๋ง และเพียงพอที่จะเรียกว่าเป็นรถเนกประสงค์ รถยนต์ Mini SUV ที่มีชื่อเสียง ได้แก่
ตลาดรถยนต์อเนกประสงค์สมรรถนะสูงขนาดเล็กมากในประเทศไทยถือเป็นตลาดใหม่ เริ่มมีการบุกตลาดอย่างจริงจังในปี พ.ศ. 2556 โดยรถรุ่น นิสสัน จู๊ค และ ฟอร์ด เอคโคสปอร์ต ต่อมาในปี พ.ศ. 2557 ฮอนด้าได้นำฮอนด้า เอชอาร์-วีมาทำตลาด โดยฟอร์ด เอคโค่สปอร์ต และฮอนด้า เอชอาร์-วีเป็นรถประกอบในประเทศ
ตลาดรถยนต์อเนกประสงค์สมรรถนะสูงขนาดเล็กในประเทศไทยนั้นเริ่มตั้งแต่ยุคหลังปี พ.ศ. 2535 โดยซูซูกิ วิทาร่า และเกีย สปอร์ตเทจ ซึ่งเป็นรถนำเข้าแต่ได้รับความนิยมสูง เนื่องจากรัฐบาลไทยในขณะนั้นลดอัตราภาษีรถยนต์นำเข้า และในขณะนั้นมีแต่รถ SUV ที่สร้างบนพื้นฐานของรถกระบะซึ่งไม่เหมาะนักกับการใช้งานในเมือง จึงได้รับความนิยมสูง ต่อมาฮอนด้า ซีอาร์-วี และโตโยต้า ราฟโฟร์ก็เข้ามาบุกตลาดอย่างจริงจังในปี พ.ศ. 2539 โดยซีอาร์-วีนั้นประสบความสำเร็จสูงมากกว่ารถที่อยู่ในตลาดขณะนั้น เนื่องจากความสดใหม่ ทำให้ลูกค้าที่เคยอุดหนุนรุ่นแรกๆ หนีไปซื้อซีอาร์-วีกันเยอะ จนทำให้ทั้ง 2 รายสูญเสียความเป็นผู้นำตลาด เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกียเกือบเลิกทำการตลาดในไทย และเกือบล้มละลาย ส่วนราฟโฟร์ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ต่อมาซีอาร์-วีเริ่มมาประกอบในประเทศ ทำให้เกียและซูซูกิเริ่มค่อยๆ หายไปจากตลาด ขณะเดียวกัน ฟอร์ด เอสเคปและมาสด้า ทริบิวต์เริ่มเข้ามาบุกตลาดโดยนำเข้าจากฟิลิปปินส์ในปี พ.ศ. 2547 ในปี พ.ศ. 2548 นิสสันนำเข้าเอ็กซ์เทรลมาจากอินโดนีเซีย แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ในปี พ.ศ. 2550 เชฟโรเลตเริ่มทำตลาดเชฟโรเลต แคปติวาโดยประกอบในประเทศ
อย่างไรก็ตาม ตลาดรถยนต์อเนกประสงค์สมรรถนะสูงในประเทศไทยมักจะเป็นรถยนต์อีกประเภทหนึ่งซึ่งสร้างด้วยแนวคิดใหม่ คือการใช้รถยนต์กระบะรุ่นขับเคลื่อนสี่ล้อ หรือรุ่นยกสูง มาดัดแปลงกลายเป็นรถยนต์โดยสาร ต่างจากเดิมที่เป็นรถรุ่นที่สร้างมาโดยเฉพาะ ในประเทศไทย จะเรียกรถประเภทนี้ว่า "รถกระบะดัดแปลง" หรือ PPV (Pick-up Passenger Vehicle) ซึ่งจะมีข้อเสียที่ความนุ่มนวล เนื่องจากเป็นรถที่มีพื้นฐานจากกระบะ แต่ก็มีข้อดีในด้านต้นทุนการผลิตและภาษี รถ PPV ซึ่งจัดเป็นรถขนาดกลาง แต่กลับราคาต่ำกว่ารถอเนกประสงค์ขนาดเล็ก ทั้งยังได้ขนาดใหญ่กว่า เครื่องยนต์พละกำลังสูงกว่า มีความคุ้มค่ามากกว่าในหลายประการ PPV ที่มีชื่อเสียง เช่น
ด้วยเหตุนี้ ในตลาดโลกจึงมีรถยนต์นั่งอเนกประสงค์สมรรถนะสูงขนาดกลางอยู่ 2 ประเภท คือพื้นฐานรถยนต์นั่ง และพื้นฐานรถกระบะ ซึ่งรถยนต์อเนกประสงค์สมรรถนะสูงขนาดอื่น มีเฉพาะพื้นฐานรถยนต์นั่ง
รถกระบะ เป็นรถที่มีพื้นที่ว่างด้านท้ายรถจำนวนมาก และห้องโดยสารมีพื้นที่น้อย มักใช้ในธุรกิจขนาดเล็กและกลาง รถกระบะขนาดเล็กมาก ที่มีชื่อเสียง เช่น
มีรถยนต์อยู่จำนวนหนึ่งที่ไม่เข้าเงื่อนไขของรถยนต์ประเภทใดๆ เลย จึงมีประเภทพิเศษสำหรับรถในลักษณะพิเศษ เช่น