ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ประเทศบัลแกเรีย

บัลแกเรีย (บัลแกเรีย: ????????) หรือ สาธารณรัฐบัลแกเรีย (บัลแกเรีย: ????????? ????????) เป็นประเทศทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป มีชายฝั่งบนทะเลดำไปทางตะวันออก มีพรมแดนติดต่อกับประเทศกรีซและประเทศตุรกีทางใต้ ประเทศเซอร์เบียและสาธารณรัฐมาซิโดเนียทางตะวันตก และประเทศโรมาเนียทางเหนือตามแม่น้ำดานูบบัลแกเรียเคยเป็นอาณานิคมของรัสเซีย

ในตอนบนของประเทศเป็นแบบภาคพื้นสมุทร ในตอนล่างของประเทศเป็นแบบเมดิเตอร์เรเนียน อุณหภูมิโดยเฉลี่ยทั้งปี10.5 องศาเซลเซียส

เป็นอาณาจักรในยุคกลางของบัลแกเรียที่ก่อตั้งในปี ค.ศ. 632 ในบริเวณใกล้สามเหลี่ยมปากแม่น้ำดานูป (Danube Delta) และสลายตัวลงเมื่อปี ค.ศ. 1018 หลังจากที่ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดจักรวรรดิบัลแกเรียครอบคลุมบริเวณตั้งแต่บูดาเปสต์ ไปจนถึงทะเลดำ และจากแม่น้ำนีพเพอร์ในยูเครนปัจจุบันไปจนถึงทะเลเอเดรียติค จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 มาแทนที่ด้วยจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 2 ที่ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1185 ชื่อทางการของประเทศตั้งแต่ตั้งมาคือ “บัลแกเรีย”

บัลแกเรียมีฐานะเป็นรัฐชาติในปี พ.ศ. 1224 ประกอบขึ้นจากชนชาติสลาฟและชนชาติบัลการ์ (ชนชาติยูเครนที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในคาบสมุทรบอลข่าน) ตกอยู่ภายใต้อาณาจักรไบแซนไทน์ในปี พ.ศ. 1561

สมัยนั้นจักรวรรดิรัสเซียต้องการตุรกีและบัลแกเรียมาเป็นอาณานิคมโดยบุกตุรกีและบัลแกเรียพร้อมกันสุดท้ายบัลแกเรียก็ตกเป็นอาณานิคมของรัสเซีย พ.ศ. 2368 ตามสนธิสัญญาซานสเตฟาโน จนถึงปี พ.ศ. 2421 ราชรัฐบัลแกเรียจึงได้รับการยอมรับในฐานะประเทศเอกราชในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ปกครองโดยราชวงศ์ Sax-Coberge Gotha โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับราชวงศ์โรมานอฟ

บัลแกเรียเข้าร่วมในสงครามโลกทั้ง 2 ครั้งกับฝ่ายอักษะ และเมื่อเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2จึงถูกกำหนดโดยฝ่ายสัมพันธมิตรให้สหภาพโซเวียตปกครอง บัลแกเรียปกครองโดยระบอบคอมมิวนิสต์ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา และเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบประชาธิปไตยเมื่อปี พ.ศ. 2533

ภายหลังการล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียต บัลแกเรียได้เปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2534 รัฐสภาบัลแกเรียได้รับรองรัฐธรรมนูญของประเทศ บัลแกเรียมีระบบสภาเดียวประกอบด้วยสมาชิกรัฐสภา 240 คน จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปทุก 4 ปี ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งโดยตรงดำรงตำแหน่งวาระละ 5 ปี และอาจอยู่ต่อได้อีกหนึ่งวาระ ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน ได้แก่ นาย Georgi Parvanov จากพรรคสังคมนิยมบัลแกเรีย (Bulgarian Socialist Party : BSP) ซี่งดำรงตำแหน่งเป็นวาระที่ 2

บัลแกเรียจัดการเลือกตั้งครั้งล่าสุดในเดือนมิถุนายน 2548 รัฐบาลชุดปัจจุบันประกอบด้วยพรรค BSP พรรค The Simeon II National Movement (SNM) ซึ่งเป็นพรรคของอดีตกษัตริย์ Simeon II และพรรค The Movement for Rights and Freedom (MRF) คิดเป็นคะแนนเสียงทั้งหมด 169 ที่นั่ง นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ได้แก่ นาย Sergei Stanishev จากพรรค BSP ซึ่งครองที่นั่งมากที่สุดในสภา (82 ที่นั่ง)

รัฐบาลชุดปัจจุบันให้ความสำคัญกับการเข้าเป็นสมาชิกภาพสหภาพยุโรป การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใสและเป็นธรรมยิ่งขึ้น การปฏิรูประบบประกันสังคมให้มีความเป็นธรรมยิ่งขึ้น ลดอาชญากรรมและการฉ้อราษฎร์บังหลวง แก้ไขปัญหาความยากจน พัฒนาระบบการศึกษา อาทิ การให้เงินสนับสนุนโรงเรียนอนุบาล การเพิ่มปฏิสัมพันธ์ระหว่างภาคการศึกษาและภาคธุรกิจ

รัฐบาลชุดปัจจุบันประสบความสำเร็จในการนำบัลแกเรียเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป หากแต่พรรค BSP ได้รับการวิจารณ์ว่าไม่สามารถรักษาคำมั่นที่จะลดการฉ้อราษฎร์บังหลวงไว้ได้ อีกทั้งการเสื่อมถอยความนิยมของพรรค SNM และมีแนวโน้มว่า สส. ส่วนหนึ่งของพรรค SNM อาจแปรพักตร์ไปเป็นสมาชิกพรรคขวาเกิดใหม่ภายใต้การนำของนายกเทศมนตรีกรุงโซเฟียที่เป็นที่ชื่นชอบของประชาชน ทำให้สื่อต่างประเทศวิเคราะห์ว่า อาจมีการเลือกตั้งภายในสิ้นปี 2550 หรือต้นปี 2551 ทั้งนี้ นับแต่การเปลี่ยนแปลงสู่ระบอบประชาธิปไตย บัลแกเรียได้จัดให้มีการเลือกตั้งรวมทั้งสิ้น 6 ครั้ง โดยไม่มีรัฐบาลชุดใดได้รับเลือกต่ออีกหนึ่งวาระ

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 บัลแกเรียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 28 จังหวัด (provinces - oblasti) หลังจากที่เดิมแบ่งเป็น 9 จังหวัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 โดยที่แต่ละแห่งตั้งชื่อตามเมืองหลวงของจังหวัด โดยที่เมืองหลวงประจำประเทศเป็นจังหวัดหนึ่งแยกต่างหาก

นโยบายการต่างประเทศของบัลแกเรียมุ่งเน้นการเป็นสมาชิกภาพสหภาพยุโรป และ นาโต ของบัลแกเรีย การเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2550 เป็นเหตุการณ์สำคัญสุดในประวัติศาสตร์ร่วมสมัยของบัลแกเรีย การเข้าเป็นสมาชิกเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการบูรณาการ ในการที่จะดำรงสมาชิกภาพอย่างสมบูรณ์บัลแกเรียต้องดำเนินการปฏิรูปต่อไป โดยเฉพาะในด้านกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งแก้ไขปัญหาการฉ้อราษฎ์บังหลวงและอาชญากรรม ซึ่งยังคงเป็นความท้าทายของบัลแกเรีย โดยคณะกรรมาธิการยุโรปจะตรวจสอบการดำเนินการปฏิรูปในสาขาเหล่านี้เป็นระยะต่อไปจนกว่าจะพอใจ ในด้านเศรษฐกิจบัลแกเรียมีข้อได้เปรียบทางด้านเศรษฐกิจตรงที่ค่าจ้างแรงงานถูก ประชากรมีการศึกษาสูง บัลแกเรียมีความประสงค์ที่จะดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศให้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปได้เพิ่มโอกาสดังกล่าวได้ โดยปัจจุบันมีนักลงทุนจากเยอรมนี อิตาลี ฝรั่งเศสและสหรัฐฯ เข้าไปลงทุนในบัลแกเรียมากขึ้น ปัญหาของบัลแกเรีย คือ มีขีดความสามารถทางการแข่งขันต่ำ ดังนั้น บัลแกเรียจึงต้องเพิ่มสัดส่วนของอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง และอุตสาหกรรมเชิงวิทยาศาสตร์ ในขณะเดียวกันต้องคงต้นทุน ค่าจ้าง วัสดุ และพลังงานไว้ในระดับที่ต่ำต่อไป นอกจากนี้ บัลแกเรียให้ความสำคัญกับนโยบายด้านพลังงานของสหภาพยุโรป โดยเฉพาะพลังงานนิวเคลียร์ และมีความต้องการสร้างโรงงานผลิตพลังงานนิวเคลียร์แห่งใหม่ นอกจากนี้ บัลแกเรียต้องการเป็นศูนย์กลางของเครือข่ายท่อส่งน้ำมันและก๊าซในภูมิภาคบอลข่าน

บัลแกเรียให้ความสำคัญแก่การสร้างเสถียรภาพในคาบสมุทรบอลข่าน ทั้งนี้ บัลแกเรียมองว่า ประเทศของตนเป็น stabilizing force ทางการเมืองในคาบสมุทรบอลข่าน และเป็นประเทศทางผ่านสินค้า (transit) ในภูมิภาค โดยจากกรุงโซเฟีย มีทางรถยนต์เชื่อมกรุงเบลเกรด และกรุงอิสตันบูล และเป็นเส้นทางจากยุโรปเหนือไปกรุงเอเธนส์ ผ่านเมือง Skopje และ Salonica ในกรีซ

สนับสนุนการบูรณาการของทวีปยุโรปในกรอบกว้างที่มีสหรัฐฯ รวมอยู่ด้วย ที่เรียกว่า Euro-Atlantic Integration บัลแกเรียเข้าร่วมในโครงการ NATO Partnership for Peace โดยสมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การนาโต ตั้งแต่ปี 2540 และได้เข้าเป็นสมาชิกนาโตในปี 2547 พร้อมกับ ลัตเวีย ลิทัวเนีย เอสโตเนีย สโลวาเกีย สโลวีเนียและโรมาเนีย

สนับสนุนการเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับรัสเซียและประเทศเอกราชที่แยกตัวออกมาจากสหภาพโซเวียต

บัลแกเรียประสบวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2533 ภายหลังที่ COMECON (องค์กรความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก) ล่มสลายลงพร้อมกับการล่มสลายของระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมในยุโรปตะวันออกและสหภาพโซเวียต เศรษฐกิจของบัลแกเรียฟื้นตัว เป็นครั้งแรกภายหลังวิกฤตการณ์ในปี พ.ศ. 2537 โดยตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 บัลแกเรียได้ทำข้อตกลง Stand-by Arrangement กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) มีระยะเวลา 2 ปี ภายใต้วงเงิน 337 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และจนถึงปัจจุบัน บัลแกเรียได้กู้เงินจาก IMF ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว จำนวน 191 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 คณะกรรมการบริหารของ IMF ได้สิ้นสุดการทบทวนการดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจของบัลแกเรียเป็นครั้งที่ 3 ของปี พ.ศ. 2546 และเห็นว่า ดัชนีเศรษฐกิจมีผล เป็นที่น่าพอใจ จึงอนุมัติให้บัลแกเรียมีสิทธิกู้เงินได้อีก จำนวน 37 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การปฏิรูปเศรษฐกิจมหภาคของบัลแกเรียเป็นไปในเชิงบวก และเศรษฐกิจมีแนวโน้มพัฒนาดีขึ้นเป็นลำดับ โดยมีการดำเนินการตามแผนของ IMF และ Currency Board อย่างเคร่งครัด เป็นผลให้อัตราเงินเฟ้อและอัตราการว่างงานลดลงเป็นลำดับ สถานะทางเศรษฐกิจของบัลแกเรียจึงมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นสำหรับนักลงทุนต่างชาติ นอกจากนี้ การปฏิรูปเศรษฐกิจในภาคต่าง ๆ มีความก้าวหน้ามาก อาทิ ภาคพลังงาน ภาคการเดินรถไฟ ภาคการบริหารการเก็บภาษี และภาคการแปรรูปธนาคารของรัฐหลายธนาคาร ซึ่งการรักษาความต่อเนื่องของการพัฒนาบรรยากาศทางธุรกิจและการลงทุน จะเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจของบัลแกเรียต่อไปในระยะกลาง โดยมีเป้าหมายหลัก เพื่อสร้างความพร้อมให้กับบัลแกเรียในการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปในปี พ.ศ. 2550

บัลแกเรียถือเป็นตลาดส่งออกที่มีลู่ทางที่จะขยายตัวได้อีกมากของไทย และอยู่ในระหว่างการปฏิรูปและมีลู่ทางที่จะมีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจยิ่งขึ้นในอนาคตอันใกล้ รวมทั้งมีแนวโน้มที่จะมีส่วนร่วมและมีบทบาทสำคัญในเวทีการเมืองระหว่างประเทศของยุโรปต่อไป นอกจากนี้ บัลแกเรียยังเป็นสมาชิกขององค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจทะเลดำ (Black Sea Economic Cooperation) รวมทั้ง บัลแกเรียจะเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปในปี พ.ศ. 2550 บัลแกเรียมีทำเลที่ตั้งเป็นเมืองท่าในทะเลดำ และมีพื้นที่ติดกับประเทศในคาบสมุทรบอลข่านที่ไม่มีทางออกทะเล อาทิ มาซิโดเนียและมอนเตเนโกร เป็นต้น อีกทั้งมีทรัพยากรธรรมชาติเป็นจำนวนมาก หากได้รับการพัฒนาและนำมาใช้ให้ได้ประโยชน์ จะเป็นตัวเสริมอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของไทยได้ นอกจากนี้ ยังมีค่าจ้างแรงงานถูก ประชากรมีการศึกษาสูง ปัจจุบันมีนักลงทุนจากเยอรมนี อิตาลี ฝรั่งเศสและสหรัฐฯ เข้าไปลงทุนในบัลแกเรียมากขึ้น

ประชากร 7.9 ล้านคน ประกอบด้วยชาวบัลแกเรียน ร้อยละ 83.9 ชาวเติร์ก ร้อยละ 9.4 และอื่นๆ (มาซิโดเนียน อาร์มีเนียน ตาตาร์)


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301