ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ประเทศฟิลิปปินส์

ฟิลิปปินส์ (อังกฤษ: Philippines; ฟิลิปีโน: Pilipinas) หรือ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (อังกฤษ: Republic of the Philippines; ฟิลิปีโน: Republika ng Pilipinas) ประกอบด้วยเกาะจำนวน 7,107 เกาะ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ห่างจากเอเชียแผ่นดินใหญ่ทางตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 1000 กม.และมีลักษณะพิเศษคือเป็นประเทศเพียงหนึ่งเดียวที่มีพรมแดนทางทะเลที่ติดต่อระหว่างกันยาวมากที่สุดในโลก นิวสเปน (พ.ศ. 2064-2441) และสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2441-2489) ได้ครองฟิลิปปินส์เป็นอาณานิคมเป็นเวลา 4 ศตวรรษ และเป็นสองอิทธิพลใหญ่ที่สุดต่อวัฒนธรรมของฟิลิปปินส์

ฟิลิปปินส์เป็นหนึ่งในสองชาติในเอเชียที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ (อีกชาติหนึ่งคือติมอร์-เลสเต) และเป็นหนึ่งในชาติที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากที่สุด เป็นการผสมผสานกันระหว่างตะวันตกกับตะวันออก ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ อาร์โนลด์ โจเซฟ ทอยน์บี (Arnold Joseph Toynbee) นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้กล่าวไว้ในงานของเขาว่า ประเทศฟิลิปปินส์เป็นประเทศลาตินอเมริกาที่ถูกพัดพาไปยังตะวันออก โดยคลื่นทะเลยักษ์

หลักฐานทางโบราณคดีและโบราณชีววิทยาบ่งบอกว่ามีมนุษย์โฮโมเซเปียนส์ เคยอาศัยอยู่ในเกาะปาลาวันตั้งแต่ประมาณ 50,000 ปีก่อน ชนเผ่าที่พูดภาษาในตระกูลออสโตรนีเซียนซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่บนเกาะฟอร์โมซา (Formasa) หรือไต้หวันในปัจจุบันได้อพยพโดยทางเรือเข้ามาตั้งรกรากในหมู่เกาะฟิลิปปินส์ และจัดตั้งเส้นทางเครือข่ายการค้ากับเอเชียอาคเนย์ส่วนที่เหลือทั้งหมดตั้งแต่ 5,000 ปีก่อนคริสตกาล สภาพดั่งเดิมของฟิลิปปินส์ อยู่ในสภาพของยุคหินใหม่ ยังไม่ได้รับอิทธิพลของอารยธรรมอินเดียและจีน ดังเช่นประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชนชาวพื้นเมืองดั่งเดิมเป็นชนเชื้อสายอินโดนีเซีย – มาเลย์เซีย ซึ่งอพยพเข้ามาตั่งถิ่นฐานบริเวณเกาะต่าง ๆ ของฟิลิปปินส์ การมาตั้งถิ่นฐานนั้น มาโดยเรือเป็นกลุ่ม ๆ แต่ละกลุ่มแยกย้ายไปตั้งหมู่บ้านเรีนกว่า บารังไก (Barangay) ตามชื่อเรือที่ใช้อพยพมา มีหัวหน้าหมู่บ้านเรียกว่า ดาดู (Datu) ซึ่งเคยเป็นกัปตันเรือ การตั้งหมู่บ้านจะกระจายไปตามเกาะ ทำให้การติดต่อระหว่างกันไม่ค่อยมี ส่วนในด้านการปกครองนั้นเป็นแบบพ่อปกครองลูก โครงสร้างทางการปกครองเป็นแบบง่าย ๆ มี 4 ชนชั้นคือ ดาตู แลครอบครัว ขุนนาง อิสระชน ทาส กฎหมายและกฎระเบียบการปกครองนั้นยังไม่มี สถาบันที่สำคัญคือ ศาสนา ซึ่งมีพ่อมดหมอผีเป็นผู้มีอิทธิพลในสังคม จากการนับถ่อศาสนาเป็นแบบ นับถือภูตผี บูชาธรรมชาติ พวกเขาเชื่อว่ามีพระผู้สร้างโลกสูงสุด คือ บาฮารา (Bathala) และบาอารามีสาวก ฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว เรียกว่า ดิวาทาส (Diwatas) เป็นผู้กำหนดการประกอบพิธีบวงสรวง เทพฝ่ายดีและฝ่ายชั่วคือ พ่อมด หมอผี ว่าจะประกอบพิธีเมื่อไหร่ ที่ใด สถานที่ประกอบพิธีนั้นไม่มีเฉพาะ พ่อมด หมอผีจะเป็นผู้กำหนด ที่เป็นดังนี้เพราะสภาพภูมิศาสตร์ และสภาพธรรมชาติของหมู่เกาะ ซึ่งฟิลิปปินส์นั้นมีภัยธรรมชาติอยู่เนือง ๆ จึงทำให้พ่อมด หมอผีมีอิทธิพลต่อประชาชนมาก และมากกว่าหรือเท่ากับดาตู อีกทั้งยังได้รับค่าประกอบพิธี เครื่องเส้นสังเวยจากประชาชนเป็นจำนวนมาก ทางด้านเศรษฐกิจนั้น ประชาชนทำการเกษตรและการประมง ไม่มีการค้าขาย มีแต่การแลกเปลี่ยนสินค้า และไม่มีการใช้เงินตรา นาน ๆ ครั้งจะมีพ่อค้าต่างชาติแวะมาจอดเรือแลกเปลี่ยนสินค้า

นับแต่คริสต์ศตวรรษที่ 9 ศาสนาอิสลามได้แผ่เข้าสู่หมู่เกาะทางตอนใต้ของฟิลิปปินส์หรือมานบูลาส แล้วครั้นถึงปี ค.ศ. 1380 ชาวมุสลิมก็สามารถสถาปนารัฐอิสลามขึ้นในหมู่เกาะซูลู โดยมีนักเผยแผ่ศาสนาที่ชื่อ ชันค์ ชะรีฟ กะรีม มัคดุม เข้ามาเผยแผ่อิสลามในหมู่เกาะต่างๆ ของซูลู ก่อนหน้านั้นเป็นเวลานาน จนกระทั่ง ซัยยิด อบูบักร อิบนุ ชะรีฟ มุฮำหมัด อิบนิ อะลี อิบนี ซัยบิลอาบีดีน ได้เดินทางจากรัฐสุลต่านแห่งยะโฮร์ (Johor) มายังหมู่เกาะซูลูในราวปี ค.ศ. 1450 ซัยยิด อบูบักรได้มาถึงซูลูหลังจากรายา บะกินดา จากมินังกะเบา สุมาตรา ได้ลงพำนัก และเผยแผ่ศาสนาอิสลามในหมู่เกาะซูลูเป็นเวลาหลายปีมาแล้ว ซัยยิด อบูบักรได้สมรสกับบุตรีของรายาบะกินดา ที่มีนามว่า ประไหมสุหรี เมื่อรายาบะกินดา สิ้นชีวิต ซัยยิด อบูบักร ก็กลายเป็นผู้สืบทอดอำนาจและได้รับการขนานนามว่า สุลต่านแห่งซูลู

เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน มาถึงหมู่เกาะฟิลิปปินส์ในปี ค.ศ. 1521 (พ.ศ. 2064) มีเกล โลเปซ เด เลกัซปี มาถึงฟิลิปปินส์ในปี ค.ศ. 1565 (พ.ศ. 2108) และตั้งชุมชนชาวสเปนขึ้น ซึ่งนำไปสู่การตั้งอาณานิคมในเวลาต่อมา หลังจากนั้น นักบวชศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกได้แปรศาสนาของชาวเกาะทั้งหมดให้หันมานับถือศาสนาคริสต์ ในช่วง 300 ปีนับจากนั้น กองทัพสเปนได้ต่อสู้กับเหตุการณ์กบฏต่าง ๆ มากมาย ทั้งจากชนพื้นเมืองและจากชาติอื่นที่พยายามเข้ามาครอบครองอาณานิคม ซึ่งได้แก่ อังกฤษ จีน ฮอลันดา ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และโปรตุเกส สเปนสูญเสียไปมากที่สุดในช่วงที่อังกฤษเข้าครอบครองเมืองหลวงเป็นการชั่วคราวในช่วงสงครามเจ็ดปี (Seven Years' War) หมู่เกาะฟิลิปปินส์อยู่ใต้การปกครองของสเปนในฐานะอาณานิคมของสเปนใหม่ (New Spain) นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1565 (พ.ศ. 2108) ถึงปี ค.ศ. 1821 (พ.ศ. 2364) และนับจากนั้นฟิลิปปินส์ก็อยู่ใต้การปกครองของสเปนโดยตรง การเดินเรือมะนิลาแกลเลียน (Manila Galleon) จากฟิลิปปินส์ไปเม็กซิโก เริ่มต้นขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 16 และหมู่เกาะฟิลิปปินส์เปิดตัวเองเข้าสู่การค้าโลกในปี ค.ศ. 1834

ฟิลิปปินส์แบ่งเป็นหน่วยรัฐบาลท้องถิ่น (local government units, LGUs) โดยที่มีจังหวัดเป็นหน่วยหลัก ในปี พ.ศ. 2545 มี 79 จังหวัด (provinces) แบ่งออกเป็น นคร (cities) และ เทศบาล (municipalities) ซึ่งหน่วยการปกครองทั้งสองยังประกอบไปด้วย บารังไกย์ (barangey) อีกทอดหนึ่ง ถือเป็นหน่วยรัฐบาลท้องถิ่นที่เล็กที่สุด

ฟิลิปปินส์แบ่งออกเป็น 17 เขต (regions) ซึ่งทุกจังหวัดได้ถูกจัดอยู่ใน 16 เขตเพื่อความสะดวกในการปกครอง ยกเว้นเขตนครหลวง (National Capital Region) ที่แบ่งออกเป็นเขตพิเศษ 4 แห่ง

หน่วยงานของรัฐบาลส่วนใหญ่จะตั้งสำนักงานในแต่ละภูมิภาค เพื่อรับใช้ประชาชนในจังหวัดที่อยู่ในภูมิภาคนั้น ๆ ภูมิภาคไม่มีรัฐบาลท้องถิ่นแยกต่างหาก ยกเว้นเขตปกครองตนเองในมินดาเนามุสลิมและเขตบริหารคอร์ดิลเลราซึ่งปกครองตนเองไม่ได้ให้ผู้อื่นปกครอง

? ชื่อภาษาอังกฤษที่เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด เป็นชื่อย่อจากชื่อจังหวัดและเมืองในภูมิภาคนั้น ๆ

ฟิลิปปินส์มีความผูกพันแน่นแฟ้นกับสหรัฐ ฯ มากที่สุด จนกล่าวกันว่า ฟิลิปปินส์เป็นรัฐ 51 ของสหรัฐ ฯ ในขณะนั้น หลังสงครามโลกครั้งที่สอง สหรัฐ ฯ ได้ให้ความช่วยเหลือทางทหาร เศรษฐกิจและวัฒนธรรมแก่ฟิลิปปินส์เป็นอันมาก ได้มีข้อตกลง และสัญญาทางทหารระหว่างกันอยู่สามฉบับ หลังจากเวียดนามใต้ และกัมพูชาตกเป็นของคอมมิวนิสต์ เมื่อปี พ.ศ. 2518ได้มีการกล่าวถึงปัญหาฐานทัพสหรัฐ ฯ ในฟิลิปปินส์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2519สหรัฐ ฯ และฟิลิปปินส์ได้นำข้อตกลงฉบับแรกที่ทำไว้ เมื่อปี พ.ศ. 2490 มาทบทวน เพื่อแก้ไขใหม่ มีการเจรจากันหลายครั้ง ในที่สุดได้บรรลุข้อตกลงในปี พ.ศ. 2522 โดยสหรัฐ ฯ ยืนยันในอธิปไตยของฟิลิปปินส์ เหนือฐานทัพสหรัฐ ฯ ในฟิลิปปินส์ทุกแห่ง

ประกอบอุปกรณ์ไฟฟ้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า เวชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากไม้ แปรรูปอาหาร กลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ตกปลา

ผลิตภัณฑ์สารกึ่งตัวนำและอุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์การขนส่ง เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ทองแดง ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม น้ำมันมะพร้าว ผลไม้

ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า แร่เชื้อเพลิง เครื่องจักรและอุปกรณ์การขนส่ง เหล็กและเหล็กกล้า สิ่งทอ ธัญพืช เคมีภัณฑ์ พลาสติก

ฟิลิปปินส์มีระบบเศรษฐกิจที่คล้ายคลึงกับไทย กล่าวคือ เป็นประเทศเกษตรกรรม ประชากร ร้อยละ 60 ประกอบอาชีพเกษตรกร อย่างไรก็ดี สภาพภูมิประเทศที่เป็นหมู่เกาะส่งผลให้พื้นที่เพาะปลูกมีน้อย โดยส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณที่ราบต่ำและเนินเขาที่ปรับให้เป็นขั้นบันไดในบริเวณเกาะลูซอน ขณะเดียวกันประชากรฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่นิยมประกอบอาชีพในต่างประเทศ ฟิลิปปินส์จึงพึ่งพารายได้จากแรงงานฟิลิปปินส์ในต่างประเทศเพื่อการพัฒนาประเทศเป็นส่วนใหญ่

รัฐบาลภายใต้การบริหารงานด้านเศรษฐกิจของประธานาธิบดีอาคีโน ที่สาม เน้นนโยบายสร้างวินัยทางการคลัง โดยบริหารงบประมาณแบบสมดุล (zero - budgeting policy) เพื่อแก้ไขภาวะงบประมาณขาดดุล อันเป็นปัญหาสืบเนื่องจากรัฐบาลชุดก่อน ในปี 2553 รัฐบาลได้กำหนดงบประมาณขาดดุลอัตราร้อยละ 4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) หรือประมาณ 625 พันล้านเปโซ เนื่องจากความจำเป็นในการจัดสรรงบประมาณเพื่อเร่งพัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภค และอัดฉีดเม็ดเงินให้กับครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ นอกจากนี้ รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนโดยสนับสนุนการสร้างกลไกความเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐ - เอกชน (public - private partnerships) และเร่งแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคลงทุนของต่างชาติ ผลักดันกฎหมายป้องกันการผูกขาด (anti - trust law) เพื่อส่งเสริมการแข่งขันอย่างเท่าเทียม รวมทั้งให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการลงทุนในสาขาสาธารณูปโภค การท่องเที่ยว ธุรกิจบริการ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เหมืองแร่ และเกษตรกรรม

หลังจากที่ฟิลิปปินส์ตกเป็นอาณานิคมของสเปนอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1571 ระบบการศึกษาในฟิลิปปินส์ได้รับอิทธิพลจากนโยบายของจักรวรรดิสเปน สิ่งหนึ่งที่ถือเป็นเอกลักษณ์สำคัญในการเปลี่ยนแปลงของระบบการศึกษาในสมัยนั้น คือ ระบบการศึกษาแบบคาทอลิก โดยศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกมีบทบาทอย่างมากในการพัฒนาระบบการศึกษาทั้งในระดับโรงเรียนและมหาวิทยาลัยภายในฟิลิปปินส์ เพราะเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของสเปนในการเผยแผ่คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกในฟิลิปปินส์ ปัจจัยที่ส่งผลให้ศาสนจักรโรมันคาทอลิกประสบความสำเร็จในการปฏิรูประบบการศึกษาในประเทศฟิลิปปินส์คือ ปัจจัยด้านการถือครองที่ดิน เหตุเพราะศาสนาโรมันคาทอลิกถือครองที่ดินเป็นจำนวนมากภายในฟิลิปปินส์ ซึ่งส่งผลให้นักบวชนิกายโรมันคาทอลิกมีอิทธิพลและมีอำนาจมากในการปฏิรูประบบการศึกษา และประสบความสำเร็จในการเผยแผ่ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกภายในฟิลิปปินส์ ทั้งนี้ ระบบการศึกษาในประเทศฟิลิปปินส์ได้ถูกเปลี่ยนแปลงอีกครั้งในปี ค.ศ.1863 ผ่านกฎหมายการศึกษา (Educational Decree) ที่เน้นให้ระบบการศึกษาภายในประเทศมีความเป็นระบบ มีหลักสูตรที่มีมาตรฐาน และก่อตั้งโรงเรียนเพิ่มมากยิ่งขึ้นเพื่อรองรับประชาชนทั่วไปภายในประเทศ อย่างไรก็ดี ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงระบบการศึกษาของคนในประเทศยังคงมีอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเหลื่อมล้ำระหว่างผู้ชายและผู้หญิง และความเหลื่อมล้ำระหว่างครอบครัวที่มีฐานะร่ำรวยและยากจน นอกเหนือจากศาสนาและระบบการศึกษาที่เป็นระบบ ภาษาสเปนเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สเปนได้ทิ้งไว้แก่ประเทศอาณานิคม ซึ่งเห็นได้จากร่องรอยของมรดกทางภาษาสเปน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาษาตากาล็อกที่ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากภาษาสเปน เช่นเดียวกับการตั้งชื่อคนในประเทศ ถนนหนทาง หรือสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ในฟิลิปปินส์ที่ยังคงถูกเรียกขานเป็นภาษาสเปนจนถึงปัจจุบัน นโยบายทางการศึกษาในยุคที่เป็นอาณานิคมของสหรัฐ ในการปฏิรูประบบการศึกษาภายในฟิลิปปินส์ภายใต้อาณานิคมของสหรัฐ ยุทธศาสตร์สำคัญของสหรัฐ คือ ความพยายามที่จะทำให้ชาวฟิลิปปินส์มีความเป็นอเมริกันมากขึ้น (Americanization) ผ่านนโยบายการศึกษาที่ถูกคิดค้นขึ้นโดยชาวอเมริกัน ตลอดระยะเวลาที่สหรัฐปกครองฟิลิปปินส์ มีการสนับสนุนให้ใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้น เพื่อลดบทบาทการใช้ภาษาท้องถิ่น โดยกว่า 5 ทศวรรษของระบบการศึกษาแบบอเมริกัน นักเรียนฟิลิปปินส์ต้องศึกษาบทประพันธ์ของกวีตะวันตกชื่อดังมากมาย อาทิ วิลเลี่ยม เชคสเปียร์ เป็นต้น ส่งผลทำให้ชาวฟิลิปปินส์ให้ความสนใจกับวรรณคดีท้องถิ่นน้อยลง และใช้ภาษาอังกฤษในชั้นเรียนและในชีวิตประจำวันมากขึ้น ถึงแม้ว่าสหรัฐ พยายามสอดแทรกวรรณกรรมตะวันตกในชีวิตประจำวันของชาวฟิลิปปินส์ แต่เมื่อเทียบกับยุคที่สเปนปกครองฟิลิปปินส์ก่อนหน้านั้น ถือได้ว่าชาวฟิลิปปินส์มีเสรีภาพในการแสดงผลงานด้านบทประพันธ์ กลอน และวารสารต่างๆ ในภาษาท้องถิ่นมากกว่าในยุคที่เป็นอาณานิคมของสเปน อย่างไรก็ตาม ผลงานวรรณกรรมของชาวฟิลิปปินส์กลับไม่ได้รับการบรรจุในวิชาภาษาและวรรณคดีในชั้นเรียนเท่าที่ควร ซึ่งส่งผลทำให้ระบบการศึกษาแบบอเมริกันแตกต่างจากระบบการศึกษาในยุคที่เป็นอาณานิคมของสเปนโดยสิ้นเชิง นั่นคือ ชาวฟิลิปปินส์ในยุคที่ถูกปกครองโดยสหรัฐ ไม่มีโอกาสได้เรียนภาษาประจำชาติของตัวเอง เพราะภาษาท้องถิ่นถูกใช้เป็นเพียงตัวช่วยในการเรียนการสอนในวิชาต่างๆ เท่านั้น อีกทั้งสหรัฐยังผูกขาดการใช้ภาษาอังกฤษในระบบการศึกษา จวบจน ค.ศ. 1940 ภายหลังจากที่ญี่ปุ่นเข้ายึดครองฟิลิปปินส์ในสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ญี่ปุ่นไม่ได้มีบทบาทในการพัฒนาการศึกษาภายในประเทศฟิลิปปินส์

ภายหลังจากที่ฟิลิปปินส์มีอิสระในการกำหนดนโยบายการศึกษาแล้ว ฟิลิปปินส์ยังคงให้ความสำคัญกับภาษาอังกฤษในระบบการศึกษา พิจารณาได้จากรัฐธรรมนูญของประเทศฟิลิปปินส์ฉบับปี ค.ศ.1987 ที่ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ภาษาทางการที่ใช้ในการเรียนการสอนในโรงเรียนคือภาษาฟิลิปปินส์และภาษาอังกฤษ กระทรวงศึกษาธิการของฟิลิปปินส์ได้กำหนดให้ใช้ภาษาทั้งสองในวิชาที่แตกต่างกันในการเรียนการสอน ในปัจจุบัน นโยบายการศึกษาของฟิลิปปินส์ยังคงเป็นไปในรูปแบบอเมริกันที่เน้นภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในการเรียนการสอน ในขณะเดียวกันสถาบันทางการศึกษาหลายต่อหลายแห่งยังคงขึ้นตรงต่อระบบการศึกษาแบบคาทอลิก อาทิ มหาวิทยาลัย ดา ลา ซาน (De La Salle University) และมหาวิทยาลัย อาเตเนโอ เด มานิล่า (Ateneo de Manila University) เป็นต้น โดยสรุป การที่นโยบายทางการศึกษาของฟิลิปปินส์ถูกควบคุมโดยประเทศเจ้าอาณานิคมอย่างสเปนและ สหรัฐ ส่งผลดีและผลเสียแตกต่างกันไป ผลดีสำหรับฟิลิปปินส์คือ ระบบการศึกษาของฟิลิปปินส์มีคุณภาพ มีมาตรฐานและเป็นระบบมากยิ่งขึ้น ผ่านการปฏิรูปทางการศึกษาของสเปน รวมไปถึงการที่ประชาชนภายในประเทศมีระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษที่สูงขึ้นภายใต้ระบบการศึกษาแบบอเมริกัน ผลเสียภายใต้การปกครองโดยสเปนและสหรัฐ คือ การถูกลิดรอนอิสรภาพในการกำหนดทิศทางทางการศึกษาด้วยตัวเอง อาทิ ประชาชนฟิลิปปินส์ได้รับอิทธิพลและกฎเกณฑ์ต่างๆ ภายใต้ระบบการศึกษาแบบคาทอลิก หรือการที่เอกลักษณ์ของชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวรรณกรรมและภาษาท้องถิ่นได้รับการอนุรักษ์และให้ความสำคัญที่น้อยลงภายใต้ระบบการศึกษาแบบอเมริกัน

มีปัญหาชนกลุ่มน้อยมุสลิมในเกาะมินดาเนา ซึ่งต้องการแยกตัวเป็นอิสระ เรียกว่า "แนวปลดปล่อยแห่งชาติโมโร"

มีการใช้ภาษามากกว่า 170 ภาษา โดยส่วนมากเกือบทั้งหมดนั้นเป็นตระกูลภาษาย่อยมาลาโย-โปลินีเซียนตะวันตก แต่ในปี พ.ศ. 2530 รัฐธรรมนูญได้ระบุให้ภาษาฟิลิปีโนและภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ

ส่วนภาษาต่างประเทศอื่น ๆ ที่ใช้กันมากในประเทศฟิลิปปินส์มีทั้งหมด 8 ภาษา ได้แก่ ภาษาสเปน ภาษาจีนฮกเกี้ยน ภาษาจีนแต้จิ๋ว ภาษาอินโดนีเซีย ภาษาซินด์ ภาษาปัญจาบ ภาษาเกาหลี และภาษาอาหรับ

หมายเหตุ: จากการพูดคุยกับชาวฟิลิปปินส์ (รวมถึงนั่งดูรายการทีวีและฟังจากสถานีวิทยุ) ทราบว่า ปัจจุบัน ชาวฟิลิปปินส์ มีการใช้ภาษาที่เรียกว่า ทากรีส (Tagalog + English) คือพูดตากาล็อกคำอังกฤษคำ ผสมกันไปในประโยคสนทนา แต่เป็นที่เข้าใจกันในหมู่ของประชาชน แม้แต่ในรายการทีวีและรายการวิทยุ

ในปี ค.ศ. 2014 ฟิลิปปินส์มีประชากรนับถือ แบ่งได้ดังนี้ ศาสนาคริสต์ 92.9% (นิกายโรมันคาทอลิก 82.9% นิกายโปรเตสแตนต์ 10%) ศาสนาอิสลาม 5.6% ศาสนาฮินดู 1% ศาสนาอื่น ๆ และอศาสนา 0.5%

ฟิลิปปินส์เป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของตะวันตกก่อนจะได้มีโอกาสพัฒนาวัฒนธรรมของตัวเอง วัฒนธรรมฟิลิปปินส์จะมีส่วนคล้ายกับประเทศในละตินอเมริกา ประชาชนแบ่งออกเป็นชุมนุมชนทางเชื้อชาติและภาษาที่แตกต่างกัน

อาโดโบ เป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยมของประเทศฟิลิปปินส์ และเป็นที่นิยมของนักเดินทางหรือนักเดินเขา ทำจากหมูหรือไก่ที่ผ่านกรรมวิธีหมักและปรุงรสโดยจะใส่ซีอิ๊วขาว น้ำส้มสายชู กระเทียมสับ ใบกระวาน พริกไทยดำ นำไปทำให้สุกโดยใส่ในเตาอบหรือทอด และรับประทานกับข้าว


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406