ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ประเทศลักเซมเบิร์ก

ลักเซมเบิร์ก (อังกฤษ: Luxembourg; ลักเซมเบิร์ก: L?tzebuerg; ฝรั่งเศส: Luxembourg; เยอรมัน: Luxemburg) หรือ ราชรัฐลักเซมเบิร์ก (อังกฤษ: Grand Duchy of Luxembourg; ลักเซมเบิร์ก: Groussherzogtum L?tzebuerg; ฝรั่งเศส: Grand-Duch? de Luxembourg; เยอรมัน: Gro?herzogtum Luxemburg) เป็นนครรัฐที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปยุโรป มีพรมแดนด้านตะวันออกติดกับประเทศเยอรมนี ด้านใต้ติดกับฝรั่งเศส และด้านตะวันตกติดกับเบลเยียม

ราชรัฐลักเซมเบิร์กเป็นนครรัฐ มีประวัติความเป็นมาย้อนหลังมากกว่า 1,000 ปี เมื่อปี พ.ศ. 1506 เคานท์ซิเอกฟิลด์แห่งลักเซมเบิร์ก เคานท์แห่งอาร์เดนเนส และผู้ก่อตั้งราชวงศ์ลักเซมเบิร์กสร้างปราสาทในบริเวณเมืองหลวงของลักเซมเบิร์กในปัจจุบัน ซึ่งกลายเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในสมัยนั้น เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีภูเขาสลับซับซ้อนล้อมรอบหลายชั้น เป็นที่รู้กันทั่วไปในนาม “ยิบรอลตราทางเหนือ” (The Gibraltar of the North) ในช่วงปลายยุคกลางจนถึงศตวรรษที่ 15 ราชวงศ์ลักเซมเบิร์กมีความรุ่งเรืองมาก กษัตริย์หลายพระองค์ในยุโรปสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์นี้ อาทิ จักรพรรดิปกครองเยอรมนี 4 พระองค์ กษัตริย์ปกครองโบฮีเมีย 4 พระองค์ และกษัตริย์ปกครองฮังการี 1 พระองค์ กษัตริย์ที่มีชื่อเสียงของลักเซมเบิร์ก ในยุคนั้น ได้แก่ สมเด็จพระจักรพรรดิไฮนริคที่ 7 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์,พระเจ้าจอห์นแห่งโบฮีเมียและดยุกแวนเซลอสที่ 1 แห่งลักเซมเบิร์ก จากนั้นก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจเบอร์กันดีในปีพ.ศ. 2010 เมื่อดัสเชสเอลิซาเบธที่ 2 ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ลักเซมเบิร์กพระองค์สุดท้าย ทรงได้สละสิทธิอันชอบธรรมของพระนางในราชบัลลังก์ พระโอรสของฟิลลิปเดอะกูด ดยุกแห่งเบอร์กันดีคือ ชาร์ลส์เดอะโบลด์ ดยุกแห่งเบอร์กันดีทรงยอมรับพระอิศริยยศนี้โดยรวมเข้ากับพระยศ"ดยุกแห่งเบอร์กันดี" หลังจากนั้นลักเซมเบิร์กประสบความพ่ายแพ้ในสงครามหลายครั้ง และตกอยู่ภายใต้การปกครองของชาติต่าง ๆ เช่น สเปน ฝรั่งเศส ออสเตรีย และรัสเซีย จนกระทั่งสิ้นสุดพุทธศตวรรษที่ 19 ในปี พ.ศ. 2358 ลักเซมเบิร์กได้รับอิสรภาพอีกครั้ง โดยประชุมที่เวียนนา (Congress of Vienna) ได้ยกฐานะของลักเซมเบิร์กจาก Duchy เป็น Grand Duchy และมอบให้เป็นพระราชสมบัติส่วนพระองค์ของกษัตริย์เนเธอร์แลนด์ ให้สิทธิในการปกครองแก่สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเล็มที่ 1 แห่งเนเธอร์แลนด์และในปี พ.ศ. 2410 สนธิสัญญาลอนดอน (Treaty of London 1867) ได้รับรองบูรณภาพ แบ่งดินแดน และสิทธิในการปกครองตนเองของลักเซมเบิร์ก

โดยที่ในปี พ.ศ. 2433 ภายหลังการสวรรคตของสมเด็จพระราชาธิบดีวิลเล็มที่ 3 แห่งเนเธอร์แลนด์ เจ้าหญิงวิลเฮลมินา ทรงเป็นรัชทายาทเพียงพระองค์เดียวได้ขึ้นครองราชสมบัติเนเธอร์แลนด์ โดยไม่ผูกมัดตามข้อตกลงของราชสกุล อย่างไรก็ตามราชบัลลังก์ลักเซมเบิร์กได้ผ่านไปถึงเชื้อสายบุรุษของราชวงศ์นัสเซาสายอื่น คือ ดยุกอดอลฟ์ผู้ถูกขับออกจากตำแหน่งดยุกแห่งนัสเซาและเป็นประมุขของสายราชวงศ์นัสเซา-เวลเบิร์ก และแกรนด์ดยุกของลักเซมเบิร์กในสมัยนั้นโดยไม่มีพระราชโอรสสืบทอด ทำให้ราชวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ของเนเธอร์แลนด์ตระกูลนัสเซาซึ่งก็คือ แกรนด์ดยุกอดอลฟ์แห่งลักเซมเบิร์กได้ขึ้นครองราชย์แทน ในปีพ.ศ. 2450 แกรนด์ดยุกวิลเล็มที่ 4 แห่งลักเซมเบิร์กผู้เป็นพระโอรสเพียงองค์เดียวของแกรนด์ดยุกอดอลฟีได้รับสิทธิการชอบธรรมแก่พระธิดาองค์โตคือเจ้าหญิงมารี อเดเลด ซึ่งเป็นสิทธิในการสืบราชสมบัติด้วยความบริสุทธิ์แห่งการไร้บุรุษในราชวงศ์ และระบุไว้ในกฎดั้งเดิมราชสกุลนัสเซา พระนางจึงทรงเป็นแกรนด์ดัสเชสพระองค์แรกผู้ปกครองแกรนด์ดัชชีแห่งลักเซมเบิร์กเมื่อพระบิดาเสด็จสวรรคตในปีพ.ศ. 2455 และทรงสละราชสมบัติในปีพ.ศ. 2462 พระขนิษฐาจึงครองราชย์สืบต่อคือแกรนด์ดัชเชสชาร์ล็อต และลักเซมเบิร์กเริ่มต้นมีราชวงศ์ของตนเองในรัชสมัยของแกรนด์ดัชเชสชาร์ล็อตแห่งลักเซมเบิร์ก (Grand Duchess Charlotte) ลักเซมเบิร์กได้พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี การพัฒนาดังกล่าวได้หยุดชะงักลงเมื่อเยอรมนีได้เข้ายึดครองลักเซมเบิร์กในระหว่างสงครามโลกทั้งสองครั้ง ทั้งๆ ที่ ลักเซมเบิร์กได้ประกาศความเป็นกลาง ต่อมาในปี พ.ศ. 2507 กษัตริย์ของลักเซมเบิร์กคือ แกรนด์ดยุกฌองแห่งลักเซมเบิร์ก (Grand Duke Jean) ได้ขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระราชชนนี คือ แกรนด์ดัชเชสชาร์ล็อต ซึ่งสละราชสมบัติให้แก่พระราชโอรสหลังจากที่ทรงครองราชย์มานานถึง 45 ปี กษัตริย์องค์ปัจจุบันของลักเซมเบิร์กคือ แกรนด์ดยุกอ็องรีที่ 1 แห่งลักเซมเบิร์ก (Grand Duke Henri) ขึ้นครองราชสมบัติเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 2543 เป็นกษัตริย์องค์ที่ 6 ของราชวงศ์ นัสเซา-เวลเบิร์ก สืบต่อจากแกรนด์ดยุกฌอง พระราชชนก ซึ่งสละราชสมบัติหลังจากที่ครองราชย์นานถึง 36 ปี ให้แก่พระราชโอรส ภายหลังได้รับการปลดปล่อยโดยกองทัพของฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ลักเซมเบิร์กได้ยกเลิกนโยบายความเป็นกลางและเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์กรด้านการเมือง เศรษฐกิจและการทหาร เช่น สหภาพยุโรป องค์กรสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ หรือ นาโต้ สหภาพยุโรปตะวันตก (Western European Union-WEU) และ OSCE (Organization for Security and Cooperation in Europe)

เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 พรรค CSV (Christian Socialist Party) และพรรค LSAP (Luxembourg Socialist Workers’ Party) ซึ่งเป็นพรรคที่ได้รับเสียงข้างมากในการเลือกตั้งทั่วไปในลักเซมเบิร์ก เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2547 ได้บรรลุการเจรจาจัดสรรตำแหน่งรัฐมนตรี โดยมีนายชอง-โกลด จุงก์เกอร์หัวหน้าพรรค CSV ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่สาม และนายฌอง แอสเซลบอร์น หัวหน้าพรรค LSAP ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการเข้าเมือง ทั้งนี้ นายชอง-โกลด จุงก์เกอร์ได้นำคณะรัฐมนตรีรวม 15 ราย เข้าถวายสัตย์ปฏิญาณตนเพื่อเข้ารับหน้าที่ต่อแกรนด์ดยุกอ็องรีแห่งลักเซมเบิร์กในวันเดียวกัน

นโยบายของรัฐบาลให้ความสำคัญพัฒนาให้ทันสมัย (modernization) นวัตกรรม (innovation) การปรับโอน (transformation) และบูรณาการ (integration) ในทุกๆ ด้าน

นโยบายด้านการเงินการคลังจะเน้นความยืดหยุ่น จะดำเนินการด้วยความระมัดระวัง ส่วนการดำเนินนโยบายด้านงบประมาณจะต้องสอดคล้องกับ Stability Pact และนโยบายการพัฒนาของสหภาพยุโรป รวมทั้งจะปรับเปลี่ยนปีงบประมาณให้ตรงกับช่วงปีงบประมาณของสหภาพยุโรป

นโยบายด้านเศรษฐกิจจะเน้นการส่งเสริมการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ความทันสมัย และรูปแบบที่เปิดรับต่อปัจจัยและเงื่อนไขใหม่ๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยให้มีการค้นคว้าและวิเคราะห์สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมด้าน e-dynamic การลงทุนด้านสาธารณูปโภคเพิ่มขีดความสามารถทางด้านการคมนาคม อาทิ ถนนและเส้นทางรถไฟ

โดยที่ลักเซมเบิร์กเป็นประเทศขนาดเล็ก จึงให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นต่อความร่วมมือกับประเทศในยุโรปตะวันตก ทั้งในกรอบทวิภาคี EU และ NATO เพื่อเป็นหลักประกันต่อเอกราช

ด้านความมั่นคง ลักเซมเบิร์กมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งพัฒนาขีดความสามารถด้านความมั่นคงเพื่อตอบสนองต่อภารกิจของชาติและภารกิจในกรอบของ NATO และ EU โดยจะเพิ่มงบประมาณด้านความมั่นคงร้อยละ 1.2 ของ GDP และเร่งปรับปรุงสถานที่ตั้งทางการทหาร ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการเข้าร่วมปฏิบัติภารกิจการรักษาสันติภาพในกรอบระหว่างประเทศ เพื่อตอบสนองต่อเงื่อนไขใหม่ๆ ของ NATO และ EU

ลักเซมเบิร์กยังมีบทบาทสำคัญในการให้ความช่วยเหลือแก่ต่างประเทศ และเป็นประเทศหนึ่งที่ปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ของ UN ในการให้เงินช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และในปีพ.ศ. 2544 ลักเซมเบิร์กให้เงินช่วยเหลือแก่ต่างประเทศร้อยละ 0.8 ของ GDP ซึ่งเกินเป้าหมายของ UN และ OECD นอกจากนั้น ลักเซมเบิร์กมีแผนการที่จะเพิ่มเงินช่วยเหลือให้ถึงร้อยละ 1 ในปีพ.ศ. 2548 เพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศที่มีความยากจนและประสบภัยสงคราม

ประเทศลักเซมเบิร์กแบ่งเป็น 3 เขต หน่วยการปกครอง 12 หน่วยและคอมมูน 116 คอมมูน 12 คอมมูนมีเมืองประจำคอมมูนที่ซึ่งมีเมืองลักเซมเบิร์กเป็นเมืองใหญ่สุด

ลักเซมเบิร์กเป็นหนึ่งในประเทศที่มีขนาดเล็กที่สุดในยุโรป และมีขนาดเป็นอันดับ 167 ของโลก พื้นที่ทั่วประเทศ 2,586 ตารางกิโลเมตร ทางตะวันตกของประเทศ ติดกับจังหวัดลักเซมเบิร์กของเบลเยียม ซึ่งมีพื้นที่ใหญ่ (4,443 ตารางกิโลเมตร) เกือบสองเท่าของประเทศลักเซมเบิร์ก

ทางตอนเหนือของประเทศ เป็นเนินเขาและภูเขาเตี้ย ๆ จุดสูงสุดอยู่ที่ Buurgplaatz มีความสูง 559 เมตร พื้นที่อื่น ๆ มักจะเป็นเนินเขาเตี้ย ๆ เช่นกัน

ภาคการบริการเป็นสาขาเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของลักเซมเบิร์ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาการเงินการธนาคาร โดยลักเซมเบิร์กมีกฎหมายด้านการเงินที่ดึงดูดนักลงทุน ทำให้ลักเซมเบิร์กกลายเป็นศูนย์กลางด้านกองทุนลงทุนที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสี่ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น โดยจะเห็นได้จากการที่ในปี 2543 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศลักเซมเบิร์กมาจากภาคบริการถึงร้อยละ 69 (ภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 30 และภาคการเกษตร ร้อยละ 1) และมีแรงงานถึงร้อยละ 90 ของแรงงานทั้งหมดทำงานในภาคบริการ (ภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 8 และภาคการเกษตร ร้อยละ 2)

สภาวะเศรษฐกิจ ลักเซมเบิร์กมีเศรษฐกิจมั่นคง อัตราเงินเฟ้อและอัตราการว่างงานต่ำ ภาคอุตสาหกรรมซึ่งในอดีตเหล็กกล้าเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญที่สุด แต่ปัจจุบันได้มีอุตสาหกรรมประเภทอื่น ๆ เพิ่มขึ้น ได้แก่ เคมีภัณฑ์ ยาง และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ การเจริญเติบโตทางภาคการเงิน ซึ่งอัตราหนี้สาธารณะต่อ GDP คิดเป็นร้อยละ 22 ส่วนใหญ่นำไปชดเชยให้กับอุตสาหกรรมเหล็กกล้า ธนาคารส่วนใหญ่มีชาวต่างชาติเป็นเจ้าของ ภาคเกษตรกรรมมีลักษณะเป็นไร่ขนาดเล็ก แรงงานต่างชาติหรือแรงงานข้ามชาติมีส่วนสำคัญมากในด้านเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 30 ของแรงงานทั้งหมด ถึงแม้ว่าลักเซมเบิร์กจะได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจโลกที่ซบเซาเหมือนเช่นประเทศอื่น ๆ แต่ก็ยังสามารถรักษาให้อัตราการเจริญเติบโตยังเข้มแข็งต่อไปได้

สหภาพเศรษฐกิจเบลโก-ลักเซมเบิร์ก เบลเยียมและลักเซมเบิร์กได้จัดตั้งสหภาพเศรษฐกิจเบลโก-ลักเซมเบิร์ก (Belgium-Luxembourg Economic Union - BLEU) ระหว่างกันเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2464 ซึ่งทำให้การเก็บสถิติการค้าและการลงทุนมักจะเป็นไปบนพื้นฐานของตัวเลขของทั้งสองประเทศรวมกัน นอกจากนี้ มีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของทั้งสองประเทศไว้ที่อัตราส่วนหนึ่งต่อหนึ่ง (one-to-one parity) สหภาพเศรษฐกิจเบลโก- ลักเซมเบิร์กมีลักษณะสำคัญ ดังนี้ 1. จัดระบบการค้าเสรีระหว่างกัน 2. มีการประสานนโยบายในด้านเศรษฐกิจ การเงิน และสังคม รวมทั้ง ปรับกฎหมายภายในประเทศทั้งสองให้สอดคล้องกัน 3. ธนาคารแห่งประเทศเบลเยี่ยมจะทำหน้าที่เป็นธนาคารกลางของ ทั้งสองประเทศ 4. ใช้กฎหมายด้านการปริวรรตเงินตราต่างประเทศแบบเดียวกัน 5. มีการจำกัดปริมาณเงินฟรังค์ลักเซมเบิร์ก โดยกำหนดปริมาณเป็นระยะ ๆ ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ เงินฟรังค์ของทั้งสองประเทศมีค่าเท่ากัน 6. เบลเยีมจะมีบทบาทนำด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากลักเซมเบิร์กมี GDPประมาณร้อยละ 4.5 ของ GDP เบลเยียม และลักเซมเบิร์กได้เน้นภาคบริการโดยเฉพาะเป็นศูนย์กลางทางการเงินและการธนาคาร โดยมีนโยบายด้านการเงินที่เสรี และอัตราภาษีเงินได้ที่ต่ำ


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406