อัฟกานิสถาน (อังกฤษ: Afghanistan; พัชโต: ??????????) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ มีอาณาเขตทางทิศตะวันตกจรดประเทศอิหร่าน ทางทิศใต้และตะวันออกติดปากีสถาน ทางทิศเหนือติดเติร์กเมนิสถาน อุซเบกิสถาน และทาจิกิสถาน ส่วนทางทิศตะวันออกสุดติดประเทศจีน อัฟกานิสถานไม่มีทางออกสู่ทะเล
ระหว่างการล้มตอลิบานโดยรุกรานอัฟกานิสถานของสหรัฐอเมริกา และความสำเร็จของโลยา จีร์กา ในปี พ.ศ. 2546 ชาวตะวันตกเรียกอัฟกานิสถานว่า Transitional Islamic State of Afghanistan อย่างไรก็ดี ภายใต้รัฐธรรมนูญของอัฟกานิสถานฉบับปัจจุบัน ประเทศนี้เรียกว่า สาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน ในปัจจุบันเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก
อัฟกานิสถานเคยมีระบอบการปกครองแบบรัฐสภา มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ จนกระทั่งปี 2516 พลโทซาดาร์ ข่าน (Sadar Khan) ได้ปฏิวัติยึดอำนาจ และเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบสาธารณรัฐและสถาปนาตนเองขึ้นเป็นประธานาธิบดี แต่ผู้นำอัฟกานิสถานในยุคต่อมาเริ่มมีท่าทีใกล้ชิดสหรัฐฯ ทำให้สหภาพโซเวียตไม่พอใจและส่งกองกำลังเข้ายึดครองอัฟกานิสถานในปี 2522 เพื่อสถาปนาระบอบการปกครองแบบสังคมนิยมขึ้นแทน
ระหว่างการยึดครองของสหภาพโซเวียต ปี 2522 - 2532 ได้เกิดขบวนการต่อต้านระบอบการปกครองแบบสังคมนิยมในนามกลุ่มมูจาฮีดีน ซึ่งได้โค่นล้มรัฐบาลที่เข้าข้างสหภาพโซเวียตได้สำเร็จในปี 2535 แต่กลับไม่สามารถร่วมกันปกครองประเทศได้ เพราะเกิดความแตกแยกและแย่งชิงอำนาจกัน ในที่สุดกลุ่มนักศึกษาหัวรุนแรงที่ได้รับการศึกษาจากปากีสถานได้รวมตัวกันจัดตั้งกองกำลังตอลิบานขึ้น และมีความเข้มแข็งจนสามารถยึดกรุงคาบูลได้ในปี 2539 ตั้งรัฐบาลตอลิบานขึ้นปกครองประเทศโดยครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งหมดอยู่จนถึงปี 2544
หลังเหตุการณ์ 911 ในปี 2544 สหรัฐฯ ได้ส่งกองกำลังเข้าโจมตีอัฟกานิสถานเพื่อโค่นล้มรัฐบาลตอลิบาน และมุ่งที่จะจับนายอุซามะห์ บิน ลาดิน (Osama Binladen) ซึ่งสหรัฐฯ สามารถโค่นล้มรัฐบาลตอลิบานได้สำเร็จในปลายปี 2544 และสหรัฐฯ สนับสนุนการจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวในอัฟกานิสถาน และมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการเมืองการปกครองในอัฟกานิสถานมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน
ตามรัฐธรรมนูญของอัฟกานิสถาน กำหนดให้ประธานาธิบดีเป็นประมุขและผู้นำในการบริหารประเทศ มีการกระจายอำนาจการปกครองออกเป็นจังหวัด แบ่งออกเป็น 34 จังหวัด (Province) อย่างไรก็ตาม ในแง่การบริหารจัดการระบบการปกครองภายในประเทศยังไม่ดีนัก เนื่องจากเพิ่งฟื้นตัวจากสงคราม และอำนาจของรัฐบาลกลางยังครอบคลุมไม่ทั่วถึงพื้นที่ห่างไกล!!!
มีรัฐสภา (National Assembly) ซึ่งประกอบด้วย 2 สภา ได้แก่ 1) สภาผู้แทนราษฎร (House of People หรือ Wolesi Jirga) ประกอบด้วยสมาชิกไม่เกิน 249 คน ได้รับการเลือกตั้งโดยตรง ดำรงตำแหน่งวาระ 5 ปี และ 2) สภาอาวุโส (House of Elders หรือ Meshrano Jirga) มีสมาชิก 102 คน ซึ่งแบ่งการสรรหาออกเป็น 3 วิธี ในจำนวนที่เท่า ๆ กัน โดยสมาชิก 34 คนได้รับเลือกจากคณะบริหารระดับจังหวัด (Provincial Council) ดำรงตำแหน่งวาระ 4 ปี สมาชิกอีก 34 คน ได้รับเลือกจากคณะบริหารระดับท้องถิ่น (Local District Council) ดำรงตำแหน่งวาระ 3 ปี และสมาชิกอีก 34 คน ได้รับแต่งตั้งจากประธานาธิบดี ดำรงตำแหน่งวาระ 5 ปี
นอกจากนี้ อาจมีการประชุมใหญ่ของผู้แทนทุกภาคส่วนที่เรียกว่า Loya Jirga ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกรัฐสภาทั้งหมดจากทั้งสองสภา ร่วมกับคณะกรรมการบริหารระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่นทั้งหมด โดยที่ประชุมใหญ่นี้จะจัดขึ้นเฉพาะกรณีที่ต้องพิจารณาประเด็นระดับชาติเท่านั้น คือ ประเด็นที่เกี่ยวกับเอกราช อธิปไตยของชาติ และเกี่ยวกับดินแดน รวมถึงการฟ้องร้องประธานาธิบดี
ประธานาธิบดีเป็นทั้งประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร มีรองประธานาธิบดี 2 คน ซึ่งทั้งหมดดำรงตำแหน่งโดยรับเลือกตั้งจากประชาชน มีวาระ 5 ปี และประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นาย Hamid Karzai ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญให้อำนาจประธานาธิบดีแต่งตั้งรัฐมนตรีร่วมบริหารประเทศ โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา และรัฐมนตรีมีจำนวนทั้งสิ้น 25 คน
ตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กำหนดให้อัฟกานิสถานมีศาลฎีกา (Supreme Court) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Stera Mahkama มีผู้พิพากษาจำนวน 9 คน แต่งตั้งโดยประธานาธิบดีและต้องให้สภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบ ดำรงตำแหน่งวาระ 10 ปี รองลงมามีศาลสูง (High Court) และศาลอุทธรณ์ (Appeals Court) ด้วย
แม้รัฐธรรมนูญจะกำหนดหน่วยงานระดับจังหวัดและท้องถิ่น คือ คณะบริหารระดับจังหวัด (Provincial Council) และคณะบริหารระดับท้องถิ่น (Local District Council) แล้ว แต่ดังที่กล่าวข้างต้นว่า ระบบการบริหารการปกครองของอัฟกานิสถานยังจัดการได้ไม่ดีนัก เนื่องจากเป็นระบบที่วางขึ้นใหม่ และอำนาจของรัฐบาลกลางยังอ่อนแอ ความเชื่อมโยงของการบริหารอำนาจระหว่างท้องถิ่นกับส่วนกลางจึงยังขาดความชัดเจน
ตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 33 องศาเหนือ และลองจิจูด 65 องศาตะวันออก มีพื้นที่ 647,500 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงในเขตเทือกเขาฮินดูกูซ จุดต่ำสุดอยู่ที่แม่น้ำอมู สูง 258 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลไม่มีทางออกทะเล
มีก๊าซธรรมชาติพบที่เมืองชีเบอร์กานใกล้พรมแดนประเทศเติร์กเมนิสถาน แหล่งผลิตก๊าซที่สำคัญของประเทศคือ ควาเจะห์ ราวัช และยาติม ตัก นอกจากนี้มีแหล่งน้ำมันที่ยังไม่ได้ขุดขึ้นมาใช้ และแหล่งถ่านหินในจังหวัดบากลานและจังหวัดบาลัก แร่ธาตุที่สำคัญ พบแร่เหล็กที่หัจญีกัต ใกล้กรุงคาบูล แร่ทองแดงพบที่อายนัก แร่ยูเรเนียมพบที่ ควาเจะห์ ราวัช อัญมณีในจังหวัดบาดักชาน และแร่อื่น ๆ อีกมาก
ประเทศอัฟกานิสถาน นอกจากถูกจัดให้ยากจนที่สุดในเอเชียแล้ว ยังครองอันดับ 1 ประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกอีกด้วย[ต้องการอ้างอิง]
นักวิเคราะห์ชี้ว่า สาเหตุที่ประเทศอัฟกานิสถานมีฐานะยากจนมากที่สุดมีปัจจัยหลายสาเหตุด้วยกัน อาทิ ประชากร?ในอัฟกานิสถานว่างงานกว่า 35%, กว่า 36% มี?ความ?เป็นอยู่ต่ำกว่ามาตรฐานของ?โลก, 2 ?ใน 3 ของประชากรมีชีวิตอยู่ด้วยราย?ได้ที่น้อยกว่าวันละ 2 ดอลล่าสหรัฐ, เป็นประ?เทศที่อยู่?ในภาวะสงคราม และราย?ได้หลักประมาณ 1 ?ใน 3 ของประ?เทศมาจาก?การลักลอบค้ายา?เสพติด ?เช่น กัญชา ฝิ่น ?เป็นต้น[ต้องการอ้างอิง]
ส่วนใหญ่เป็นแบบยังชีพและเลี้ยงสัตว์เร่ร่อน พืชสำคัญที่ปลูกคือข้าวสาลี ฝ้าย และมีชื่อเสียงในการผลิตฝิ่นเพื่อผลิตยาเสพติด
เชื้อชาติ: ปุชตู 42% ทาจิก 27% ฮาซารา 9% อุซเบก 9% เติร์กเมน 3% บาลอช 2% อื่น ๆ เช่น ปาไช นูริสตานี บราหุ่ย และคิซิลเบช 4%
ภาษาพาซตู 35% ภาษาดารี 56% ภาษากลุ่มเติร์ก (ส่วนใหญ่เป็นภาษาอุซเบก และภาษาเติร์กเมน) 11% และภาษาของชนเผ่าอีก 30 ภาษา รวมเป็น 4% ประชากรส่วนใหญ่พูดได้ 2 ภาษา
แม้จะยากจน แต่ชาวอัฟกันก็ยังคงเฉลิมฉลองเทศกาลสำคัญทางศาสนาอิสลาม โดยเฉพาะเทศกาลระมะฏอน ซึ่งเป็นการสิ้นสุดของการถือศีลอดอันศักดิ์สิทธิ์ ประชาชนจะไปเยี่ยมเพื่อนหรือครอบครัวและรับประทานอาหารฉลองร่วมกัน ศิลปะแกรเต้นรำ attan ยังคงเฟื่องฟูในอัฟกานิสถาน
ในอดีตประเทศอัฟกานิสถานได้นับถือพระพุทธศาสนา พระเจ้าเมนันเดอร์ หรือ มิลินท์และพระนาคเสน ก็เป็นประจักษ์พยานของการมีอยู่ของพระพุทธศาสนาในอดีต และมีหลักฐาน เช่น พระพุทธรูปบามิยัน ที่เมืองบามิยันซึ่งมีอายุมากกว่า 2,000 ปี แต่ต่อมาในยุคหลังได้ถูกพวกตาลีบันทำลายทิ้งทั้งหมด
ชาวอัฟกานิสถานในปัจจุบันส่วนมากนับถือศาสนาอิสลาม98 % (สุหนี่83.2 % ชีอะห์ 14.9 %) ศาสนาโซโรอัสเตอร์ 1.4 % ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู 0.4 % ศาสนาคริสต์ 0.1 %