2. ไซปรัสเหนือมีประธานาธิบดีแยกต่างหาก
3. ไม่เป็นที่ยอมรับของประเทศตุรกี ซึ่งยอมรับ ไซปรัสเหนือแทน
4. แบ่งเป็นไซปรัส (ส่วนใต้) 5,895 กม.? และไซปรัสเหนือ (ส่วนเหนือ) 3,355 กม.?
5. ไม่รวม 323,657 คนในไซปรัสเหนือ
6. ไม่รวมชาวไซปรัสเหนือ
ไซปรัส (อังกฤษ: Cyprus; กรีก: ??????; ตุรกี: K?br?s) หรือ สาธารณรัฐไซปรัส (อังกฤษ: Republic of Cyprus; กรีก: ???????? ??????????; ตุรกี: K?br?s Cumhuriyeti) เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตะวันออก อยู่ทางใต้ของประเทศตุรกี 44 ไมล์ อยู่ทางตะวันตกของชายฝั่งประเทศซีเรียประมาณ 64 ไมล์ และห่างจากเกาะโรดส์ และเกาะคาร์ปาทอส ทางตะวันออกเฉียงใต้ของกรีซ 240 ไมล์ ไซปรัสเป็นจุดหมายหนึ่งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่นักท่องเที่ยวนิยมไปมากที่สุด โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวประมาณ 2.4 ล้านคนต่อปี
ไซปรัสได้รับเอกราชจากการเป็นอาณานิคมจากสหราชอาณาจักร เมื่อปี 1960 และเป็นประเทศสมาชิกในเครือจักรภพในปี 1961
เศรษฐกิจของประเทศไซปรัสมีความหลากหลายและมีอัตราการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดตามประมาณการของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF) ประมาณการไว้ว่า จีดีพีต่อหัวของไซปรัสน่าจะอยู่ที่ประมาณ 28,381 ดอลลาร์สหรัฐ/คน/ปี ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มสหภาพยุโรป
นโยบายสำคัญของรัฐบาลไซปรัส คือ ทำให้ประเทศไซปรัสเป็นฐานสำหรับทำธุรกิจของชาวต่างชาติ และ พยายามผลักดันให้ไซปรัสเข้าเป็นหนึ่งในกลุ่มสหภาพยุโรปให้ได้ และได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
ไทยและไซปรัสได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2523 ปัจจุบัน สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโรม มีเขตอาณาครอบคลุมไซปรัส โดยเอกอัครราชทูตไทยประจำสาธารณรัฐไซปรัส มีถิ่นพำนัก ณ กรุงโรม (อิตาลี) คนปัจจุบันคือ นายสุรพิทย์ กีรติบุตร และมีนายอีเลียส แพนนาอีเดส เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำไซปรัส ส่วนเอกอัครราชทูตไซปรัสประจำประเทศไทยคนปัจจุบัน คือ นาง มาเรีย ไมเคิล โดยมีถิ่นพำนักอยู่ที่กรุงนิวเดลี, ประเทศอินเดีย และนายปณิธิ วสุรัตน์ เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์ไซปรัสประจำไทย
คริสต์นิกายกรีกออร์เทอร์ด็อกซ์ 89.1% คาทอลิก 2.9% มุสลิม 1.8% โปรแตสแตนท์ 2% พุทธ 1% และอื่นๆ (ได้แก่ มาโรไนท์ อาร์เมเนียน อโพสโทลิค และฮินดู) 1.4% ระบุไม่ได้ 1.1 ไม่มีศาสนา 0.6 (พ.ศ. 2554)
กรีก 80.9% ตุรกี 0.2 % และอังกฤษ 4.1% โรมาเนียน 2.9% รัสเซีย 2.5% บัลแกเรีย 2.2% อารบิก 1.2% ฟิลิปปินส์ 1.1% อื่นๆ 4.3% ระบุไม่ได้ 0.6% (สัมมะโนประชากร พ.ศ. 2554)