นอร์เวย์ (อังกฤษ: Norway; บูกมอล: Norge; นือนอสก์: Noreg) หรือ ราชอาณาจักรนอร์เวย์ (อังกฤษ: Kingdom of Norway; บูกมอล: Kongeriket Norge; นือนอสก์: Kongeriket Noreg) เป็นประเทศในกลุ่มนอร์ดิก ตั้งอยู่ในยุโรปเหนือ ส่วนตะวันตกของคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย มีอาณาเขตจรดประเทศสวีเดน ฟินแลนด์ และรัสเซีย และมีอาณาเขตทางทะเลจรดมหาสมุทรแอตแลนติก ใกล้กับประเทศเดนมาร์กและสหราชอาณาจักร นอร์เวย์มีชายฝั่งยาวและเป็นที่ตั้งของฟยอร์ดที่มีชื่อเสียง
ดินแดนหมู่เกาะที่อยู่ใกล้เคียง ได้แก่ สฟาลบาร์และยานไมเอน ต่างก็อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของนอร์เวย์และถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักร ในขณะที่เกาะบูแวในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ และเกาะปีเตอร์ที่ 1 ในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้นั้น มีฐานะเป็นอาณานิคมของนอร์เวย์เท่านั้น ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักร นอกจากนี้ นอร์เวย์ยังอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนดรอนนิงมอดแลนด์ในทวีปแอนตาร์กติกา ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีวิจัยอีกด้วย
นอร์เวย์ครอบคลุมพื้นที่ทางตะวันตกของสแกนดิเนเวียในยุโรปเหนือ มีพรมแดนส่วนที่ติดต่อกับสวีเดนและฟินแลนด์ยาว 2,542 กิโลเมตร และพรมแดนสั้นๆติดต่อกับรัสเซียทางทิศตะวันออก ทางทิศตะวันตกและใต้ติดต่อกับทะเลนอร์เวเจียน ทะเลเหนือ และ Skagerak ทางทิศเหนือติดต่อกับทะเลแบเรนต์ส ภูมิอากาศ และสภาพแวดล้อม
ชาวนอร์เวย์เองก็อพยพไปยังประเทศอื่นเช่นเดียวกัน ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 และในตอนต้นของศตวรรษที่ 20 ชาวนอร์เวย์ประมาณ 800,000 คนอพยพไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากเศรษฐกิจของนอร์เวย์ไม่ดีนักและประชากรหางานทำได้ยากมาก หลายคนฝันว่าจะไปเริ่มชีวิตใหม่ในประเทศสหรัฐอเมริกา เพราะได้ยินว่าที่นั่นมีโอกาสดี ๆ มากมาย หลายคนพบว่าชีวิตในประเทศใหม่นี้มีความยากลำบากในช่วงแรก ในขณะที่คนส่วนใหญ่ก็สามารถผ่านพ้นไปได้ด้วยดี
ปัจจุบันชาวนอร์เวย์เป็นจำนวนมากทำงานหรือศึกษาในต่างประเทศ คนเหล่านี้ใช้เวลาเรียนรู้วัฒนธรรมอื่น ๆ และเรียนรู้ภาษาใหม่ ๆ ชาวนอร์เวย์ที่เป็นผู้ใหญ่ช่วงต้นมักใช้เวลาสองถึงสามเดือนหรือตลอดทั้งปีเดินทางไปรอบโลกเพื่อชมและหาประสบการณ์ใหม่ ๆ ในประเทศและวัฒนธรรมที่แตกต่าง
ผู้อพยพชุดล่าสุดของนอร์เวย์คือกลุ่มที่เดินทางไปยังประเทศเขตร้อนและอาศัยอยู่ในระยะเวลาที่ต่างกัน ผู้ชราภาพที่กินบำนาญหลายรายต้องการออกจากพื้นที่เขตหนาวของนอร์เวย์ในช่วงฤดูหนาว หลายคนย้ายถิ่นฐานไปยังประเทศอื่น เช่น สเปน อย่างถาวร ในขณะที่อีกหลายคนอาศัยอยู่ในประเทศเหล่านี้ในช่วงฤดูหนาวและกลับมานอร์เวย์ในช่วงฤดูร้อน
นอร์เวย์เป็นถิ่นอาศัยของกลุ่มคนที่มีพื้นเพหลากหลายมาเป็นเวลายาวนาน ชาวซามีอาศัยอยู่ทางนอร์เวย์ตอนเหนือมาเป็นเวลาสองพันปี และมีคนเดินทางมายังนอร์เวย์เพื่อมาหางานทำนับเป็นร้อยปีมาแล้ว ผู้ย้ายถิ่นฐานชุดแรกที่เข้ามาทำงานที่นี่มาจากประเทศเพื่อนบ้านและในยุโรปตะวันตก ปัจจุบันประชากรจากกว่า 200 ประเทศอาศัยอยู่ที่นี่
เศรษฐกิจของนอร์เวย์ปรับตัวดีขึ้นนับตั้งแต่ปี 1960 เป็นต้นมา ทำให้มีความต้องการแรงงานและมีคนเป็นจำนวนมากจากหลายประเทศเดินทางเข้ามาเพื่อหางานทำ คนกลุ่มแรกที่เข้ามามาจากยุโรป และนับตั้งแต่ช่วงปี 1970 เป็นต้นมา หลายคนมาจากเอเชีย อาฟริกาและละตินอเมริกา นอกจากนี้ยังมีชาวปากีสถานและชาวเตอร์กที่เดินทางมาเพื่อทำงานที่นี่ หลายคนยังคงอาศัยอยู่ในนอร์เวย์ในปัจจุบัน ในปี 1975 การย้ายถิ่นฐานถูกชะลอไว้ชั่วคราวเนื่องจากอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นและปัญหาด้านการจัดหาที่อยู่อาศัยให้กับคนที่เดินทางเข้ามาในประเทศ
ปัจจุบันประชากรจากประเทศใน EEA สามารถรับใบอนุญาตผู้พำนักและใบอนุญาตทำงานในนอร์เวย์ได้ นอกจากนี้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพในสาขางานที่นอร์เวย์ต้องการก็สามารถขอรับใบอนุญาตทำงานได้เช่นกัน ในช่วงปีที่ผ่านมา ผู้ลี้ภัยทางการเมืองหลายคนเดินทางมายังนอร์เวย์จากส่วนต่าง ๆ ของโลก ผู้ที่ลี้ภัยสงครามและกรณีความรุนแรงสามารถยื่นขอลี้ภัยทางการเมืองในนอร์เวย์ได้
เราเรียกช่วงเวลาระหว่างคริสต์ศักราช 800 – 1100 ว่าเป็นยุคไวกิ้ง นอร์เวย์ไม่ได้เป็นรัฐเดียว แต่เป้นราชอาณาจักรเล็ก ๆ หลายอาณาจักร ฮาร์รรัลด์ แฟร์แฮร์ (Harald H?rfagre) เป็นพระราชาของดินแดนที่ใหญ่ในปี 872 ชาวไวกิ้งเดินทางไปหลายประเทศ และชาวไวกิ้งบางส่วนคือ พ่อค้า จากการซื้อและขายของต่าง ๆ
ชาวเหนือที่อาศัยในแถบสแกนดิเนเวีย มีพื้นที่เพาะปลูกน้อย จึงหันมายึดอาชีพการประมง และพัฒนาการต่อเรือเดินทะเล ซึ่งต่อมามีประชากรเพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นต้องออกทะเลเพื่อค้าขายแต่พวกนี้ชอบทำตัวเป็นโจรสลัด เที่ยวรุกรานใครต่อใคร ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่เรียกชาวเหนือพวกนี้ว่า "V iking" (ชาวนอร์วิเจียนออกเสียงว่า วีคิง) เรือเดินทะเลดั้งเดิม ซึ่งมีความยาว 22 เมตร กลางลำกว้าง 5 เมตร ลึก 1.5 เมตร มีฝีพาย 30-32 คน ตรงกลางมีเสากระโดงสำหรับติดเรือใบ ท้องเรือแบนเหมาะแก่การโต้คลื่น หัวงอน ท้ายงอน ช่วยให้ปราดเปรียว โดยเฉพาะหัวเรือนั้น ทำเป็นหัวงู เนื่องจากมีความเชื่อว่าสัตว์เลื้อยคลานชนิดนี้จะช่วยขจัดความชั่วร้าย
จะเห็นได้ว่าส่วนประกอบที่ทำเป็นลำเรือนั้นคือไม้โอ๊ก ซึ่งตีประกบกันเป็นเกล็ด แล้วเคลือบด้วยน้ำมันเหนียว ๆ ซึ่งมีความแข็งแรงมากกว่าเรือไม้อื่น ๆ ส่วนหางเสือนั้นทำเป็นแบบถอดได้ ลำเรือมีน้ำหนักเบา พอขึ้นฝั่งก็ถอดหางเรือ เข็นเรือเกยตื้นได้คล่อง ครั้นจะออกทะเลก็เข็นลงน้ำ ติดหางเสือพร้อมกับเร่งฝีพาย ชักใบเรือขึ้นเสากระโดง มีเรือไวกิ้งตั้งแสดงไว้ 3 ลำ แต่ละลำมีอายุราว ๆ 1,000 ปี ดูเหมือนกว่าลำที่ขุดพบแรกสุดเมื่อร้อยปีเศษมานี้ แม้จะผุพังไปมาก
แต่เขาได้ใช้ความพยายามเอาชิ้นส่วนที่ยังใช้ได้มาประกอบรวมกับของใหม่ ซึ่งของเดิมนั้นจะมีสีคล้ำกว่าอย่างเห็นได้ชัด ส่วนช่วงหลังของอาคาร ใช้เป็นที่แสดงสิ่งของที่ขุดพบในซากเรือและในจำนวนเรือไวกิ้งหรือเรือเดินทะเลทั้ง 3 ลำนี้ มีเพียงลำเดียวที่มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์เนื่องจากจมอยู่ในโคลน อีกทั้งได้พบหลักฐานว่าไม่เคยออกทะเล แต่ใช้เป็นที่ฝังศพของหญิงสูงศักดิ์ชาวไวกิ้ง 2 คน พร้อมกับสิ่งของเครื่องใช้สำหรับผู้ตายให้เอาไปใช้ในภพหน้า และมีอยู่ลำหนึ่งเสียหายมาก เพราะโดนแทร็กเตอร์ของคนงานก่อสร้างโดยบังเอิญ ส่วนแพ Kon-Tiki ได้ตั้งแสดงไว้อีกพิพิธภัณฑ์ ในที่นั้นยังมีเรือฟาง Ra II อีกลำ ซึ่งสร้างขึ้นมาเพื่อใช้พิสูจน์ความจริงบางประการเมื่อไม่นานมานี้
ระหว่างศตวรรษที่ 14 เดนมาร์กมีอิทธิพลเหนือนอร์เวย์เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ใน ค.ศ. 1397 นอร์เวย์อยู่ในสหภาพเดียวกับเดนมาร์กและสวีเดนอย่างเป็นทางการ สหภาพถูกปกครองโดยกษัตริย์ร่วมกัน สวีเดนค่อย ๆ ถอนตัวออกมาจากสหภาพนี้ แต่เดนมาร์กและนอร์เวย์ยังคงรวมกันจนกระทั่งค.ศ. 1814
สหภาพถูกปกครองจากเดนมาร์ก โคเปนเฮเกนเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมของสหภาพและชาวนอร์เวย์อ่านและเขียนเป็นภาษาเดนมาร์ก เกษตกรชาวนอร์เวย์จ่ายภาษีให้กับกษัตริย์ในโคเปนเฮเกน
สหภาพกับสวีเดนล่มสลายใน ค.ศ. 1905 มีความขัดแย้งทางการเมืองเป็นเวลาหลายปีระหว่างรัฐสภาของนอร์เวย์และกษัตริย์ในประเทศสวีเดน และในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 มีความเชื่อมากขึ้นเรื่อยๆ ว่านอร์เวย์ควรเป็นประเทศเอกราชและมีเสรีภาพ
วันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 1905 รัฐสภาประกาศว่ากษัตริย์แห่งสวีเดนไม่ได้เป็นกษัตริย์ของนอร์เวย์อีกต่อไป และสหภาพกับสวีเดนก็ล่มสลายตามา ปฏิกิริยาตอบกลับในสวีเดนรุนแรงและสงครามระหว่างนอร์เวย์และสวีเดนใกล้จะเริ่มขึ้น เนื่องมากจากการลงประชามติสองครั้งเกิดขึ้นในปีเดียวกัน จึงเป็นตัวกำหนดให้สหภาพกับสวีเดนล่มสลายและชาติใหม่ของนอร์เวย์เป็นการปกครองโดยมีกษัตริย์เป็นประมุข
เจ้าชายคาร์ลแห่งเดนมาร์กถูกเลือกให้เป็นกษัตริย์คนใหม่ของนอร์เวย์ เขามีชื่อทางราชวงศ์ของนอร์เวย์ว่า ฮากอน กษัตริย์ฮากอนเป็นกษัตริย์องค์ที่ 7 ของนอร์เวย์ตั้งแต่ ค.ศ. 1905 จนกระทั่งตายใน ค.ศ. 1957
นอร์เวย์ถูกยึดครองโดยนาซีเยอรมนีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2483 ถึง 2488 และถูกทำลายในช่วงสงครามไปมาก อาคารบ้านเรือน โรงงานและเมืองต่าง ๆ ถูกทิ้งระเบิดและเผาทำลาย สินค้าส่วนใหญ่มีไม่เพียงพอกับความต้องการและประชาชนต้องประสบกับความยากลำบาก
สงครามโลกครั้งที่สองเริ่มขึ้นในเดือนกันยายนปี 1939 เมื่อครั้งที่โปแลนด์ถูกรุกรานโดยทหารเยอรมัน ทหารเยอรมันรุกรานนอร์เวย์เมื่อวันที่ 9 เมษายน 1940 มีการต่อสู้ช่วงสั้น ๆ เกิดขึ้นหลายแห่งในประเทศ แต่ระยะเวลาเพียงไม่กี่วันเยอรมันก็สามารถควบคุมนอร์เวย์ได้ทั้งหมด กษัตริย์และเจ้าหน้าที่รัฐบาลต่างหลบหนีไปที่ลอนดอนประเทศอังกฤษและดำเนินการต่อต้านจากที่นั่น
ระหว่างสงครามช่วงสองสามวันแรก ยังไม่มีการต่อต้านเกิดขึ้นมากนักในนอร์เวย์ เจ้าหน้าที่ตำรวจถูกพวกนาซีควบคุม โดยรัฐบาลใหม่ที่เข้าพวกกับนาซีได้รับการแต่งตั้งขึ้นเพื่อบริหารประเทศแทน รัฐบาลชุดนี้ไม่ได้ถูกเลือกขึ้นตามระบอบประชาธิปไตย
ชาวนอร์เวย์หลายคนประกอบกิจกรรมที่ผิดกฎหมายระหว่างช่วงสงคราม มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างไม่มีการปิดกั้น ทั้งทางหนังสือพิมพ์และใบปลิว และมีอีกหลายคนที่ช่วยคนให้หลบหนีจากพวกนาซีไปยังประเทศอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสวีเดนและอังกฤษ หลายคนถูกจับกุมและขังไว้ในค่ายกักกัน
แม้ว่าประเทศจะถูกยึดครอง แต่คนส่วนใหญ่ยังไปทำงานตามปกติและเด็ก ๆ ก็ยังคงไปเรียนหนังสือได้ตามเดิม อย่างไรก็ตาม อาหาร เสื้อผ้าและปัจจัยอื่น ๆ ถูกแบ่งสรรจากฝ่ายควบคุม ทำให้หลายคนเกิดความไม่แน่ใจในอนาคต
นอร์เวย์มีเรือพาณิชย์ก่อนช่วงสงครามเป็นจำนวนมาก ระหว่างช่วงสงครามปี 1940-1945 เรือหลายลำในจำนวนนี้ส่งสินค้าไปยังประเทศที่ทำสงครามกับเยอรมัน โดยรัฐบาลนอร์เวย์ในลอนดอนเป็นผู้เตรียมการขนส่งเหล่านี้ ประมาณครึ่งหนึ่งของกองเรือถูกทิ้งตอร์ปิโดหรือถล่มด้วยระเบิด ลูกเรือชาวนอร์เวย์เกือบ 4,000 คนต้องเสียชีวิตระหว่างสงคราม
ชายและหญิงชาวนอร์เวย์ประมาณ 10,000 คนเสียชีวิตเนื่องจากสงคราม ประมาณ 700 คนจากนี้เป็นชาวยิวที่ถูกส่งไปยังค่ายกักกันส่วนกลางในเยอรมันและโปแลนด์
ในวันที่ 8 พฤษภาคม 1945 เยอรมันยอมจำนน นอร์เวย์จึงเป็นประเทศเอกราชอีกครั้ง ชาวนอร์เวย์ประมาณ 50,000 คนต้องข้อหากบฏหลังจากสงครามสิ้นสุด คนเหล่านี้เป็นสมาชิกของพรรคสังคมนิยมแห่งชาตินอร์เวย์ Nasjonal Samling ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ฝักใฝ่กับพวกนาซี โดย25 คนถูกประหารชีวิตด้วยข้อหากบฏหลังสงคราม
หลังปี 1945 ประเทศได้เริ่มบูรณะตัวเองใหม่อีกครั้ง ซึ่งนับเป็นช่วงเวลาที่ตื่นตัวมาก ทั้งการผลิตและการส่งออกอยู่ในอัตราที่เพิ่มขึ้น กองเรือพาณิชย์เองก็ถูกบูรณะขึ้นใหม่อีกครั้ง
หลายคนสามารถหางานทำได้ และแม้ว่าค่าแรงจะไม่สูงมากนัก แต่ปัญหาความยากจนก็ลดลงไปได้บ้าง คนส่วนใหญ่มีมุมมองที่ดีและหลายคนคาดหวังที่จะมีส่วนร่วมในการบูรณะประเทศนอร์เวย์ขึ้นอีกครั้ง ความเท่าเทียมกัน และคุณค่าที่เท่ากันกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญสำหรับคนส่วนใหญ่ เศรษฐกิจของนอร์เวย์ค่อย ๆ พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าจะยังคงต้องแบ่งสรรสินค้าใช้อยู่จนช่วงปลายทศวรรษที่ 1950
ระหว่างช่วงทศวรรษหลังสงคราม มีการปฏิรูปมากมายเกิดขึ้นเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของทุกคน ชั่วโมงการทำงานถูกกำหนดให้สั้นลง และวันหยุดยาวนานขึ้น ในปี 1967 ได้มีการประกาศใช้กฎหมายหลักประกันแห่งชาติ กฎหมายนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นหลักประกันทางเศรษฐกิจให้กับประชากรทุกคน รวมทั้งคนชราและคนป่วย
นอร์เวย์มีการปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และระบอบรัฐสภา ประมุขแห่งรัฐของนอร์เวย์คือพระมหากษัตริย์ โดยพระองค์ปัจจุบันคือสมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 บทบาทของกษัตริย์ในปัจจุบัน จำกัดอยู่เพียงด้านพิธีการและสัญลักษณ์
ประมุขของรัฐคือ พระมหากษัตริย์ นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล พระมหากษัตริย์แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีโดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา ตำแหน่งประมุขของรัฐสืบทอดโดยสืบสันตติวงศ์ ตามด้วยการเลือกตั้งรัฐสภา โดยทั่วไปผู้นำพรรคการเมืองเสียงข้างมากหรือผู้นำคณะรัฐบาลผสมจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี
สภานิติบัญญัติของนอร์เวย์ (Storting) มีลักษณะเป็นรัฐสภาเดี่ยวที่ได้มีการปรับให้เหมาะกับประเทศ (modified unicameral parliament) สมาชิกจำนวน 169 ที่น่ง ได้รับการเลือกตั้งในระบบคะแนนนิยมแบบสัดส่วน วาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี
เทศมณฑลในนอร์เวย์ เป็นระดับการปกครองที่อยู่ระหว่างรัฐกับเทศบาล แต่ในปี พ.ศ. 2553 เทศมณฑลทั้ง 19 แห่ง จะถูกจัดแบ่งใหม่เป็นเขตที่ใหญ่ขึ้น 5 - 9 เขต
ประเทศไทยเริ่มมีความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการกับนอร์เวย์ เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 หลังจากที่นอร์เวย์ได้ประกาศเอกราชและแยกตัวออกจากสวีเดนโดยสันติ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2448 ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับนอร์เวย์ใกล้ชิดมากขึ้นจากการเสด็จฯ เยือนนอร์เวย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อเดือนมิถุนายน 2450 ซึ่งได้ทรงลงพระนามาภิไธยย่อ ?จปร? ไว้บนก้อนหิน ณ บริเวณนอร์ดแคปป์ (Nordkapp) ต่อมา ได้มีการจัดสร้างพิพิธภัณฑสถานไทย ณ นอร์ดแคปป์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ เยือนนอร์เวย์ เพื่อทรงเปิดพิพิธภัณฑ์ดังกล่าว เมื่อปี 2532
ในปี 2495 ได้มีการแลกเปลี่ยนผู้แทนทางการทูตในระดับอัครราชทูต และได้ยกฐานะความสัมพันธ์ขึ้นเป็นระดับเอกอัครราชทูตตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2503 จากนั้น นอร์เวย์ได้แต่งตั้งเอกอัครราชทูตมาประจำประเทศไทยตลอดมา ส่วนไทยได้เปิดสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออสโล เมื่อเดือนสิงหาคม 2530 และต่อมา เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2544 คณะรัฐมนตรีมีมติให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออสโล มีเขตอาณาครอบคลุมสาธารณรัฐลัตเวีย นอกจากนี้ ไทยยังมีสถานกงสุล ณ เมืองเบอร์เกน อีกด้วย
ไทยและนอร์เวย์ได้เฉลิมฉลองการครบรอบ 100 ปี แห่งความสัมพันธ์ทางการทูตในปี 2548 ในโอกาสดังกล่าว เจ้าชายโฮกุ้น มกุฎราชกุมารแห่งนอร์เวย์ และเจ้าหญิงเมตเต-มาริต พระชายา ได้เสด็จฯ เยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 23 - 26 พฤศจิกายน 2547
นอกจากนี้ นอร์เวย์เคยมีบทบาทที่สร้างสรรค์ในการเชื่อมความสัมพันธ์ไทย ?- จีน โดยเมื่อต้นปี 2514 นอร์เวย์ได้เริ่มทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการจัดให้ผู้แทนฝ่ายไทยและฝ่ายจีนได้พบปะหารือกัน เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2514 โดยนายอานันท์ ปันยารชุน เอกอัครราชทูตประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก และนายเจียว กง หัว (Chiao Kuan-Hua) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีน ได้พบปะหารือกันที่นครนิวยอร์ก อันนำไปสู่การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2518
นอร์เวย์ถ่ายทอดประสบการณ์และองค์ความรู้ต่าง ๆ ให้ไทย เช่น การเก็บกู้ทุ่นระเบิดบริเวณแนวชายแดน เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นต้น และใช้ไทยเป็นจุดประสานงานหลักในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ประเทศเพื่อนบ้านของไทยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ไทยและนอร์เวย์มีกรอบการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจภายใต้คณะกรรมาธิการร่วมทางเศรษฐกิจ การเดินเรือ อุตสาหกรรม วิชาการและการค้า ไทย-นอร์เวย์ ซึ่งได้มีการประชุมมาแล้ว 4 ครั้ง ระหว่างปี 2529 - 2542 ไทยและนอร์เวย์ยังได้ขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจในกรอบพหุภาคี คือ การเจรจาจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับสมาคมการค้าเสรียุโรป (European Free Trade Association ? EFTA) ซึ่งมีสมาชิก 4 ประเทศ ได้แก่ ไอซ์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ นอร์เวย์ และสวิตเซอร์แลนด์ โดยทั้งสองฝ่ายได้เริ่มดำเนินการเจรจาตั้งแต่ปี 2548 และได้หยุดชะงักไปเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทยเมื่อเดือนกันยายน 2549 โดยล่าสุด ที่ประชุมร่วมรัฐสภาไทยเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2556 ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบร่างกรอบการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับ EFTA แล้ว และจะมีการเจรจารอบแรก ในช่วงต้นปี 2557
กองทัพนอร์เวย์ปัจจุบันมีประมาณ 23,000 คน รวมทั้งพนักงานพลเรือน ตามที่ในปัจจุบัน (ค.ศ. 2009) ความพรั่งพร้อมในการเรียกระดมพลเต็มจะอยู่ที่ประมาณ 83,000 คน นอร์เวย์มีการเกณฑ์ทหารสำหรับเพศชาย (6-12 เดือนของการฝึกอบรม) และ พลอาสาสมัครสำหรับเพศหญิง กองทัพนอร์เวย์เป็นผู้ใต้บังคับบัญชากระทรวงกลาโหม ทหารของนอร์เวย์จะแบ่งออกเป็นสาขาต่อไปนี้: กองทัพ, กองทัพเรือ, กองทัพอากาศ และ กองอาสารักษาดินแดน
นอร์เวย์ต้องพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติทางพื้นดิน ป่าไม้ และทะเลอย่างมาก โดยมีอุตสาหกรรมหลัก คือ อุตสาหกรรมการประมง อุตสาหกรรมผลิตภัณท์ป่าไม้ อุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังน้ำ อุตสาหกรรมแร่ธาตุ จำพวกอะลูมิเนียม สังกะสี ตะกั่ว และทองแดง และอุตสาหกรรมการต่อเรือ และอุปกรณ์ด้านการเดินเรือทะเล นอกจากนี้ นอร์เวย์ยังมีอุตสาหกรรมการเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติทางตอนใต้ของทะเลเหนือ รัฐบาลนอร์เวย์จึงพยายามที่จะดำเนินนโยบายที่จะให้หลักประกันใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นประโยชน์มากที่สุดเพื่อผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต
นอร์เวย์เป็นรัฐสวัสดิการ ซึ่งมีนโยบายที่เน้นการนำรายได้ของรัฐมาสนับสนุนภาคบริการเพื่อเป็นหลักประกันทางสังคมแก่ประชาชนในด้านต่างๆ อาทิ การบริการรักษาพยาบาล การศึกษา การจัดระบบบำเหน็จบำนาญ และการดูแลผู้พิการและผู้สูงอายุ เป็นต้น ลักษณะสำคัญของสังคมนอร์เวย์อีกประการหนึ่ง คือ การเน้นความเท่าเทียมกันในเรื่องเพศ ซึ่งทำให้สตรีชาวนอร์เวย์ได้รับสิทธิทำงานและสิทธิทางด้านสังคมอื่นๆ เช่นเดียวกับบุรุษ
สำหรับความร่วมมือทางเศรษฐกิจของนอร์เวย์ในระดับภูมิภาคยุโรป นอกเหนือจากการส่งเสริมความร่วมมือในกลุ่มประเทศนอร์ดิก (Nordic) ซึ่งประกอบด้วยเดนมาร์ก ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ และสวีเดน แล้ว นอร์เวย์ยังเป็นสมาชิกสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Association - EFTA) ซึ่งมีสมาชิกประเทศ ได้แก่ ไอซ์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ นอร์เวย์ และสวิตเซอร์แลนด์ โดยไอซ์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ และนอร์เวย์ได้เจรจากับสหภาพยุโรป (European Union - EU) เพื่อจัดตั้งเขตเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Area - EEA) ซึ่งมีผลตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2537
ชาวนอร์เวย์เดินทางมาท่องเที่ยวในไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ. 2549 มีจำนวน 101,920 คน ปี พ.ศ. 2550 จำนวน 110,076 คน ปี พ.ศ. 2551 จำนวน 127,976 คน และปี พ.ศ. 2552 จำนวน 151,572 คน ซึ่งมีสัดส่วนสูงเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรนอร์เวย์ซึ่งมีจำนวน 4.8 ล้านคน ในขณะที่เมื่อปี พ.ศ. 2552 มีนักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปท่องเที่ยวนอร์เวย์จำนวนประมาณ 8,000 คน
แหล่งท่องเที่ยวที่ชาวนอร์เวย์นิยม คือ แหล่งท่องเที่ยวชายทะเลของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดภูเก็ต ปัจจัยที่ ทำให้ชาวนอร์เวย์นิยมเดินทางมาท่องเที่ยวในไทย คือ ความสามารถสนองตอบต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวนอร์เวย์ในการท่องเที่ยวประเภทหาดทราย ชายทะเลของไทย ไทยมีค่าครองชีพที่ไม่สูง
เมื่อกลางเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 การบินไทยได้เปิดเส้นทางบินตรงไทย – นอร์เวย์ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวนอร์เวย์และนักธุรกิจ ด้วยเครื่องแอร์บัส 340-500 ประกอบด้วยชั้นธุรกิจ 60 ที่นั่ง ชั้นประหยัด 42 ที่นั่ง และชั้นประหยัด 113 ที่นั่ง โดยในปัจจุบัน บินออกจากนอร์เวย์ทุกวัน ใช้เวลาบินราว 10 ชั่วโมงครึ่ง
เนื่องจากความหนาแน่นของประชากรต่ำ รูปร่างแคบและชายฝั่งที่ยาว การขนส่งสาธารณะในประเทศนอร์เวย์ได้รับการพัฒนาน้อยกว่าในหลายประเทศในยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตนอกเมือง อย่างเช่นมีประเพณีการขนส่งทางน้ำเก่าของนอร์เวย์ แต่กระทรวงคมนาคมนอร์เวย์ในปีที่ผ่านมา การขนส่งทางรถไฟ ถนน และทางอากาศดำเนินการผ่านบริษัทย่อยจำนวนมากเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้มีการเป็นไปได้ของการสร้างใหม่ระบบรถไฟความเร็วสูงระหว่างเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ เครือข่ายรถไฟของนอร์เวย์หลักยาว 4,114 กิโลเมตร (2,556 ไมล์) ของขนาดความกว้างรางรถไฟมาตรฐาน ซึ่ง 242 กิโลเมตร (150 ไมล์) คือรางคู่และ 64 กิโลเมตร (40 ไมล์) เป็นทางรถไฟความเร็วสูง (210 กม. / ชม. ) ขณะที่ 62% เป็นไฟฟ้าที่ 15 kV 16 ? AC เฮิร์ตซ์ รถไฟขนส่งผู้โดยสารได้อย่างมากที่สุด 56,827,000 คน และสินค้า 24,783,000 ตัน เครือข่ายทั้งหมดเป็นของการรถไฟบริหารนอร์เวย์แห่งชาติ ในขณะที่รถไฟด่วนสนามบินกำลังดำเนินการโดย การรถไฟนอร์เวย์ (NSB) และยังมีอีกหลายบริษัทที่ดำเนินการขนส่งสินค้าทางรถไฟ
มีท่าอากาศยาน 97 แห่งในนอร์เวย์ มีอยู่เจ็ดสนามบินมีผู้โดยสารมากกว่าหนึ่งล้านคนเป็นประจำทุกปี ท่าอากาศยานหลักของนอร์เวย์คือ ท่าอากาศยานนานาชาติออสโล
การศึกษาระดับอุดมศึกษาในนอร์เวย์จะมีบริการตามช่วงของ 7 มหาวิทยาลัย 5 วิทยาลัยเฉพาะ 25 วิทยาลัยมหาวิทยาลัย เช่นเดียวกันกับช่วงของวิทยาลัยเอกชน กระบวนการที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้ โบโลญญาตรี 3 ปี, ปริญญาโท 2 ปี และปริญญาเอก 3 ปี ศึกษาสาธารณะฟรีโดยไม่คำนึงถึงสัญชาติ
จำนวนประชากรนอร์เวย์มีประมาณ 4.9 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นชาวนอร์เวย์และชาวเยอรมันเหนือ ชาวซามิอาศัยอยู่ในภาคกลางและภาคเหนือของนอร์เวย์และสวีเดน เช่นเดียวกันกับทางตอนเหนือของฟินแลนด์และรัสเซียในคาบสมุทร Kola
ภาษานอร์เวย์ เป็นภาษาในกลุ่มเจอร์แมนิก เป็นภาษาราชการของประเทศนอร์เวย์ และมีความใกล้ชิดกับภาษาสวีเดนและเดนมาร์ก ภาษานอร์เวย์มีรูปแบบการเขียน 2 แบบ คือ ภาษาบุ๊กมอล (Bokm?l) (หมายถึง "ภาษาหนังสือ") และ ภาษานือนอสก์ (Nynorsk) (หมายถึง "ภาษานอร์เวย์ใหม่") ภาษานอร์เวย์อยู่ในอันดับที่ 108 ผู้พูด 4.7 ล้านคน ตระกูลภาษามาจากสแกนดิเนเวียตะวันออกและตะวันตก
แต่คนนอร์เวย์ส่วนใหญ่นิยมใช้ภาษาบุ๊กมอลมากกว่า ทั้งหนังสือพิมพ์หรือรายการทีวีต่าง ๆ นอกจากนี้เด็ก ๆ ทุกคนต้องเรียนภาษาอังกฤษด้วย ปัจจุบันคนนอร์เวย์ส่วนใหญ่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้
ราวกลางศตวรรษที่ 19 การเคลื่อนไหวในศิลปะและวัฒนธรรมเริ่มปรากฏออกมาให้เห็น ซึ่งเราเรียกว่า จิตนิยมของชาติ ส่วนสำคัญของการเคลื่นไหวคือการเน้นที่ลักษณะของประเทศรวมถึงการขยายและการเสริมแต่ง ในนอร์เวย์ มุ่งเน้นเบื้องต้นในเรื่องความสวยงามของประเทศตามธรรมชาติ ชุมชนเกษตรกรรมถูกมองว่าเป็น “ชาวนอร์เวย์ที่เป็นแบบอย่าง”
จิตนิยมของชาติแสดงออกในรูปแบบของวรรณกรรม ทัศนศิลป์และดนตรี ในระหว่างช่วงเวลานี้ ชาวนอร์เวย์เริ่มพัฒนาความรู้สึกของเอกลักษณ์ของชาติมากขึ้น ความรู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นชาวนอร์เวย์ที่ถูกพัฒนายอย่างมากมายนี้ส่งผลให้ความปรารถนาอย่างแรงกล้าสำหรับประเทศคือการได้รับเอกราช
หลังจากเริ่มต้นในสหภาพกับเดนมาร์กเป็นเวลาหลายศตวรรษ ภาษเขียนของนอร์เวย์คือภาษาเดนมาร์ก ภาษาเขียนที่เราอ้างถึงในปัจจุบันคือ bokm?l เป็นการพัฒนาในอนาคตของภาษานี้ ในระหว่างช่วงเวลาจิตนิยมของชาติ คนจำนวนมากเชื่อว่าชาวนอร์เวย์ควรจะมาภาษาเขียนของตัวเองซึ่งไม่ได้มีพื้นฐานมาจากภาษาเดนมาร์ก ด้วยเหตุผลนี้ นักภาษาศาสตร์ชื่อ Ivar Aasen (ค.ศ. 1813 – 1896) เดินทางรอบประเทศเพื่อเก็บตัวอย่างจากภาษาพื้นเมืองหลายหลายภาษา เขาใช้ตัวอย่างเหล่านี้สร้างภาษาเขียนใหม่เรียกว่า nynorsk (ภาษานอร์เวย์ใหม่). ทั้ง nynorsk และ bokm?l มีการพัฒนาอย่างมากตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 แต่นอร์เวย์ก็ยังคงมีสิ่งที่แตกต่างกันอย่างเป็นทางการ 2 สิ่ง นอกเหนือจาก Sami และ Kven (kvensk)
อาหารที่จำหน่ายในนอร์เวย์จะต้องเคร่งครัดต่อกฎระเบียบเรื่องสุขลักษณะเป็นอย่างมาก จึงปลอดภัยต่อผู้บริโภค คนนอร์เวย์บริโภคนม ขนมปังสีน้ำตาล และปลา เป็นจำนวนมาก ประเพณีการทำอาหารของนอร์เวย์ แสดงอิทธิพลของประเพณีการเดินเรือและการทำฟาร์มระยะเวลายาวนานกับปลาแซลมอน , ปลาคอดแฮร์ริ่ง , ปลาเทราท์ และอาหารทะเลอื่น ๆ และจานถ้วยชามนอร์เวย์ดั้งเดิม เช่น lutefisk, smalahove, pinnekj?tt และ f?rik?l
อาหารประจำชาติของนอร์เวย์ คือ เลฟซ่า ทำมาจากมันฝรั่งต้มบด จะมีลักษณะคล้าย ๆ กับโรตีแผ่นใหญ่ เวลากินมักจะทาเนยอยู่ด้านบน, ไส้กรอกจะห่อด้วยแผ่นโรตี, อีกทั้งอาหารส่วนใหญ่ทำมาจากปลา เพราะประเทศนี้หาปลาง่าย